Skip to main content

ภาสกร อินทุมาร




จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า…


วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ

ขอเชิญสายใจ                                เจ้าไปนั่งเล่น ลมพัดเย็นเย็น หอมกลิ่นมาลี

หอมดอกราตรี                    แม้ไม่สดสี หอมดีน่าดม

เหมือนงามน้ำใจ แม้ไม่ขำคม             กิริยาน่าชม สมใจจริงเอย

ชมแต่ดวงเดือน                  ที่ไหนจะเหมือน ได้ชมหน้าน้อง

พี่อยู่แดเดียว เปลี่ยวใจหม่นหมอง       เจ้าอย่าขุ่นข้อง จงได้เมตตา

หอมดอกชำมะนาด             กลิ่นไม่ฉูดฉาด แต่หอมยวนใจ

เหมือนใจน้ำใจดี ปรานีปราศรัย          ผูกจิตสนิทได้ ให้รักจริงเอย

ขอเชิญเจ้าฟังเพลงวังเวงใจ   เพลงของท่านแต่งใหม่ในวังหลวง

               หอมดอกแก้วยามเย็น                      ไม่เห็นใจพี่เสียเลยเอย

                               ดวงจันทร์หลั่นลดเกือบหมดดวง โอ้หนาวทรวงยอดชีวาไม่ปรานี

               หอมมะลิกลีบซ้อน                          อ้อนวอนเจ้าไม่ฟังเอย

                              จวนจะรุ่งแล้วนะเจ้า พี่ขอลา   แสงทองส่องฟ้าสง่าศรี

           หอมดอกกระดังงา                          ชิชะ ช่างน่าเจ็บใจจริงเอย

                      หมู่ภมรร่อนหาช่อมาลี          แต่ตัวพี่จำจากพรากไปไกล

           หอมดอกจำปี                                นี่แน่ะ พรุ่งนี้จะกลับมาเอย ฯ


เพลงนี้เป็นเพลงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๗) ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้น โดยทรงขยายจากเพลง “มอญดูดาว” ๒ ชั้น ให้มาเป็นเพลงเถา (เพลงเถาหมายถึงเพลงที่ประกอบไปด้วยจังหวะทั้ง ๓ ลักษณะ คือ ๓ ชั้น ซึ่งเป็นจังหวะช้า ๒ ชั้น ซึ่งเป็นจังหวะปานกลาง และชั้นเดียว ซึ่งเป็นจังหวะเร็ว การบรรเลงเพลงเถาจะเริ่มจากจังหวะช้าก่อน และจบลงด้วยจังหวะเร็ว)


picture1

 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ทรงซอบรรเลงเพลงราตรีประดับดาว


ถึงผมจะเป็นนักดนตรี แต่ก็ไม่ค่อยได้สนใจประวัติของเพลงนี้มากนัก ได้แต่เล่นและฟังไปด้วยความชอบ จนวันหนึ่งที่เพลงนี้ถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของความผูกพันและการพรากจาก ผ่านทางหนังสือที่ชื่อว่า “พรุ่งนี้จะกลับมาเอย” เมื่อครั้งงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ผมจึงเกิดความรู้สึกสะเทือนใจอย่างประหลาด ที่แม้ว่าในครั้งนั้นเมื่อผมฟังเพลงนี้ซึ่งมีเนื้อหาเชิญชวนมารับรักแกมตัดพ้อ แต่คำพูดสุดท้ายในเพลงที่ว่า “พรุ่งนี้จะกลับมาเอย” นั้นเป็นเพียงการลาจาก เพื่อจะกลับมาบอกรักอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น ไม่เหมือนกับการจากในชีวิตจริง ที่เมื่อถึงเวลาหนึ่ง ผู้ที่จากไปจะไม่มีวันกลับมาอีก




เมื่อผมเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย เพลงประจำมหาวิทยาลัยของผมมี ๒ เพลง นักศึกษาใหม่ส่วนใหญ่จะได้ยินเพลงประจำมหาวิทยาลัยฉบับที่แต่งขึ้นทีหลัง แต่สำหรับผม เพลงประจำมหาวิทยาลัยที่บ่งบอกตัวตนและจุดยืนทางสังคมของมหาวิทยาลัยคือเพลงฉบับดั้งเดิม ที่ร้องว่า...


                 สำนักไหนหมายชูประเทศชาติ               ด้วยอำนาจปกครองให้ผ่องเฟื่องมา

         เอ๋ย เราเป็นไทย เรารักไทย บูชาไทย             ไม่ยอมให้ ใครผู้ใด มาล้างเสรีไทย

                     สำนักนั้นธรรมศาสตร์และการเมือง          ก่อรุ่งเรืองสมบูรณ์เขตต์ประเทศไทยมา

        เอ๋ย ธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์การเมือง           ไทยจะเฟื่อง ไทยจะรุ่งเรือง ก็เพราะการเมืองดี

                   เหลืองของเราคือธรรมประจำจิตต์            แดงของเราคือโลหิต อุทิศให้มา

       เอ๋ย เหลืองกับแดง เหลืองกับแดง เหลืองกับแดง ทุกทุกแห่ง ทุกทุกแห่ง แต่ล้วนเหลืองกับแดง

                 ชื่อว่าธรรมแล้วเราเทอดให้สมไทย            ทุกอย่างไปงานหรือเล่นต้องเป็นไทยมา

       เอ๋ย ใครรักชาติ ใครรักธรรมเหมือนกับเรา        จงมาเข้า และโปรดเอาใจช่วยเหลืองกับแดง


ผมเข้าใจว่าเพลงนี้ไม่มีชื่อ รับรู้กันแต่เพียงว่าเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยที่แต่งเนื้อร้องขึ้นโดยขุนวิจิตรมาตรา โดยท่านผู้แต่งอาศัยทำนองเพลง “มอญดูดาว” มาเป็นทำนองของเพลงนี้ดังนั้น นักศึกษาจึงเรียกเพลงนี้ว่าเพลงมอญดูดาวตามชื่อเพลงที่เป็นต้นทำนอง


 

picture2
ขุนวิจิตรมาตรา


ผมเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า เพลงนี้ส่งผลต่อความคิดและจุดยืนทางสังคมของนักศึกษาจำนวนมากมาย นั่นคือการเชื่อมั่นและยึดมั่นในความเป็นธรรมเฉกเช่นเดียวกับจุดยืนของมหาวิทยาลัยดังที่ปรากฏในเนื้อเพลง ต่างจากเพลงประจำมหาวิทยาลัยฉบับใหม่ ที่พยายามบอกเพียงว่าให้นักศึกษารักและภูมิใจในมหาวิทยาลัย โดยไม่รู้ว่าเพราะเหตุใดเราจึงควรภูมิใจและรัก

picture3



ชีวิตการทำงานของผมที่ต้องเกี่ยวข้องกับงานวิชาการ ได้พาผมไปพบกับงานวิจัย เรื่อง “อิทธิพลของทำนองเพลงมอญที่ปรากฏในเพลงไทยสากล” ของ อาริสา อำภาภัย ซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (๒๕๔๗) ที่กล่าวว่า ทำนองเพลงมอญได้เข้ามาอยู่ในเพลงไทยนานเกินกว่าจะกำหนดเวลาได้ โดยในส่วนของเพลงไทยสากลนั้น ได้มีการนำทำนองเพลงมอญเข้ามาใช้ตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ การที่นักดนตรีนำทำนองเพลงมอญเข้ามาใช้ในเพลงไทยสากลนั้นเป็นเพราะความไพเราะระคนเศร้า รวมทั้งความผูกพันทางวัฒนธรรมระหว่างไทย-มอญ นั้นมีความแน่นแฟ้นและต่อเนื่องยาวนานมาหลายศตวรรษจนกลืนกลายเป็นเนื้อเดียวกัน

 

 

picture4

วงดนตรีมอญพื้นบ้านบ้านเจ็ดริ้ว สมุทรสาคร (ถ่ายเมื่อราว .. ๒๕๐๐)


การได้อ่านงานวิจัยฉบับนี้ ทำให้ผมนึกถึงถึงเพลง “มอญ” ทั้ง ๒ ที่ผมกล่าวถึงข้างต้น ซึ่งเป็นเพลงที่ยังคงอยู่ในความทรงจำของผมจนทุกวันนี้ รวมทั้งย้อนระลึกถึงช่วงเวลาที่ผมยังเป็นนักดนตรี ที่ผมเล่นเพลงที่มีคำขึ้นต้นว่า มอญ แขก แขกมอญ เขมร ลาว จีน ฯลฯ มากมายหลายหลาก และถึงแม้ในเวลานี้ผมจะจำเพลงเหล่านั้นได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ก็ทำให้ผมได้มองเห็นตัวเองในช่วงเวลานั้น ว่าผมไม่เคยตระหนักรู้ถึงการดำรงอยู่ของชาติพันธุ์ต่างๆในเพลงที่ผมเองเป็นผู้เล่น ผมรับรู้เพียงว่าผมเล่นเพลง “ไทย” รวมทั้งเพลงมหาวิทยาลัยที่ทุกคนเรียกว่าเพลงมอญดูดาวนั้น ผมก็ร้องด้วยสำนึกเพียงว่าเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย ไม่เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับชาติพันธุ์มอญ


การย้อนระลึกถึงเพลงมอญในความทรงจำของผม ทำให้ผมพบว่าผู้คนต่างดำรงอยู่ท่ามกลางความหลากหลายและการผสมกลืนกลายทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ที่เราเรียกว่าประเทศไทย โดยที่เราเองก็อาจจะไม่รู้เลยว่าในตัวเรานั้นมีความเป็นชาติพันธุ์ใดผสมปะปนอยู่บ้าง และความเป็นชาติพันธุ์ต่างๆ เหล่านั้นส่งผลต่อวิธีคิดและสำนึกของเราอย่างไร


=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=-=


หมายเหตุ สามารถฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” ได้ตาม link ที่ปรากฏนี้

http://p-i-e.exteen.com/20071028/entry เป็น website ที่มีผู้นำเพลงนี้ถึง ๕ รูปแบบมาบรรจุไว้ และขอแนะนำให้ผู้ที่สนใจฟังเพลงที่ ๒ บรรเลงโดยวงมโหรีของกรมศิลปากร ขับร้องโดย ครูแจ้ง คล้ายสีทอง ศิลปินแห่งชาติชาวไทยเชื้อสายมอญสุพรรณบุรี

 

 

บล็อกของ องค์ บรรจุน

องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนเราต่างเกิดมาพร้อมข้อมูลส่วนบุคคล สามารถสืบย้อนโคตรวงศ์กลับไปได้ไม่รู้จบ ผิวพรรณ ฐานะ และเชื้อชาติของผู้ให้กำเนิดย่อมเป็นข้อมูลที่เกิดรอล่วงหน้า เป็นมรดกสืบสันดานมาต่อไป ส่วนศาสนาและการศึกษาถูกป้อนขณะอยู่ในวัยที่ยังไม่อาจเลือกเองเป็น หลังจากนั้นหากต้องการแก้ไขก็ทำได้เองตามชอบ ศัลยกรรมทำสีผิว ผ่าตัดแปลงเพศ หรือแม้แต่เปลี่ยนศาสนา กระทั่งสัญชาติก็เปลี่ยนกันได้ ยกเว้น “เชื้อชาติ” ที่ไม่มีใครสามารถเปลี่ยน ในงานเสวนา “มอญในสยามประเทศ (ไทย) ชนชาติ บทบาท และบทเรียน” เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๑ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวถึงความล้าหลังคลั่ง “เชื้อชาติ” ว่า…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร ๑ จำได้ว่าเมื่อตอนที่ผมริเป็นนักดนตรีไทยใหม่ๆ ในวัยเด็ก และได้ฟังเพลง “ราตรีประดับดาว” เป็นครั้งแรกนั้น ผมรู้สึกว่าเพลงนี้ช่างเพราะเหลือเกิน เพราะทั้งทำนองและเนื้อร้อง โดยที่เนื้อร้องมีอยู่ว่า… วันนี้                                 แสนสุดยินดี พระจันทร์วันเพ็ญ ขอเชิญสายใจ                       …
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัย ข้าพเจ้าทราบข่าวว่าในวันที่ 2 พฤษภาคม 2551 ได้เกิดพายุไซโคลนนาร์กีส จากอ่าวเบ็งกอร์  อันที่ได้สร้างความเสียหายทางด้านชีวิต และทรัพย์สินแก่ประชาชนชาวพม่า ที่อาศัยอยู่ในเขตตอนล่างของประเทศจีน จนถึงกลุ่มชนมอญ กระเหรี่ยง เป็นจำนวนมากโดยเป็นตัวแทนรัฐบาล ประชาชน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ข้าพเจ้าขอแสดงความเสียใจ และเห็นใจมายังท่าน และประชาชนชาวพม่า จะสามารถฟื้นฟูเขตที่เกิดความเสียหายจากภัยพิบัติในครั้งนี้ด้วยความเคารพและนับถืออย่างสูงนครหลวงเวียงจันทน์ วันที่ 5 พฤษภาคม 2551  ข้างต้นนี้เป็นสาส์นแสดงความเสียใจที่ฯพณฯท่านบัวสอน บุบผานุวง นายกรัฐมนตรีแห่ง…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“มอญอะไร นุ่งผ้าถุงลายนี้ มีผ่าหลังด้วย มอญเค้าไม่มีกันหรอก” นักวิชาการมหาวิทยาลัยเปิดแถวเมืองนนท์ชี้ให้ดู“มอญของแท้ต้องโสร่งแดง นุ่งลอยชายแบบพระประแดงนั่นน่ะมอญแปลง เอาแบบกรมศิลป์มาใส่...” พิธีกรสุดเริ่ดดอกเตอร์หมาดๆ รายการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ข้างตำราพูดเสียงยาวแล้วยังจะอีกพะเรอเกวียน ตำหนิ ติ บ่น ก่น ด่า ถากถาง ตั้งความฝัน คาดหวังให้เป็น ขีดเส้นให้ตาม- - - - - - - - - - -จิตรกรรมฝาผนังวัดบางแคใหญ่ สมุทรสงคราม สมัย ร. 2 เป็นภาพสาวมอญนุ่งผ้าแหวกผ่านกลุ่มชายหนุ่ม และถูกเกี้ยวพาราสี
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร๑เดือนกุมภาพันธ์เป็นเดือนที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อย่างน้อย ๒ กลุ่ม คือ จีนและมอญ  มีกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่ผูกโยงอยู่กับ “อัตลักษณ์” (identity) ของชาติพันธุ์แห่งตน นั่นก็คือ “วันตรุษจีน” หรือการเฉลิมฉลองการขึ้นปีใหม่ตามคติจีน ที่รวมถึงการรำลึกถึงบรรพชนของตน และ “วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่คนไทยในกลุ่มชาติพันธุ์มอญจากหลายจังหวัดทั่วประเทศมารวมตัวเพื่อกันทำบุญให้แก่บรรพชนผู้ล่วงลับ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรม คนจีนและคนมอญได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอาณาบริเวณที่เรียกว่าประเทศไทยในปัจจุบันตั้งแต่ก่อนการสถาปนาความเป็น “รัฐชาติ” (nation state) มาเนิ่นนาน…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยอากาศช่วงนี้ช่างร้อนระอุได้ใจยิ่งนัก แม้ว่าฝนจะตกลงมาอย่างหนักในบางที แต่ก็ไม่ได้ช่วยให้หายร้อนแต่ประการใด ร้อนๆ แบบนี้พาให้หงุดหงิดง่าย แต่พ่อฉันมักจะสอนว่า “นี่คือธรรมชาติที่มันต้องเกิด เราต้องเข้าใจธรรมชาติ คนที่ไม่เข้าใจและโมโห หงุดหงิดกับธรรมชาติคือคนเขลา และจะไม่มีความสุข” *******************
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดในช่วงเวลาของการแสวงประสบการณ์ ผู้เขียนมีความใฝ่ฝันมานานแล้วว่าครั้งหนึ่งในชีวิตขอให้ได้มีโอกาสทำงานโบราณคดีในภาคเหนือสักครั้ง  ดังนั้น เมื่อราวกลางปีพ.ศ. ๒๕๓๙ ผู้เขียนจึงเดินทางขึ้นเหนือและ เริ่มต้นงานแรกที่จังหวัดลำปาง คืองานบูรณะซ่อมแซมวิหารจามเทวี วัดปงยางคก ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง จากนั้นอีกไม่กี่เดือนเมื่องานที่ลำปางเสร็จสิ้นลง ก็เดินทางต่อมาที่เชียงใหม่ เพื่อทำการขุดศึกษาทางโบราณคดีที่เจดีย์เหลี่ยม หรือ กู่คำ เจดีย์สำคัญของเวียงกุมกาม ตลอดเวลาที่มองเห็นซากปรักหักพังของวัดร้างในเวียงกุมกาม น่าแปลกใจที่ตอนนั้นยังไม่ได้มีความคิดเกี่ยวกับมอญเท่าไรนัก…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุนวงดนตรีพื้นเมืองของแต่ละชาติย่อมมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง แต่กระนั้นวงดนตรีที่อยู่ในภูมิภาคใกล้เคียงกัน ไม่ว่าพม่า มอญ ไทย ลาว เขมร ย่อมมีความคล้ายคลึงกันเพราะต่างได้รับอิทธิพลซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะดนตรีมอญกับไทยมีความใกล้เคียงกันมาก ทั้งเครื่องดนตรีและทางดนตรี เหตุเพราะไทยรับเอาอิทธิพลของดนตรีมอญมาไม่น้อย ในเมืองไทยจึงมีเพลงมอญเก่าแก่หลงเหลืออยู่มากมาย เช่น แประมังพลูทะแย กชาสี่บท ดอมทอ ขะวัวตอฮ์ เมี่ยงปล่ายหะเลี่ย เป็นต้น [1] รวมทั้งครูเพลงมอญในเมืองไทยยังได้มีการแต่งเพลงไทยสำเนียงมอญขึ้นมาอีกมากมาย เช่น มอญรำดาบ มอญดูดาว (เพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) มอญอ้อยอิ่ง มอญแปลง…
องค์ บรรจุน
ขนิษฐา คันธะวิชัยสมาชิกชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพรื่นเริงบันเทิงใจและปลาบปลื้มชื่นชม...เคยมีคนบอกกับฉันว่า ฉันไม่ควรไปร่วมงานวันชาติมอญในเมืองมอญเพราะฉันต้องเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีกรรมและความเป็นชนชาติของชาวมอญ จึงทำให้ฉันไม่แน่ใจว่าการใช้คำ “รื่นเริงบันเทิงใจ” หรือ “ปลาบปลื้มชื่นชม” จะเป็นการสมควรหรือไม่ แต่นั่นก็คือความรู้สึกที่ฉันได้รับจากการไปงานวันชาติมอญครั้งที่ 61 ที่จัดขึ้น ณ หมู่บ้านบ่อญี่ปุ่น (ปะลางเจปาน) ด่านเจดีย์สามองค์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านมอญที่อยู่นอกพรมแดนประเทศไทย งานวันชาติมอญนี้จัดกันหลายที่ทั่วโลกที่มีชุมชนมอญอยู่ ทั้งในไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ อังกฤษ แคนาดา สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา…
องค์ บรรจุน
ภาสกร อินทุมาร“วันรำลึกชนชาติมอญ” ที่จัดขึ้นทุกปีนั้น ปีนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒-๓ กุมภาพันธ์ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร ด้วยความร่วมมือของชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพ วัดบ้านไร่เจริญผล และพี่น้องชาวมอญจากหลายๆ พื้นที่ก่อนงานจะเริ่ม พวกเรา-คณะเตรียมงาน ประมาณ ๑๐ คน ได้เดินทางไปยังสถานที่จัดงานตั้งแต่วันที่ ๑ เพื่อเตรียมความพร้อมต่างๆ ตั้งแต่การตกแต่งบริเวณงานด้วยธงราวรูปหงส์ที่พวกเราทำขึ้น, การผูกผ้าและจัดดอกไม้, การตกแต่งเวที, การติดตั้งนิทรรศการเคลื่อนที่, การเตรียมสถานที่สำหรับทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพชนมอญ ฯลฯ…
องค์ บรรจุน
สุกัญญา เบาเนิดและแล้วสิ่งที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็เกิดขึ้นจนได้....เมื่อเช้าตรู่ของวันเสาร์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ วันแรกของการจัดงานวันรำลึกชนชาติมอญครั้งที่ ๖๑ ณ วัดบ้านไร่เจริญผล ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร โดย วัดและชุมชนมอญบ้านไร่เจริญผล ร่วมกับชมรมเยาวชนมอญกรุงเทพฯ ข้าพเจ้าตื่นขึ้นพร้อมกับเสียงตระหนกของเพื่อนคนหนึ่งที่วิ่งกระหืดกระหอบนำข่าวของเช้านี้มาบอก “....เร็วๆมาดู อะไรนี่ ...ยกโขยง มากันเป็นร้อยเลยว่ะ...เต็มวัดไปหมด .....”  ในทันทีนั้นข้าพเจ้าจึงชะโงกหน้ามองจากหน้าต่างชั้นบนของศาลาการเปรียญที่พวกเราอาศัยซุกหัวนอนกันตั้งแต่เมื่อคืนเพื่อมาเตรียมจัดงาน…
องค์ บรรจุน
องค์ บรรจุน“ทะแยมอญ” เป็นการละเล่นพื้นบ้านของมอญอย่างหนึ่ง สำหรับท่านที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน คงหลับตานึกภาพไม่ออก แต่อธิบายให้ฟังเพิ่มเติมว่า เป็นการแสดงที่ให้อารมณ์คล้ายๆ การแสดงลำตัดของไทย เป็นการร้องโต้ตอบด้วยปฏิภาณกวี มีทั้งเรื่องธรรมและเกี้ยวพาราสีของนักแสดงชายหญิงประกอบวงมโหรีมอญ คนที่ฟังไม่ออกก็อาจเฉยๆ แต่หากเป็นคนมอญรุ่นที่หิ้วเชี่ยนหมากมานั่งฟังด้วยแล้วละก็ เป็นได้เข้าถึงอารมณ์เพลง ต้องลุกขึ้นร่ายรำตามลีลาของมโหรี หรือบางช่วงอาจเพลินคารมพ่อเพลงแม่เพลงที่โต้กลอนกันถึงพริกถึงขิง อาจต้องหัวเราะน้ำหมากกระเด็นไปหลายวาทีเดียวทะแยมอญบ้านเจ็ดริ้ว อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ถ่ายเมื่อราวปี…