Skip to main content

ภาสกร อินทุมาร




จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า…


วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ

ขอเชิญสายใจ                                เจ้าไปนั่งเล่น ลมพัดเย็นเย็น หอมกลิ่นมาลี

หอมดอกราตรี                    แม้ไม่สดสี หอมดีน่าดม

เหมือนงามน้ำใจ แม้ไม่ขำคม             กิริยาน่าชม สมใจจริงเอย

ชมแต่ดวงเดือน                  ที่ไหนจะเหมือน ได้ชมหน้าน้อง

พี่อยู่แดเดียว เปลี่ยวใจหม่นหมอง       เจ้าอย่าขุ่นข้อง จงได้เมตตา

หอมดอกชำมะนาด             กลิ่นไม่ฉูดฉาด แต่หอมยวนใจ

เหมือนใจน้ำใจดี ปรานีปราศรัย          ผูกจิตสนิทได้ ให้รักจริงเอย

ขอเชิญเจ้าฟังเพลงวังเวงใจ   เพลงของท่านแต่งใหม่ในวังหลวง

               หอมดอกแก้วยามเย็น                      ไม่เห็นใจพี่เสียเลยเอย

                               ดวงจันทร์หลั่นลดเกือบหมดดวง โอ้หนาวทรวงยอดชีวาไม่ปรานี

               หอมมะลิกลีบซ้อน                          อ้อนวอนเจ้าไม่ฟังเอย

                              จวนจะรุ่งแล้วนะเจ้า พี่ขอลา   แสงทองส่องฟ้าสง่าศรี

           หอมดอกกระดังงา                          ชิชะ ช่างน่าเจ็บใจจริงเอย

                      หมู่ภมรร่อนหาช่อมาลี          แต่ตัวพี่จำจากพรากไปไกล

           หอมดอกจำปี                                นี่แน่ะ พรุ่งนี้จะกลับมาเอย ฯ


เพลงนี้เป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยทรงขยายจากเพลง “มอญดูดาว” ๒ ชั้น ให้มาเป็นเพลงเถา (เพลงเถาหมายถึงเพลงที่ประกอบไปด้วยจังหวะทั้ง ๓ ลักษณะ คือ ๓ ชั้น ซึ่งเป็นจังหวะช้า ๒ ชั้น ซึ่งเป็นจังหวะปานกลาง และชั้นเดียว ซึ่งเป็นจังหวะเร็ว การบรรเลงเพลงเถาจะเริ่มจากจังหวะช้าก่อน และจบลงด้วยจังหวะเร็ว)


picture1

 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ทรงซอบรรเลงเพลงราตรีประดับดาว


ถึงผมจะเป็นนักดนตรี แต่ก็ไม่ค่อยได้สนใจประวัติของเพลงนี้มากนัก ได้แต่เล่นและฟังไปด้วยความชอบ จนวันหนึ่งที่เพลงนี้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของความผูกพันและการพรากจาก ผ่านทางหนังสือที่ชื่อว่า “พรุ่งนี้จะกลับมาเอย” เมื่อครั้งงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ผมจึงเกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างประหลาด ที่แม้ว่าในครั้งนั้นเมื่อผมฟังเพลงนี้ซึ่งมีเนื้อหาเชิญชวนมารับรักแกมตัดพ้อ แต่คำพูดสุดท้ายในเพลงที่ว่า “พรุ่งนี้จะกลับมาเอย” นั้นเป็นเพียงการลาจาก เพื่อจะกลับมาบอกรักอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ไม่เหมือนกับการจากในชีวิตจริง ที่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ผู้ที่จากไปจะไม่มีวันกลับมาอีก




เมื่อผมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เพลงประจำมหาวิทยาลัยของผมมี ๒ เพลง นักศึกษาใหม่ส่วนใหญ่จะได้ยินเพลงประจำมหาวิทยาลัยฉบับที่แต่งขึ้นทีหลัง แต่สำหรับผม เพลงประจำมหาวิทยาลัยที่บ่งบอกตัวตนและจุดยืนทางสังคมของมหาวิทยาลัยคือเพลงฉบับดั้งเดิม ที่ร้องว่า...


                 สำนักไหนหมายชูประเทศชาติ               ด้วยอำนาจปกครองให้ผ่องเฟื่องมา

         เอ๋ย เราเป็นไทย เรารักไทย บูชาไทย             ไม่ยอมให้ ใครผู้ใด มาล้างเสรีไทย

                     สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง          ก่อรุ่งเรืองสมบูรณ์เขตต์ประเทศไทยมา

        เอ๋ย ธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์การเมือง           ไทยจะเฟื่อง ไทยจะรุ่งเรือง ก็เพราะการเมืองดี

                   เหลืองของเราคือธรรมประจำจิตต์            แดงของเราคือโลหิต อุทิศให้มา

       เอ๋ย เหลืองกับแดง เหลืองกับแดง เหลืองกับแดง ทุกทุกแห่ง ทุกทุกแห่ง แต่ล้วนเหลืองกับแดง

                 ชื่อว่าธรรมแล้วเราเทอดให้สมไทย            ทุกอย่างไปงานหรือเล่นต้องเป็นไทยมา

       เอ๋ย ใครรักชาติ ใครรักธรรมเหมือนกับเรา        จงมาเข้า และโปรดเอาใจช่วยเหลืองกับแดง


ผมเข้าใจว่าเพลงนี้ไม่มีชื่อ รับรู้กันแต่เพียงว่าเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยที่แต่งเนื้อร้องขึ้นโดยขุนวิจิตรมาตรา โดยท่านผู้แต่งอาศัยทำนองเพลง “มอญดูดาว” มาเป็นทำนองของเพลงนี้ดังนั้น นักศึกษาจึงเรียกเพลงนี้ว่าเพลงมอญดูดาวตามชื่อเพลงที่เป็นต้นทำนอง


 

picture2
ขุนวิจิตรมาตรา


ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า เพลงนี้ส่งผลต่อความคิดและจุดยืนทางสังคมของนักศึกษาจำนวนมากมาย นั่นคือการเชื่อมั่นและยึดมั่นในความเป็นธรรมเฉกเช่นเดียวกับจุดยืนของมหาวิทยาลัยดังที่ปรากฏในเนื้อเพลง ต่างจากเพลงประจำมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ ที่พยายามบอกเพียงว่าให้นักศึกษารักและภูมิใจในมหาวิทยาลัย โดยไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดเราจึงควรภูมิใจและรัก

picture3



ชีวิตการทำงานของผมที่ต้องเกี่ยวข้องกับงานวิชาการ ได้พาผมไปพบกับงานวิจัย เรื่อง “อิทธิพลของทำนองเพลงมอญที่ปรากฏในเพลงไทยสากล” ของ อาริสา อำภาภัย ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (๒๕๔๗) ที่กล่าวว่า ทำนองเพลงมอญได้เข้ามาอยู่ในเพลงไทยนานเกินกว่าจะกำหนดเวลาได้ โดยในส่วนของเพลงไทยสากลนั้น ได้มีการนำทำนองเพลงมอญเข้ามาใช้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ การที่นักดนตรีนำทำนองเพลงมอญเข้ามาใช้ในเพลงไทยสากลนั้นเป็นเพราะความไพเราะระคนเศร้า รวมทั้งความผูกพันทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-มอญ นั้นมีความแน่นแฟ้นและต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษจนกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน

 

 

picture4

วงดนตรีมอญพื้นบ้านบ้านเจ็ดริ้ว สมุทรสาคร (ถ่ายเมื่อราว .. ๒๕๐๐)


การได้อ่านงานวิจัยฉบับนี้ ทำให้ผมนึกถึงถึงเพลง “มอญ” ทั้ง ๒ ที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ซึ่งเป็นเพลงที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของผมจนทุกวันนี้ รวมทั้งย้อนระลึกถึงช่วงเวลาที่ผมยังเป็นนักดนตรี ที่ผมเล่นเพลงที่มีคำขึ้นต้นว่า มอญ แขก แขกมอญ เขมร ลาว จีน ฯลฯ มากมายหลายหลาก และถึงแม้ในเวลานี้ผมจะจำเพลงเหล่านั้นได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ทำให้ผมได้มองเห็นตัวเองในช่วงเวลานั้น ว่าผมไม่เคยตระหนักรู้ถึงการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์ต่างๆในเพลงที่ผมเองเป็นผู้เล่น ผมรับรู้เพียงว่าผมเล่นเพลง “ไทย” รวมทั้งเพลงมหาวิทยาลัยที่ทุกคนเรียกว่าเพลงมอญดูดาวนั้น ผมก็ร้องด้วยสำนึกเพียงว่าเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับชาติพันธุ์มอญ


การย้อนระลึกถึงเพลงมอญในความทรงจำของผม ทำให้ผมพบว่าผู้คนต่างดำรงอยู่ท่ามกลางความหลากหลายและการผสมกลืนกลายทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ที่เราเรียกว่าประเทศไทย โดยที่เราเองก็อาจจะไม่รู้เลยว่าในตัวเรานั้นมีความเป็นชาติพันธุ์ใดผสมปะปนอยู่บ้าง และความเป็นชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านั้นส่งผลต่อวิธีคิดและสำนึกของเราอย่างไร


=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=


หมายเหตุ สามารถฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” ได้ตาม link ที่ปรากฏนี้

http://p-i-e.exteen.com/20071028/entry เป็น website ที่มีผู้นำเพลงนี้ถึง ๕ รูปแบบมาบรรจุไว้ และขอแนะนำให้ผู้ที่สนใจฟังเพลงที่ ๒ บรรเลงโดยวงมโหรีของกรมศิลปากร ขับร้องโดย ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติชาวไทยเชื้อสายมอญสุพรรณบุรี

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
คนส่วนใหญ่รับรู้ว่าวัดชนะสงครามเป็นวัดมอญ ใช่ว่าคนสนใจประวัติศาสตร์จึงได้รู้ความเป็นมาของวัด แต่เป็นเพราะหน้าวัดมีป้ายโลหะสีน้ำตาลที่ทางการชอบปักไว้หน้าสถานที่ท่องเที่ยว ความระบุประวัติไว้ว่าวัดนี้เป็นวัดของพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ (มอญ) แต่ก็ไม่แน่ใจนัก คนสมัยนี้อาจเข้าใจว่ามอญเป็นชื่อต้นไม้จำพวกเห็ดราปรสิตชนิดหนึ่งก็ได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   การสื่อสารระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดการตอบสนอง นับแต่โบราณกาลมีตั้งแต่การสุมไฟให้เกิดควัน นกพิราบสื่อสาร ปัจจุบันการสื่อสารมีหลายวิธีรวดเร็วทันใจมากขึ้น อาจเป็นวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม หรือการสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว ที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต ก็ได้ ส่วนภาษาที่มาพร้อมกับวิธีการสื่อสารเหล่านั้น เป็นเครื่องมือที่สำคัญซึ่งมีพัฒนาการไม่หยุดนิ่ง มีการหยิบยืมคำในภาษาอื่น เปลี่ยนรูปแบบและความหมายตลอดเวลา…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน   พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยนั้นมีมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ถึงแม้ว่าจะเริ่มต้นจากการหาที่เก็บของเก่าก็ตาม แต่จากประสบการณ์ที่ว่านี้ ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่กำลังคิดทำพิพิธภัณฑ์ว่าจะใช้เก็บของเก่าหรือใช้เป็นสถานที่เรียนรู้ โดยเฉพาะในยุคที่ผู้คนเริ่มเห็นคุณค่าท้องถิ่นของตน การตัดสินใจเกี่ยวกับท้องถิ่นจึงควรมาจากท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของท้องถิ่น
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน     หญ้าขัดมอญ เป็นพืชล้มลุก ทรงพุ่มเตี้ย ตระกูลเดียวกับชบา ขึ้นเองตามธรรมชาติไม่ต้องปลูกและดูแลรักษา คนในสังคมเมืองคงไม่คุ้นชื่อคุ้นต้นไม้ชนิดนี้ หลายคนเห็นเป็นวัชพืชอย่างหนึ่งที่ต้องกำจัด นอกจากบางคนที่ช่างสังเกตธรรมชาติรอบตัวก็อาจจะพบว่า หญ้าขัดมอญ เป็นไม้พุ่มเตี้ยแตกกิ่งก้านหนาแน่น ใบเล็กเรียวเขียวเข้ม ยิ่งเวลาออกดอก สีเหลืองอ่อนหวานพราวพรายรายเรียงอยู่ทั่วทุกช่อใบ ชวนมองไม่น้อย แถมมีประโยชน์ในครัวเรือนหลายอย่าง ทั้งด้านการใช้สอยและสรรพคุณทางสมุนไพร
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน บทสรุปย่อสำหรับผู้บริหาร (Executive Summary) ของศูนย์พม่าศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ในการนำการเสนอโครงการวิจัย ชุด "โครงการประเทศพม่าศึกษา" ชื่อหัวข้อวิจัย คือ "มโนทัศน์ทางการเมืองของรัฐพม่าบนพื้นที่สื่อรัฐบาลทหาร" ที่ผ่านการอนุมัติจากสกว.
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน ๗ กรกฏาคม ที่ผ่านมาเป็นวันอาสาฬหบูชา รุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษา วันสำคัญของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เมื่อมีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน ผู้คนจึงออกต่างจังหวัดกันมาก ถนนช่วงนั้นจึงโล่งอย่างเทศกาลใหญ่ๆ ทุกครั้ง เปิดทีวีมีแต่ข่าวขบวนแห่เทียนเข้าพรรษากันทัวประเทศ ยิ่งใหญ่เท่าไหร่ แปลกเท่าไหร่ยิ่งดี บางจังหวัดไม่เคยจัดก็สู้อุตส่าห์ซื้อช่างแกะเทียนค่าตัวแพงลิบมาจากอุบลราชธานี กลายเป็นว่าทุกวันนี้คนทำเทียนเข้าพรรษาเพื่อขายการท่องเที่ยว ไม่ได้ถวายให้พระใช้งานจริงขณะนั้นเวลา ๑๐.๓๐ น. ผมนั่งอยู่โคนต้นอโศกอินเดียภายในวัดชนะสงคราม ความคลุกคลีกับวัดวามานานจึงพาลห่างวัด…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนบทความชิ้นนี้ไม่มีเจตนาตั้งชื่อเลียน "ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ" เพราะในภาพยนตร์นั้น เจ้าของกล้องกดชัตเตอร์ติดวิญญาณผีที่เขาขับรถชนและหนีไป ทว่าในที่สุดวิญญาณก็ตามทวงเอาชีวิต ซึ่งต่างจากบทความนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจาก เจ้าของกล้องถ่ายภาพนับร้อยที่กดชัตเตอร์ใส่ผีตนหนึ่ง คล้ายมหรสพที่นักการเมืองจัดให้ชาวบ้านในฤดูหาเสียง แต่ที่ร้ายก็คือ อำนาจของชัตเตอร์กลับสะกดให้ผีตกอยู่ใต้อำนาจของมนุษย์อย่างที่ผีไม่สามารถเอาคืนได้
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน แค่อ่านชื่อเรื่องหลายคนคงรู้จักคุ้นเคยกันดีว่านี่คือเนื้อเพลง “สยามเมืองยิ้ม” สำหรับคนที่เป็นคอลูกทุ่งยิ่งต้องรู้ว่า เพลงนี้ขับร้องโดยราชินีเพลงลูกทุ่งผู้ล่วงลับ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ส่วนผู้ประพันธ์เนื้อเพลงเป็นครูเพลงคู่บุญของเธอ ลพ บุรีรัตน์ 
ได้ฟังเพลงนี้ครั้งแรกก็สัมผัสได้ถึงความยิ่งใหญ่ในความเป็นชาติ รู้สึกทันทีว่าไพเราะกินใจ ซาบซึ้งไปกับบทเพลง ยิ่งฟังยิ่งเพราะ ขนาดที่เมื่อสิบกว่าปีก่อนเคยส่งเทปจัดรายการเพลงไปประกวดดีเจทางคลื่น “สไมล์เรดิโอ” ใช้เพลง “สยามเมืองยิ้ม” เป็นเพลงปิดรายการ ได้เข้ารอบแรกเสียด้วยแต่ตกรอบ ๒๐ คนสุดท้าย เพื่อนๆ ที่รอฟังและตามลุ้นพูดเหมือนกันว่า “สมควรแล้ว…
องค์ บรรจุน
  องค์ บรรจุน คนทั่วไปสับสนเกี่ยวกับลักษณะสายพันธุ์และชื่อเรียกของ "กระเจี๊ยบ" ว่าเป็นอย่างไรและเรียกว่าอะไรกันแน่ จะมีสักกี่คนที่รู้ถึงที่มาและคุณค่ามากมายมหาศาลของกระเจี๊ยบบ้านมอญในชนบทหลายแห่งเคยมีต้นกระเจี๊ยบริมรั้ว ริมคลองหนองบึง สำรับกับข้าวเคยมีแกงกระเจี๊ยบไม่ขาด แต่ทุกวันนี้ "กระเจี๊ยบ" เริ่มเลือนหายไปจากชีวิต ชนิดที่ไม่มีใครอาลัยอาวรณ์นัก แม้แต่จะนึกถึงความหลังที่แกงกระเจี๊ยบเคยอยู่คู่ครัวมาแต่อ้อนแต่ออก
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนหลายปีก่อนผู้เขียนเคยนั่งตากลม น้ำลายบูด หันซ้ายทีขวาที อยู่กลางวงสนทนาของผู้หลักผู้ใหญ่ในวงการประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมานุษยวิทยา ในวงนั้นมี รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม อยู่ด้วย ท่านพูดถึงความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในเมืองไทยไว้ประมาณว่า สังคมไทยหลอมรวมมาจากผู้คนและวัฒนธรรมของคนหลายกลุ่ม ความเป็นไทยแท้นั้นจึงเป็นเรื่องโกหก โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่มีสายเลือดอื่นเจือปนนั้นไม่มีจริงในโลก ในวันนั้นผมได้ยินคำอาจารย์ศรีศักรชัดถ้อยชัดคำเต็มสองหูว่า "ที่ไหนมีคนไทยแท้ช่วยมาบอกที จะเหมารถไปถ่ายรูปคู่เก็บไว้เป็นที่ระลึก และจะกราบตีนงามๆ สักที อยากเห็นจริงๆ..."
องค์ บรรจุน
 องค์ บรรจุนธรรมเนียมไทยแท้แต่โบราณ "ใครถึงเรือนชานต้องต้อนรับ" หัวเรื่องที่จั่วไว้ด้านบนบทความนี้ ถือเป็นคุณสมบัติอันน่าภาคภูมิของคนไทยอย่างหนึ่ง คนไทยทั้งผองเชื่อกันว่าคนไทยมีข้อดีงามหลายอย่าง เป็นต้นว่า โอบอ้อมอารีน้ำใจ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ กตัญญูรู้คุณ ซื่อสัตย์สุจริต ยิ้มสยาม หรือแม้แต่ "รักสามัคคี" และ "ไทยนี้รักสงบ..." ล้วนเป็นความดีเด่นประจำชนชาติไทยตามลัทธิอัตตานิยม "คนไทยดีที่สุดในโลก" ดังนั้นเมื่อหมอดูทำนายคนไทยหน้าไหนก็ตามว่าเป็นคนดีดังกล่าวข้างต้น จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าหมอดูไม่แม่น
องค์ บรรจุน
ถุงผ้าไม่ได้ลดโลกร้อน เพราะการใช้ถุงผ้าตามกระแสโดยเข้าไม่ถึงหลักใหญ่ใจความ ขณะที่ปริมาณการใช้ถุงพลาสติกยังคงเดิม คงไม่ต้องไปดูไหนไกลอื่น แค่เพียงเราสำรวจดูที่บ้านว่าเรามีถุงผ้าอยู่ในครอบครองกี่ใบ แต่ละวันที่เราออกไปทำธุระนอกบ้าน หรือเวลาที่ตั้งใจไปจ่ายตลาด มีใครสักกี่คนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วย และในบรรดาคนที่เอาถุงผ้าหรือตะกร้าติดตัวไปด้วยนั้น จะมีใครบ้างไหมที่ปฏิเสธแม่ค้าว่าไม่เอาถุงพลาสติก โดยเฉพาะแม่ค้าในตลาดสด "ไม่ต้องใส่ถุงพลาสติกชั่งน้ำหนักแล้วเทลงถุงผ้าเลย" อย่างน้อยการซื้อแกงถุงกลับบ้าน นอกจากถุงร้อนที่ใส่แกงแล้ว ยังมีถุงหูหิ้วสวมทับอีก ๑ ใบด้วยหรือไม่