Skip to main content


ผมคิดไว้มานานหลายเดือนแล้วว่า จะตั้งใจเขียน
"บันทึกการเจริญสติ" ของตัวเองขึ้นมา
เพราะคิดว่าคงจะดี ถ้าได้บันทึกไว้ เพื่อการเรียนรู้ของตัวเอง และคนอื่นๆ ที่สนใจ


ก่อนที่จะบันทึกในกาลต่อไป ขอเล่าเรื่องการภาวนาของตัวเองก่อน....

สำหรับผมแล้ว เริ่มต้นของการปฏิบัติคือเมื่อปลายปี 2549 ก็เกิดจากทุกข์ทางใจ เพราะงานเยอะ เครียด และตอนนั้นแฟนจะขอเลิก เขาเลยเสนอว่าให้ไปปฏิบัติธรรมเพื่อทำใจ จึงได้สมัครไปปฏิบัติของท่าน โกเอ็นก้า ที่ ธรรมอาภา จ.พิษณุโลก พอไปทำมา 10 วัน ก็ดีใจ ที่ทุกข์ครั้งนี้ทำให้ได้พบกับธรรมะ

ต่อจากนั้นก็สงสัยในหลายๆ อย่าง ที่ไม่รู้ จึงอยากปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเพิ่มมากขึ้น เช่น อยาก รู้ว่าทำแล้วจะได้อะไร, ปฏิบัติไปแล้วจะพ้นทุกข์จริงๆ หรือ, มรรค คืออะไร, วิปัสสนา เป็นอย่างไร, ขันธุ์ 5 ธาตุ 4 เป็นอย่างไร, ตัวเราไม่มี จริงเหรอ ฯลฯ

ความสงสัยเหล่านั้น ทำให้ อยากรู้มากขึ้น สิ่งที่ทำต่อมาก็คือ ลงมือปฏิบัติตามแนวทางของท่านโกเอ็นก้า เช้า – ค่ำ และหาหนังสือมาอ่าน เพื่อเอาความรู้ใส่หัวบ้าง แต่ก็กลัวตัวเองจะคิดมาก เพราะยิ่งอ่าน บางทีก็ไม่เหมือนกับที่เราปฏิบัติ เลยไม่รู้ว่าแบบไหน ถูก แบบไหนผิด

แล้ว ก็ต้นปี 2550 ได้มีโอกาส "บวช" 10 วัน แต่ไม่ได้บวชเพื่อปฏิบัติอะไรนะครับ กะว่าบวชให้พ่อแม่ แล้วช่วงนั้นมีงานศพของหลวงพ่อที่เป็นญาติกันด้วย เลยได้มีโอกาสอยู่วัด และก็อย่างที่ทราบคือ ทุกวัดเป็นวัดบ้าน แถวเชียงราย เขาไม่ค่อยนิยมปฏิบัติเท่าไหร่ เราก็ถามหลวงพี่ แถวนั้น ที่มาช่วยงานศพว่าอยากปฏิบัติธรรม ขอให้ท่านช่วยสอนหน่อย ท่านก็เมตตาสอนเดินจงกรม (ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ) แล้วก็สอนเคลื่อนไหวมือ เราก็ลองปฏิบัติดู แล้วก็ตอนเช้าๆ ก็ไปนั่งภาวนา สายๆ ก็กวาดลานวัด ก็พยายามรู้สึกตัวตลอด ว่า เรากำลังทำอะไร กำลังคิดอะไร ทำไปเรื่อยๆ จนสึกออกมา แล้วก็รู้สึกดีขึ้น

ต่อมาก็พยายามหาคอร์สไปปฏิบัติเรื่อยๆ เช่น “ภาวนาเพื่อสันติภาพ” ของหมู่บ้านพลัม โดยหลวงพ่อติช นัท ฮันห์ ซึ่งก็ไปฝึกเจริญสติ แล้วก็เห็นว่าที่จริงแล้วเราสามารถทำในชีวิตประจำวันได้เยอะเลย เช่น ล้างจาน เดินทาง ขับรถ อ่านหนังสือ ทำงาน กินข้าว ซึ่งแต่เดิมคิดแค่ว่า มานั่งภาวนา เช้า - ค่ำ ก็พอ แต่จริงๆ แล้ว ก็ได้หลักมาเพิ่มอีก จึงเอามาเป็นแนวทางภาวนา

คือ เช้า - ค่ำ ก็ภาวนาแบบท่านโกเอ็นก้า ตอนระหว่างวันก็เจริญสติ รู้ตัว เข้าไว้ ว่าทำอะไร เพื่ออะไร ทำนองนี้.....

ตอนปลายปี 2550 มีโอกาสไปที่วัดป่าสุคะโต โดยคำแนะนำของผู้ใหญ่ที่นับถือ เป็น ngo อยู่เชียงใหม่ บอกว่า สายหลวงพ่อเทียน ดีนะ ลองไปดูสิ เป็นการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวมือ สร้างจังหวะ ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ลองไปดู ไปเอาหลัก แล้วก็มาฝึกใหม่

ตอนไปวัดป่าสุคะโต ก็มี "หลวงปู่" หรือ "พระอาจารย์วรเทพ ฉนฺทพหุโล" มาช่วยสอนและแนะนำการปฏิบัติ ท่านมีเมตตามาก และช่วยให้เข้าใจหลักในการปฏิบัติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวมือหรือแม้แต่การเดินจงกรมก็ตาม.....

ตอนนั้นใจก็คิดว่า ไปของท่านโกเอ็นก้า ท่านเน้น "เวทนา" ของหลวงพ่อเทียน เน้น "กาย" ซึ่งเป็นองค์หลักของการ "ดูกาย" จึงคิดว่าน่าจะเอามาประยุกต์เข้ากัน เพราะตอนนั้นสงสัยมากว่าจะเอาที่เคยไปปฏิบัติมาประยุกต์กันอย่างไร มันจะผิดไหม กรรมฐานจะขัดกันหรือเปล่า เลยตัดสินใจ ทำใหม่คือ มีอะไรให้รู้ก็รู้ไปดีกว่า แต่จะเอากายเป็นหลัก เพราะกายเป็นของหยาบกว่าเวทนา ซึ่งเวลานั้นละเอียดมาก อีกอย่างคือ ตัวเองไม่รู้ว่าเหมาะกับการ "ทำสมาธิก่อนแล้วมาทำวิปัสสนา" หรือ "ทำวิปัสสนา" ไปเลย

จากนั้นไม่นานก็ได้ยินคนพูดถึงเรื่องการ "ดูจิต" ที่หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช ท่านสอน จึงสนใจและอยากรู้ ก็ได้ไปหาซีดี mp3 มาฟัง ฟังแล้วก็เริ่มรู้ชัดว่า เอ..จริงๆ แล้ว ไม่ว่าเราจะปฏิบัติแบบไหน ฐานไหน มันก็ไปที่ๆ เดียวกัน เรามัวแต่หลงในบัญญัติมากไป จนลืมคิดถึง ความจริง ทางกายและใจที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

มาถึงตอนนี้ค่อยๆ รู้สึกตัวขึ้นมานิดหนึ่งว่า เราก็หลงไปเยอะเหมือนกันนะเนี๊ย....

หลังจากนั้นไม่นาน กลางปี 2551 ก็ได้มีโอกาสไปนมัสการหลวงพ่อปราโมทย์ ที่สวนสันติธรรม และดีใจมากที่ได้สอบถามท่าน ซึ่งท่านก็แนะนำมาว่าให้ "ดูกาย" เป็นหลัก

หลังจากนั้นดูกายมาเรื่อยๆ เอาแนวทางหลวงพ่อเทียน มาเป็นหลัก และพอเกิดความคิดก็เห็นชัด เริ่มเห็นกิเลสมากขึ้น เช่น ความโกรธ จะเป็นบ่อยมาก พอจับได้แล้วมันเริ่มกลัว เฮ้ย เราน่ากลัวขนาดนี้เลยเหรอเนี๊ย อีกอย่างความคิดมาก ฟุ้งซ่าน ต่างๆ ก็เกิด ซึ่งเราก็เห็นมันมากขึ้น บ่อยขึ้น จนเวียนหัว เหนื่อย ต่อมาเลยคิดได้ว่ารู้แล้วก็ปล่อยสิ เราจะไปตามมันไปทำไม คือ พอรู้สึกถึงกายที่เคลื่อนไหว แล้วเกิดความคิด ก็ปล่อยให้มันคิดไปของมันเอง ปล่อยให้จิตเขาได้คิดเอง เรารู้กายที่เคลื่อนไหวต่อไปดีกว่า

ตอนนี้ก็ทำแบบนี้มาเรื่อยๆ ครับ หนังสือก็เอามาอ่านบ้าง ฟังธรรมบรรยาย จากครูบาอาจารย์หลายๆ แห่ง และก็สนทนาธรรมกับพี่ๆ ใน msn เพื่อนๆ ที่ทำงาน ด้วยกัน

มาถึงตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เอาเป็นว่าทุกวันนี้สร้างเงื่อนไข ให้กายและใจ ได้รู้สึกตัวอย่างเดียวก็พอ แล้วผลที่จะเกิดจะเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยที่เราทำก็พอแล้ว

ต่อไปนี้ผมตั้งใจจะบันทึกการดูจิต การดูกาย ของตัวเองไว้ เพราะคิดว่าอย่างน้อยก็เป็นการเตือนความจำตัวเอง เวลากลับมาอ่านจะได้รู้อะไรเพิ่มขึ้น เห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเองมากขึ้น และที่อยากมากจริงๆ ก็คืออยากเห็นเพื่อนๆ วัยใกล้เคียงกัน ประมาณวัยรุ่นทำนองนี้ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันด้วย เพราะจะได้รู้ว่า ผมยังมีเพื่อนรุ่นวัยใกล้เคียงกันที่ปฏิบัติและแลกเปลี่ยนกัน เป็นเพื่อนทางธรรม ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันต่อไปๆ นะครับ


บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ผมคิดไว้มานานหลายเดือนแล้วว่า จะตั้งใจเขียน "บันทึกการเจริญสติ" ของตัวเองขึ้นมาเพราะคิดว่าคงจะดี ถ้าได้บันทึกไว้ เพื่อการเรียนรู้ของตัวเอง และคนอื่นๆ ที่สนใจ ก่อนที่จะบันทึกในกาลต่อไป ขอเล่าเรื่องการภาวนาของตัวเองก่อน....สำหรับผมแล้ว เริ่มต้นของการปฏิบัติคือเมื่อปลายปี 2549 ก็เกิดจากทุกข์ทางใจ เพราะงานเยอะ เครียด และตอนนั้นแฟนจะขอเลิก เขาเลยเสนอว่าให้ไปปฏิบัติธรรมเพื่อทำใจ จึงได้สมัครไปปฏิบัติของท่าน โกเอ็นก้า ที่ ธรรมอาภา จ.พิษณุโลก พอไปทำมา 10 วัน ก็ดีใจ ที่ทุกข์ครั้งนี้ทำให้ได้พบกับธรรมะ
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา ปลายปี 2551 นี้ ผมมีโปรแกรมไปเจริญสติที่วัดป่าสุคะโตอีกครั้ง ภายหลังจากเมื่อสิ้นปี 2550 ที่ผ่านมาผมได้เดินทางไปที่วัดป่าสุคะโตแล้วและได้พบหลัก พบหนทาง หลายอย่างที่เหมาะสมกับตัวเองยิ่งนัก แต่การเดินทางไปครั้งนี้ไม่เหมือนปีก่อน....มีหลายเรื่องเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง ไปตามกาลเวลา สิ่งที่เข้ามารับรู้ทำให้อารมณ์ของผมเกิดขึ้นไปต่างๆ นานา และสิ่งที่เสียใจที่สุด ทำให้ใจหม่นหมองมาหลายวัน นั่นคือการมรณภาพของ "หลวงปู่" เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อฉบับที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงโครงการ “ธรรมทานสู่โรงพยาบาล” ที่ผมและลูกปัดไข่มุก ร่วมกันทำในนามกลุ่ม “ธรรมะทำดี” – กลุ่มที่เราสองคนร่วมกันคิด ร่วมกันก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา เพื่อการเผยแพร่ธรรมะที่เราได้พบและเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ ทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ที่ผ่านมา พวกเราสองคนต้องขอบคุณพี่ๆ หลายๆ ท่านที่ได้ส่งหนังสือมาให้นะครับ ตอนนี้มีคนที่มอบหนังสือมาหลายเล่ม ทั้งนิตยสาร และหนังสือธรรมะ และก็มีบางส่วนที่เราไปหาซื้อแถวจตุจักร จากเงินเก็บของเราที่มีอยู่
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง พี่มีนา  ผมหายจากหน้าจอไปนานเพราะมีงานให้ทำ จนฟกช้ำจิตใจไปทั่วเลย ไม่ค่อยมีเวลาได้พัก เพราะงานที่ผมรัก ทำให้ผมต้องใช้กำลังกายและความคิดมากเหลือล้น ผมจึงเป็นดั่งคนที่นำเอาพลังชีวิตในอนาคตมาใช้ ซึ่งตอนนี้ไม่รู้ว่าจะพอมีเรี่ยวแรงเหลือใช้หรือไม่ในกาลต่อไป เฮ้อ...แต่ที่จะเล่าให้พี่ฟังครานี้ก็คือ ช่วงที่ผ่านมาผมและ “ลูกปัดไข่มุก” ได้ไปจัดห้องสนทนาธรรมชื่อห้องว่า “ห้องธรรมตามใจ” เนื่องในงานเพศศึกษาวิชาการขององค์การแพธ แล้วมีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย ทว่าในฉบับนี้อยากเอาคำคมชวนคิดที่ “ลูกปัดไข่มุก” และผมได้ช่วยกันคิดและเขียนขึ้นมาบอกเล่าต่อ ดังนี้ครับ 1.…
พันธกุมภา
มีนา ถึง...น้อง พันธกุมภา ความขี้เกียจมันไม่เข้าใคร ออกใครจริงๆ ... แต่ตอนนี้ต้องเริ่มลุกขึ้นมาทำงานแล้ว เพราะคนที่อดทนไม่ได้เมื่อเราไม่ทำงานก็คือ “แม่” ของเราเอง แม่ของพี่ เป็นภาพสะท้อนของคนจีนในเมืองไทย รุ่นที่ 2 ที่ยังคง ลำบาก ทำงานหนัก และถือปรัชญาพุทธ “ขงจื๊อ” ในเรื่องการทำงานว่าต้องมี ความซื่อสัตย์ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ความขยัน อดทน และอดออม แม่มีทุกอย่างจริงๆ แต่พี่อาจจะไม่มีทุกอย่าง อย่างที่แม่มี เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่เรามีความเหมือนและความต่าง แม้เราจะเติบโตมาท่ามกลางครอบครัวที่สอนให้เราเป็นคนค้าขาย เราอาจจะไม่ได้อยากค้าขาย ครอบครัวสอนให้เราทำงานหนัก…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาช่วงนี้เป็นเวลาพักของพี่ ช่างเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ในความรู้สึก... แต่พี่อดคิดถึงน้องไม่ได้... แล้ววันหนึ่ง... โดยที่ไม่คาดคิด เราก็มาพบกันโดยที่มิได้คาดหมายหรือนัดกันไว้ก่อน พี่อดคิดไม่ได้ว่า ชีวิตคนเราช่างแปลกจริงๆ เราก็มาพบกันจนได้ เพราะความไม่สบายของพี่ชายเพื่อนของเรา ส่วนตัวพี่ไปบ้านนั้นเพราะต้องการไปดูแลตัวเองนอกจากได้ไปดูแลตัวเองและพบกับน้องแล้ว พี่ยังได้พบกับเพื่อนอีกหลายคน ที่ไม่ได้พบกันนานที่นั่น ใครหลายคนบอกว่า โลกมันช่างแคบ ถ้าเรารู้จักคนนี้ เราก็จะรู้จักคนนั้น แต่อาจจะไม่ใช่ในช่วงเวลาเดียวกันเท่านั้นเองการพักผ่อนของพี่ ก็คงเหมือนกับคนทั่วๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง...พันธกุมภา ตั้งแต่ตกงาน พี่ยังไม่ได้หยุดงานเลย พี่พบว่าโลกปัจจุบันมีงานอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนิยามมันว่าเป็นงานอย่างไร สำหรับชีวิตพี่ตอนนี้ มีงานแบบที่ถูกให้คุณค่าทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม และงานที่ไม่ได้ถูกให้ค่าเชิงเศรษฐกิจแต่จำเป็นต้องทำ อันนี้ยังไม่ได้นับรวมเรื่องทางธรรมที่พี่ไปพบมา คืองานที่ทำแล้วไม่มีคุณค่าทางโลกแต่ได้ “บุญ” คิดดูสิว่า... ในโลกเรามีงานมากมายขนาดไหน งานที่พี่ลาออกมาเพื่อขอพัก พี่ยังไม่ได้พักเลยจนกระทั่งบัดนี้ เพราะพี่ทำแต่งานที่ไม่ให้ค่าทางเศรษฐกิจ อย่าง การดูแลแม่ งานบ้าน และการดูแลบ้าน และยังงานอื่นๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับครอบครัว…
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา ผมขอแสดงความดีกับพี่สาวของผมด้วยนะครับ ที่มีโอกาสได้พักผ่อน แม้ว่าหลายคนจะบอกว่าการที่เราตกงานนั้นเปรียบเสมือนการพายเรือในมหาสมุทรที่กว้างใหญ่เคว้งคว้างไม่รู้ว่าจะมีหนทางในงานใหม่อย่างไรได้อีก ผมทราบดีว่าพี่คงจะเหนื่อยจากการทำงานมิน้อยเลย และเชื่อว่าการได้รับมอบหมายงานเยอะคงไม่ใช่สาเหตุของการออกจากงานหรอกใช่ไหมครับ ผมรู้ว่าจดหมายหลายฉบับที่พี่ได้เขียนมาบอกเล่านั้นมันสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้กับวิถีชีวิตความเป็นคนในเมืองหลวง และรวมถึงการต้องสัมพันธ์กับคนมากหน้าหลายตา ที่มีตัวตนแตกต่างกันไป การที่เราทำงานที่เรารัก…
พันธกุมภา
มีนา  ถึง พันธกุมภา พี่กำลังจะเป็นคนตกงานค่ะ... ฉันกำลังจะเป็นคนตกงานค่ะ เดือนสิงหาคมนี้เป็นเดือนสุดท้ายสำหรับการทำงานอย่างเป็นทางการของฉัน ญาติพี่น้อง... เจ้านาย... เพื่อนร่วมงาน... เพื่อน... ต่างเป็นห่วงเป็นใยกลัวว่าพี่จะว่าง กลัวว่าฉันจะไม่มีงานทำ ไม่มีเงินใช้ ตอนที่ฉันทำงาน พวกเขาต่างให้ความห่วง ความกังวล ว่าฉันทำงานหนักเกินไป  คนและสังคมสมัยนี้ให้คุณค่ากับการทำงานมากกว่าคุณค่าของความว่างงาน พี่เคยมีประสบการณ์การตกงานมาก่อนหน้านี้แล้ว ครั้งนั้นพี่ยังไม่สามารถปล่อยวางเรื่องการว่างงานได้ แต่ครั้งนี้ พี่พยายามปล่อยวางเรื่องการงานในปัจจุบันเพื่อพบกับความว่าง …
พันธกุมภา
  พันธกุมภาถึง มีนาเมื่อฉบับที่แล้วพี่มีนาได้กล่าวถึงเรื่องการ "ปล่อยวาง" ซึ่งผมมองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการปฏิบัติธรรม เพราะหาไม่แล้วเราก็เป็นเพียงแค่ผู้เผชิญกับความสุขที่จิตใจเกิดขึ้นโดยที่หลงยึดติดอย่างไม่ทันรู้ตัวทั่วถ้วนสิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำในที่นี้ก็คือ เรื่องการปล่อยวาง หรือ การวางเฉย ซึ่งคล้ายกับภาษาธรรมที่เรียกว่า "อุเบกขา" นี้ ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง เพราะอย่างที่เราได้รู้กันมานั้นก็คือ ในการปฏิบัติธรรมนั้น ถือว่ามีด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การทำสมถะ และการทำวิปัสสนา เท่าที่รู้, การทำสมถะ คือ การทำให้จิตสงบ ทำให้จิตนิ่ง…
พันธกุมภา
มีนา สวัสดี พันธกุมภา รู้ว่าน้องสบายดี พี่ก็ยินดีไปด้วย การดำรงชีวิตอย่างมีสติไม่ใช่เรื่องง่าย พี่ก็ว่างบ้างไม่ว่างบ้าง เพียงแต่ช่วงเวลาที่น้องไม่ว่าง บังเอิญพี่ว่าง ซึ่งเป็นเรื่องดีที่เราจะมีจังหวะชีวิตที่แตกต่างกัน และทำให้การเขียนงานลงตัว พี่ยังคิดอยู่ว่า ถ้าไม่ว่างขึ้นมาพร้อมๆ กัน คงมีปัญหาแน่ๆ สำหรับพี่ ความแตกต่างจึงน่าสนใจ เช่นเดียวกับฤดูที่แตกต่าง ชีวิตที่ขึ้นๆ ลงๆ ช่วงสัปดาห์ที่น้องกำลังมีความสุขอยู่นั้น ชีวิตของพี่เหน็ดเหนื่อยและผจญกับความทุกข์ของคนอื่น แล้วยึดมาเป็นความทุกข์ของตนเอง ... บางทีพี่ก็คิดว่า ทำไมเราจึงเป็นคนอย่างนั้นไปได้ และทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่…
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา สวัสดีครับพี่มีนา เป็นอะไรไปถึงไหนอย่างไรบ้างครับ หวังว่าพี่จะสบายดีมีสติในทุกๆ ความสนุกนะครับ อืม...จะว่าไปแล้วเราก็ไม่ได้ตอบรับจดหมายกันนานทีเดียว บางทีพี่ก็ว่างมากมายจนผมรู้สึกอิจฉาตาร้อน และผมเองบางทีก็ว่างนิดหน่อย พอมีเวลามานั่งขีดเขียน เวียนวนให้พี่ได้ยลได้ติดตามอยู่เนืองๆ ช่วงที่ผ่านมาวันเข้าพรรษา ผมพาตัวเองไปเข้าวัดมาครับ แถวๆ เกาะสีชัง ได้ไปกับคนที่รักและใช้ชีวิต “ดูจิต” สนทนาธรรมและดื่มด่ำบรรยากาศอบอุ่นจากไอทะเล ทำกับข้าวกินกันริมชายฝั่ง นั่งนับดาวยามราตรี มีเวลาก็ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวรอบเกาะ หาซื้อเงาะ ซื้อทุเรียนมานั่งกิน รินน้ำเปล่าชนกัน…