Skip to main content


ผมคิดไว้มานานหลายเดือนแล้วว่า จะตั้งใจเขียน
"บันทึกการเจริญสติ" ของตัวเองขึ้นมา
เพราะคิดว่าคงจะดี ถ้าได้บันทึกไว้ เพื่อการเรียนรู้ของตัวเอง และคนอื่นๆ ที่สนใจ


ก่อนที่จะบันทึกในกาลต่อไป ขอเล่าเรื่องการภาวนาของตัวเองก่อน....

สำหรับผมแล้ว เริ่มต้นของการปฏิบัติคือเมื่อปลายปี 2549 ก็เกิดจากทุกข์ทางใจ เพราะงานเยอะ เครียด และตอนนั้นแฟนจะขอเลิก เขาเลยเสนอว่าให้ไปปฏิบัติธรรมเพื่อทำใจ จึงได้สมัครไปปฏิบัติของท่าน โกเอ็นก้า ที่ ธรรมอาภา จ.พิษณุโลก พอไปทำมา 10 วัน ก็ดีใจ ที่ทุกข์ครั้งนี้ทำให้ได้พบกับธรรมะ

ต่อจากนั้นก็สงสัยในหลายๆ อย่าง ที่ไม่รู้ จึงอยากปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเพิ่มมากขึ้น เช่น อยาก รู้ว่าทำแล้วจะได้อะไร, ปฏิบัติไปแล้วจะพ้นทุกข์จริงๆ หรือ, มรรค คืออะไร, วิปัสสนา เป็นอย่างไร, ขันธุ์ 5 ธาตุ 4 เป็นอย่างไร, ตัวเราไม่มี จริงเหรอ ฯลฯ

ความสงสัยเหล่านั้น ทำให้ อยากรู้มากขึ้น สิ่งที่ทำต่อมาก็คือ ลงมือปฏิบัติตามแนวทางของท่านโกเอ็นก้า เช้า – ค่ำ และหาหนังสือมาอ่าน เพื่อเอาความรู้ใส่หัวบ้าง แต่ก็กลัวตัวเองจะคิดมาก เพราะยิ่งอ่าน บางทีก็ไม่เหมือนกับที่เราปฏิบัติ เลยไม่รู้ว่าแบบไหน ถูก แบบไหนผิด

แล้ว ก็ต้นปี 2550 ได้มีโอกาส "บวช" 10 วัน แต่ไม่ได้บวชเพื่อปฏิบัติอะไรนะครับ กะว่าบวชให้พ่อแม่ แล้วช่วงนั้นมีงานศพของหลวงพ่อที่เป็นญาติกันด้วย เลยได้มีโอกาสอยู่วัด และก็อย่างที่ทราบคือ ทุกวัดเป็นวัดบ้าน แถวเชียงราย เขาไม่ค่อยนิยมปฏิบัติเท่าไหร่ เราก็ถามหลวงพี่ แถวนั้น ที่มาช่วยงานศพว่าอยากปฏิบัติธรรม ขอให้ท่านช่วยสอนหน่อย ท่านก็เมตตาสอนเดินจงกรม (ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ) แล้วก็สอนเคลื่อนไหวมือ เราก็ลองปฏิบัติดู แล้วก็ตอนเช้าๆ ก็ไปนั่งภาวนา สายๆ ก็กวาดลานวัด ก็พยายามรู้สึกตัวตลอด ว่า เรากำลังทำอะไร กำลังคิดอะไร ทำไปเรื่อยๆ จนสึกออกมา แล้วก็รู้สึกดีขึ้น

ต่อมาก็พยายามหาคอร์สไปปฏิบัติเรื่อยๆ เช่น “ภาวนาเพื่อสันติภาพ” ของหมู่บ้านพลัม โดยหลวงพ่อติช นัท ฮันห์ ซึ่งก็ไปฝึกเจริญสติ แล้วก็เห็นว่าที่จริงแล้วเราสามารถทำในชีวิตประจำวันได้เยอะเลย เช่น ล้างจาน เดินทาง ขับรถ อ่านหนังสือ ทำงาน กินข้าว ซึ่งแต่เดิมคิดแค่ว่า มานั่งภาวนา เช้า - ค่ำ ก็พอ แต่จริงๆ แล้ว ก็ได้หลักมาเพิ่มอีก จึงเอามาเป็นแนวทางภาวนา

คือ เช้า - ค่ำ ก็ภาวนาแบบท่านโกเอ็นก้า ตอนระหว่างวันก็เจริญสติ รู้ตัว เข้าไว้ ว่าทำอะไร เพื่ออะไร ทำนองนี้.....

ตอนปลายปี 2550 มีโอกาสไปที่วัดป่าสุคะโต โดยคำแนะนำของผู้ใหญ่ที่นับถือ เป็น ngo อยู่เชียงใหม่ บอกว่า สายหลวงพ่อเทียน ดีนะ ลองไปดูสิ เป็นการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวมือ สร้างจังหวะ ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ลองไปดู ไปเอาหลัก แล้วก็มาฝึกใหม่

ตอนไปวัดป่าสุคะโต ก็มี "หลวงปู่" หรือ "พระอาจารย์วรเทพ ฉนฺทพหุโล" มาช่วยสอนและแนะนำการปฏิบัติ ท่านมีเมตตามาก และช่วยให้เข้าใจหลักในการปฏิบัติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวมือหรือแม้แต่การเดินจงกรมก็ตาม.....

ตอนนั้นใจก็คิดว่า ไปของท่านโกเอ็นก้า ท่านเน้น "เวทนา" ของหลวงพ่อเทียน เน้น "กาย" ซึ่งเป็นองค์หลักของการ "ดูกาย" จึงคิดว่าน่าจะเอามาประยุกต์เข้ากัน เพราะตอนนั้นสงสัยมากว่าจะเอาที่เคยไปปฏิบัติมาประยุกต์กันอย่างไร มันจะผิดไหม กรรมฐานจะขัดกันหรือเปล่า เลยตัดสินใจ ทำใหม่คือ มีอะไรให้รู้ก็รู้ไปดีกว่า แต่จะเอากายเป็นหลัก เพราะกายเป็นของหยาบกว่าเวทนา ซึ่งเวลานั้นละเอียดมาก อีกอย่างคือ ตัวเองไม่รู้ว่าเหมาะกับการ "ทำสมาธิก่อนแล้วมาทำวิปัสสนา" หรือ "ทำวิปัสสนา" ไปเลย

จากนั้นไม่นานก็ได้ยินคนพูดถึงเรื่องการ "ดูจิต" ที่หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช ท่านสอน จึงสนใจและอยากรู้ ก็ได้ไปหาซีดี mp3 มาฟัง ฟังแล้วก็เริ่มรู้ชัดว่า เอ..จริงๆ แล้ว ไม่ว่าเราจะปฏิบัติแบบไหน ฐานไหน มันก็ไปที่ๆ เดียวกัน เรามัวแต่หลงในบัญญัติมากไป จนลืมคิดถึง ความจริง ทางกายและใจที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

มาถึงตอนนี้ค่อยๆ รู้สึกตัวขึ้นมานิดหนึ่งว่า เราก็หลงไปเยอะเหมือนกันนะเนี๊ย....

หลังจากนั้นไม่นาน กลางปี 2551 ก็ได้มีโอกาสไปนมัสการหลวงพ่อปราโมทย์ ที่สวนสันติธรรม และดีใจมากที่ได้สอบถามท่าน ซึ่งท่านก็แนะนำมาว่าให้ "ดูกาย" เป็นหลัก

หลังจากนั้นดูกายมาเรื่อยๆ เอาแนวทางหลวงพ่อเทียน มาเป็นหลัก และพอเกิดความคิดก็เห็นชัด เริ่มเห็นกิเลสมากขึ้น เช่น ความโกรธ จะเป็นบ่อยมาก พอจับได้แล้วมันเริ่มกลัว เฮ้ย เราน่ากลัวขนาดนี้เลยเหรอเนี๊ย อีกอย่างความคิดมาก ฟุ้งซ่าน ต่างๆ ก็เกิด ซึ่งเราก็เห็นมันมากขึ้น บ่อยขึ้น จนเวียนหัว เหนื่อย ต่อมาเลยคิดได้ว่ารู้แล้วก็ปล่อยสิ เราจะไปตามมันไปทำไม คือ พอรู้สึกถึงกายที่เคลื่อนไหว แล้วเกิดความคิด ก็ปล่อยให้มันคิดไปของมันเอง ปล่อยให้จิตเขาได้คิดเอง เรารู้กายที่เคลื่อนไหวต่อไปดีกว่า

ตอนนี้ก็ทำแบบนี้มาเรื่อยๆ ครับ หนังสือก็เอามาอ่านบ้าง ฟังธรรมบรรยาย จากครูบาอาจารย์หลายๆ แห่ง และก็สนทนาธรรมกับพี่ๆ ใน msn เพื่อนๆ ที่ทำงาน ด้วยกัน

มาถึงตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เอาเป็นว่าทุกวันนี้สร้างเงื่อนไข ให้กายและใจ ได้รู้สึกตัวอย่างเดียวก็พอ แล้วผลที่จะเกิดจะเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยที่เราทำก็พอแล้ว

ต่อไปนี้ผมตั้งใจจะบันทึกการดูจิต การดูกาย ของตัวเองไว้ เพราะคิดว่าอย่างน้อยก็เป็นการเตือนความจำตัวเอง เวลากลับมาอ่านจะได้รู้อะไรเพิ่มขึ้น เห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเองมากขึ้น และที่อยากมากจริงๆ ก็คืออยากเห็นเพื่อนๆ วัยใกล้เคียงกัน ประมาณวัยรุ่นทำนองนี้ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันด้วย เพราะจะได้รู้ว่า ผมยังมีเพื่อนรุ่นวัยใกล้เคียงกันที่ปฏิบัติและแลกเปลี่ยนกัน เป็นเพื่อนทางธรรม ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันต่อไปๆ นะครับ


บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อได้ยิน...... “ทำไมคุณโง่แบบนี้” “งานชุ่ยๆ แบบนี้เหรอที่ทำเต็มที่แล้ว” “มีหัวไว้ใส่หมวกเปล่าๆ” สารพัดมากมาย คำด่าทอที่เรามักไม่ชอบ – ในที่นี้ก็มีผมอยู่ด้วยแหละครับ เวลาที่มีใครมาต่อว่า มานินทาในทางร้ายๆ แล้วมักจะต้องเดือดร้อนเป็นฝืนเป็นไฟอยู่เสมอ อืม...คิดในใจ นี่ไม่ใช่ตัวเรา เราไม่ได้เป็นคนแบบนั้น เราไม่ใช่คนอย่างที่เขาว่านะ..... ขณะที่คำชม อาทิ “คุณทำงานเก่งจัง” “ทำได้แค่นี้ สุดยอดเลยทีเดียว ยอดเยี่ยมมากๆ๐ “คิดได้แค่นี้ ก็เจ๋งเลย” คำพูดชื่นชม เยินยอในทางบวกเหล่านี้ หลายคนไม่ปฏิเสธ หรือไม่ได้มีท่าทีต่อต้านเหมือนคำพูดร้ายๆ หรือลบๆ แต่กลับมองว่าใช่ๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง... ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง
พันธกุมภา
มีนา ถึง พันธกุมภา จดหมายฉบับก่อน พี่เล่าเรื่องความรักของแม่ที่มีต่อลูกคนหนึ่ง และยังติดใจในสาส์นของท่านดาไล ลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณ ชาวธิเบตอยู่ ... เมื่อพิจารณาอย่างลึกซึ่ง พี่อยากจะให้น้องและเพื่อน คนรู้จักหลายๆ คนได้อ่านมันอย่างพิจารณาหลายๆ ครั้ง หลายข้อของสาส์นฉบับนี้ เป็นความรักที่มีต่อตนเอง รักตนเอง แบบที่ไม่ได้ตามใจตนเอง ไม่ตามใจในสิ่งที่บำรุงบำเรอให้ตนเองให้ได้ทุกสิ่งที่ตนต้องการ โดยเฉพาะข้อแรกเป็นสิ่งที่ท่านลามะผู้ยิ่งใหญ่ได้ตักเตือนคนสมัยใหม่ได้อย่างเฉียบคม (ระลึกเสมอว่า การจะได้พบความรักและความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ก็ต้องประสบกับความเสี่ยงอันมหาศาลดุจกัน)…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ได้รับจดหมายที่ส่งต่อๆ กันมา (Forward mail) ฉบับด้านล่างนี้ เป็นครั้งที่เท่าไรไม่รู้ ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา (เพราะนี่เข้าเดือนที่ 6ของปีแล้ว...)“สาส์นจากท่าน Dalai Lama ที่ได้กล่าวไว้สำหรับปี 2008 นี้ แล้ว…คุณจะได้พบกับสิ่งประหลาดมหัศจรรย์ที่คุณจะยินดีมากข้อแนะนำในการดำเนินชีวิต
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาพี่ชอบจดหมายรักฉบับนี้มาก เมื่ออ่านแล้วรู้สึกได้ถึงความรักที่สดใส และความเป็นคน “ธรรมดา” ของน้องที่ผ่านมา พี่ออกจะห่วงใยอยู่ลึกๆ ว่าน้องจะรีบโตมากไปหรือเปล่า รีบที่จะประสบความสำเร็จในชีวิต รีบมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปมากไปไหม...จนอาจจะทำให้พลาดความสดใส ความรัก หรือสิ่งต่างๆ ที่เราน่าจะได้เรียนรู้ และเดินผ่านมันมาด้วยความสง่างาม หรือเจ็บปวดไปบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องเรียนรู้พี่ก็ผ่านช่วงเวลา “หวาน” “ขมๆ” ของชีวิตมาบ้าง เช่นเดียวกับคนทั่วๆ ไป ที่มักจะมีความรักที่สมหวัง ผิดหวัง ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป พี่มักเลือกที่จะจดจำสิ่งที่ดี …
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่าเพิ่งตกใจนะครับพี่ที่ผมจะขอระบายเรื่องรัก ให้พี่รับรู้.....
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาอายุ...วัย หากเราเพียงแบ่งแค่ผู้ใหญ่กับเด็กเหมือนกับสังคมทั่วๆ ไปเขามองกัน เราอาจจะมองเห็นคนแค่ 3 กลุ่มในช่วงชีวิต คือเด็ก วัยทำงาน และผู้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงของชีวิต ทั้งการเข้าสู่การเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตทั่วไป เราต้องเคารพคนที่อายุมากกว่าเราหรืออาจจะต้องนับถือคนที่อายุน้อยกว่าเราแต่มีคุณสมบัติมากกว่าคุณสมบัติทั้งการศึกษา การใช้ภาษาอังกฤษ ครอบครัวมีฐานะดี พ่อแม่เลี้ยงดูมาอย่างดี ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ พี่ขอเรียกว่าเป็น “คุณสมบัติทางโลก” ซึ่งอาจจะไม่ใช่ “ความดี” ที่เมื่อก่อนได้รับการให้คุณค่าอย่างสูง ไม่ว่าเราจะอยู่ในวัยใด ความดีไม่มีอายุ หากแบ่งแยกกับความไม่ดี/…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรุ่นพี่คนหนึ่งมาหาผมที่บ้าน เราสองคนไม่ได้เจอกันมานานหลายปี พอมาเจอกันอีกหนจึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้พบเจอกัน รุ่นพี่คนนี้ชื่อ “นนท์” พี่นนท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยสอนผมเต้นเชียลีดเดอร์ เมื่อตอนเรียนมัธยมต้น อายุของพี่นนท์ห่างจากผม 2 ปี พี่นนท์เป็นคนต่างหมู่บ้าน แต่เราอยู่ในตำบลเดียวกัน ผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่นนท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการพูด ท่าที การแสดงออก จากเมื่อก่อนที่ค่อนข้างกรี๊ดกร๊าด พูดไม่หยุด และชอบนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ มาคราวนี้พี่นนท์ไม่เหมือนเดิม คือ นิ่งขึ้น ท่าทีสุขุมเยือกเย็น ไม่ทำท่ารุกรี้รุกรนตอนคุยกันเหมือนเมื่อก่อน…
พันธกุมภา
มีนาถึง...ลูกปัดไข่มุกและพันธกุมภาความระลึกถึงวัยเยาว์เมื่อครั้งยังเป็นเด็กสาวสดใสอย่างลูกปัดไข่มุก อดรู้สึกไม่ได้ว่าน้องช่างมี “ทาง” ที่ดีเสียจริง น้องได้เติบโตจากครอบครัวที่หล่อหลอมสิ่งที่ดีงามให้ ทั้งการทำบุญ ทาน และเสริมให้สร้างบารมี ต้องขอบคุณแม่และพ่อที่ปูทางที่ดีให้กับลูก หากมีธรรมแล้ว ไม่ต้องกลัวเลยว่าเด็กสาวและคนรุ่นใหม่จะไม่เติบโตอย่างมีรากเหง้า รู้คิด เพราะกระบวนการเรียนรู้เหล่านี้ไม่ใช่แค่ได้ “ความรู้” หากยังได้ “สติ” และ “ปัญญา” ซึ่งความรู้สมัยใหม่ไม่มีความลึกซึ้งพอเมื่อเราปฏิบัติหรือยังไม่ปฏิบัติก็ตาม เรามักยึดติดกับตัวตน (Ego) และเราไม่ได้พยายามลดมัน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาผมได้อ่านเรื่องราวของ “ลูกปัดไข่มุก” แล้ว ขออนุโมทนากับน้องอย่างยิ่ง และยังรู้สึกยินดีกับสิ่งที่น้องได้กระทำลงไป และได้พบการหนทางที่จะนำพาความสุข สงบมาให้กับตนเอง เป็นการเรียนรู้จากตัวเอง มากกว่าการเรียนรู้จากคนอื่นๆ ที่เล่าให้ฟังสู่กันมาการได้ทำสมาธินั้นได้ช่วยให้น้องได้พบกับจิตที่สงบ และเป็นจิตที่นิ่งขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้จิตใจเริ่มปรับความละเอียดเพิ่มขึ้น สู่การเจริญสติในระดับต่างๆ ต่อไป....จะว่าไปแล้ว เดี๋ยวนี้ วัยรุ่นรุ่นเดียวกับเราๆ ก็หันมาสนใจเรื่องทางธรรมเยอะเหมือนกันนะ, ช่วงหนึ่งก็มีคนมาถามผมว่า วัยรุ่นสนใจธรรมะเพิ่มขึ้น เป็นกระแสที่ดีแบบนี้ คิดยังไง?…
พันธกุมภา
ลูกปัดไข่มุก ถึง พี่พันธกุมภา และ พี่มีนา....   “เส้นทางที่เรากำลังพยายามจะมุ่งไปอยู่นี้ มันคือหนทางแห่งความสุขและความสำเร็จที่แท้จริงของเราจริงๆหรอ” ....นั่นคือความคิดที่ฉันคิดมาตลอด ฉันโชคดีที่ได้เกิดมาท่ามกลางครอบครัวที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในวันว่างๆ เรามักจะได้ไปวัดแทนการไปเที่ยวเสมอๆ ซึ่งด้วยความเป็นเด็ก ฉันจึงไม่คิดว่ามันดีนัก.....จะว่าไปฉันทำบุญมาตั้งแต่จำความได้ เพราะถูกสั่งสอนมาให้ทำแบบนั้น ว่าถ้าทำบุญเยอะๆ จะได้ไปสวรรค์ ถ้าทำบาปก็จะตกนรก รวมถึงนิทานต่างๆที่แม่ได้เล่าให้ฟังมาตลอด ฉันจึงพูดได้เต็มปากว่า ฉันเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาจุดหมายปลายทาง การเดินทางธรรมของเธอครั้งนี้อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ที่...ซึ่งฉันไม่เคยไป หากหลายคนอยากไป ก็คงไม่ได้คิดถึงเรื่องการเดินทาง หากมักนึกถึงปลายทาง และในที่สุด...แม้รู้ว่าเธออาจจะเดินทางถึงวัดป่าสุคะโตแน่นอน เธอก็น่าจะเรียนรู้ระหว่างทางดังที่เธอเล่าให้เราฟังฉันเคยพูดถึงเรื่องความกลัวระหว่างการเดินทาง “ในความกลัว” มาก่อนแล้ว ด้านหนึ่งฉันนึกเสมอว่า คนธรรมดาทั่วไปอย่างฉัน ร่ำเรียนมาด้วยวิธีคิดแบบมีเป้าหมาย โดยไม่สนใจระหว่างทาง หรือกระบวนการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “ระหว่างทาง” เป็นสิ่งสำคัญมาก…