Skip to main content

พันธกุมภา


ถึง มีนา


เมื่อได้ยิน......


ทำไมคุณโง่แบบนี้”

งานชุ่ยๆ แบบนี้เหรอที่ทำเต็มที่แล้ว”

มีหัวไว้ใส่หมวกเปล่าๆ”


สารพัดมากมาย คำด่าทอที่เรามักไม่ชอบ – ในที่นี้ก็มีผมอยู่ด้วยแหละครับ เวลาที่มีใครมาต่อว่า มานินทาในทางร้ายๆ แล้วมักจะต้องเดือดร้อนเป็นฝืนเป็นไฟอยู่เสมอ อืม...คิดในใจ นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราไม่ใช่คนอย่างที่เขาว่านะ.....


ขณะที่คำชม อาทิ

คุณทำงานเก่งจัง”

ทำได้แค่นี้ สุดยอดเลยทีเดียว ยอดเยี่ยมมากๆ๐

คิดได้แค่นี้ ก็เจ๋งเลย”


คำพูดชื่นชม เยินยอในทางบวกเหล่านี้ หลายคนไม่ปฏิเสธ หรือไม่ได้มีท่าทีต่อต้านเหมือนคำพูดร้ายๆ หรือลบๆ แต่กลับมองว่าใช่ๆ ตัวฉันนี่แหละ ที่เป็นแบบนี้ นี่เลยคือตัวฉัน มันคือสิ่งที่ฉันเป็น.....


พี่มีนาครับ....ผมว่านี่ไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรเลย ที่หลายคนจะไม่ยอมรับในสิ่งที่ตัวเองผิด หรือยินยอมรับในสิ่งที่ตัวเองทำดี ทั้งนี้เพราะเราถูกสอนมานมนานว่า เราควรจะทำดี เป็นคนดี ทำอะไรให้ได้รับคำชื่นชม ยินดี ซึ่งการสอนสั่งเช่นนี้เอง เป็นการทำให้เราคุ้นชินกับการพูดถึงในทางบวกมากกว่าทางลบ


ยิ่งนักปฏิบัติหลายคนที่ได้ลอง “ดูจิต” ของตนนั้น บางคนถึงกับไม่ยอมรับในความคิดร้ายๆ ของตนเลยก็มี เช่น บางคนโกรธ ก็บอกว่าฉันไม่ได้โกรธ บางคนโมโห ก็บอกว่าไม่ใช่ฉันที่โมโห ขณะที่พอเห็นจิตที่ดีใจ มีความสุข ก็คิดว่านี่แหละคือตัวคือตนจริงๆ ของตน


อันที่จริงแล้ว ความคิดของคนนั้นมีหลายแบบ ทั้งดีและไม่ดี การที่คนภาวนากันมากๆ โดยเน้นเรื่องการดูจิตนั้นก็เพื่อให้เรา “เห็น” ความคิด เห็นจิตใจ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าดีหรือไม่ดี


การวิปัสสนาคือการดูตามความเป็นจริง เป็นการรู้ เห็นซื่อๆ ไม่ปรุงแต่ง มองด้วยความเป็นกลาง นั่นคือมีอุเบกขาเกิดขึ้นในจิต และมองความคิดทั้งที่ดีไม่ดี สุขหรือทุกข์ โมโหหรือดีใจ โกรธหรือเมตตา ด้วยความเป็นกลางวางเฉย ไม่ปรุงแต่งใดๆ


การที่เราตามรู้ ตามเห็นไปเรื่อยๆ โดยเริ่มต้นจากการดูกาย หรือดูใจของตนนั้น สามารถทำได้ง่ายมาก คือ เราลองทำตัวเองเป็น “ผู้ดู” มากกว่าเป็น “ผู้เล่น” นั่นคือ เมื่อเราโกรธ เราก็เพียงรู้ว่าเราโกรธ เมื่อเราโมโหเราก็เพียงรู้ว่าเราโมโห หรือเมื่อเราดีใจก็เพียงรู้ว่าดีใจ เมื่อเราสุขใจก็เพียงรู้ว่าสุขใจ หลักการง่ายๆ คือ เมื่อเกิดความคิด อารมณ์แบบไหน ก็เพียงแค่ “รู้” “ดู” “เห็น” ด้วยใจอันเป็นกลาง


เมื่อเราตามรู้ ตามดูไปเรื่อยๆ เราก็ทำแบบทั้งที่เป็นทางการเช่นนั่งภาวนา หรือ ทำในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อมีคนมาว่าเราว่า “โง่” แล้วเราโกรธ นั้นเราเพียงแต่รู้ว่ากำลังโกรธ และอาจพิจารณาดูว่า ความโกรธนั้นเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไปนั้น เราได้เห็นไตรลักษณ์ เห็นความไม่เที่ยงของจิต


การที่เราได้ “รู้” ทันความคิดนั้น ก็คือ การที่เรามีสติ พอเรามีสติไปรู้อารมณ์ต่างๆ แล้ว อารมณ์นั้นๆ จะตั้งอยู่และดับลง หากในทางกลับกันเมื่อเรา “หนี” อารมณ์ “โกรธ” โดยการคิดเอาว่า “ฉันไม่โกรธ” “ฉันเบิกบาน” โดยที่ไม่ได้ตามรู้ พิจารณาดูอารมณ์นั้นๆ มันก็อาจทำให้อารมณ์นั้นหายไปได้


แต่อารมณ์นั้นมันจะหายไปไหนหละ นอกจากส่วนลึกของจิต หรือในจิตใต้สำนึก และมันก็เป็นการกดทับอารมณ์ต่างๆ ในส่วนลึกไว้ จนวันหนึ่งอาจระเบิดออกมาได้ อาจทำให้เราฟุ้งซ่าน มากกว่าเดิม


เหมือนดังที่พระอาจารย์ ปราโมทย์ ปราโมชโช ที่กล่าวว่า “มองโลกในแง่ดีมีความสุข มองโลกตามความเป็นจริงพ้นทุกข์” – ซึ่งสำหรับคำกล่าวนี้ผมระลึกว่าเป็นสิ่งที่น่าจะน้อมนำมาสู่การพิจารณาในการดำเนินชีวิตของเราประจำวันว่าเรามีความคิด รู้สึกอย่างไร เกิดอะไรขึ้นกับจิตเราบ้าง


ซึ่งในที่นี้ขอย้ำว่า การ “รู้” ไม่ใช่การ “เพ่ง” ไม่ใช่การ “คิดไว้ล่วงหน้าว่าจะรู้” แต่เป็นการรู้หลังที่เกิดอารมณ์ต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งผมเองก็ได้ทำแบบเล่นๆ ตามดูไปเรื่อยๆ จิตจะเป็นยังไงก็ปล่อยเขา พอมีคนมาด่าก็รู้ว่าถูกด่า โมโหก็เพียงรู้ว่าโมโห พอจะหนีอาการโมโหไปร้องเพลงให้สำราญใจก็รู้ว่ากำลังหนี หรืออยากนั่งสมาธิกดอารมณ์นี้ไว้ ก็รู้ว่ากำลังจะทำสมาธิ ทำสมถะ เพียงแค่รู้ตัวเดียวครับผมว่านี่คือสิ่งสำคัญจริงๆ


หลายคนที่ยังรู้สึกว่าทำไมต้องรู้ รู้แล้วจะหายจริงหรือ หรือรู้แล้วจะเป็นอย่างที่ผมได้บอกไว้หรือไม่นั้น ผมก็ไม่รู้นะครับ เพราะผมกับคนอื่นๆ ต่างกัน ดังนั้น ใครที่ได้ดูจิต ได้ตามรู้ ตามดูอารมณ์ต่างๆ ในแต่ละวันเป็นอย่างไรก็ลองทำไปเรื่อยๆ ทำเล่นๆ ทำสบายๆ ผ่อนคลายๆ


ทำเป็นปริมาณสะสมไปเรื่อยๆ วันหนึ่งเมื่อจิตเราพลิก จิตจะพลิกเองโดยที่เราเท่านั้นแหละที่จะรู้ว่าจิตพลิกเป็นจิตที่มีคุณภาพ เป็นจิตที่ตื่นรู้นั้นเป็นอย่างไร.....และตัวตนในตนเองนั้นจะเป็นอย่างไร?

 

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ชีวิตนี้แสนสั้นและใจก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช้าสายบ่ายค่ำจิตใจไม่เหมือนเดิม กายก็มีทั้งสุขและทุกข์แปรปรวนไปตามธรรมดา ชีวิตแต่ละวันจึงแสนจะสั้นและดูแล้วไม่เที่ยงเอาเสียเลย จนบางครั้งรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป จึงต้องใคร่ครวญคิดคำนึงอยู่เสมอๆ ว่าตั้งแต่เกิดมามีอะไรที่ตัวเองยังไม่ได้ทำบ้าง และก็ควรจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนี้เพื่อลงมือทำสิ่งนั้นอย่างจริงจังไม่ใช่แค่คิดและปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ
พันธกุมภา
เร็วๆ นี้ผมและญาติธรรมกำลังร่วมกันดำเนินการจัดพิมพ์ธรรมใจไดอารี่ ฉบับธรรมทาน ซึ่งพี่ๆ ญาติธรรม ทุกๆ คน ที่ได้มาพบเจอ รู้จัก สนทนาธรรมกัน ได้ช่วยเหลือ เกื้อกูล ให้คำปรึกษา แนะนำต่างๆ มากมาย และเมื่อมีผู้เสนอให้ทำ ธรรมใจไดอารี่ขึ้น
พันธกุมภา
สำหรับผมกับแฟน เราทั้งสองคบกันด้วยเหตุแห่งความศรัทธาที่มีต่อกัน ในวันที่เราเจอกันครั้งแรก แม้ไม่ได้รู้สึกอยากจะได้มาครอบครองแต่ด้วยความที่เธอเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่สนใจในทางธรรม ทั้งการถือศีล และการปฏิบัติ ทำให้เราทั้งสองได้สนทนาและแบ่งปันการภาวนาของกันและกันและก็ได้คุยกันเรื่อยมา
พันธกุมภา
วันธรรมดาวันหนึ่ง ชีวิตประจำวันก็ผ่านไปด้วยเหตุปัจจัยเหมือนเดิม มีประชุม ทำค่าย อบรม เดินทางจัดกิจกรรมตามจังหวัดต่างๆ ได้เจอผู้คนมากหน้าหลายตา มีโอกาสได้สนทนากันตามเรื่องราวที่แตกต่างกันไป แต่ข้างในใจกลับเต็มไปด้วยความเฉื่อยชา เบื่อหน่าย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าใดนัก
พันธกุมภา
การได้สังเกตจิตใจของตัวเองตามความเป็นจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าจิตใจนี้มีธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปมาตามเหตุปัจจัยเงื่อนไขชีวิต แล้วยังมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปสู่ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ความโกรธ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว ขาดสติ เผลอหลงใหลไปกับโลกของความคิดและสิ่งภายนอกใจ
พันธกุมภา
คำอวยพรจากเพื่อนๆ พี่น้อง หลายๆ คน ส่งมายังผมหลายฉบับ ทำให้เกิดความปีติยินดี ที่ได้รับคำอวยพรอย่างยิ่ง และผมก็ได้ตอบกลับไปยังเพื่อนๆ พี่น้อง ทั้งที่ส่งมาและไม่ได้ส่งมา อีกหลายๆ คน การให้พรจึงเสมือนเป็นการให้กำลังใจและบอกให้กันและกันรู้ว่ายังคงระลึกถึงกันอยู่เสมอ
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่การเจริญสติของใครหลายคนติดอยู่กับอารมณ์คือหลงไปแช่อยู่กับอารมณ์นานจึงทำให้เกิดการเผลอยึดมั่นในอารมณ์นั้น กลายเป็นติดหลุม เผลอลงไปแช่ จะรู้สึกมัวๆ หรือเผลอไปแทรกแซง จนยากยิ่งนักที่จะรู้สึกตัวทัน ทั้งนี้ครูบาอาจารย์ท่านแนะไว้ว่าอาจเป็นเพราะจิตยังไม่ถึงฐานหรือจิตยังไม่ตั้งมั่น
พันธกุมภา
  ในการภาวนาบ่อยครั้งนักที่ผมมักจะได้ยินคนอื่นๆ มาเล่าให้ฟังทำนองว่า สถานที่นี้ไม่ดีเลย ไม่เหมาะที่จะภาวนาเลย เสียงก็ดัง คนก็เยอะ ไม่มีที่ ไม่มีทางเดินจงกรมหรือนั่งปฏิบัติเลย เพราะมองว่าการที่จะภาวนาได้นั้นจะต้องไปในสถานที่ที่มีรูปแบบ เช่น มีทางให้เดินจงกรม มีเบาะให้นั่งภาวนา เป็นต้น
พันธกุมภา
ปลายเดือนตุลาคม 2552 นี้ ผมได้มีโอกาสไปภาวนากับพี่ๆ ญาติธรรมเชียงใหม่ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพวกเราไปกัน 4 คน ได้แก่ พี่เอ้ พี่ยา พี่นา และผม ซึ่งผมรู้จักพี่ๆ ผ่านทางการสนทนาในอินเตอร์เน็ตและทุกๆ คนก็ภาวนาในแนวดูจิตเหมือนๆ กัน
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่รู้สึกตัว และอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นภายในใจ มันยิ่งทำให้เห็นว่าเราสามารถตามรู้ ตามดูสภาวะต่างๆ ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ด้านบวก หรืออารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นภายในใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกันคือ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้
พันธกุมภา
ในแต่ละวันชีวิตคนเราก็มีเวลา 24 ชั่วโมง เหมือนกัน ไม่มีใครมีเวลามากหรือน้อยไปกว่ากัน ทว่าอยู่ที่ว่าใครจะจัดสรรเวลาให้กับตัวเองมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และอื่นๆ อีกมายมาย ซึ่งการจัดระดับความสำคัญของภารกิจระหว่างวันแต่ลัอย่างนื้ถือเป็นเรื่องที่ช่วยให้วันแต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณประโยชน์
พันธกุมภา
โดยปกติแล้ว ผมมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหวตัวเองไปๆ มาๆ ดังนั้นการเจริญสติด้วยการรู้สึกที่กายและใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมานี้ จึงเป็นการภาวนาที่ทำให้ผมถนัดและสามารถรู้สึกตัวได้บ่อยที่สุด