Skip to main content

 

\\/--break--\>

 

 

 

-1-

 

ผมมีโอกาสหวนกลับไปเดินบนเส้นทางสายเก่านี้อีกครั้ง…

บ้านแม่คองซ้าย ชุมชนของคนรักป่าชนเผ่าปกากะญอ ที่อยู่ทางฟากฝั่งตะวันตกของดอยหลวงเชียงดาว


แดดยามเย็นสีทองส่องสาดป่าทั้งป่านั้นเปล่งประกาย ตัดกับความเขียวสดรกครึ้มของต้นไม้ใบหญ้าสองข้างทาง พลอยทำให้การเดินทางในครั้งนี้ รู้สึกปลอดโปร่งสดชื่นรื่นรมย์ยิ่งนัก


บนเส้นทางเดินไปสู่หมู่บ้าน ชีวิตลัดเลาะไปตามเงาไม้ ไต่ไปบนเนินสูง ก่อนหลุบเลี้ยวลงไปในหุบห้วย จึงพบกับสายน้ำแม่คองที่ยังหลั่งไหลและหล่อเลี้ยงชุมชนนี้มาเนิ่นนาน ไม่ใกล้ไม่ไกล ผมมองเห็นกระท่อมตั้งอยู่ริมลำห้วย และยินเสียงครกกระเดื่องตำข้าวดังก้องป่า นานเท่าใดแล้วหนอที่ผมไม่ได้มาเยือน…ผมรำพึงกับตัวเอง

 

ดวงตะวันลดตัวลงต่ำลับไหล่เขา ลมเย็นพัดโชยมาแผ่วแผ่วเบา ผมนั่งอยู่นอกชานบ้าน เฝ้ามองวิถีการดำรงอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันสงัดสงบ นั่น,แม่เฒ่านั่งไพคาเพื่อนำไปมุงหลังคาที่ผุพัง พ่อเฒ่านั่งสานตะกร้าไม้ไผ่ ส่วนหลานสาวสองคนกำลังง่วนอยู่กับการหั่นหยวกกล้วยเอาไปเป็นอาหารหมู

แม่คองซ้าย…หมู่บ้านในหุบเขาลึก

สายน้ำยังคงรี่ไหลใสเย็น

ป่าไม้ล้อมรอบโอบกอดสรรพชีวิต

ต่างอุ่นเอื้อสัมพันธ์วิถี…อยู่นั้นนานและนาน

 

-2-

 

ในความหนาวเย็นของค่ำคืน ดวงดาวเริ่มกระพริบพร่างพราว ยามฟ้ามืดจึงมองเห็นดาวสวยสุกใส ผมนั่งสนทนากับพะตีบุญศรี มูชัย ผู้นำชุมชนพร้อมกับชาวบ้านกลางป่าลึก

 

เรา-นั่งอยู่ข้างกองไฟ แล้วร่วมเรียนรู้ไถ่ถามถึงวิถีความเป็นมาของชุมชน…

 

บางห้วงคำนึงของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบทอดกันมา…พะตีบุญศรี เล่าให้ฟังว่า เดิมทีที่ตั้งของหมู่บ้านแม่คองซ้ายนี้ เคยเป็นชุมชนชาวลัวะโบราณมาก่อน ซึ่งในปัจจุบันยังคงเห็นร่องรอยอารยธรรมของชุมชนเก่า ได้จากซากปรักหักพังของวัดร้าง เครื่องปั้นดินเผาและพระพุทธรูป ซึ่งมีอายุประมาณ300 กว่าปีมาแล้ว

 

หลังจากที่ชาวลัวะจากไป

ชาวปกากะญอกลุ่มนี้จึงได้ย้ายเข้ามาอยู่แทน

 

นอกจากนั้น พะตีแตะอู มอซ่า เล่าไว้อีกว่า ชุมชนบริเวณนี้เคยเป็นเส้นทางผ่านของทหารญี่ปุ่น ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงนั้น ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาระดมชาวบ้านไปขนเสบียงอาหารของกินของใช้ ครอบครัวไหนมีช้างก็ต้องนำช้างออกไปใช้งาน จากหลักฐานและความเป็นมา แสดงให้เห็นว่า ชุมชนแม่คองซ้ายได้ตั้งรกรากถิ่นฐานและอาศัยอยู่กับป่าผืนนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว

 

-3-

 

ยี่สิบสามหลังคาเรือนกับร้อยกว่าชีวิต ที่พวกเขาอาศัยอยู่ร่วมกันกับป่าไม้ ผืนดิน สายน้ำ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและสันโดษ เพราะการติดต่อกับโลกภายนอกนั้น มีเพียงเส้นทางเดินแคบๆ สายหนึ่ง ซึ่งก่อนนั้นรถยนต์ไม่สามารถเข้าไปถึง แน่นอน พวกเขาจึงเรียนรู้และผูกพันกับธรรมชาติมาตั้งแต่เกิดจนตาย โดยนำเอาจารีตประเพณีความเชื่อ ภูมิปัญญาชาวบ้านปกากะญอ มาปรับใช้ผสมผสานกันอย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติ เช่น การรักษาเมล็ดพันธุ์พืชหายาก การรักษาและค้นคว้าสมุนไพร การทำไร่หมุนเวียน การทำนาขั้นบันได การใช้ระบบเหมืองฝายที่ผันน้ำข้ามดอย การอนุรักษ์พันธุ์ปลา การดูแลป่าดูแลสายน้ำ เป็นต้น

เด็กเกิดออกมาดูโลกหนึ่งคน

ดูแลรักษาต้นไม้หนึ่งต้น”

 

เป็นคำพูดของพะตีบอกกล่าวให้ผมฟัง พร้อมอธิบายถึงรีตรอยของปกากะญอจะสั่งสอนกันมาว่า…เมื่อใดที่มีเด็กเกิดออกมา พ่อของเด็กจะต้องนำรกสายสะดือไปผูกมัดไว้ที่ต้นไม้ที่ออกดอกออกผล คนกินได้ สัตว์กินได้…ต้นไม้ในป่ารกนี้ จะไม่มีผู้ใดมาตัดทำลาย นับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ฉลาดล้ำลึกยิ่งนัก

 

 

-4-

 

เพราะที่นี่คือแผ่นดินถิ่นเกิด พวกเขาจึงร่วมกันดูแลรักษาป่าผืนนี้ไว้ด้วยความรักและหวงแหน นำเอาจารีตประเพณีของชนเผ่า ที่เปรียบเสมือนกฎหมายคอยควบคุมพฤติกรรมของผู้คนในชุมชน รวมทั้งมีการตั้งระเบียบกฎเกณฑ์ของการใช้การรักษาทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดพื้นที่ “ป่าชุมชนแม่คองซ้าย”ขึ้นมา

 

ป่าผืนนี้ เป็นป่าต้นน้ำที่ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำปิง ถ้าหมู่เฮาไม่ช่วยกันรักษา อีกหน่อยหมู่บ้านเฮาก็ไม่มีน้ำใช้ น้ำปิงก็แห้ง คนข้างล่างก็เดือดร้อน”

 

พะตีบุญศรี พูดพร้อมกับชี้ให้ดูความหนาแน่นของป่าที่อยู่บนเนินเขาเหนือหมู่บ้าน นอกจากนั้น ก็จะใช้พื้นที่ป่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมความเชื่อของปกากะญอ เช่อ ป่าเดปอ ป่าช้า และยังแบ่งเป็นป่าใช้สอย เพื่อเอาไว้เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน อาทิ พืชผัก ผลไม้ เห็ด หน่อไม้ สมุนไพร รวมทั้งใช้เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์อีกด้วย

 

สัตว์ป่าจะมาอาศัยอยู่ในป่ารอบๆ หมู่บ้านนี้เยอะเลย มีทั้งเก้ง หมูป่า ไก่ป่า ไกฟ้า นกแก๊ก นกกางเขนน้ำ เพราะหมู่เฮาจะตั้งกฎหมู่บ้าน ห้ามมีการล่าสัตว์ทุกชนิด”

 

พะตีชี้ให้ดูไก่ฟ้าที่เดินหาอาหารตามลานดินกลางหมู่บ้าน บ่งบอกถึงการพึ่งพาอาศัยกัน ระหว่างป่าไม้และสัตว์ปาได้เป็นอย่างดี


-5-

 

ย้อนกลับไปในปี 2524 ในห้วงนั้น หน่วยงานของรัฐได้เข้ามาประกาศว่า พื้นที่หมู่บ้านแม่คองซ้ายนี้ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ของกรมป่าไม้

ต่อมาในปี 2543-2545 กระแสความพยายามของรัฐที่จะผลักดันเอาคนออกจากป่าให้ได้

 

รู้สึกเศร้าและเจ็บปวดใช่ไหม…

เมื่อยินข่าวเขาจะกันคนออกจากป่า

เหมือนดั่งการพรากลูกออกไปจากอ้อมอกแม่

อา- แม่ธรรมชาติ

มนุษย์ผู้มีอำนาจเขาจะตัดสายน้ำแห่งชีวิตนั้นให้ขาดได้หรือ

นานมาแล้ววิถี,ชนเผ่าพื้นเมือง

อยู่กับความหวาดหวั่นและไหวว้าง…

 

อยากให้ผู้หลักผู้ใหญ่ ได้เข้ามาดูว่าเฮาอยู่กับป่าและรักษาป่าได้” พะตีพูดด้วยน้ำเสียงหม่นเศร้า ทว่ายังแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในวิถีการดำรงอยู่

 

เชื่อไหมว่า ป่าผืนนี้ไฟไม่ไหม้มาหลายปีแล้ว เพราะหมู่เอาช่วยกันทำแนวกันไฟในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และช่วยกันปัดกวาดแนวกันไฟอาทิตย์ละครั้ง”

 

ครับ, ผมเชื่อในแนวทางการดำเนินชีวิตของพี่น้องปกากะญอบ้านแม่คองซ้ายได้อย่างสนิทใจเลยว่า คนอยู่กับป่าได้อย่างพึ่งพาสอดคล้องและยั่งยืน และสมควรอย่างยิ่งที่ที่ชุมชนแห่งนี้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวมาหลายต่อหลายครั้ง อีกทั้งยังเป็นชุมชนต้นแบบอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ที่มีนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ ชาวบ้านทั้งในประเทศและจากทั่วทุกมุมโลก ต่างมุ่งตรงเข้าไปศึกษาเรียนรู้ดูงานกันอย่างต่อเนื่อง…

 

กระนั้น ก็ยังคนบางคน บางกลุ่มยังพยายามนั่งยันนอนยันอยู่อย่างนั้นว่า คนอยู่กับป่าไม่ได้!

 

-6-

 

ผ่านมาถึง พ..นี้(2552) ...ป่าชุมชน ก็ยังไม่เกิด…

และน้ำเสียงของความถากถางว่าคนอยู่กับป่าไม่ได้ ยังคงดังออกมาเป็นระยะๆ

แม้มีข่าวเรื่อง โฉนดชุมชน ขึ้นมาพอเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ ให้กับคนอยู่ป่าขึ้นมาบ้าง

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่า พ...ป่าชุมชนยังไม่เกิด หรือโฉนดชุมชนยังไม่เคลื่อน

หากวิถีชีวิตของคนแม่คองซ้าย ยังคงดำเนินต่อไป

ท่ามกลางขุนเขา ผืนป่า สายน้ำ ชนเผ่าและจิตวิญญาณที่ผูกพันกันมาอย่างแนบแน่นและยาวนาน.

 

 

หมายเหตุ : ภาพประกอบ โดย ‘ดอกเสี้ยวขาว’

งานชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์”โพสต์โมเดิร์น” สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ วันที่ 22–วันที่ 28 ..2545

และผู้เขียนได้เรียบเรียงใหม่

 

 

 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
“พระจันทร์กำลังขึ้นในหุบเขาผาแดง...” เสียงของเจ้าธันวา ลูกชายกวีเอ่ยออกมาด้วยน้ำเสียงตื่นเต้น กับภาพที่ฉายอยู่เบื้องหน้า พระจันทร์ดวงกลมโตกำลังเดินทาง โผล่พ้นหลังดอยผาแดงอย่างช้าๆ ก่อนลอยเด่นอยู่เหนือยอด ลอยสูงขึ้นไปบนเวิ้งฟ้าราตรี  0 0 0 0 อีกหนึ่งความทรงจำที่ตรึงผมไว้กับการเดินทางวันนั้น เป็นการเดินทางช้าๆ ไม่เร่งรีบ เรียบง่าย ไม่มีเป้าหมาย แต่เราได้อะไรๆ จากความเรียบง่ายนั้นมามากมาย เมื่อผมนัดกับพี่ชายกวี ‘สุวิชานนท์ รัตนภิมล’ คนเขียนหนังสือ คนเขียนเพลง คนเขียนคำกวี เพื่อไปค้นหาความลี้ลับบางอย่างกลางป่า
ภู เชียงดาว
เหมือนว่าอดีตกำลังกวักมือเรียกหาเหมือนว่าปัจจุบันกำลังคลี่เผยความลับอยู่เบื้องหน้าฉันรู้สึกตื่นเต้น อยากก้าวย่างไปบนทางสายนั้น ถนนความหวังและความใฝ่ฝันภูเขาลูกนั้นที่ฉันคุ้นเคย แม่น้ำสายนั้นที่ฉันฝันถึงป่าไม้ผืนนั้นยังตรึงไว้ในดวงตากับสายลมเริงร่า กลางทุ่งหญ้าสีทอง แหละนั่นตะวันเจิดจ้า กับท้องฟ้าสีฟ้าเบิกบานสดใสเพราะโลกใบนี้ช่างกว้างใหญ่เพราะโลกใบนี้ยังไม่โหดร้ายเกินไปนักฉันจึงออกเดินทาง ไกลแสนไกลไปตามหาความฝันอันกว้างใหญ่ไปค้นหาความหวังใหม่ไม่รู้จบเพราะโลกใบนี้ช่างกว้างใหญ่เพราะโลกใบนี้ยังไม่โหดร้ายเกินไปนักฉันจึงศรัทธา คิดและฝัน...ฉันจึงออกเดินทาง....…
ภู เชียงดาว
เธอมิใช่ผู้หญิงที่สูงศักดิ์หากคือหญิงผู้แน่นหนักรักยิ่งใหญ่รักในอิสรภาพ ความเป็นไทรักต่อสู้ เพื่อสิ่งยากไร้- -ในสังคมเธอมิใช่เป็นเจ้าหญิงในตำนานหากทำงานกับปัญหาอันหมักหมมกระชากแหวก กรอบมายา ค่านิยมเพียรเพาะบ่มความแกร่งกล้า- -พยายามเธอเฝ้าเรียน เฝ้าฝืนและตื่นรู้แม้อยู่ท่ามกลางสายตาที่เหยียดหยามหากเธอยังต่อสู้กับความเสื่อมทรามแม้จักผ่านกี่ห้วงยามความเลวร้าย !ใช่,และเธอไม่ได้ต่อสู้เพื่อตัวเองหากเปล่งเสียงร้องปกป้องชนทั้งหลายเพื่อภราดรภาพ เสรีภาพของหญิงชายเพื่อเปล่งแสงแห่งความหมาย- -ความเท่าเทียม !เธอคือหญิงนักสู้ผู้ยิ่งใหญ่มีจิตใจกล้าหาญชาญยอดเยี่ยมเธอประกาศยืนหยัด...“ความเท่าเทียม”…
ภู เชียงดาว
ที่มาภาพ : http://www.aromdee.net/pic_upload/Sep07/p2120_1.jpgในวันฟ้าเปลี่ยนสีข้ามองเห็นสัตว์การเมืองเปลี่ยนร่างบ้างสลัดคราบทิ้งกลายพันธุ์บ้างเกาะเกี่ยวกระหวัดรัดกันสมสู่ เสพสม กลิ้งเกลือกกองอาจมกิเลส ความใคร่อยาก อำนาจไม่รู้จบอา- - ข้ามองเห็นผู้คนเดินผ่านไปมา มองเห็นแล้วส่ายหน้าหดหู่ใจ...............ผมค้นบทกวีที่ผมแต่งเอาไว้นานแล้ว ออกมาอ่านอีกครั้งหนึ่ง...หลังมีข่าวว่าสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่งในนามว่า “เหี้ย” ออกมาผสมพันธุ์กันในทำเนียบรัฐบาล แหละนี่คือ "เบื้องหลัง 'เหี้ย' หลงฤดู โชว์อึดเสพเมถุน-เล้าโลมเป็นชั่วโมง ในทำเนียบหลังตึกไทยคู่ฟ้า" ที่เผยแพร่ใน ‘มติชนออนไลน์’…
ภู เชียงดาว
เมื่อวันก่อน เพื่อนนักเขียนสาวเมืองเหนือ นาม “สร้อยแก้ว คำมาลา” ส่งข่าวมาบอกว่า จะเปิดตัวหนังสือเล่มใหม่ที่ ‘ร้านเล่า’ เชียงใหม่ ในช่วงเย็น วันที่ 12 ก.พ.นี้ พร้อมกับชักชวนผมเข้าไปร่วมวงคุยกับศิลปินนักเขียนเมืองเหนือกันด้วย“ชื่อหนังสือ... เพราะคิดถึง... เป็นรวมความเรียงที่เคยเขียนไว้ในนิตยสารสานใจคนรักป่าเมื่อปีก่อนๆ แต่เพิ่งเอามารวมเล่มเจ้า” เสียงหวานๆ ของเธอบอกเล่าให้ฟัง“ปกสีชมพูอีกแม่นก่อ...” ผมแหย่เธอเล่น“แม่นแล้ว...สีชมพูหวานแหววเลยแหละ...” เธอรีบบอกพร้อมเสียงหัวเราะเบาๆ
ภู เชียงดาว
 ภาพประกอบโดย : ขวัญข้าวจากตาน้ำน้อยน้อยค่อยหยาดหยดผ่านขุนห้วยเคี้ยวคดรดรินไหลสู่ลุ่มน้ำสาขา -  -เดินทางไกลไปเลี้ยงชีพหล่อเลี้ยงในหัวใจคนกว่าจะเป็นแม่น้ำอันกว้างใหญ่ต้องผสานสายใยอันใหญ่ล้นดินอุ้มน้ำ  ป่าอุ้มฝน  คนอุ้มคนกว่าจะเป็นผลิตผลของแผ่นดินนั่นแสงแดด สายลมคอยห่มป่าโน่นเม็ดฝนหล่นโปรยมามิรู้สิ้น…ฟังสิเพลงนกป่า หญ้าผลิบานให้ได้ยินว่าชีวินนั้นสอดคล้องกันและกันลองหันมองจ้องดูสรรพสิ่ง…เราจะเห็นความจริงมิแปรผันคน ดิน น้ำ ป่า ฯ พึ่งพาอาศัยกันหากสิ่งหนึ่งผกผัน  สิ่งนั้นตาย !มาเถิด,  มาร่วมกันปกป้องป่ามารักษาสายน้ำ…
ภู เชียงดาว
อยู่ดีๆ ก็มีเพื่อนคนหนึ่งส่งเรียงความ เรื่องวันเด็ก ของ ด.ช.ภูภู่ มาให้ แถมยังย้ำบอกอีกว่าต้องอ่าน อืมม...ใช่ พออ่านแล้วฮาเลยนะครับ ผมว่าอารมณ์ขัน แสบ มัน ฮา อย่างนี้ น่าจะเขียนส่ง ต่วยตูน นะเนี่ยไม่รู้ว่าใครได้อ่านกันหรือยัง ขออนุญาตนำมาแปะให้อ่านกันตรงนี้แล้วกันครับ...ขอย้ำ- -โปรดเขย่าอารมณ์ขันก่อนอ่าน...
ภู เชียงดาว
เย็นลมเหนือพัดโชยผ่านกิ่งไม้ เย็นเยียบเย็นตะวันโผล่พ้นฉายแสงเช้าละมุนอุ่นอ่อนหากชีวิตหลายชีวิตโหยหา หวนหาความงามครั้งเก่าก่อนแม้ผ่านนานหลายนาน กี่เดือนปี ความหลังยังคงกรุ่นกลิ่นหอมนิ่งฟังสิ- -คล้ายยินเสียงนางฟ้าครวญเพลงแว่วมาแต่ไกลยังจดจำภาพเธอติดตาอยู่เสมอนะนางฟ้าเธอผู้มีดวงตาสุกใสในวัยเยาว์ฝันแก้มเธอเปล่งปลั่งดั่งดอกไม้สีชมพูแย้มผลิหวานงามแสนงามในนามของความรักที่เธอโปรยปรายแจกจ่ายให้ทุกคนคราพบเห็นยัง เป็น อยู่ เช่นนั้นใช่ไหม...นางฟ้าจากเช้า สู่บ่าย ล่วงลับเย็นยามตะวันอำลาลับขอบเขาตะวันตก...ในเงียบนั้นเรามองเห็นแสงงามอยู่กลางทุ่งเมฆฝันยังระบำร่ายรำฝันอยู่อย่างนั้นเช่นเดิมอยู่ใช่ไหม...…
ภู เชียงดาว
1.ฤดูหนาว...เชื่อว่าใครหลายคนคงรู้สึกชื่นชอบฤดูกาลนี้กันเป็นพิเศษ บางคนชื่นชอบเพราะชีวิตได้สัมผัสกับไอหนาว หมอกขาว ตะวันอุ่น...หลายคนอาจหลงรักดอกไม้ที่พากันแข่งชูช่อเบ่งบานล้อลมหนาวกันดื่นดาษ บางคนอาจชื่นชอบ เพราะเป็นฤดูกาลแห่งการถวิลหาความหลังที่ครั้งหนึ่งนั้นมีหัวใจที่เคยระรื่นชื่นสุขบางคนอาจชื่นชอบเพราะความสะอาดสดของอากาศของฤดูหนาวทว่าเมื่อหันไปมองคนอีกกลุ่มหนึ่งบนดอยสูง ในพื้นที่ทุรกันดารและห่างไกล...ฤดูหนาวกลับกลายเป็นความทารุณ โหดร้ายมากพอๆ กับความตายกันเลยทีเดียวใช่, ความหนาวทำให้หลายชีวิตต้องเผชิญกับความเป็นความตายมานับไม่ถ้วนแล้วหละนึกไปถึงร่างอันบอบบาง…
ภู เชียงดาว
ภาพโดย www.thaingo.org -งาม- เธองามดั่งดวงดอกไม้ป่าเบ่งบานสะพรั่งในหมู่มวลธรรมชาติสรรพสิ่งเพียงลมสายบริสุทธิ์พัดต้องล่องลอยมาสู่,ชีวิตเธอก็คลี่กลีบนวลยิ้มแย้มเบิกบานอยู่อย่างนั้นให้สัมผัสพบเห็นเป็นที่ชื่นชมในกัลยาณมิตรให้ชุ่มชื่นดวงจิตเธอช่วยชุบชูชีวิตหลายชีวิตให้มีหวังยิ่งยามแผ่นดินแล้งแห้งหรือเร่าร้อนดังไฟ-แกร่ง-เธอแกร่งดั่งภูผาที่ยืนท้าต้านแรงลม แดด ฝนวิถียังเฝ้าฝ่าฟัน บากบั่น ยึดมั่น ก้าวไปบนถนนของคนจนและความจน แหละผจญไปบนเส้นทางของความจริงแม้ร่างนั้นดูบอบบาง หากยังฝืนกำหมัดหยัดยืนชูมือขึ้นสู่ฟ้า เพียรวาดฝัน ปรารถนา ปวงประชาพบทางแห่งเสรีใช่, เหมือนกับที่เธอว่าไว้ในบทกวี...“…
ภู เชียงดาว
ข้าไม่สนใจที่จะก้าวไปข้างหน้า ข้าเดินอย่างสบายๆ ให้ทุกสิ่งดำเนินไปในวิถีของมัน มีข้าวสามทะนานอยู่ในย่าม มีฟืนใกล้เตาไฟ แล้วจะสนใจไยกับมายาและการบรรลุธรรม ชื่อเสียงและโชคลาภจะมีประโยชน์อันใด ข้านั่งในกระท่อม ฟังเสียงฝนยามค่ำ เหยียดขาอย่างอิสระอยู่ในโลก. ‘เรียวกัน’ ผมกลับมาพักอยู่ในสวนบนเนินเขาอีกครั้ง,ในวันที่ลมหนาวมาเยือน เป็นการกลับมาใช้วิถีของความเรียบง่ายและเป็นสุข, ผมรู้สึกเช่นนั้นจริงๆ เมื่อมาพักอยู่ในบ้านสวน ซึ่งนับวันสวนยิ่งคล้ายป่าไปทุกที ใจผมรู้สึกนิ่ง สงบมากขึ้น ไม่ต้องเคร่งเครียด เร่งรน หากใช้ชีวิตให้กลมกลืนและใกล้กับวิถีธรรมชาติให้มากที่สุดมาถึงห้วงยามนี้ ผมบอกกับตัวเองว่า…