Skip to main content

 

\\/--break--\>

 

 

 

-1-

 

ผมมีโอกาสหวนกลับไปเดินบนเส้นทางสายเก่านี้อีกครั้ง…

บ้านแม่คองซ้าย ชุมชนของคนรักป่าชนเผ่าปกากะญอ ที่อยู่ทางฟากฝั่งตะวันตกของดอยหลวงเชียงดาว


แดดยามเย็นสีทองส่องสาดป่าทั้งป่านั้นเปล่งประกาย ตัดกับความเขียวสดรกครึ้มของต้นไม้ใบหญ้าสองข้างทาง พลอยทำให้การเดินทางในครั้งนี้ รู้สึกปลอดโปร่งสดชื่นรื่นรมย์ยิ่งนัก


บนเส้นทางเดินไปสู่หมู่บ้าน ชีวิตลัดเลาะไปตามเงาไม้ ไต่ไปบนเนินสูง ก่อนหลุบเลี้ยวลงไปในหุบห้วย จึงพบกับสายน้ำแม่คองที่ยังหลั่งไหลและหล่อเลี้ยงชุมชนนี้มาเนิ่นนาน ไม่ใกล้ไม่ไกล ผมมองเห็นกระท่อมตั้งอยู่ริมลำห้วย และยินเสียงครกกระเดื่องตำข้าวดังก้องป่า นานเท่าใดแล้วหนอที่ผมไม่ได้มาเยือน…ผมรำพึงกับตัวเอง

 

ดวงตะวันลดตัวลงต่ำลับไหล่เขา ลมเย็นพัดโชยมาแผ่วแผ่วเบา ผมนั่งอยู่นอกชานบ้าน เฝ้ามองวิถีการดำรงอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันสงัดสงบ นั่น,แม่เฒ่านั่งไพคาเพื่อนำไปมุงหลังคาที่ผุพัง พ่อเฒ่านั่งสานตะกร้าไม้ไผ่ ส่วนหลานสาวสองคนกำลังง่วนอยู่กับการหั่นหยวกกล้วยเอาไปเป็นอาหารหมู

แม่คองซ้าย…หมู่บ้านในหุบเขาลึก

สายน้ำยังคงรี่ไหลใสเย็น

ป่าไม้ล้อมรอบโอบกอดสรรพชีวิต

ต่างอุ่นเอื้อสัมพันธ์วิถี…อยู่นั้นนานและนาน

 

-2-

 

ในความหนาวเย็นของค่ำคืน ดวงดาวเริ่มกระพริบพร่างพราว ยามฟ้ามืดจึงมองเห็นดาวสวยสุกใส ผมนั่งสนทนากับพะตีบุญศรี มูชัย ผู้นำชุมชนพร้อมกับชาวบ้านกลางป่าลึก

 

เรา-นั่งอยู่ข้างกองไฟ แล้วร่วมเรียนรู้ไถ่ถามถึงวิถีความเป็นมาของชุมชน…

 

บางห้วงคำนึงของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานสืบทอดกันมา…พะตีบุญศรี เล่าให้ฟังว่า เดิมทีที่ตั้งของหมู่บ้านแม่คองซ้ายนี้ เคยเป็นชุมชนชาวลัวะโบราณมาก่อน ซึ่งในปัจจุบันยังคงเห็นร่องรอยอารยธรรมของชุมชนเก่า ได้จากซากปรักหักพังของวัดร้าง เครื่องปั้นดินเผาและพระพุทธรูป ซึ่งมีอายุประมาณ300 กว่าปีมาแล้ว

 

หลังจากที่ชาวลัวะจากไป

ชาวปกากะญอกลุ่มนี้จึงได้ย้ายเข้ามาอยู่แทน

 

นอกจากนั้น พะตีแตะอู มอซ่า เล่าไว้อีกว่า ชุมชนบริเวณนี้เคยเป็นเส้นทางผ่านของทหารญี่ปุ่น ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ในช่วงนั้น ทหารญี่ปุ่นได้เข้ามาระดมชาวบ้านไปขนเสบียงอาหารของกินของใช้ ครอบครัวไหนมีช้างก็ต้องนำช้างออกไปใช้งาน จากหลักฐานและความเป็นมา แสดงให้เห็นว่า ชุมชนแม่คองซ้ายได้ตั้งรกรากถิ่นฐานและอาศัยอยู่กับป่าผืนนี้มาหลายชั่วอายุคนแล้ว

 

-3-

 

ยี่สิบสามหลังคาเรือนกับร้อยกว่าชีวิต ที่พวกเขาอาศัยอยู่ร่วมกันกับป่าไม้ ผืนดิน สายน้ำ ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและสันโดษ เพราะการติดต่อกับโลกภายนอกนั้น มีเพียงเส้นทางเดินแคบๆ สายหนึ่ง ซึ่งก่อนนั้นรถยนต์ไม่สามารถเข้าไปถึง แน่นอน พวกเขาจึงเรียนรู้และผูกพันกับธรรมชาติมาตั้งแต่เกิดจนตาย โดยนำเอาจารีตประเพณีความเชื่อ ภูมิปัญญาชาวบ้านปกากะญอ มาปรับใช้ผสมผสานกันอย่างสอดคล้องและกลมกลืนกับธรรมชาติ เช่น การรักษาเมล็ดพันธุ์พืชหายาก การรักษาและค้นคว้าสมุนไพร การทำไร่หมุนเวียน การทำนาขั้นบันได การใช้ระบบเหมืองฝายที่ผันน้ำข้ามดอย การอนุรักษ์พันธุ์ปลา การดูแลป่าดูแลสายน้ำ เป็นต้น

เด็กเกิดออกมาดูโลกหนึ่งคน

ดูแลรักษาต้นไม้หนึ่งต้น”

 

เป็นคำพูดของพะตีบอกกล่าวให้ผมฟัง พร้อมอธิบายถึงรีตรอยของปกากะญอจะสั่งสอนกันมาว่า…เมื่อใดที่มีเด็กเกิดออกมา พ่อของเด็กจะต้องนำรกสายสะดือไปผูกมัดไว้ที่ต้นไม้ที่ออกดอกออกผล คนกินได้ สัตว์กินได้…ต้นไม้ในป่ารกนี้ จะไม่มีผู้ใดมาตัดทำลาย นับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ฉลาดล้ำลึกยิ่งนัก

 

 

-4-

 

เพราะที่นี่คือแผ่นดินถิ่นเกิด พวกเขาจึงร่วมกันดูแลรักษาป่าผืนนี้ไว้ด้วยความรักและหวงแหน นำเอาจารีตประเพณีของชนเผ่า ที่เปรียบเสมือนกฎหมายคอยควบคุมพฤติกรรมของผู้คนในชุมชน รวมทั้งมีการตั้งระเบียบกฎเกณฑ์ของการใช้การรักษาทรัพยากรธรรมชาติขึ้นมาใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเกิดพื้นที่ “ป่าชุมชนแม่คองซ้าย”ขึ้นมา

 

ป่าผืนนี้ เป็นป่าต้นน้ำที่ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำปิง ถ้าหมู่เฮาไม่ช่วยกันรักษา อีกหน่อยหมู่บ้านเฮาก็ไม่มีน้ำใช้ น้ำปิงก็แห้ง คนข้างล่างก็เดือดร้อน”

 

พะตีบุญศรี พูดพร้อมกับชี้ให้ดูความหนาแน่นของป่าที่อยู่บนเนินเขาเหนือหมู่บ้าน นอกจากนั้น ก็จะใช้พื้นที่ป่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมความเชื่อของปกากะญอ เช่อ ป่าเดปอ ป่าช้า และยังแบ่งเป็นป่าใช้สอย เพื่อเอาไว้เป็นแหล่งอาหารของคนในชุมชน อาทิ พืชผัก ผลไม้ เห็ด หน่อไม้ สมุนไพร รวมทั้งใช้เป็นแหล่งเลี้ยงสัตว์อีกด้วย

 

สัตว์ป่าจะมาอาศัยอยู่ในป่ารอบๆ หมู่บ้านนี้เยอะเลย มีทั้งเก้ง หมูป่า ไก่ป่า ไกฟ้า นกแก๊ก นกกางเขนน้ำ เพราะหมู่เฮาจะตั้งกฎหมู่บ้าน ห้ามมีการล่าสัตว์ทุกชนิด”

 

พะตีชี้ให้ดูไก่ฟ้าที่เดินหาอาหารตามลานดินกลางหมู่บ้าน บ่งบอกถึงการพึ่งพาอาศัยกัน ระหว่างป่าไม้และสัตว์ปาได้เป็นอย่างดี


-5-

 

ย้อนกลับไปในปี 2524 ในห้วงนั้น หน่วยงานของรัฐได้เข้ามาประกาศว่า พื้นที่หมู่บ้านแม่คองซ้ายนี้ อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาว ของกรมป่าไม้

ต่อมาในปี 2543-2545 กระแสความพยายามของรัฐที่จะผลักดันเอาคนออกจากป่าให้ได้

 

รู้สึกเศร้าและเจ็บปวดใช่ไหม…

เมื่อยินข่าวเขาจะกันคนออกจากป่า

เหมือนดั่งการพรากลูกออกไปจากอ้อมอกแม่

อา- แม่ธรรมชาติ

มนุษย์ผู้มีอำนาจเขาจะตัดสายน้ำแห่งชีวิตนั้นให้ขาดได้หรือ

นานมาแล้ววิถี,ชนเผ่าพื้นเมือง

อยู่กับความหวาดหวั่นและไหวว้าง…

 

อยากให้ผู้หลักผู้ใหญ่ ได้เข้ามาดูว่าเฮาอยู่กับป่าและรักษาป่าได้” พะตีพูดด้วยน้ำเสียงหม่นเศร้า ทว่ายังแฝงไว้ด้วยความเชื่อมั่นในวิถีการดำรงอยู่

 

เชื่อไหมว่า ป่าผืนนี้ไฟไม่ไหม้มาหลายปีแล้ว เพราะหมู่เอาช่วยกันทำแนวกันไฟในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี และช่วยกันปัดกวาดแนวกันไฟอาทิตย์ละครั้ง”

 

ครับ, ผมเชื่อในแนวทางการดำเนินชีวิตของพี่น้องปกากะญอบ้านแม่คองซ้ายได้อย่างสนิทใจเลยว่า คนอยู่กับป่าได้อย่างพึ่งพาสอดคล้องและยั่งยืน และสมควรอย่างยิ่งที่ที่ชุมชนแห่งนี้ได้รับรางวัลลูกโลกสีเขียวมาหลายต่อหลายครั้ง อีกทั้งยังเป็นชุมชนต้นแบบอีกแห่งหนึ่งของประเทศ ที่มีนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ ชาวบ้านทั้งในประเทศและจากทั่วทุกมุมโลก ต่างมุ่งตรงเข้าไปศึกษาเรียนรู้ดูงานกันอย่างต่อเนื่อง…

 

กระนั้น ก็ยังคนบางคน บางกลุ่มยังพยายามนั่งยันนอนยันอยู่อย่างนั้นว่า คนอยู่กับป่าไม่ได้!

 

-6-

 

ผ่านมาถึง พ..นี้(2552) ...ป่าชุมชน ก็ยังไม่เกิด…

และน้ำเสียงของความถากถางว่าคนอยู่กับป่าไม่ได้ ยังคงดังออกมาเป็นระยะๆ

แม้มีข่าวเรื่อง โฉนดชุมชน ขึ้นมาพอเป็นความหวังลมๆ แล้งๆ ให้กับคนอยู่ป่าขึ้นมาบ้าง

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม แม้ว่า พ...ป่าชุมชนยังไม่เกิด หรือโฉนดชุมชนยังไม่เคลื่อน

หากวิถีชีวิตของคนแม่คองซ้าย ยังคงดำเนินต่อไป

ท่ามกลางขุนเขา ผืนป่า สายน้ำ ชนเผ่าและจิตวิญญาณที่ผูกพันกันมาอย่างแนบแน่นและยาวนาน.

 

 

หมายเหตุ : ภาพประกอบ โดย ‘ดอกเสี้ยวขาว’

งานชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์”โพสต์โมเดิร์น” สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ วันที่ 22–วันที่ 28 ..2545

และผู้เขียนได้เรียบเรียงใหม่

 

 

 

บล็อกของ ภู เชียงดาว

ภู เชียงดาว
ผมรู้ว่าสี่ห้าปีมานี้ ผมเขียนบทกวีได้ไม่กี่ชิ้น อาจเป็นเพราะต้องอยู่กับโลกข่าวสารที่จำเป็นต้องเร่งและเร็ว หรืออาจเป็นเพราะว่ามีบางสิ่งบางอย่างบดบัง จนหลงลืมมองสิ่งที่รอบข้าง มองเห็นอะไรพร่ามัวไปหมด หรือว่าเรากำลังหลงลืมความจริง...ผมเฝ้าถามตัวเอง...  อย่างไรก็ตามเถอะ...มาถึงตอนนี้ ผมกำลังพยายามฝึกใช้ชีวิต ให้อยู่กับความฝันและความจริงไปพร้อมๆ กัน ช่วงนี้ หลังพักจากงานสวน ผมจึงมีเวลาอยู่กับความเงียบลำพัง เพ่งมองภายในและสิ่งรายรอบมากยิ่งขี้น และผมเริ่มบันทึกบทกวีแคนโต้เหมือนสายน้ำ หลั่งไหล อย่างต่อเนื่อง ทุกวันๆ ตามดวงตาที่เห็น ตามหัวใจได้สัมผัสต้อง บ่อยครั้งมันมากระทบทันใด ไม่รู้ตัว…
ภู เชียงดาว
เกือบสามเดือนแล้วที่ผมพาตัวเองกลับมาอยู่ในหุบเขาบ้านเกิด ชีวิตส่วนใหญ่จึงขลุกอยู่แต่ในสวน ไม่ค่อยได้เดินทางไปไหนไกล แต่ผมกลับไม่รู้สึกว่าเหงาหรือห่างไกลกับผู้คนเลย เพราะในแต่ละเดือนมักมีมิ่งมิตรเดินทางมาเยี่ยมเยือนหากันตลอด  และทำให้ผมรู้อีกอย่างหนึ่งว่า...บางทีการอยู่นิ่งก็หมายถึงการเดินทาง ใช่ ผมหมายถึงว่า ในขณะที่ผมอยู่ในสวน หากยังมีผู้คนเดินทางแวะเวียนมาหา และที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ ผมยังมองเห็นเมล็ดพันธุ์เดินทางมายังสวนอย่างต่อเนื่อง “ผมเอาเมล็ดพันธุ์มาฝาก...” นักเดินทางคนหนึ่งเดินทางไกลมาจากสงขลา ล้วงเอาเมล็ดพันธุ์ที่ใส่ไว้ในกล่องฟิล์มยื่นให้ ขณะผมกำลังง่วนทำงานอยู่ในสวน
ภู เชียงดาว
หลังดินดำน้ำชุ่ม เขาหยิบเมล็ดพันธุ์หลากหลายมากองวางไว้ตรงหน้า มีทั้งเมล็ดผักกาดดอยที่พ่อนำมาให้ เมล็ดฟักทองที่พี่สาวฝากมา นั่นเมล็ดแตงกวา เมล็ดหัวผักกาด ถั่วพุ่ม ผักบุ้ง บวบหอม ผักชี ฯลฯ เขาค่อยๆ ทำไปช้าๆ ไม่เร่งรีบ ทั้งหว่านทั้งหยอดไปทั่วแปลง เสร็จแล้วเดินไปหอบใบหญ้าแฝกที่ตัดกองไว้ตามคันขอบรอบบ้านปีกไม้มาปูบนแปลงผักแทนฟางข้าว ให้ความชุ่มชื้นแก่ดินหลังจากนั้น เขามองไปรอบๆ แปลงริมรั้วยังมีพื้นที่ว่าง เขาเดินไปถอนกล้าตำลึง ผักปลัง ผักเชียงดา มะเขือ พริก อัญชัน ตะไคร้ ขิง ข่า กระเพรา โหระพา สาระแหน่ ฯลฯ มาปลูกเสริม หยิบลูกมะเขือเครือ(ที่หลายคนเรียกกันว่าฟักแม้วหรือซาโยเต้)…
ภู เชียงดาว
ในช่วงสองเดือน ก่อนที่เขาจะตัดสินใจลาออกจากงานประจำ เกือบทุกเสาร์-อาทิตย์ เขาใช้เวลาเทียวขึ้นเทียวล่องระหว่างเมืองกับสวนในหุบเขาบ้านเกิด เพื่อวางแผนลงมือทำสวนผักหลังบ้าน แน่นอน- -เพราะเขาบอกกับตัวเองย้ำๆ ว่าหากคิดจะพามนุษย์เงินเดือน กลับไปใช้ชีวิตแบบนั้นได้ จำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีฐานที่มั่น และมีผักไม้ไซร้เครือเตรียมไว้ให้พร้อม ให้พออยู่พอกินเสียก่อน ใช่ เขาหมายถึงการสร้างฐานความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัวหลังบ้าน   หลายคนอาจบอกว่า งานทำสวนนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เหมือนกับงานสาขาอาชีพอื่น แต่ก็อีกนั่นแหละ เขากลับมองว่า งานสวนไม่ใช่เรื่องยาก แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย…
ภู เชียงดาว
1. ในชีวิตคนเรานั้นคงเคยตั้งคำถามที่ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก คำถามคลาสสิกหนึ่งนั้นคือ...“คนเราต้องการอะไรในชีวิต!?...” คำตอบส่วนใหญ่ก็คงหนีไม่พ้นต้องการปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิต ...อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หากปัจจุบัน ‘เงิน’ กลับกลายเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของคนเรา แน่นอน, เมื่อเอาเงินเป็นตัวกำหนดชะตากรรม,ชีวิต จึงทำให้ทุกคนต้องดิ้นรนเพียงเพื่อให้ได้มาทุกสิ่งทุกอย่าง จนทำให้ชีวิตหลายชีวิตนั้นขวนขวายทำงานกันอย่างหน่วงหนัก ‘การงาน’ ได้กระชากลากเหวี่ยงเรากระเด็นกระดอนไปไกลและไกล ให้ออกไปเดินบนถนนของความโลภ ไปสู่เมืองของความอยาก ไปสู่กงล้อของการไขว่คว้าที่หมุนวนอยู่ไม่รู้จบ…
ภู เชียงดาว
ค่ำนั้น, ฟ้าเริ่มครึ้มมัวหม่นเมฆฝน ข้ายืนจดจ้องฝูงมดดำเคลื่อนขบวนมหึมา ไต่ไปบนปีกไม้ไปหารวงรังแตนเกาะริมขอบหน้าต่างบ้านปีกไม้ หมู่มดยื้อแย่งขนไข่แตนกันออกจากรัง อย่างต่อเนื่อง ขณะฝูงแตนบินว่อนไปมาด้วยสัญชาติญาณ คงตระหนกตกใจระคนโกรธขึ้งเคียดแค้น แต่มิอาจทำอะไรพวกมันได้ เหล่าฝูงมดอาศัยพลพรรคนับพันนับหมื่นชีวิต ใช้ความได้เปรียบเข้าปล้นรังไข่พวกมันไปหมดสิ้น ไม่นาน ขบวนมดจำนวนมหาศาลก็ถอยทัพกลับไป ฝูงแตนไม่รู้หายไปไหน เหลือเพียงรังแตนที่กลวง ว่างเปล่า
ภู เชียงดาว
ในที่สุด, ผมก็พาตัวเองกลับคืนสู่บ้านเกิดอีกครั้ง หลังจากโชคชะตาชักชวนชีวิตลงไปอยู่ในโลกของเมืองตั้งหลายขวบปี การกลับบ้านครั้งนี้ ผมกะเอาไว้ว่า จะขอกลับไปพำนักอย่างถาวร หลังจากชีวิตเกือบค่อนนั้นระหกระเหินเดินทางไปหลายหนแห่ง ผ่านทุ่งนา ภูเขา แม่น้ำ ทางป่า ถนนเมือง... จนทำให้บ้านเกิดนั้นเป็นเพียงคนรู้จักที่ไม่คุ้นเคย เป็นเหมือนโรงเตี๊ยมพักผ่อนชั่วคราวก่อนออกเดินทางไกล อย่างไรก็ตามได้อะไรมากและหลากหลาย... สำหรับทุกสิ่งทุกอย่างที่เข้ามาสู่,ชีวิตการกลับบ้านเกิดหนนี้, เหมือนกับว่าไปเริ่มสู่จุดเริ่มต้นและก่อเกิด ผมบอกกับหลายคนว่ากำลังเกิดใหม่เป็นหนที่สามจากบ้านเกิด เข้ามาเรียนในเวียง…
ภู เชียงดาว
‘ลุ่มน้ำแม่ป๋าม’ ถือว่าเป็นลุ่มน้ำสาขาหลักที่สำคัญของแม่น้ำปิงอีกสายหนึ่งของอำเภอเชียงดาว ที่เราจะมองข้ามไปไม่ได้เลย เมื่อย้อนทวนขึ้นไปบนความสลับซับซ้อนของต้นกำเนิดน้ำแม่ป๋าม หรือที่หลายคนเรียกกันว่า ตาน้ำ จะพบว่าอยู่บริเวณชุมชนบ้านแม่ปาคี ต.สันทราย ของ อ.พร้าว ก่อนจะลัดเลาะไหลอ้อมตีนดอยผาแดง ลงสู่หุบห้วยบริเวณบ้านป่าตึงงาม โดยมีสายน้ำย่อยอีกสายหนึ่ง คือน้ำแม่ป๋อย ได้ไหลมารวมกับน้ำแม่ป๋ามตรงสบน้ำบ้านออน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว นอกจากนั้นยังมีลำน้ำแม่มาดอีกสายหนึ่ง ซึ่งมีขุนน้ำอยู่บริเวณป่าเชิงดอยบ้านปางโม่ ก็ได้ไหลมาสมทบกับน้ำแม่ป๋าม แล้วค่อยไหลผ่านหมู่บ้านแม่ป๋าม…
ภู เชียงดาว
มองไปในความกว้างและเวิ้งว้าง ทำให้ผมอดครุ่นคิดไปลึกและไกล และพลอยให้อดนึกหวั่นไหวไม่ได้ หากภูเขา ทุ่งนาทุ่งไร่ สายน้ำ และวิถีชีวิตในหมู่บ้านเกิดของผมต้องเปลี่ยนไป เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมที่อยู่นอกเหนือธรรมชาติเข้ามาเยือน
ภู เชียงดาว
‘…เรารู้ซึ้งถึงสิ่งนี้ โลกนี้มิใช่ของมนุษย์ มนุษย์ต่างหากที่เป็นสมบัติของโลก สิ่งนี้เรารู้ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันเหมือนดังสายเลือดในครอบครัวเดียวกัน ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์ สิ่งใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่โลก ย่อมเกิดขึ้นแก่บุตรธิดาของโลกด้วย มนุษย์ไม่ใช่ผู้สานทอใยแห่งชีวิต เขาเป็นเพียงเส้นใยหนึ่งในนั้น สิ่งใดก็ตามที่เขาทำต่อข่ายใยนั้น ก็เท่ากับกระทำต่อตนเอง...’จดหมายโต้ตอบของหัวหน้าเผ่าอินเดียนแดงที่ซีแอตเติ้ลจากหนังสือ ‘ณ ที่ดวงตะวันฉายแสง ข้าจะไม่สู้รบอีกต่อไป’วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ : แปล และเรียบเรียง
ภู เชียงดาว
  ผมยืนอยู่บนเนินเขาเหนือหมู่บ้าน จ้องมองภาพเคลื่อนไหวไปเบื้องหน้า... เป็นภาพที่คุ้นเคยที่ยังคงสวยสด งดงาม และเรียบง่ายในความรู้สึกผม ภาพชาวนาในท้องทุ่ง ภาพหุบเขาผาแดงที่มีป่าไม้กับลำน้ำแม่ป๋ามไหลผ่านคดโค้งเลียบเลาะระหว่างตีนดอยกับทุ่งนา ก่อนรี่ไหลลงไปสู่ลำน้ำปิง แม่น้ำในใจคนล้านนามานานนักนาน
ภู เชียงดาว
(1)ดอกฝนหล่นโปรยมาทายทักแล้ว,ในห้วงต้นฤดูหอมกลิ่นดินกลิ่นป่าอวลตรลบไปทั่วทุกหนแห่งหัวใจหลายดวงชื่นสดในชีวิตวิถีถูกปลุกฟื้นตื่นให้เริ่มต้นใหม่อีกคราครั้ง…ตีนเปลือยย่ำไปบนดินนุ่มชุ่มชื้น,เช้าวันใหม่ไต่ตามสันดอย ไปในไร่ด้วยกันนะน้องสาวผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน  ช่วยกันทำงานๆพี่ใช้เสียมลำไม้ไผ่กระทุ้งดิน  น้องหยิบเมล็ดข้าวหยอดใส่หลุมไม่เร่งรีบ ไม่บ่นท้อ ในความเหน็ดหน่ายเสร็จงานเราผ่อนคลาย  เอนกายผ่อนพักใต้เงาไม้ใหญ่แล้วพี่จะกล่อมให้, ด้วยเพลงพื้นบ้านโบราณขับขาน