Skip to main content

ภาสกร อินทุมาร




จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า…


วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ

ขอเชิญสายใจ                                เจ้าไปนั่งเล่น ลมพัดเย็นเย็น หอมกลิ่นมาลี

หอมดอกราตรี                    แม้ไม่สดสี หอมดีน่าดม

เหมือนงามน้ำใจ แม้ไม่ขำคม             กิริยาน่าชม สมใจจริงเอย

ชมแต่ดวงเดือน                  ที่ไหนจะเหมือน ได้ชมหน้าน้อง

พี่อยู่แดเดียว เปลี่ยวใจหม่นหมอง       เจ้าอย่าขุ่นข้อง จงได้เมตตา

หอมดอกชำมะนาด             กลิ่นไม่ฉูดฉาด แต่หอมยวนใจ

เหมือนใจน้ำใจดี ปรานีปราศรัย          ผูกจิตสนิทได้ ให้รักจริงเอย

ขอเชิญเจ้าฟังเพลงวังเวงใจ   เพลงของท่านแต่งใหม่ในวังหลวง

               หอมดอกแก้วยามเย็น                      ไม่เห็นใจพี่เสียเลยเอย

                               ดวงจันทร์หลั่นลดเกือบหมดดวง โอ้หนาวทรวงยอดชีวาไม่ปรานี

               หอมมะลิกลีบซ้อน                          อ้อนวอนเจ้าไม่ฟังเอย

                              จวนจะรุ่งแล้วนะเจ้า พี่ขอลา   แสงทองส่องฟ้าสง่าศรี

           หอมดอกกระดังงา                          ชิชะ ช่างน่าเจ็บใจจริงเอย

                      หมู่ภมรร่อนหาช่อมาลี          แต่ตัวพี่จำจากพรากไปไกล

           หอมดอกจำปี                                นี่แน่ะ พรุ่งนี้จะกลับมาเอย ฯ


เพลงนี้เป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยทรงขยายจากเพลง “มอญดูดาว” ๒ ชั้น ให้มาเป็นเพลงเถา (เพลงเถาหมายถึงเพลงที่ประกอบไปด้วยจังหวะทั้ง ๓ ลักษณะ คือ ๓ ชั้น ซึ่งเป็นจังหวะช้า ๒ ชั้น ซึ่งเป็นจังหวะปานกลาง และชั้นเดียว ซึ่งเป็นจังหวะเร็ว การบรรเลงเพลงเถาจะเริ่มจากจังหวะช้าก่อน และจบลงด้วยจังหวะเร็ว)


picture1

 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ทรงซอบรรเลงเพลงราตรีประดับดาว


ถึงผมจะเป็นนักดนตรี แต่ก็ไม่ค่อยได้สนใจประวัติของเพลงนี้มากนัก ได้แต่เล่นและฟังไปด้วยความชอบ จนวันหนึ่งที่เพลงนี้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของความผูกพันและการพรากจาก ผ่านทางหนังสือที่ชื่อว่า “พรุ่งนี้จะกลับมาเอย” เมื่อครั้งงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ผมจึงเกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างประหลาด ที่แม้ว่าในครั้งนั้นเมื่อผมฟังเพลงนี้ซึ่งมีเนื้อหาเชิญชวนมารับรักแกมตัดพ้อ แต่คำพูดสุดท้ายในเพลงที่ว่า “พรุ่งนี้จะกลับมาเอย” นั้นเป็นเพียงการลาจาก เพื่อจะกลับมาบอกรักอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ไม่เหมือนกับการจากในชีวิตจริง ที่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ผู้ที่จากไปจะไม่มีวันกลับมาอีก




เมื่อผมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เพลงประจำมหาวิทยาลัยของผมมี ๒ เพลง นักศึกษาใหม่ส่วนใหญ่จะได้ยินเพลงประจำมหาวิทยาลัยฉบับที่แต่งขึ้นทีหลัง แต่สำหรับผม เพลงประจำมหาวิทยาลัยที่บ่งบอกตัวตนและจุดยืนทางสังคมของมหาวิทยาลัยคือเพลงฉบับดั้งเดิม ที่ร้องว่า...


                 สำนักไหนหมายชูประเทศชาติ               ด้วยอำนาจปกครองให้ผ่องเฟื่องมา

         เอ๋ย เราเป็นไทย เรารักไทย บูชาไทย             ไม่ยอมให้ ใครผู้ใด มาล้างเสรีไทย

                     สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง          ก่อรุ่งเรืองสมบูรณ์เขตต์ประเทศไทยมา

        เอ๋ย ธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์การเมือง           ไทยจะเฟื่อง ไทยจะรุ่งเรือง ก็เพราะการเมืองดี

                   เหลืองของเราคือธรรมประจำจิตต์            แดงของเราคือโลหิต อุทิศให้มา

       เอ๋ย เหลืองกับแดง เหลืองกับแดง เหลืองกับแดง ทุกทุกแห่ง ทุกทุกแห่ง แต่ล้วนเหลืองกับแดง

                 ชื่อว่าธรรมแล้วเราเทอดให้สมไทย            ทุกอย่างไปงานหรือเล่นต้องเป็นไทยมา

       เอ๋ย ใครรักชาติ ใครรักธรรมเหมือนกับเรา        จงมาเข้า และโปรดเอาใจช่วยเหลืองกับแดง


ผมเข้าใจว่าเพลงนี้ไม่มีชื่อ รับรู้กันแต่เพียงว่าเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยที่แต่งเนื้อร้องขึ้นโดยขุนวิจิตรมาตรา โดยท่านผู้แต่งอาศัยทำนองเพลง “มอญดูดาว” มาเป็นทำนองของเพลงนี้ดังนั้น นักศึกษาจึงเรียกเพลงนี้ว่าเพลงมอญดูดาวตามชื่อเพลงที่เป็นต้นทำนอง


 

picture2
ขุนวิจิตรมาตรา


ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า เพลงนี้ส่งผลต่อความคิดและจุดยืนทางสังคมของนักศึกษาจำนวนมากมาย นั่นคือการเชื่อมั่นและยึดมั่นในความเป็นธรรมเฉกเช่นเดียวกับจุดยืนของมหาวิทยาลัยดังที่ปรากฏในเนื้อเพลง ต่างจากเพลงประจำมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ ที่พยายามบอกเพียงว่าให้นักศึกษารักและภูมิใจในมหาวิทยาลัย โดยไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดเราจึงควรภูมิใจและรัก

picture3



ชีวิตการทำงานของผมที่ต้องเกี่ยวข้องกับงานวิชาการ ได้พาผมไปพบกับงานวิจัย เรื่อง “อิทธิพลของทำนองเพลงมอญที่ปรากฏในเพลงไทยสากล” ของ อาริสา อำภาภัย ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (๒๕๔๗) ที่กล่าวว่า ทำนองเพลงมอญได้เข้ามาอยู่ในเพลงไทยนานเกินกว่าจะกำหนดเวลาได้ โดยในส่วนของเพลงไทยสากลนั้น ได้มีการนำทำนองเพลงมอญเข้ามาใช้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ การที่นักดนตรีนำทำนองเพลงมอญเข้ามาใช้ในเพลงไทยสากลนั้นเป็นเพราะความไพเราะระคนเศร้า รวมทั้งความผูกพันทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-มอญ นั้นมีความแน่นแฟ้นและต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษจนกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน

 

 

picture4

วงดนตรีมอญพื้นบ้านบ้านเจ็ดริ้ว สมุทรสาคร (ถ่ายเมื่อราว .. ๒๕๐๐)


การได้อ่านงานวิจัยฉบับนี้ ทำให้ผมนึกถึงถึงเพลง “มอญ” ทั้ง ๒ ที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ซึ่งเป็นเพลงที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของผมจนทุกวันนี้ รวมทั้งย้อนระลึกถึงช่วงเวลาที่ผมยังเป็นนักดนตรี ที่ผมเล่นเพลงที่มีคำขึ้นต้นว่า มอญ แขก แขกมอญ เขมร ลาว จีน ฯลฯ มากมายหลายหลาก และถึงแม้ในเวลานี้ผมจะจำเพลงเหล่านั้นได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ทำให้ผมได้มองเห็นตัวเองในช่วงเวลานั้น ว่าผมไม่เคยตระหนักรู้ถึงการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์ต่างๆในเพลงที่ผมเองเป็นผู้เล่น ผมรับรู้เพียงว่าผมเล่นเพลง “ไทย” รวมทั้งเพลงมหาวิทยาลัยที่ทุกคนเรียกว่าเพลงมอญดูดาวนั้น ผมก็ร้องด้วยสำนึกเพียงว่าเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับชาติพันธุ์มอญ


การย้อนระลึกถึงเพลงมอญในความทรงจำของผม ทำให้ผมพบว่าผู้คนต่างดำรงอยู่ท่ามกลางความหลากหลายและการผสมกลืนกลายทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ที่เราเรียกว่าประเทศไทย โดยที่เราเองก็อาจจะไม่รู้เลยว่าในตัวเรานั้นมีความเป็นชาติพันธุ์ใดผสมปะปนอยู่บ้าง และความเป็นชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านั้นส่งผลต่อวิธีคิดและสำนึกของเราอย่างไร


=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=


หมายเหตุ สามารถฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” ได้ตาม link ที่ปรากฏนี้

http://p-i-e.exteen.com/20071028/entry เป็น website ที่มีผู้นำเพลงนี้ถึง ๕ รูปแบบมาบรรจุไว้ และขอแนะนำให้ผู้ที่สนใจฟังเพลงที่ ๒ บรรเลงโดยวงมโหรีของกรมศิลปากร ขับร้องโดย ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติชาวไทยเชื้อสายมอญสุพรรณบุรี

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลวงพ่อสมาน วัดชนะสงคราม ที่เคยเลี้ยงดูส่งเสีย ข้าวแกงก้นบาตรราดรดหัวผมมาจนเรียนจบปริญญาตรีเมื่อสิบกว่าปีก่อน ท่านชอบเปรียบเปรยลูกศิษย์ลูกหาและใครต่อใครที่ลืมคุณคนด้วยสำนวนมอญที่ไม่พ้นไปจากเรื่องการกินการอยู่ เป็นต้นว่า "ใหญ่เหมือนช้าง ยาวเหมือนงู" (แก่เพราะกินข้าว เฒ่าเพราะอยู่นาน)"กินผลฟันต้น เก็บร่มหักก้าน" (กินบนเรือนขี้บนหลังคา)"ข้าวแดงแกงร้อน" (สำนึก)"เสียข้าวสุก" (เนรคุณ)แต่ที่ผมเสียวแปลบไปถึงขั้วหัวใจทุกครั้งเมื่อถูกท่านเหน็บเอาว่า"ข้าวสุกไม่มียาง" (ก็เนรคุณอีก)
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน"มอญร้องไห้" ร้องทำไม ร้องเพราะไม่มีแผ่นดินจะอยู่ หรือญาติเสีย...?ถูก...ญาติเสีย แต่ต้องระดับคนมีหลานเหลนแล้ว และเป็นที่เคารพรักของผู้คนเท่านั้น หากญาติที่เสียชีวิตอายุยังน้อย แม้จะเสียใจก็ร้องไห้กันไปตามมีตามเกิด ไม่มีการทำพิธีกรรมให้เป็นพิเศษแต่อย่างใดมอญร้องไห้ เป็นมีพิธีกรรมของคนมอญ ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมาในงานศพ เป็นการแสดงความอาลัยรักของลูกหลาน ที่สำคัญเป็นการยกย่องและรำลึกถึงคุณงามความดีของผู้ตายที่เคยทำไว้เมื่อครั้งยังมีชีวิต โดยมากแล้วผู้ร้องจะเป็นหญิงสูงอายุและเป็นเครือญาติกับผู้ตาย เนื้อหาที่ร้องพรรณนาออกมานั้นจะได้ออกมาจากใจ…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน สำนวนไทยที่กล่าวถึงการแย่งศพมอญ นั่นคือ “แย่งกันเป็นศพมอญ” หากพิจารณาความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีความหมายว่า ยื้อแย่งกัน ซึ่งใช้ในเชิงเปรียบเทียบ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว สำนวนนี้มีที่มาจากประเพณีมอญแต่โบราณ และคำว่า “แย่ง” นั้นก็เป็นแต่อุบาย ที่หมายให้ผู้คนทั้งหลายหลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน วัฒนธรรมประเพณีมอญหลายประการที่คนไทยยอมรับมาอย่างหน้าชื่นตาบาน เช่น ประเพณีสงกรานต์ ตักบาตรน้ำผึ้ง ล้างเท้าพระ ดนตรีปี่พาทย์นาฏศิลป์ เหล่านี้เป็นหัวใจของไทยที่รับมาจากมอญ และทำการปรับเปลี่ยนให้เป็นของตนอย่างกลมกลืน…
องค์ บรรจุน
“...ต้องการแม่ครัว (หรือพ่อครัวก็ได้) ๑ ตำแหน่งค่ะ ทำงานที่ระยองนี่ล่ะ...”“ชาวพม่าเอาไหมครับ ถ้าเอามีเยอะเลย ข้างบ้านเขาทำธุรกิจแรงงานพม่าอยู่น่ะ...”“พม่าทำกับข้าวอร่อยหรือเปล่าคะ”“…มีข่าวบ่อยๆ ว่า แรงงานต่างด้าว ไม่ใช่ต่างดาว ฆ่านายจ้าง ระวังไว้นะ”“พม่าเอาแบบนุ่งกางเกงนะ ห้ามนุ่งโสร่ง เดี๋ยวจะเพิ่มเส้นให้มามากเกินไป...ง่ะ...๕๕๕++”ฯลฯข้อความโต้ตอบในกระดานสนทนาเว็บไซต์หางานแห่งหนึ่ง ที่ผู้เขียนเข้าไปพบโดยบังเอิญ เมื่อปลายปีที่แล้ว ข้อความโต้ตอบข้างต้นสะท้อนแง่คิดของคนไทยกลุ่มหนึ่งได้อย่างแปรปรวนชวนสงสัย น่าแปลกที่คนไทยเรามีสายตาที่มองคนพม่าในแบบที่ทั้งหวาดกลัว ไม่ไว้วางใจ เป็นตัวตลก…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย   ปกติฉันทำงานที่ตึกประชาธิปก-รำไพพรรณี ซึ่งอยู่ติดกับคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ จึงมักจะไปทานอาหารที่โรงอาหารของคณะเศรษฐศาสตร์ ในช่วงแรกๆ ที่ฉันมาเรียนที่จุฬาฯ ก็ได้ยินคนขายอาหารพูดกันเองว่า   “คนเก็บจานที่มาใหม่น่ะ พูดอังกฤษคล่องเชียว เป็นคนพม่า พูดไทยไม่ได้ เวลาจะให้ทำอะไรแกต้องสั่งเขาเป็นภาษาอังกฤษนะ” ฉันเลยรับรู้มาตั้งแต่นั้นว่า โรงอาหารแห่งนี้มีแรงงานข้ามชาติจากพม่าทำงานอยู่ (พอดีตอนนั้นเรียนเรื่องการย้ายถิ่นข้ามชาติอยู่ด้วย) หลังจากนั้นก็จะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานพม่ามาตลอด ว่าที่เราเข้าใจว่าเป็น “แรงงานพม่า” นั้น แท้จริงแล้วอาจเป็นได้ทั้งพม่า…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน เครื่องนุ่งห่มนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ เพื่อปกปิดร่างกายคุ้มภัยร้อนหนาวจากธรรมชาติ กันขวากหนามงูเงี้ยวเขี้ยวขอขบเกี่ยว และที่สำคัญ ปิดกายให้พ้นอาย รวมทั้งเสริมแต่งให้ชวนมอง ส่วนการตกแต่งร่างกายตามความเชื่อและลัทธิทางศาสนานั้นน่าจะเกิดขึ้นด้วยเหตุผลหลังสุดและมีความสำคัญรองลงมา การตกแต่งร่างกายนั้นเป็นความจำเป็นที่มนุษย์ใช้เรียกความสนใจจากเพศตรงข้าม นำไปสู่การดำรงเผ่าพันธุ์ อันต่างจากสัตว์ที่เป็นไปตามสัญชาติญาณ และมีแรงดึงดูด (ฟีโรโมน) ในตัว สามารถส่งเสียง สร้างสี ส่องแสง แต่งกลิ่น ล่อเพศตรงข้าม แต่มนุษย์ไม่มีสิ่งเหล่านั้นจึงต้องสร้างขึ้น…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิด งานบำเพ็ญกุศลถวายพระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๑ ที่ผ่านมา ซึ่งชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯและชาวไทยเชื้อสายมอญจากทั่วประเทศร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ถึงแม้จะเหน็ดเหนื่อยในฐานะกรรมการจัดงาน แต่ก็รู้สึกอิ่มเอมใจกับภาพที่เห็นและบรรยากาศที่ได้สัมผัส ถือเป็นงานใหญ่ที่คนมอญได้แสดงออกซึ่งขนบธรรมประเพณีอันดีงาม มิเสียชื่อที่เป็นชนชาติที่รุ่งเรืองทางด้านอารยธรรมมาก่อน ดังนั้นเพื่อเป็นการรักษาและสืบทอดธรรมเนียมมอญโบราณ และเป็นการถวายพระกุศลแด่พระศพสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคม มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” กลอนภาษาไทยข้างต้นเป็นกลอนที่ฉันได้ยินมาแต่เด็ก เมื่อมาเขียนบทความนี้ก็พยายามหาว่าใครเป็นคนแต่ง ซึ่งส่วนใหญ่บอกว่ามาจากเชคเสปียร์ที่บอกว่า “Two folks look through same hole, one sees mud, one sees star” ส่วนผู้ที่ถอดเป็นภาษาไทยนั้น ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่ว่าใครเป็นคนถอดความและประพันธ์กลอนนี้ อย่างไรก็ตาม ฉันเข้าใจว่ากลอนบทนี้กล่าวถึงการมองสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งเดียวกัน แต่ว่าต่างคนอาจมองได้ต่างกัน และเมื่อฉันโตขึ้น ฉันก็ได้เห็นประจักษ์ถึงความเป็นไปตามคำกล่าวนั้น…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน ผีที่คนมอญนับถือ มิใช่ผีต้นกล้วย ผีตะเคียน ผีตานี ผีจอมปลวก แต่เป็นผีบรรพชน ผีปู่ย่าตายายของเขา สิ่งที่รัดโยงและธำรงความเป็นมอญที่สำคัญสิ่งหนึ่งคือ “การนับถือผี” ผีเป็นศาสนาแรกของทุกชาติทุกภาษา คนมอญนับถือผีควบคู่กับพุทธศาสนา เคารพยำเกรงไม่กล้าฝ่าฝืน การรำผีนอกจากเป็นการเซ่นไหว้ผีประจำตระกูลแล้ว ยังเป็นการรักษาโรคด้วย หากเทียบกับการรักษาโรคในปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า เป็นจิตวิทยาการแพทย์ ในบรรดาการรักษาโรคที่หลากหลายของมอญ เช่น การรักษาด้วยสมุนไพร การนวด คาถาอาคม และพิธีกรรม เช่น การทิ้งข้าว (เทาะฮะแนม) การเสียกบาล (เทาะฮะป่าน) ส่วนพิธีกรรมที่ใหญ่ที่สุดคือ การรำผี (เล่ะฮ์กะนา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ชลบุรีอาจจะเป็นจังหวัดที่ไม่มีใครคิดว่าจะมีชุมชนคนมอญตั้งอยู่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด เพราะคนส่วนใหญ่จะรู้จักเฉพาะมอญเกาะเกร็ดและมอญพระประแดงเท่านั้น... แต่ถึงอย่างไรก็ดี ชลบุรีก็ยังมีคนมอญอยู่ที่ “วัดบ้านเก่า” ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “วัดบ้านมอญ” แห่งตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี และความน่าสนใจของคนมอญของที่นี่ อยู่ที่ “พระ”   วัดบ้านเก่า (วัดบ้านมอญ) ตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี
องค์ บรรจุน
  สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังนิยมสวมในเสื้อเหลือง เสื้อฟ้า เสื้อชมพู (ประดับตราสัญลักษณ์) ด้วยความรู้สึกที่ต้องการแสดงออกถึงความจงรักภักดี หรือจะด้วยความรู้สึกอื่นใด...ทำให้เรารับรู้ได้ว่าการมีเสื้อผ้าไม่ใช่มีไว้ห่อหุ้มร่างกายอย่างเดียว  แต่เสื้อผ้ายังแฝงไว้ด้วยความหมายหลายสิ่งอย่างอยู่ในนั้น ไม่ว่าจะเป็นสี หรือ ลวดลาย  กล่าวกันว่าการกระทำของคนเรานั้นเป็นการกระทำในเชิงสัญลักษณ์ ดังนั้นเสื้อผ้าก็เป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสารเรื่องราว เป็นตัวแทนความคิด และแทนความรู้สึกร่วมของคนในกลุ่ม  แรงงานมอญที่อพยพเข้างานทำงานในมหาชัย (จังหวัดสมุทรสาคร)…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ตอนเล็กๆ ผู้เขียนมักจะได้ยินคำกล่าวที่ว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” หรือ “ผีเสื้อขยับปีกทำให้เกิดพายุ” ซึ่งเป็นคำพูดที่ใช้เรียกทฤษฎีความอลวน (Chaos Theory) กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ได้สนใจว่าทฤษฎีนี้มีเนื้อหาอย่างไร แต่ก็มีผู้อธิบายว่า “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” นี้เป็นการอธิบายว่าการที่เราเริ่มทำสิ่งหนึ่งอาจส่งผลลัพธ์ไปถึงสิ่งที่อยู่ไกลๆ ได้ เพราะทุกสิ่งมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกันเกินกว่าที่เราจะตระหนัก ตอนนี้ผู้เขียนเปิดคอมพิวเตอร์ เปิดไฟ เปิดพัดลม การกระทำเหล่านี้จะส่งผลให้เกิดสิ่งใดในพื้นที่ที่ห่างออกไปได้หรือไม่ พักเรื่องนี้ไว้ก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน…