Skip to main content

- 1 -

ข้าพเจ้าได้อ่าน บทเขียนของ “กลางชล” ในนิตยสาร “ธรรมะใกล้ตัว” ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 http://www.dungtrin.com/mag  ซึ่งเป็นบทบรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าว ที่ได้พาตัวข้าพเจ้าให้นำใจเข้าศึกษาและเรียนรู้ธรรมะจากนิตยสารธรรมเล่มนี้

ในบทบรรณาธิการ “กลางชล” เล่าว่า ได้เสียงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ดังขึ้นจากแผ่นซีดีว่า “การศึกษาธรรมะ คือการลงทุนให้กับชีวิตตัวเองนะ หลวงพ่อจะบอกให้ หลวงพ่อเองตอนอยู่กับโลก ก็ไม่ได้เป็นรองใครหรอก อยู่ในโลกก็มีความสุข แต่แล้วก็พบว่า ความสุขของโลกนี่นะ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลย...”

อย่างตอนเด็ก ๆ เราก็คิดว่า ถ้าเราเอนท์ติดคณะนั้นคณะนี้ เราจะมีความสุข...
ถ้าเรียนจบแล้ว เราจะมีความสุข... ถ้าได้เรียนต่อปริญญาโทด้วย เราจะมีความสุข...
แล้วเราก็พบว่ามันก็อย่างนั้น ๆ จบมาแล้วก็ไม่เห็นจะสุขได้นานสักเท่าไหร่
ต่อไปอีก ถ้าได้งานดี ๆ เราจะมีความสุข... ถ้าได้เงินเดือนเยอะ ๆ เราจะมีความสุข...
ถ้าตำแหน่งใหญ่ ๆ อีก เราจะมีความสุข... ถ้ามีแฟนสักคน เราจะมีความสุข...
ถ้ามีครอบครัวดี ๆ เราจะมีความสุข... ถ้าลูกเราประสบความสำเร็จ เราจะมีความสุข...
กระทั่งพอแก่ไป เจ็บป่วยทรมาน นอนทำอะไรไม่ได้แล้วอยู่บนเตียงในโรงพยาบาล
ยังว่า ถ้าตายไปเสียได้ คงจะมีความสุข... หลวงพ่อท่านเคยฉายภาพให้ฟังอย่างนั้น

การที่เราทะยานวิ่งไล่คว้าความสุขด้วยแรงผลักดันของกิเลสอยู่ตลอดชีวิต ก็ไม่ต่างอะไรกับลาที่เอาแต่จดจ้องเดินไปข้างหน้า เพื่อไล่คว้าแครอทที่ปลายไม้ โดยที่ไม่รู้เลยว่า มันจะไม่มีวันเอื้อมคว้าแครอทนั้นมาเข้าปากได้เต็มคำอย่างแท้จริง

เมื่อไม่มีใครมองเห็นความสุขที่เหนือกว่า กระทั่งว่าสามารถตัดวงจรความทุกข์ทั้งหมดได้ ก็ไม่มีใครคิดแสวงหาวิธีการลงทุนเพื่อเป้าหมายสูงสุดเช่นนั้น

นอกจากนี้ “กลางชล” ยังถามผู้อ่านอีกว่า มีใครเคยอ่านหนังสือชื่อดังเรื่อง “พ่อรวยสอนลูก” (Rich Dad Poor Dad) หรือไม่ ซึ่งมีอยู่ตอนหนึ่ง ที่ผู้เขียนเปรียบเทียบชีวิตมนุษย์เงินเดือนเหมือน “สนามแข่งหนู” (Rat Race) เขาเปรียบวลี “สนามแข่งหนู” เสมือนกับวังวนของการเป็นลูกจ้างที่ต่างคนก็เหมือนสาละวนวิ่งไปอย่างไร้จุดหมาย ด้วยอาการตะเกียกตะกายของ “หนู” คือวิ่ง ๆ ๆ ทำงานตัวเป็นเกลียว เพียงเพื่อได้รับเงินเดือนตอบแทนพอกินพออยู่ไปวัน ๆ

ผู้เขียนบอกว่า แม้จะมีคนเห็นช่องทาง ชี้ทางออกไปสู่อิสรภาพจากสนามแข่งหนูแห่งนี้ให้ แต่ก็น้อยคนเหลือเกินที่จะเชื่อว่าอิสรภาพทางการเงินเช่นนั้นมีอยู่จริง และน้อยคนเหลือเกินที่แม้รู้ว่ามีอยู่จริง แล้วจะลุกขึ้นมาจนดีดตัวออกมาจากสนามแข่งนี้ได้

หนังสือชื่อดังเล่มนี้ แนะนำคนอ่านให้หนีให้พ้นจาก “สนามแข่งหนู” หรือหลุดออกจากการมีชีวิตอยู่ด้วยเงินเดือนประจำ จากการเป็นลูกจ้าง ด้วยกลยุทธ์ “ให้เงินทำงาน” แทนที่เราจะเหนื่อยทำงานเพื่อหาเงินไปชั่วชีวิต

“กลางชล” ท้าทายว่า “อันที่จริง ชีวิตมนุษย์เรา ก็ไม่ต่างอะไรกับสนามแข่งหนูอย่างที่ว่าไว้นั้นนักหรอกนะคะ ถ้าถอยขึ้นมามองอีกชั้น แม้จะออกมาจากสนามแข่งหนูได้แล้ว มั่นคงทางการเงินแล้ว เราก็ยังติดอยู่กับสนามแข่งมหึมาของสังสารวัฏ ที่หนีสุขทุกข์ หนีการเวียนเกิดเวียนตายไม่พ้น แทบจะไม่มีใครเคยมองเห็นว่า เราก็เหมือนหนูที่ติดกับดักอยู่ในสนามนั่นแหละดิ้นรน ตะเกียกตะกายวิ่งไล่หาความสุขกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แล้วก็พอใจอยู่กับการได้เสพความสุขหยาบ ๆ เล็ก ๆ น้อย ๆ ไปชาติหนึ่ง ชาติหนึ่ง”

แม้จะมีบรมครูผู้ประเสริฐชี้ทางออกไปสู่อิสรภาพจากวงจรแห่งการเวียนเกิดเวียนตายนี้ให้ แต่ก็น้อยคนเหลือเกินที่จะเชื่อว่าการพ้นทุกข์ทางใจโดยสิ้นเชิงได้เช่นนั้นมีอยู่จริง
และน้อยคนเหลือเกินที่แม้รู้ว่ามีอยู่จริง แล้วจะเพียรพยายามจนดีดตัวพ้นจากสังสารวัฏนี้ได้

- 2 -

เมื่อทราบว่า ชีวิตเรากว่าจะได้พบกับความสุขที่แท้จริง และพ้นออกไปจากสังสารวัฎนี้ได้ ก็ถือว่าไม่ยากเสียทีเดียวสำหรับตัวเองที่จะเข้าถึงธรรมก่อนที่จะลิ้นลมหายใจ แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเรายังขาดไปอยู่คือ “การลงทุนศึกษาธรรมะ” ทั้งจากการทำความเข้าใจและการลงมือปฏิบัติให้ประจักษ์ด้วยตัวเอง

“กลางชล” บอกว่า ถ้าใครเคยได้ยินโฆษณาของกองทุน เขาจะต้องมีประโยคที่อ่านเร็ว ๆ ปิดท้ายนะคะว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน” - ธรรมะก็เหมือนกันคือ ถ้าจะเริ่มต้น ก็ควรต้องศึกษาให้เข้าใจหลักการและวิธีก่อน เพราะความเสี่ยงก็มีอยู่ตรงที่ ถ้าจับหลักผิด หรือไปยึดถือศรัทธาในแนวทางที่ไม่ถูกตรงเราก็มีสิทธิ์ดำเนินชีวิต หรือปฏิบัติไปด้วยความผิดเพี้ยน แล้วนับวันก็จะยิ่งออกอ่าว ลากเราห่างไปจากเป้าหมาย จนสุดท้าย อาจต้องขาดทุนอีกยาวกว่าจะเจอทางที่แท้จริง

แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าคำสอนอันไหนเป็นทางตรง เป็นทางที่แท้จริง? ขอให้เราศึกษาและยึดคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหลักให้แม่นไว้ดีที่สุด ธรรมะรุ่นหลัง ๆ นั้น มีการตีความ แปลความหมาย และแต่งตำรากันออกมามากมาย ถ้าไม่แน่ใจ ขอให้เปิดพระไตรปิฏกเทียบเคียงดูว่า เป็นวจนะของพระพุทธเจ้าจริง หรือดูเบื้องต้นว่า คำสอนนั้น เป็นไปเพื่อการลดละกิเลส เป็นไปเพื่อความเล็กลงของตัวตน ให้การปฏิบัตินั้นอยู่ในขอบเขตของกายใจ เป็นไปเพื่อละวางความเห็นผิดว่าตัวตนนั้นเป็นเรา

ทีนี้เราจะลงทุนยังไงได้บ้างกับธรรมะ, ประเด็นนี้ “กลางชล” บอกว่า 3 อย่างที่ควรจะลงมือทำอย่างจริงจัง คือ  การทำทาน การรักษาศีล และการภาวนา

โดยมีเงื่อนไขพิเศษคือ ลงทุนไปแล้ว ห้ามหวังผลตอบแทน เพราะผลที่รอให้เราเก็บเกี่ยวนั้น มันจะมาเองตามเหตุปัจจัยที่ได้ทำ สั่งให้เกิด ก็ไม่ได้ ห้ามไม่ให้เกิด ก็ไม่ได้ แถมยิ่งโลภอยากได้มาก ผลตอบแทนยิ่งน้อยลง

หากรู้ตัวว่าเป็นคนไม่ค่อยทำทาน หรือยังไม่ได้ทำทานจนเป็นนิสัย ก็ลองหมั่นหัดให้ออกมาจากใจ วันละเล็ก วันละน้อย โดยทำความเข้าใจไว้แต่ต้นก่อนว่า การทำทาน เป็นการสละความตระหนี่ถี่เหนียวออกจากใจ

ไม่ใช่ทำเพื่อชื่อเสียงหน้าตา ไม่ใช่เพื่อล้างซวย หรือกระทั่งเพื่อโลภเอาบุญแล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องรวยก่อนถึงจะให้ได้ และไม่จำเพาะว่าจะต้องเป็นเงินเท่านั้น แต่เล็งแล้วว่าสิ่งที่เราอยากให้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้รับ ไม่ว่าจะเป็นของเล็กของน้อย  การบริจาคโลหิต อวัยวะ แรงกาย แรงใจ ความรู้ ธรรมทาน หรือกระทั่ง การให้อภัย ให้จนเหมือนจิตแผ่เมตตาออกไปก่อน อยากให้ก่อน เจอใครอยากได้อะไรค่อยว่ากันอีกทีอย่างนี้ ก็จะทำให้จิตอยู่ในสภาพที่สงบลงและเปิดกว้างเป็นธรรมชาติเบื้องต้น

ถัดมา รักษาศีล ให้ศีลเป็นเรื่องปกติของชีวิต ศีล 5 ศีลจะเป็นเสมือนกรอบล้อมรั้ว ไม่ให้เราล่วงเกินผู้อื่น ทั้งด้วยกาย และด้วยวาจา แล้วเมื่อเราเป็นผู้ไม่ก่อเหตุแห่งเวรภัย ประตูสู่อบายก็ย่อมปิดแคบลง เท่ากับศีลจะช่วยรักษาเราให้อยู่ในเส้นทางที่จะไม่ไหลลื่นลงต่ำได้ทางหนึ่ง และศีลก็จะเป็นเครื่องหนุนให้จิตเรามีความสงบตั้งมั่น เอื้อต่อการภาวนาต่อไป

สุดท้าย แบ่งเวลาให้กับ การภาวนา ซึ่งไม่ได้แปลว่าการสวดมนต์อ้อนวอน แต่ “ภาวนา” แปลว่า การทำให้เจริญ คือการฝึกหรือพัฒนาให้เจริญขึ้น ซึ่งมีหลัก ๆ 2 อย่าง อย่างแรก ภาวนา แบบสมถะ อันนี้มุ่งเอาความสงบเป็นหลัก

เป็นการจับลิงที่ซุกซน อยู่ไม่สุข ไปโน่นมานี่ตลอดเวลา (คือใจของเราเอง) ให้สงบนิ่ง ด้วยการทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว เช่น นั่งสมาธิดูลมหายใจไปก็ได้ พุทโธไปก็ได้ ที่ฟุ้งซ่านก็จะสงบ ที่เร่าร้อนก็จะสบาย ที่เป็นอกุศลก็จะเปลี่ยนเป็นกุศล

แต่ถ้าเจออะไรกระทบหน่อยเดียว เดี๋ยวก็วิ่งหนีไปหลบอยู่ในถ้ำของความสงบทุกที แบบนี้ก็เห็นทีจะชนะกิเลสไม่ได้เสียทีหรอกค่ะ เราต้องออกไปเผชิญกับมันตัวต่อตัว

นั่นก็คือ การภาวนาอย่างที่สอง ที่สำคัญและควรเจริญให้มาก คือ แบบวิปัสสนา  ซึ่งการเป็นภาวนาที่มุ่งเจริญปัญญาเพื่อให้เห็น “ความจริง” ของกายและใจ วิธีการก็คือ หมั่นเจริญสติ รู้สึกตัวให้บ่อย ๆ แต่คราวนี้ไม่ต้องไปบังคับลิงให้นิ่งแล้ว เพราะเป้าหมายคือ เราต้องการเห็น ความจริงของกายของใจ อย่างที่มันเป็นจริง ๆ

เริ่มต้นก็คอยทำความรู้จักกับสภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในกาย ภายในใจ ของเรานี้
กายขยับเขยื้อนเคลื่อนไหว ก็รู้... มีความรู้สึกสุข ทุกข์ เฉย ๆ เกิดขึ้น ก็รู้...
มีราคะ โทสะ โมหะผุดขึ้น ก็รู้... มีสภาวธรรมใด ๆ เกิดขึ้น ก็รู้...

คือพอมันเกิดแล้วก็รู้ให้ทันไว ๆ อย่างเป็นกลาง อย่างเป็นคนวงนอกนั่งดูละครเรื่องกายใจ
อย่าโดดเข้าไปเล่นด้วย อย่าไปสั่งคัท อย่าไปสั่งแอ็คชั่น แต่ดูมันเปลี่ยนแปลงของมันเอง

ดูไปอย่างไม่คาดหวัง จนกระทั่งวันหนึ่งเราจะเห็นเองว่า กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา
มันเป็นเพียงของชั่วคราว เกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เมื่อเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจว่าไม่ใช่ตัวเราแล้ว จะหมดความดิ้นรน
และจิตที่หมดความดิ้นรน หมดความปรุงแต่งนั้นเอง จะเป็นอิสระพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

หลวงพ่อปราโมทย์ท่านบอกว่า “ถ้าเราภาวนาเป็น เราจะรู้เลยว่า ถ้าหากเราไม่มีโอกาสได้ภาวนา เราจะเสียโอกาสอย่างร้ายแรงที่สุดในชีวิตแต่ถ้าเราภาวนาไม่เป็นทั้งชาติ เราจะไม่รู้สึกอย่างนี้หรอก..เราก็จะรู้สึกว่าเราโอกาสดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น มันเป็นการลงทุนให้ชีวิตตัวเองนะ ค่อย ๆ เรียนธรรมะไป ถ้าเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอก จิตใจเกิดสติขึ้นมาเกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา อีกหน่อยจะรู้เลยว่า ศาสนาพุทธนั้น มีประโยชน์มหาศาล”

- 3 -

ข้าพเจ้าได้ลองนั่งคิด ทบทวนดู แล้วพบว่าการที่คนๆ หนึ่งเกิดมานั้น เมื่อเราไม่ได้เกิดมาเป็นเดรัจฉาน-เปรต-ภูต-ผี-ปีศาจ นั้น ย่อมหมายว่า หากเราเป็นมนุษย์แล้ว เราสามารถพาดวงจิตที่อยู่ใน “กายเนื้อ” นี้ เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงธรรมและปฏิบัติเพื่อให้หลุดพ้นได้

ซึ่งหากเราเกิดมาเป็นคน และตายไปนั้น แม้ว่า “กายเนื้อ” เราจะตายไป แต่ “จิต” ของเรายังคง “เป็นอยู่” ยังไม่ได้ตายไปจริงๆ เพราะเรายังคงจะต้องเวียนว่ายไปมาในสังสารวัฎต่อไป ไม่ว่าจะไปนรกภูมิ เปรตภูมิ เดรัจฉานภูมิ มนุษย์ เทวดา หรือพรหมซึ่งหากเราไม่อยากไปในทางทั้ง 6 ที่กล่าวมา ก็มีทางเดียวที่จะทำให้จิตดับลงไป ไม่มีเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฎ นั่นคือ นิพพาน นั่นเอง

หากใครที่เกิดมาเป็นคนแล้ว ยังไม่ได้ลงทุนเข้าถึงธรรม เข้าถึงสัจธรรมอันสูงแล้วไซร้ คงน่าเสียดายที่ได้เกิดมาในเนื้อนาบุญแห่งนี้จริงๆ ...

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ชีวิตนี้แสนสั้นและใจก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช้าสายบ่ายค่ำจิตใจไม่เหมือนเดิม กายก็มีทั้งสุขและทุกข์แปรปรวนไปตามธรรมดา ชีวิตแต่ละวันจึงแสนจะสั้นและดูแล้วไม่เที่ยงเอาเสียเลย จนบางครั้งรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป จึงต้องใคร่ครวญคิดคำนึงอยู่เสมอๆ ว่าตั้งแต่เกิดมามีอะไรที่ตัวเองยังไม่ได้ทำบ้าง และก็ควรจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนี้เพื่อลงมือทำสิ่งนั้นอย่างจริงจังไม่ใช่แค่คิดและปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ
พันธกุมภา
เร็วๆ นี้ผมและญาติธรรมกำลังร่วมกันดำเนินการจัดพิมพ์ธรรมใจไดอารี่ ฉบับธรรมทาน ซึ่งพี่ๆ ญาติธรรม ทุกๆ คน ที่ได้มาพบเจอ รู้จัก สนทนาธรรมกัน ได้ช่วยเหลือ เกื้อกูล ให้คำปรึกษา แนะนำต่างๆ มากมาย และเมื่อมีผู้เสนอให้ทำ ธรรมใจไดอารี่ขึ้น
พันธกุมภา
สำหรับผมกับแฟน เราทั้งสองคบกันด้วยเหตุแห่งความศรัทธาที่มีต่อกัน ในวันที่เราเจอกันครั้งแรก แม้ไม่ได้รู้สึกอยากจะได้มาครอบครองแต่ด้วยความที่เธอเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่สนใจในทางธรรม ทั้งการถือศีล และการปฏิบัติ ทำให้เราทั้งสองได้สนทนาและแบ่งปันการภาวนาของกันและกันและก็ได้คุยกันเรื่อยมา
พันธกุมภา
วันธรรมดาวันหนึ่ง ชีวิตประจำวันก็ผ่านไปด้วยเหตุปัจจัยเหมือนเดิม มีประชุม ทำค่าย อบรม เดินทางจัดกิจกรรมตามจังหวัดต่างๆ ได้เจอผู้คนมากหน้าหลายตา มีโอกาสได้สนทนากันตามเรื่องราวที่แตกต่างกันไป แต่ข้างในใจกลับเต็มไปด้วยความเฉื่อยชา เบื่อหน่าย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าใดนัก
พันธกุมภา
การได้สังเกตจิตใจของตัวเองตามความเป็นจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าจิตใจนี้มีธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปมาตามเหตุปัจจัยเงื่อนไขชีวิต แล้วยังมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปสู่ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ความโกรธ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว ขาดสติ เผลอหลงใหลไปกับโลกของความคิดและสิ่งภายนอกใจ
พันธกุมภา
คำอวยพรจากเพื่อนๆ พี่น้อง หลายๆ คน ส่งมายังผมหลายฉบับ ทำให้เกิดความปีติยินดี ที่ได้รับคำอวยพรอย่างยิ่ง และผมก็ได้ตอบกลับไปยังเพื่อนๆ พี่น้อง ทั้งที่ส่งมาและไม่ได้ส่งมา อีกหลายๆ คน การให้พรจึงเสมือนเป็นการให้กำลังใจและบอกให้กันและกันรู้ว่ายังคงระลึกถึงกันอยู่เสมอ
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่การเจริญสติของใครหลายคนติดอยู่กับอารมณ์คือหลงไปแช่อยู่กับอารมณ์นานจึงทำให้เกิดการเผลอยึดมั่นในอารมณ์นั้น กลายเป็นติดหลุม เผลอลงไปแช่ จะรู้สึกมัวๆ หรือเผลอไปแทรกแซง จนยากยิ่งนักที่จะรู้สึกตัวทัน ทั้งนี้ครูบาอาจารย์ท่านแนะไว้ว่าอาจเป็นเพราะจิตยังไม่ถึงฐานหรือจิตยังไม่ตั้งมั่น
พันธกุมภา
  ในการภาวนาบ่อยครั้งนักที่ผมมักจะได้ยินคนอื่นๆ มาเล่าให้ฟังทำนองว่า สถานที่นี้ไม่ดีเลย ไม่เหมาะที่จะภาวนาเลย เสียงก็ดัง คนก็เยอะ ไม่มีที่ ไม่มีทางเดินจงกรมหรือนั่งปฏิบัติเลย เพราะมองว่าการที่จะภาวนาได้นั้นจะต้องไปในสถานที่ที่มีรูปแบบ เช่น มีทางให้เดินจงกรม มีเบาะให้นั่งภาวนา เป็นต้น
พันธกุมภา
ปลายเดือนตุลาคม 2552 นี้ ผมได้มีโอกาสไปภาวนากับพี่ๆ ญาติธรรมเชียงใหม่ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพวกเราไปกัน 4 คน ได้แก่ พี่เอ้ พี่ยา พี่นา และผม ซึ่งผมรู้จักพี่ๆ ผ่านทางการสนทนาในอินเตอร์เน็ตและทุกๆ คนก็ภาวนาในแนวดูจิตเหมือนๆ กัน
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่รู้สึกตัว และอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นภายในใจ มันยิ่งทำให้เห็นว่าเราสามารถตามรู้ ตามดูสภาวะต่างๆ ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ด้านบวก หรืออารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นภายในใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกันคือ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้
พันธกุมภา
ในแต่ละวันชีวิตคนเราก็มีเวลา 24 ชั่วโมง เหมือนกัน ไม่มีใครมีเวลามากหรือน้อยไปกว่ากัน ทว่าอยู่ที่ว่าใครจะจัดสรรเวลาให้กับตัวเองมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และอื่นๆ อีกมายมาย ซึ่งการจัดระดับความสำคัญของภารกิจระหว่างวันแต่ลัอย่างนื้ถือเป็นเรื่องที่ช่วยให้วันแต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณประโยชน์
พันธกุมภา
โดยปกติแล้ว ผมมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหวตัวเองไปๆ มาๆ ดังนั้นการเจริญสติด้วยการรู้สึกที่กายและใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมานี้ จึงเป็นการภาวนาที่ทำให้ผมถนัดและสามารถรู้สึกตัวได้บ่อยที่สุด