Skip to main content

 

           ในการเขียนรัฐธรรมนูญในชั้นหลังๆ มีการบันทึกเจตนารมณ์ไว้ชัดเจน เพื่อป้องกัน "ศรีธนญชัย" และ "เนติบริกร" ผู้ "ใช้" รัฐธรรมนูญสนองความต้องการตามอำเภอใจของพวกตนฝ่ายตน

            หลังจากการร่างและประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 จึงมีบันทึกเจตนารมณ์ออกมา

            ในหนังสือรวมบทสรุปผู้บริหาร: การร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (2552) นั้นบันทึกไว้ชัดเจนว่า เจตนารมณ์ในการกำหนดให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในมาตรา 171 เพื่อให้นายกรัฐมนตรีมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับประชาชนโดยผ่านผู้แทนปวงชน ซึ่งสอดคล้องกับระบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

            ที่เป็นเช่นนี้เพราะการออกแบบรัฐธรรมนูญของเรามีแนวคิดเดียวกับระบอบรัฐสภาแบบ Westminster ที่เป็นการร่วมอำนาจระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับฝ่ายบริหาร กล่าวคือ ประชาชนเลือกผู้แทนของตนเข้าไปใช้อำนาจนิติบัญญัติ และเสียงข้างมากของตัวแทนประชาชน เท่ากับการได้รับฉันทานุมัติของประชาชนเข้าไปใช้อำนาจนิติบัญญัติคือการตรากฎหมายและการตรวจสอบควบคุมการบิหาร และขณะเดียวกัน ก็ให้เสียงที่ประชาชนไว้ใจส่วนใหญ่ เข้าไปใช้อำนาจบริหาร

             รัฐบาลจึงมีความชอบธรรมสองชั้น ชั้นแรกคือความไว้วางใจจากประชาชนให้เป็นผู้แทนในการใช้อำนาจอธิปไตย เขาถึงมีคำกล่าวว่า vox populi, vox dei หรือเสียงของประชาชนคือเสียงสวรรค์

             ชั้นที่สอง คือการรับมอบอำนาจจากสภาผู้แทนราษฎรให้ไปใช้อำนาจบริหาร คือการตั้งรัฐบาล

            เมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจึงรับผิด รับชอบ ต่อสภาผู้แทนราษฎร 

           ในยามที่เกิดความขัดแย้งทางการเมือง ไปต่อไม่ได้ ก็ใช้อำนาจฝ่ายบริหาร "ยุบสภา" คืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจ

            ขณะเดียวกัน เพื่อป้องกันมิให้มีการลุแก่อำนาจ ก็ให้สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกระทู้ถาม การขอให้ผู้รับผิดชอบมาชี้แจงในสภาฯ จนถึงการขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ

             ซึ่งในอดีต มีการยุบสภา หนีการตรวจสอบ

             รัฐธรรมนูญตั้งแต่ พ.ศ. 2540 จึงห้ามยุบสภาหนีการตรวจสอบโดยสภาผู้แทนราษฎร

             นอกจากนี้ ยังป้องกันเผด็จการของเสียงข้างมาก กล่าวคือ ให้มีการยื่นญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีได้ โดยอาศัยเสียง 1 ใน 5 ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมด พร้อมกันนั้น ก็ให้เสนอชื่อบุคคลที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีแทน หากมีการลงมติไม่ไว้วางใจ (มาตรา 158) 

            แต่หากฝ่ายค้านมีน้อยกว่า 1ใน 5 ก็ยังสามารถอาศัยเวลาหลังจากที่รัฐบาลบริหารประเทศได้เกินครึ่งหนึ่งของวาระ คือสองปีขึ้นไป พรรคที่ไม่ได้ร่วมรัฐบาล สามารถรวบรวมเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของพรรคที่ไม่ได้ร่วมรัฐบาลยื่นขอญัตติเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจได้อีก (มาตรา 160)          

             การแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 172 กำหนดให้สภาผู้แทนราษฎร" ให้ความเห็นชอบบุคคลที่สมควรได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีภายใน 30 วัน โดยคะแนนเสียงสนับสนุนจะต้องมากกว่า 1 ใน 5 ของจำนวนผู้แทนราษฎร และการรับรองว่าบุคคลดังกล่าวควรได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกฯ ต้องมีเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่ง และต้องทำภายใน 30 วัน

             แต่หากภายใน 30 วัน ยังไม่สามารถเสนอรายชื่อได้ ด้วยเหตุที่ไม่มีบุคคลได้รับการสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรนำรายชื่อบุคคลผู้ได้คะแนนสูงสุดนำความกราบบังคมทูลให้ทรงโปรดเกล้าเป็นนายกรัฐมนตรี ภายใน 15 วัน (มาตรา 173)

             สาเหตุที่ตราข้อความดังกล่าวในรัฐธรรมนูญเหล่านี้ มีเจตนารมณ์ชัดเจนว่าจะไม่ให้แผ่นดินว่างเว้นนายกรัฐมนตรี หรือเกิดภาวะสุญญากาศและยังกำหนดเอาไว้ชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น (หน้า 264-266) 

             นอกจากนี้ ในยามที่มีการยุบสภา หรือรัฐบาลครบวาระ 4 ปี ก็จะต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไป ในระหว่างนั้นก็ให้มีคณะรัฐมนตรีรักษาการ "อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะรับหน้าที่ (มาตรา 181)

            และปรากฏชัดในเจตนารมณ์ว่า "เพื่อมิให้มีกรณีตำแหน่งว่างเว้นเป็นเวลานาน เนื่องจากจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศ" (หน้า 273) 

 

            แต่จนถึงบัดนี้ ก็ยังมี "เนติบริกรวยและรัฐศาสตร์บริกรวย" ออกมายืนยันว่าตั้งนายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7 นั้นทำได้ และโยกโย้มิให้มีการเลือกตั้ง ทั้งๆ ที่เป็นทางออกจากความขัดแย้งที่ต้นทุนต่ำที่สุด และใช้เวลาสั้นกว่าวิธีการอื่นใด

 

 

 

 

บล็อกของ บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ

บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 ผมไม่คิดว่าจะได้ดูละคร "คือผู้อภิวัฒน์" เพราะผมเข้าเรียนธรรมศาสตร์ ปี 2531 ขณะที่ "คือผู้อภิวัฒน์" แสดงเป็นครั้งแรกในปี 2530 แต่ผมเข้าเรียนธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2531
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ประการที่สอง เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งผมเห็นว่าเป็นเรื่องกระบวนการทางการเมืองควรได้พิจารณาจากบทเรียนความรุนแรงทางการเมืองและความพยายามแสวงหาทางออก ซึ่งมีบทเรียนสำคัญจากสองกรณี ได้แก่
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ในสถานการณ์ที่เยาวชนลุกขึ้นเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชน ยุบสภาและร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ในหลายแห่งและขยายตัวไปทุกภูมิภาคทั่วประเทศนั้น หลายคนมองว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ของเด็กที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ บ้างก็หมิ่นแคลนว่าไม่เคยช่วยพ่อแม่ล้างจานจะมาแก้ปัญหาประเทศได้อย่างไร หรือหางานและจ่ายภาษีได้แล้วค
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
คนสามรุ่น
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
หากมองคลื่นความขัดแย้งทางการเมืองไทยใน
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
เรื่องเล่าวันนี้
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
ถึงแม้ว่าจะมีเหล้า ยาเสพติดมาเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุที่มีคนเจ็บตายกันทุกๆ ปี ช่วงปีใหม่ สงกรานต์และเทศกาลสำคัญ
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ
 คำเตือน: เปิดเผยเนื้อหาบางตอน และอยากชวนไปดูหนังเรื่องนี้กันเยอะๆ ครับ บอกตรงๆ ว่าสะเทือนใจมากที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ เพราะมันมีเรื่องราวหลายอย่างที่ทับซ้อนอยู่ในเรื่อง เป็นธรรมดาที่เราอาจจะคิดไปเองว่าบทสนทนาในเรื่องคล้ายคลึงกับเรื่องของเราเอง