Skip to main content

 
 

1.

ถ้าคุณไม่เข้าไปค้นหา  คุณก็จะไม่พบ
ถ้าคุณไม่เดินทางเข้าไปเยือน
คุณก็ไม่มีโอกาสรับรู้ถึงความเงียบสงบ
และคุณก็จะไม่รู้เลยว่าในหุบเขาลึกอันรกครึ้มด้วยดงป่าหนาทึบนั้น
มีชุมชน มีผู้คนซ่อนตัว อาศัยอยู่มานานนับหลายร้อยปีมาแล้ว
ไม่แน่...หากมีนักมานุษยวิทยาหรือนักโบราณคดีไปสืบค้นหาร่องรอยอย่างถี่ถ้วน
หมู่บ้านแห่งนี้อาจมีอายุยาวนานนับพันปีก็เป็นไปได้
และถ้าคุณไม่เดินทางเข้าไปอยู่ร่วม สัมผัส จับมือเขา กินข้าวร่วมขันโตกเดียวกันกับเขา
จิบน้ำชา  และล้อมวงสนทนากัน พูดคุยด้วยหัวใจเปิดกว้างอย่างเป็นธรรม
คุณก็จะไม่มีโอกาสรู้หรอกว่า ผู้คนที่นั่นเขาอยู่ร่วมกับผืนดินผืนป่าและสายน้ำกันอย่างไร
อย่างสมบูรณ์ สอดคล้อง เกื้อหนุนกันเป็นหนึ่งเดียว
แน่ละ ถ้าคุณไม่เข้าไปค้นหา คุณก็จะไม่มีวันค้นพบ...
อีกทั้งคุณอาจมีความคิดเหมือนๆ กับเจ้าหน้าที่รัฐ นักวิชาการบางคน
หรือชนชั้นกลางบางกลุ่ม พวกเขาล้วนยืนอยู่บนหอคอย ผูกเน็คไทแช่ตัวอยู่ห้องแอร์
แล้วพร่ำบ่นต่อว่า ถากถางอยู่ย้ำๆ ว่า...คนอยู่กับป่าไม่ได้ คนอยู่ที่ไหน ป่าถูกทำลายหมด
ยิ่งเป็นชาวเขาแล้ว  ยิ่งไปกันใหญ่ ตัวการทำลายป่า
และที่สำคัญ...มีทางออกทางเดียวเท่านั้น คือต้องเอาคนออกจากป่า!?
จริงสิ  คุณอาจไม่รู้สึกรู้สาอะไร
และคุณคงมิอาจล่วงรู้ได้ว่า  คำพูด ความคิดของคุณนั้น
มันไปกระทบกระเทือนหัวจิตหัวใจของผู้คนในหุบเขานั้น
ให้เจ็บปวดรวดร้าวเพียงใด. 
 

2.

ผมกลับไปอ่านบทความของ ดร.ท่านนั้นอีกครั้ง...
เพียงแค่ถ้อยคำเกริ่นนำ  ทำให้หลายคนสัมผัสได้ว่า  เป็นน้ำเสียงของความหมิ่นแคลนในความเป็นชนเผ่าอย่าง   เห็นได้ชัด

...ในช่วงที่ผ่านมา มีข่าวว่ารัฐบาลจะออก ‘โฉนดชุมชน’ ผมเห็นว่าแนวคิดนี้เป็นเรื่องวิบัติที่จะสร้างปัญหาอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติในอนาคต เปรียบเสมือนการออกโฉนดชนเผ่าแบบประเทศด้อยพัฒนา ทั้งที่ประเทศไทยก็มีโฉนดที่ดินให้บุคคลและนิติบุคคลถือครองมานับร้อยปีอยู่แล้ว และถือเป็นการแก้ปัญหาผิดจุดเป็นอย่างยิ่ง...

ดร.ท่านนั้น จะเน้นคำว่า ชนเผ่า โฉนดชนเผ่า ชาวเขา...ออกมาย้ำๆ

...กรณีชาวเขา ที่มักนำมาอ้างว่าไม่ได้ทำลายป่าจากการปลูกไร่เลื่อนลอย (หมุนเวียน) นั้น คงเป็นชาวเขากลุ่มเล็ก ๆ แต่เดี๋ยวนี้ชาวเขามีมากมาย ป่าไม้คงไม่พอให้พวกเขาหาเลี้ยงชีพ คนชาวเขาจำนวนมากก็ทำงานในเมือง เช่นคนชนบททั่วไป ชาวเขาที่หาของป่า จับสัตว์ป่ามาขาย ควรหรือที่จะทำเช่นนี้ และนี่หรือคือคนที่จะพิทักษ์ป่า บางทีการจ้างให้พวกเขอยู่เฉย ๆ ไม่ให้บุกรุกป่า และทำหน้าที่ช่วยรักษาป่า ยังดีกว่าปล่อยให้พวกเขาบุกรุกป่าเช่นนี้…

3.
 

พูดถึงเรื่อง  ไร่หมุนเวียน – ไร่เลื่อนลอย ทำให้ผมหยิบรายงานวิจัยโครงการศึกษาวิจัยเรื่อง‘ระบบการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน : สถานภาพและการเปลี่ยนแปลง’ โดย‘ดร.อานันท์ กาญจนพันธุ์’หัวหน้าโครงการฯ มาทบทวนอ่านอีกครั้ง

ในรายงานชิ้นนี้ พยายามอธิบายให้ชัดๆ เหมือนกับต้องการตะโกนออกมาดังๆ ว่า หน่วยงานรัฐและสังคมยังมีความเข้าใจผิด ต่อระบบไร่หมุนเวียนหลายประการ สรุปได้ดังนี้  

หนึ่ง การทำไร่หมุนเวียนไม่ใช่การตัดไม้ทำลายป่า แต่เป็นเกษตรกรรมบนพื้นฐานขององค์ความรู้พื้นบ้าน มีเป้าหมายเพื่อการปลูกการปลูกพืชอาหารยังชีพเป็นหลัก มีรูปแบบที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่าง ๆ เช่น ระบบนิเวศ สังคม วัฒนธรรม ฯลฯ ผลกระทบจึงแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ ด้วย         

สอง เมื่อเปรียบเทียบกับกิจกรรมการใช้พื้นที่ป่าในรูปแบบอื่น ๆ รวมทั้งการทำเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ เช่นการปลูกไม้ดอกและพืชผักเมืองหนาว การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ การทำไร่หมุนเวียนส่งผลต่อระบบนิเวศน้อยกว่าอย่างมาก ทั้งนี้ผลกระทบดังกล่าวได้แก่การสูญเสียพื้นที่ป่าอย่างถาวร การชะล้างพังทลายของหน้าดิน การเกิดสารพิษตกค้างในดิน น้ำ อากาศ เป็นต้น           

และ ประเด็นสุดท้าย คือ พื้นที่ไร่หมุนเวียน(รวมทั้งพื้นที่ไร่เก่าที่ปล่อยทิ้งไว้ให้พักตัว)มีสัดส่วนน้อยมาก เมื่อเทียบกับพื้นที่ส่วนอื่น ๆ ในชุมชนที่ทำการศึกษา เช่น ป่าชุมชน ที่อยู่อาศัย รวมทั้งป่าอนุรักษ์ที่ชุมชนกำหนดไว้ให้เป็นพื้นที่ป่าถาวร ซึ่งจะไม่มีการเข้าไปแผ้วถางทำกินเด็ดขาด เว้นแต่การเก็บหาผลิตผลมาใช้ประโยชน์ ภายใต้กฎป่าชุมชนเท่านั้น 
  


  

4.

เราลองมาฟังมุมมองคำพูดของชาวบ้าน  ชนเผ่า ที่หลายคนยังมองว่าคือตัวการทำลายป่ากันดีกว่า  นี่คือคำสนทนาระหว่างเรา (ผมและคณะทำงานเครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย) กับคุณชัยประเสริฐ โพคะ ตัวแทนชาวบ้านชนเผ่าปว่าเก่อญอ บ้านห้วยหินลาดใน อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย

“มาถึงตอนนี้ระบบไร่หมุนเวียนยังจะเป็นคำตอบสุดท้ายอยู่มั้ย อะไรจะเป็นหลักประกันว่าจะยังคงอยู่ต่อไป” 
“ผมเชื่อว่าขึ้นอยู่กับการสืบทอด คนเรานี่สืบทอดรุ่นต่อรุ่น และหมู่บ้านนี้สืบทอดกันมาได้สี่ชั่วอายุคนแล้ว แต่ก็ยังมีคนบอกมาเรื่อยๆ ว่าทำไร่หมุนเวียนไม่ดี อยู่กับป่า ป่าเสียหาย กระแสตัวนี้ก็จะมาเรื่อยๆ เคยมีการวิจัยไร่หมุนเวียน ผลการวิจัยก็ออกมาว่าไร่หมุนเวียนอยู่กับป่าได้ พอมาเดี๋ยวนี้ก็มาบอกอีกแล้วว่าทำไร่หมุนเวียนได้ แต่ห้ามเผา เพราะมันก็จะเกี่ยวกับเรื่องโลกร้อนอีก”  

“แล้วมันทำให้โลกร้อนจริงหรือเปล่าละ...” เราแหย่ถาม
 
“นี่รู้มั้ยตอนนี้ผมกับชาวบ้านกำลังทำงานวิจัยภาวะโลกร้อนด้วยนะ” เขาบอกกับเรา 
“ทำอย่างไงหรือ”
“เราก็ทำวิจัยกันว่า ปีที่เราทำไร่หมุนเวียนมีกี่แปลง แปลงที่เปิดพื้นที่มีเท่าไหร่ แปลงที่เราเผามันจะมีคาร์บอนได้กี่กิโล แล้ว 7 แปลงที่ปล่อยไว้นี่มันจะดูดคาร์บอนได้เท่าไหร่ แล้วป่าที่เราดูแลในชุมชนหนึ่งหมื่นไร่นั้นมันจะดูดคาร์บอนได้เท่าไหร่ เราต้องตอบคำถามให้กับสังคมให้ได้ เพราะว่าทุกอย่างมันเป็นการเรียนรู้”  

“แล้วมองปัญหาโลกร้อนอย่างไรบ้าง”
 
“เรื่องโลกร้อนนี่เราหยุดไม่ได้แน่นอน เพราะมันสะสมมาเป็นหมื่นๆ ปี แต่เราจะทำอย่างไรไม่ให้เพิ่มมากกว่านี้ ถ้าบอกว่าโลกร้อน ทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องกันหมด แต่เราต้องช่วยกันว่าจะลดได้อย่างไร เราจะทำอย่างไรที่จะไม่เพิ่มระดับ หนึ่ง พวกเราต้องทำลายน้อยลงมาได้ไหม ปลูกเพิ่มขึ้นได้ไหม อีกอย่างคือเราทำให้เสียน้อยลงนิดหนึ่งได้ไหม เขาเรียกว่ารอยเท้านิเวศน์ เกี่ยวกับเรื่องการบริโภคทรัพยากรมากน้อยแค่ไหน”  

“ในขณะที่สังคมเมืองบอกว่าคนดอยใช้ทรัพยากรเปลืองกว่า แต่คนบนดอยก็บอกว่าคนที่อยู่ในเมืองต่างหากที่ใช้ทรัพยากรเปลืองกว่าคนที่อยู่ในป่า”
 
“ผมว่าแน่นอน เพราะคุณขับรถไปคันหนึ่งมันลากป่าเข้าไปหลายร้อยไร่ต่อคน สตาร์ทที มันก็ดูดคาร์บอนแล้ว แค่เราสตาร์ทรถคันหนึ่งมันก็ต้องอาศัยป่าแล้ว เราดูแลป่า เราก็ต้องให้คนเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ด้วย ถ้าไม่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา คนจะไม่เข้าใจคนที่อยู่กับป่า เราอยากบอกว่า เราไม่ใช่เป็นเจ้าของป่า เราเป็นแค่ยามเฝ้าป่าเท่านั้น”  

“ช่วยอธิบายชัดๆ อีกทีได้มั้ยว่ามีเกณฑ์การประเมินอย่างไรว่าชุมชนจะช่วยสร้างการดูดซับก๊าซคาร์บอนได้ยังไง”
 
“คือมันเป็นวิชาการนิดหนึ่ง เพราะว่าชาวบ้านอาศัยนักวิชาการมาร่วมด้วย พอดีมีนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยมหิดล กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และอีกหลายมหาวิทยาลัยที่มาร่วมกันทำงานวิจัย ภายใต้ชื่อโครงการไร่หมุนเวียน แต่วิจัยกรณีเรื่องโลกร้อน ว่าปีหนึ่งมีการปล่อยคาร์บอนได้เท่าไหร่ เราดูดคาร์บอนได้เท่าไหร่ ไม่ใช่เฉพาะไร่อย่างเดียว รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นสวนชา ที่นา รวมไปถึงการวิจัยในพื้นที่ที่ปลูกข้าวโพด การทำนาใส่สารเคมี ก็ทำเป็น 3-4 ช่วง ตอนนี้อยู่ในช่วงเก็บข้อมูลเพิ่งเริ่มต้นปีแรกอยู่...” 

“ทำวิจัยละเอียดมากมั้ย” 
“ก็มีทั้งการขุดดินไปชั่ง สมมติว่า ขุดดินหนึ่งเมตร เอาไปชั่งว่ามีกี่กิโล มันดูดความชื้นได้เท่าไหร่ ดูดคาร์บอนได้เท่าไหร่ เอาไปตากแห้งเหลือกี่กิโล เอาไปเผาให้หมดเหลือกี่กิโล เผาเสร็จเท่าไหร่ก็ปล่อยคาร์บอนได้เท่านั้น” 

เราพูดคุยกันอย่างออกรส  ตั้งแต่เริ่มต้นเรื่อง ผลผลิตจากป่า ชา สมุนไพร หน่อไม้ น้ำผึ้ง ไร่หมุนเวียน กระทั่งมาถึงเรื่องโลกร้อน 
แน่นอนว่า ยิ่งฟังยิ่งสนุก ยิ่งได้ความรู้ใหม่ๆ  จากเขามากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งผมแอบชื่นชมในภูมิปัญญาของเขามานาน ว่าเขาเป็นคนที่อยู่กับป่าคนหนึ่ง ที่สามารถ นำเอาประสบการณ์การเรียนรู้มาปรับใช้ในวิถีชุมชนของเขาได้อย่างน่าทึ่ง 

“เดี๋ยวนี้ฝรั่งเขาทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่อง คน เขาบอกว่าคนในอเมริกาเกิดมา 7 วัน เท่ากับชุมชนในป่าปีหนึ่ง” เขาบอกกับเรา ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม แต่ว่าหลายคนฟังแล้วยังงงๆ
 
“คือคนอเมริกาเกิดมา 7 วัน คลอดปุ๊บต้องใช้ออกซิเจนใช่มั้ย ออกซิเจนก็มาจากป่า เปิดแอร์ก็มาจากป่า แล้วให้หมอดูแล ค่าจ้างของหมอก็มาจากป่า คนที่ดูแลรายได้มาจากสิ่งแวดล้อมหมดเลย 7 วันใช้ออกซิเจนกี่กิโล แอร์เท่าไหร่ ไฟเท่าไหร่ คิดแค่ 7 วัน เท่ากับชุมชนที่อยู่ป่าทั้งชุมชน 1 ปี นี่เป็นงานวิจัยพี่น้องที่เป็นฝรั่ง นักวิจัยมาจากสหรัฐฯ มาจากฟินแลนด์ มาร่วมคิดแล้ววิจัยร่วมกัน ซึ่งเป็นจริง ยืนยันได้”  

เขาอธิบายให้เห็นภาพ ว่าทุกอย่างมันเชื่อมโยงกันหมด  และทำให้เรารับรู้ได้ว่า  ในขณะคนเมืองใช้ทรัพยากรสิ้นเปลืองมากเท่าไร ชาวบ้านที่อยู่กับป่าจะต้องใช้แรงและพลังมหาศาลมากเพียงใดในการดูแลป่าให้คงอยู่เพื่อสร้างออกซิเจนให้กับคนเมือง
 

“การที่มีนักวิชาการทำวิจัยชิ้นนี้ ทำให้พวกเราชาวบ้านมีกำลังใจ ถือว่าเป็นกำลังใจให้กับชุมชนที่อยู่กับป่า ที่ช่วยกันดูแลป่านั้นมีความสุข เพราะผมถือว่างานอะไรทุกอย่างที่ทำให้ชุมชนมีกำลังที่จะต่อสู้กับสิ่งเหล่านั้นได้ พวกเราก็มีกำลังใจที่จะดูแลสิ่งเหล่านั้นได้…” เขากล่าวทิ้งท้ายให้เราได้ฉุกคิด
 

ครับ, นี่คือบทสนทนา  คือถ้อยคำ ความคิดของ คุณชัยประเสริฐ โพคะ ตัวแทนชาวบ้านปว่าเก่อญอบ้านห้วยหินลาดใน  ที่เหมือนจะพยายามสื่อสารแลกเปลี่ยนกับเรา เพื่อหวังว่าจะสื่อสารผ่านไปยังคนเมืองข้างล่าง ว่าชาวบ้าน คนที่อยู่กับป่า กำลังทำเพื่อสิ่งใด และเขาทำเพื่อใคร!?
 
 
ในขณะที่ยังมีใครอีกหลายคน พยายามมองโลก มองธรรมชาติแบบแบ่งแยก. 

 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
“พระจันทร์กำลังขึ้นในหุบเขาผาแดง...” เสียงของเจ้าธันวา ลูกชายกวีเอ่ยออกมาด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น กับภาพที่ฉายอยู่เบื้องหน้า พระจันทร์ดวงกลมโตกำลังเดินทาง โผล่พ้นหลังดอยผาแดงอย่างช้าๆ ก่อนลอยเด่นอยู่เหนือยอด ลอยสูงขึ้นไปบนเวิ้งฟ้าราตรี  0 0 0 0 อีกหนึ่งความทรงจำที่ตรึงผมไว้กับการเดินทางวันนั้น เป็นการเดินทางช้าๆ ไม่เร่งรีบ เรียบง่าย ไม่มีเป้าหมาย แต่เราได้อะไรๆ จากความเรียบง่ายนั้นมามากมาย เมื่อผมนัดกับพี่ชายกวี ‘สุวิชานนท์ รัตนภิมล’ คนเขียนหนังสือ คนเขียนเพลง คนเขียนคำกวี เพื่อไปค้นหาความลี้ลับบางอย่างกลางป่า
ภู เชียงดาว
เหมือนว่าอดีตกำลังกวักมือเรียกหาเหมือนว่าปัจจุบันกำลังคลี่เผยความลับอยู่เบื้องหน้าฉันรู้สึกตื่นเต้น อยากก้าวย่างไปบนทางสายนั้น ถนนความหวังและความใฝ่ฝันภูเขาลูกนั้นที่ฉันคุ้นเคย แม่น้ำสายนั้นที่ฉันฝันถึงป่าไม้ผืนนั้นยังตรึงไว้ในดวงตากับสายลมเริงร่า กลางทุ่งหญ้าสีทอง แหละนั่นตะวันเจิดจ้า กับท้องฟ้าสีฟ้าเบิกบานสดใสเพราะโลกใบนี้ช่างกว้างใหญ่เพราะโลกใบนี้ยังไม่โหดร้ายเกินไปนักฉันจึงออกเดินทาง ไกลแสนไกลไปตามหาความฝันอันกว้างใหญ่ไปค้นหาความหวังใหม่ไม่รู้จบเพราะโลกใบนี้ช่างกว้างใหญ่เพราะโลกใบนี้ยังไม่โหดร้ายเกินไปนักฉันจึงศรัทธา คิดและฝัน...ฉันจึงออกเดินทาง....…
ภู เชียงดาว
เธอมิใช่ผู้หญิงที่สูงศักดิ์หากคือหญิงผู้แน่นหนักรักยิ่งใหญ่รักในอิสรภาพ ความเป็นไทรักต่อสู้ เพื่อสิ่งยากไร้- -ในสังคมเธอมิใช่เป็นเจ้าหญิงในตำนานหากทำงานกับปัญหาอันหมักหมมกระชากแหวก กรอบมายา ค่านิยมเพียรเพาะบ่มความแกร่งกล้า- -พยายามเธอเฝ้าเรียน เฝ้าฝืนและตื่นรู้แม้อยู่ท่ามกลางสายตาที่เหยียดหยามหากเธอยังต่อสู้กับความเสื่อมทรามแม้จักผ่านกี่ห้วงยามความเลวร้าย !ใช่,และเธอไม่ได้ต่อสู้เพื่อตัวเองหากเปล่งเสียงร้องปกป้องชนทั้งหลายเพื่อภราดรภาพ เสรีภาพของหญิงชายเพื่อเปล่งแสงแห่งความหมาย- -ความเท่าเทียม !เธอคือหญิงนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่มีจิตใจกล้าหาญชาญยอดเยี่ยมเธอประกาศยืนหยัด...“ความเท่าเทียม”…
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ : http://www.aromdee.net/pic_upload/Sep07/p2120_1.jpgในวันฟ้าเปลี่ยนสีข้ามองเห็นสัตว์การเมืองเปลี่ยนร่างบ้างสลัดคราบทิ้งกลายพันธุ์บ้างเกาะเกี่ยวกระหวัดรัดกันสมสู่ เสพสม กลิ้งเกลือกกองอาจมกิเลส ความใคร่อยาก อำนาจไม่รู้จบอา- - ข้ามองเห็นผู้คนเดินผ่านไปมา มองเห็นแล้วส่ายหน้าหดหู่ใจ...............ผมค้นบทกวีที่ผมแต่งเอาไว้นานแล้ว ออกมาอ่านอีกครั้งหนึ่ง...หลังมีข่าวว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งในนามว่า “เหี้ย” ออกมาผสมพันธุ์กันในทำเนียบรัฐบาล แหละนี่คือ "เบื้องหลัง 'เหี้ย' หลงฤดู โชว์อึดเสพเมถุน-เล้าโลมเป็นชั่วโมง ในทำเนียบหลังตึกไทยคู่ฟ้า" ที่เผยแพร่ใน ‘มติชนออนไลน์’…
ภู เชียงดาว
เมื่อวันก่อน เพื่อนนักเขียนสาวเมืองเหนือ นาม “สร้อยแก้ว คำมาลา” ส่งข่าวมาบอกว่า จะเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ที่ ‘ร้านเล่า’ เชียงใหม่ ในช่วงเย็น วันที่ 12 ก.พ.นี้ พร้อมกับชักชวนผมเข้าไปร่วมวงคุยกับศิลปินนักเขียนเมืองเหนือกันด้วย“ชื่อหนังสือ... เพราะคิดถึง... เป็นรวมความเรียงที่เคยเขียนไว้ในนิตยสารสานใจคนรักป่าเมื่อปีก่อนๆ แต่เพิ่งเอามารวมเล่มเจ้า” เสียงหวานๆ ของเธอบอกเล่าให้ฟัง“ปกสีชมพูอีกแม่นก่อ...” ผมแหย่เธอเล่น“แม่นแล้ว...สีชมพูหวานแหววเลยแหละ...” เธอรีบบอกพร้อมเสียงหัวเราะเบาๆ
ภู เชียงดาว
 ภาพประกอบโดย : ขวัญข้าวจากตาน้ำน้อยน้อยค่อยหยาดหยดผ่านขุนห้วยเคี้ยวคดรดรินไหลสู่ลุ่มน้ำสาขา -  -เดินทางไกลไปเลี้ยงชีพหล่อเลี้ยงในหัวใจคนกว่าจะเป็นแม่น้ำอันกว้างใหญ่ต้องผสานสายใยอันใหญ่ล้นดินอุ้มน้ำ  ป่าอุ้มฝน  คนอุ้มคนกว่าจะเป็นผลิตผลของแผ่นดินนั่นแสงแดด สายลมคอยห่มป่าโน่นเม็ดฝนหล่นโปรยมามิรู้สิ้น…ฟังสิเพลงนกป่า หญ้าผลิบานให้ได้ยินว่าชีวินนั้นสอดคล้องกันและกันลองหันมองจ้องดูสรรพสิ่ง…เราจะเห็นความจริงมิแปรผันคน ดิน น้ำ ป่า ฯ พึ่งพาอาศัยกันหากสิ่งหนึ่งผกผัน  สิ่งนั้นตาย !มาเถิด,  มาร่วมกันปกป้องป่ามารักษาสายน้ำ…
ภู เชียงดาว
อยู่ดีๆ ก็มีเพื่อนคนหนึ่งส่งเรียงความ เรื่องวันเด็ก ของ ด.ช.ภูภู่ มาให้ แถมยังย้ำบอกอีกว่าต้องอ่าน อืมม...ใช่ พออ่านแล้วฮาเลยนะครับ ผมว่าอารมณ์ขัน แสบ มัน ฮา อย่างนี้ น่าจะเขียนส่ง ต่วยตูน นะเนี่ยไม่รู้ว่าใครได้อ่านกันหรือยัง ขออนุญาตนำมาแปะให้อ่านกันตรงนี้แล้วกันครับ...ขอย้ำ- -โปรดเขย่าอารมณ์ขันก่อนอ่าน...
ภู เชียงดาว
เย็นลมเหนือพัดโชยผ่านกิ่งไม้ เย็นเยียบเย็นตะวันโผล่พ้นฉายแสงเช้าละมุนอุ่นอ่อนหากชีวิตหลายชีวิตโหยหา หวนหาความงามครั้งเก่าก่อนแม้ผ่านนานหลายนาน กี่เดือนปี ความหลังยังคงกรุ่นกลิ่นหอมนิ่งฟังสิ- -คล้ายยินเสียงนางฟ้าครวญเพลงแว่วมาแต่ไกลยังจดจำภาพเธอติดตาอยู่เสมอนะนางฟ้าเธอผู้มีดวงตาสุกใสในวัยเยาว์ฝันแก้มเธอเปล่งปลั่งดั่งดอกไม้สีชมพูแย้มผลิหวานงามแสนงามในนามของความรักที่เธอโปรยปรายแจกจ่ายให้ทุกคนคราพบเห็นยัง เป็น อยู่ เช่นนั้นใช่ไหม...นางฟ้าจากเช้า สู่บ่าย ล่วงลับเย็นยามตะวันอำลาลับขอบเขาตะวันตก...ในเงียบนั้นเรามองเห็นแสงงามอยู่กลางทุ่งเมฆฝันยังระบำร่ายรำฝันอยู่อย่างนั้นเช่นเดิมอยู่ใช่ไหม...…
ภู เชียงดาว
1.ฤดูหนาว...เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกชื่นชอบฤดูกาลนี้กันเป็นพิเศษ บางคนชื่นชอบเพราะชีวิตได้สัมผัสกับไอหนาว หมอกขาว ตะวันอุ่น...หลายคนอาจหลงรักดอกไม้ที่พากันแข่งชูช่อเบ่งบานล้อลมหนาวกันดื่นดาษ บางคนอาจชื่นชอบ เพราะเป็นฤดูกาลแห่งการถวิลหาความหลังที่ครั้งหนึ่งนั้นมีหัวใจที่เคยระรื่นชื่นสุขบางคนอาจชื่นชอบเพราะความสะอาดสดของอากาศของฤดูหนาวทว่าเมื่อหันไปมองคนอีกกลุ่มหนึ่งบนดอยสูง ในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกล...ฤดูหนาวกลับกลายเป็นความทารุณ โหดร้ายมากพอๆ กับความตายกันเลยทีเดียวใช่, ความหนาวทำให้หลายชีวิตต้องเผชิญกับความเป็นความตายมานับไม่ถ้วนแล้วหละนึกไปถึงร่างอันบอบบาง…
ภู เชียงดาว
ภาพโดย www.thaingo.org -งาม- เธองามดั่งดวงดอกไม้ป่าเบ่งบานสะพรั่งในหมู่มวลธรรมชาติสรรพสิ่งเพียงลมสายบริสุทธิ์พัดต้องล่องลอยมาสู่,ชีวิตเธอก็คลี่กลีบนวลยิ้มแย้มเบิกบานอยู่อย่างนั้นให้สัมผัสพบเห็นเป็นที่ชื่นชมในกัลยาณมิตรให้ชุ่มชื่นดวงจิตเธอช่วยชุบชูชีวิตหลายชีวิตให้มีหวังยิ่งยามแผ่นดินแล้งแห้งหรือเร่าร้อนดังไฟ-แกร่ง-เธอแกร่งดั่งภูผาที่ยืนท้าต้านแรงลม แดด ฝนวิถียังเฝ้าฝ่าฟัน บากบั่น ยึดมั่น ก้าวไปบนถนนของคนจนและความจน แหละผจญไปบนเส้นทางของความจริงแม้ร่างนั้นดูบอบบาง หากยังฝืนกำหมัดหยัดยืนชูมือขึ้นสู่ฟ้า เพียรวาดฝัน ปรารถนา ปวงประชาพบทางแห่งเสรีใช่, เหมือนกับที่เธอว่าไว้ในบทกวี...“…
ภู เชียงดาว
ข้าไม่สนใจที่จะก้าวไปข้างหน้า ข้าเดินอย่างสบายๆ ให้ทุกสิ่งดำเนินไปในวิถีของมัน มีข้าวสามทะนานอยู่ในย่าม มีฟืนใกล้เตาไฟ แล้วจะสนใจไยกับมายาและการบรรลุธรรม ชื่อเสียงและโชคลาภจะมีประโยชน์อันใด ข้านั่งในกระท่อม ฟังเสียงฝนยามค่ำ เหยียดขาอย่างอิสระอยู่ในโลก. ‘เรียวกัน’ ผมกลับมาพักอยู่ในสวนบนเนินเขาอีกครั้ง,ในวันที่ลมหนาวมาเยือน เป็นการกลับมาใช้วิถีของความเรียบง่ายและเป็นสุข, ผมรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ เมื่อมาพักอยู่ในบ้านสวน ซึ่งนับวันสวนยิ่งคล้ายป่าไปทุกที ใจผมรู้สึกนิ่ง สงบมากขึ้น ไม่ต้องเคร่งเครียด เร่งรน หากใช้ชีวิตให้กลมกลืนและใกล้กับวิถีธรรมชาติให้มากที่สุดมาถึงห้วงยามนี้ ผมบอกกับตัวเองว่า…