Skip to main content


ผมคิดไว้มานานหลายเดือนแล้วว่า จะตั้งใจเขียน
"บันทึกการเจริญสติ" ของตัวเองขึ้นมา
เพราะคิดว่าคงจะดี ถ้าได้บันทึกไว้ เพื่อการเรียนรู้ของตัวเอง และคนอื่นๆ ที่สนใจ


ก่อนที่จะบันทึกในกาลต่อไป ขอเล่าเรื่องการภาวนาของตัวเองก่อน....

สำหรับผมแล้ว เริ่มต้นของการปฏิบัติคือเมื่อปลายปี 2549 ก็เกิดจากทุกข์ทางใจ เพราะงานเยอะ เครียด และตอนนั้นแฟนจะขอเลิก เขาเลยเสนอว่าให้ไปปฏิบัติธรรมเพื่อทำใจ จึงได้สมัครไปปฏิบัติของท่าน โกเอ็นก้า ที่ ธรรมอาภา จ.พิษณุโลก พอไปทำมา 10 วัน ก็ดีใจ ที่ทุกข์ครั้งนี้ทำให้ได้พบกับธรรมะ

ต่อจากนั้นก็สงสัยในหลายๆ อย่าง ที่ไม่รู้ จึงอยากปฏิบัติเพื่อให้รู้แจ้งเพิ่มมากขึ้น เช่น อยาก รู้ว่าทำแล้วจะได้อะไร, ปฏิบัติไปแล้วจะพ้นทุกข์จริงๆ หรือ, มรรค คืออะไร, วิปัสสนา เป็นอย่างไร, ขันธุ์ 5 ธาตุ 4 เป็นอย่างไร, ตัวเราไม่มี จริงเหรอ ฯลฯ

ความสงสัยเหล่านั้น ทำให้ อยากรู้มากขึ้น สิ่งที่ทำต่อมาก็คือ ลงมือปฏิบัติตามแนวทางของท่านโกเอ็นก้า เช้า – ค่ำ และหาหนังสือมาอ่าน เพื่อเอาความรู้ใส่หัวบ้าง แต่ก็กลัวตัวเองจะคิดมาก เพราะยิ่งอ่าน บางทีก็ไม่เหมือนกับที่เราปฏิบัติ เลยไม่รู้ว่าแบบไหน ถูก แบบไหนผิด

แล้ว ก็ต้นปี 2550 ได้มีโอกาส "บวช" 10 วัน แต่ไม่ได้บวชเพื่อปฏิบัติอะไรนะครับ กะว่าบวชให้พ่อแม่ แล้วช่วงนั้นมีงานศพของหลวงพ่อที่เป็นญาติกันด้วย เลยได้มีโอกาสอยู่วัด และก็อย่างที่ทราบคือ ทุกวัดเป็นวัดบ้าน แถวเชียงราย เขาไม่ค่อยนิยมปฏิบัติเท่าไหร่ เราก็ถามหลวงพี่ แถวนั้น ที่มาช่วยงานศพว่าอยากปฏิบัติธรรม ขอให้ท่านช่วยสอนหน่อย ท่านก็เมตตาสอนเดินจงกรม (ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ) แล้วก็สอนเคลื่อนไหวมือ เราก็ลองปฏิบัติดู แล้วก็ตอนเช้าๆ ก็ไปนั่งภาวนา สายๆ ก็กวาดลานวัด ก็พยายามรู้สึกตัวตลอด ว่า เรากำลังทำอะไร กำลังคิดอะไร ทำไปเรื่อยๆ จนสึกออกมา แล้วก็รู้สึกดีขึ้น

ต่อมาก็พยายามหาคอร์สไปปฏิบัติเรื่อยๆ เช่น “ภาวนาเพื่อสันติภาพ” ของหมู่บ้านพลัม โดยหลวงพ่อติช นัท ฮันห์ ซึ่งก็ไปฝึกเจริญสติ แล้วก็เห็นว่าที่จริงแล้วเราสามารถทำในชีวิตประจำวันได้เยอะเลย เช่น ล้างจาน เดินทาง ขับรถ อ่านหนังสือ ทำงาน กินข้าว ซึ่งแต่เดิมคิดแค่ว่า มานั่งภาวนา เช้า - ค่ำ ก็พอ แต่จริงๆ แล้ว ก็ได้หลักมาเพิ่มอีก จึงเอามาเป็นแนวทางภาวนา

คือ เช้า - ค่ำ ก็ภาวนาแบบท่านโกเอ็นก้า ตอนระหว่างวันก็เจริญสติ รู้ตัว เข้าไว้ ว่าทำอะไร เพื่ออะไร ทำนองนี้.....

ตอนปลายปี 2550 มีโอกาสไปที่วัดป่าสุคะโต โดยคำแนะนำของผู้ใหญ่ที่นับถือ เป็น ngo อยู่เชียงใหม่ บอกว่า สายหลวงพ่อเทียน ดีนะ ลองไปดูสิ เป็นการเจริญสติแบบเคลื่อนไหวมือ สร้างจังหวะ ตอนนั้นก็ไม่ได้คิดอะไรมาก ลองไปดู ไปเอาหลัก แล้วก็มาฝึกใหม่

ตอนไปวัดป่าสุคะโต ก็มี "หลวงปู่" หรือ "พระอาจารย์วรเทพ ฉนฺทพหุโล" มาช่วยสอนและแนะนำการปฏิบัติ ท่านมีเมตตามาก และช่วยให้เข้าใจหลักในการปฏิบัติมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวมือหรือแม้แต่การเดินจงกรมก็ตาม.....

ตอนนั้นใจก็คิดว่า ไปของท่านโกเอ็นก้า ท่านเน้น "เวทนา" ของหลวงพ่อเทียน เน้น "กาย" ซึ่งเป็นองค์หลักของการ "ดูกาย" จึงคิดว่าน่าจะเอามาประยุกต์เข้ากัน เพราะตอนนั้นสงสัยมากว่าจะเอาที่เคยไปปฏิบัติมาประยุกต์กันอย่างไร มันจะผิดไหม กรรมฐานจะขัดกันหรือเปล่า เลยตัดสินใจ ทำใหม่คือ มีอะไรให้รู้ก็รู้ไปดีกว่า แต่จะเอากายเป็นหลัก เพราะกายเป็นของหยาบกว่าเวทนา ซึ่งเวลานั้นละเอียดมาก อีกอย่างคือ ตัวเองไม่รู้ว่าเหมาะกับการ "ทำสมาธิก่อนแล้วมาทำวิปัสสนา" หรือ "ทำวิปัสสนา" ไปเลย

จากนั้นไม่นานก็ได้ยินคนพูดถึงเรื่องการ "ดูจิต" ที่หลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชฺโช ท่านสอน จึงสนใจและอยากรู้ ก็ได้ไปหาซีดี mp3 มาฟัง ฟังแล้วก็เริ่มรู้ชัดว่า เอ..จริงๆ แล้ว ไม่ว่าเราจะปฏิบัติแบบไหน ฐานไหน มันก็ไปที่ๆ เดียวกัน เรามัวแต่หลงในบัญญัติมากไป จนลืมคิดถึง ความจริง ทางกายและใจที่มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

มาถึงตอนนี้ค่อยๆ รู้สึกตัวขึ้นมานิดหนึ่งว่า เราก็หลงไปเยอะเหมือนกันนะเนี๊ย....

หลังจากนั้นไม่นาน กลางปี 2551 ก็ได้มีโอกาสไปนมัสการหลวงพ่อปราโมทย์ ที่สวนสันติธรรม และดีใจมากที่ได้สอบถามท่าน ซึ่งท่านก็แนะนำมาว่าให้ "ดูกาย" เป็นหลัก

หลังจากนั้นดูกายมาเรื่อยๆ เอาแนวทางหลวงพ่อเทียน มาเป็นหลัก และพอเกิดความคิดก็เห็นชัด เริ่มเห็นกิเลสมากขึ้น เช่น ความโกรธ จะเป็นบ่อยมาก พอจับได้แล้วมันเริ่มกลัว เฮ้ย เราน่ากลัวขนาดนี้เลยเหรอเนี๊ย อีกอย่างความคิดมาก ฟุ้งซ่าน ต่างๆ ก็เกิด ซึ่งเราก็เห็นมันมากขึ้น บ่อยขึ้น จนเวียนหัว เหนื่อย ต่อมาเลยคิดได้ว่ารู้แล้วก็ปล่อยสิ เราจะไปตามมันไปทำไม คือ พอรู้สึกถึงกายที่เคลื่อนไหว แล้วเกิดความคิด ก็ปล่อยให้มันคิดไปของมันเอง ปล่อยให้จิตเขาได้คิดเอง เรารู้กายที่เคลื่อนไหวต่อไปดีกว่า

ตอนนี้ก็ทำแบบนี้มาเรื่อยๆ ครับ หนังสือก็เอามาอ่านบ้าง ฟังธรรมบรรยาย จากครูบาอาจารย์หลายๆ แห่ง และก็สนทนาธรรมกับพี่ๆ ใน msn เพื่อนๆ ที่ทำงาน ด้วยกัน

มาถึงตอนนี้ก็ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เอาเป็นว่าทุกวันนี้สร้างเงื่อนไข ให้กายและใจ ได้รู้สึกตัวอย่างเดียวก็พอ แล้วผลที่จะเกิดจะเป็นอย่างไร ก็แล้วแต่เหตุปัจจัยที่เราทำก็พอแล้ว

ต่อไปนี้ผมตั้งใจจะบันทึกการดูจิต การดูกาย ของตัวเองไว้ เพราะคิดว่าอย่างน้อยก็เป็นการเตือนความจำตัวเอง เวลากลับมาอ่านจะได้รู้อะไรเพิ่มขึ้น เห็นความเปลี่ยนแปลงของตัวเองมากขึ้น และที่อยากมากจริงๆ ก็คืออยากเห็นเพื่อนๆ วัยใกล้เคียงกัน ประมาณวัยรุ่นทำนองนี้ มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันด้วย เพราะจะได้รู้ว่า ผมยังมีเพื่อนรุ่นวัยใกล้เคียงกันที่ปฏิบัติและแลกเปลี่ยนกัน เป็นเพื่อนทางธรรม ที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกันต่อไปๆ นะครับ


บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิตบางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้…
พันธกุมภา
มีนา
ฉันดีใจ...ที่เธอมีคนดูแลระหว่างการเดินทาง แม้ว่าเราจะเดินทางเพื่อไปปฏิบัติธรรม คนส่วนมากเขาก็มองว่าเราเติบโตมาในสังคมที่เห็นว่าการชวนดื่มเหล้า การกินอาหารร่วมกันเป็นการให้เกียรติกับผู้มาเยือน การที่เธอกล้าปฏิเสธและอธิบายความเป็นตัวเธอ นับว่าเป็นความกล้าที่จะบอกความเป็นตัวตนด้านดีของตัวเองคนจำนวนมากเกรงใจคนอื่นอย่างน่าเป็นห่วง ฉันเอง...บางครั้งยังไม่กล้าที่จะบอกถึงความเป็นตัวตน หรือความคิดจริงๆ ในเรื่องงาน หลายครั้งเป็นข้อจำกัดขององค์กร สถาบัน และเส้นแบ่งหลายๆ อย่างที่ทำให้เรา...ไม่กล้า ไม่กล้าที่จะบอกว่า เราอยากทำงานเพราะคิดถึงคนที่ลำบาก…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา....เมื่อวางแผนการเดินทางเสร็จสิ้น และพยายามที่จะเคลียร์งานทุกอย่างให้แล้วเสร็จก่อนช่วงส่งท้ายปีเก่า ฉันเดินทางออกจากบ้านที่เชียงรายในวันที่ 24 ธันวาคม 2550 เพื่อมาจัดการงานต่างๆ เอกสารที่คั่งค้างจากการทำวิจัย ช่วงการเดินทางโดยรถทัวร์จากเชียงรายมายังกรุงเทพฯ ฉันนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกลัวหลายเรื่อง กลัวรถจะชน กลัวจะมี “มาร” มาขวางไม่ให้ได้ไปปฏิบัติคำว่า “มาร” ในที่นี้ ฉันไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เท่าที่เคยสัมผัสคือ น่าจะมาเป็นลักษณะของอุปสรรค กีดกันไม่ให้เราไปปฏิบัติ อย่างเช่นบางคนพอจะไปปฏิบัติธรรม ก็ป่วยไม่สบาย หรือ ประสบอุบัติเหตุ หรือว่าคนรอบข้างเราเช่น ญาติพี่น้อง ป่วยไม่สบาย…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภา…แม้ว่าฉันจะไม่ได้ไปที่วัดป่าสุคะโตกับเธอ ฉันเห็นบรรยากาศไปพร้อมกับการเล่าสู่กันของเธอ อดไม่ได้ที่จะนึกถึง “ความกลัว” ตั้งแต่เด็ก เรามักถูกขู่ให้กลัวอยู่เสมอ เมื่อพ่อแม่เลี้ยงเรามา รัก ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เด็กเล็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นของตัวเอง เขาเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่รู้ว่า ไฟมันร้อน น้ำในบ่อมันลึกหรือตื้นเพียงไหน ปลั๊กไฟห้ามเอานิ้วแหย่เข้าไป อาจจะเดินไปไหนไกลๆ โดยพ่อแม่ไม่เห็นแล้วประสบอันตรายสิ่งที่เด็กไม่ได้ประสบกับตัวเอง เด็กไม่รู้ว่าอันตราย ไฟมันร้อน น้ำมันลึก เป็นอย่างไร พ่อแม่จึงมักดึงเอาสัญชาติญาณด้านลึกคือความกลัวออกมา การขู่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่างที่เธอได้บอกฉันนั่นแลว่า กว่าคนเราจะสามารถเอาใจมาอยู่กับกายได้นั้นต้องใช้เวลาและให้โอกาสตัวเองพอสมควร ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยคิดเลยว่าทำไมต้องเอาใจมาอยู่กับกาย หรือเอากายมาอยู่กับใจ เพราะเขาไม่มีโอกาสได้รู้ว่าควรทำอย่างไร ควรทำเมื่อไหร่บ่อยครั้งที่ “ความสุข” ทางโลก ที่เข้ามากระทบเราทั้งทาง หู ตา จมูก ลิ้น และกาย รวมถึงใจของเรานั้นทำให้เราคิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง แต่หารู้ไม่ว่าการที่รับผัสสะเหล่านั้นมาปรุงแต่งก็กลับทำให้จิตใจของเรามีแต่การสร้างกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว หลายคนที่เข้าถึงธรรมปฏิบัติ บางคนพบว่าความสุขทางโลกไม่ใช่ทางออกหรือคำตอบของชีวิต…
พันธกุมภา
มีนา    ถึง พันธกุมภา ฉันต้องขอบคุณ พันธกุมภา ที่เชื้อเชิญ และพยายามดึงฉันออกมาเขียน แม้ว่าจะถูกบอกว่า "น่าจะเป็นนักเขียนได้..." แต่ฉันยังไม่...แม้แต่ลงมือทำ จะเป็นได้อย่างไร หน้านี้...และหน้าที่นี้ ต้องเป็นความต้องการของพันธกุมภา ที่จะดึงฉันออกมาจากะลาเดิมเป็นแน่ สำหรับฉันแล้ว การเดินทางไปวัดป่าสุคะโต เพื่อพบหลวงพ่อเทียนของเธอ แทบจะไม่เกี่ยวข้องอะไร หากเราไม่ใช่กัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ฉันสนับสนุนให้เดินทางเพื่อไปเรียนรู้ ให้จิตอยู่กับกาย คนสมัยนี้...ฉันเองก็เป็นคนสมัยนี้ ไม่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันของตนเอง ฉันเคยสังเกตตัวเองเมื่อต้องทำงาน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา,ฉันเริ่มเขียน “ธรรมตามใจ” มาได้เพียงไม่นาน ก็พบว่าอันแท้แล้ว ยังมีกัลยาณมิตรทางธรรมอีกหลายคนที่อยู่ในช่วงวัยใกล้ๆ กัน จึงน่าจะชวนกันมาแบ่งปันธรรมปฏิบัติในพื้นที่นี้ร่วมกัน มีนา, เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ที่ตอบรับคำเชื้อเชิญจากฉัน – เธอ เป็นผู้หญิงรุ่นพี่ ที่ฉันรู้จักมาค่อนปีทีเดียว ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าเจอกันครั้งแรกที่ไหนอย่างไร เพราะผ่านมาแล้วหลายนาน แต่ก็ไม่เป็นไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่ต่อไปเราทั้งสองจะได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เราต่างปฏิบัติเช่นกันฉันกับเธอ, พันธกุมภากับมีนา, เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมา ตัวตนทางโลกของเราอาจมีค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่างกันอยู่มาก แต่ในทางธรรมแล้ว…
พันธกุมภา
บุคลิกภายนอกและนิสัยภายในของเขา ไม่ได้บ่งบอกเลยว่าเขาจะมีท่าทีสนใจในธรรมะและปฏิบัติเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ คนที่รู้จักเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะมีความคิดที่อยากบวชเรื่องของเขาน่าสนใจตรงที่ว่า อยู่ดีๆ เขาก็บอกกับข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ที่ทำงานด้วยกันว่าอยากจะบวช เพื่อนคนนี้ของข้าพเจ้า แต่เดิมเป็นคนชอบเที่ยวกลางคืน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แถมขี้หลีอีกต่างหาก จนวันหนึ่งตัวเองได้ไปปฏิบัติวิปัสสนา, เวลา 10 วันของการปฏิบัติ ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มไม่เที่ยว เริ่มไม่ดื่มเหล้า แต่ยังคงความขี้หลีสาวๆ และสูบบุหรี่อยู่ทุกๆ คนต่างรับรู้อยู่อย่างห่างๆ ว่าเขาตั้งใจปฏิบัติ…
พันธกุมภา
ดูจิต...ดูจิตคืออะไร? ข้าพเจ้ามักสงสัยตลอดเวลา เมื่อมีผู้ใหญ่ได้บอกสอนเรื่องการ “ดูจิต” บางคนถามว่าวันนี้ดูจิตเป็นยังไงบ้าง ดูจิตไปถึงไหนแล้ว แต่ละคำถามเกิดจากการติดตามผลของการปฏิบัติที่พี่ๆ แต่ละท่านต่างเฝ้าสอบถามด้วยความเป็นห่วงวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ ท่านได้ถามข้าพเจ้าว่าชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ไม่ได้พบเจอกันมาเสียนาน ข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องการปฏิบัติของข้าพเจ้าให้ผู้ใหญ่ท่านได้รับฟัง และเราก็ได้คุยถึงครูบาอาจารย์ที่สอนการวิปัสสนากรรมฐานแต่ละหนแห่งผู้ใหญ่ท่านนี้ได้แนะนำ และชวนเชิญให้ข้าพเจ้าได้ลองปฏิบัติตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ…
พันธกุมภา
- 1 - ข้าพเจ้าได้อ่าน บทเขียนของ “กลางชล” ในนิตยสาร “ธรรมะใกล้ตัว” ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 http://www.dungtrin.com/mag  ซึ่งเป็นบทบรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าว ที่ได้พาตัวข้าพเจ้าให้นำใจเข้าศึกษาและเรียนรู้ธรรมะจากนิตยสารธรรมเล่มนี้ในบทบรรณาธิการ “กลางชล” เล่าว่า ได้เสียงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ดังขึ้นจากแผ่นซีดีว่า “การศึกษาธรรมะ คือการลงทุนให้กับชีวิตตัวเองนะ หลวงพ่อจะบอกให้ หลวงพ่อเองตอนอยู่กับโลก ก็ไม่ได้เป็นรองใครหรอก อยู่ในโลกก็มีความสุข แต่แล้วก็พบว่า ความสุขของโลกนี่นะ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลย...”อย่างตอนเด็ก ๆ เราก็คิดว่า ถ้าเราเอนท์ติดคณะนั้นคณะนี้…
พันธกุมภา
ข้าพเจ้าเพิ่งเริ่มเข้าใจว่าชีวิตที่เกิดขึ้นมานี้มีแต่ “ทุกข์” ทั้งๆ ที่หลายเรื่องราว เราสามารถที่จะพบกับความสุขได้โดยไม่ยาก แต่นั้นอาจไม่ใช่ความสุขที่นำไปสู่การพ้นทุกข์อย่างแท้จริงชีวิตอย่างช่วงวัยของข้าพเจ้านั้น มีหลากหลายเรื่องราวที่เข้ามากระทบ ทำให้จิตใจสับสนวุ่นวายและบางคราก็ไม่สามารถที่จะหาทางออกไปสู่เส้นทางแห่งความสงบสุขได้อย่างแท้จริง ความว้าวุ่นใจที่เกิดขึ้น ได้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ข้าพเจ้าเริ่มตระหนักแล้วว่า ควรจะนำพาชีวิตของตนเองให้พบกับความสุข-สงบ-เบิกบาน อย่างเอาจริงเอาจังเสียแต่โดยพลัน แม้ว่าที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พาตัวเองเข้าไปสู่เส้นทางของความบันเทิงเริงใจ เที่ยวผับ เธค…