Skip to main content

มีนา


ถึง พันธกุมภา


มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง...


ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ


เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง


เมื่อเริ่มต้นการเดินทางจากรุงเทพฯ พี่รู้จักกับพี่ๆ หลายคนที่ร่วมเดินทางครั้งนี้ ในฐานะเพื่อนร่วมงาน อย่างไม่ลึกซึ้ง อีกคนหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักและเห็นหน้ามาก่อนเลย เมื่อเพียงเห็นหน้า เขาก็ไม่ชอบพี่เสียแล้ว และยังดำรงความไม่ชื่นชอบจนกระทั่งวันที่เราจากกัน หลายครั้งก็คิดว่า เออ...คนแบบนี้ก็มีด้วยหนอ


ด้วยความไม่รู้ต้นสาย ปลายเหตุของความไม่พึงใจของเพื่อนร่วมทางคนนี้ พี่ทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากพยายามเมตตาเขา...ที่ต้องใช้ความพยายาม เพราะความไม่ชอบของเขานั้น ได้ทำให้สิ่งที่เขาทำกับเรา ปฏิบัติต่อเรา เป็นความพยายามทำให้เราโกรธ ไม่ชอบเขา เช่นเดียวกับที่เขาไม่ชอบเรา


บางครั้งอดนึกไม่ได้ว่า เออ...หนอ มนุษย์เรานี่ช่างหาสิ่งที่ไม่ดีเอาไว้ในจิต เอาไว้ในใจแท้ๆ...


พี่เดินทางผ่านเรื่องราวของความไม่พึงใจ ไม่ชอบใจ ของคนอื่นที่มีต่อเรา และที่เรามีต่อคนอื่นมานาน พี่รู้สึกว่ามันเนิ่นนาน ทุกครั้งจะพยายามหาเหตุผลมาอธิบายว่า เอ...มันเรื่องอะไรกันหนอ ทำไมเขาถึงคิดกับเราแบบนี้ ทำไมเราเป็นเช่นนี้ ทำไมเราไม่ทำอย่างนี้...พี่มาสังเกตจากเรื่องนี้ หลังจากรับรู้ว่า แม้การกระทำใดๆ ของเราก็อาจจะก่อความไม่ชอบใจกับคนๆ นี้ได้


อย่างการทำงานร่วมกัน พี่เคยผ่านวิกฤตในการตัดสินใจเรื่องการทำงานและการเรียนมาแล้ว และเราได้มีการแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม ประสบการณ์ที่เขาเล่าให้เราฟังเต็มไปด้วยความภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนที่ดีและอยากกลับไปเป็นครูที่ดี แต่เมื่อมาถึงจุดนี้กับการทำงานด้านสังคม เขาลังเลที่จะกลับไปเริ่มต้นกับการศึกษาใหม่ๆ และสังคมการทำงานแบบใหม่ที่ไม่มีอะไรแน่นอน


ส่วนพี่ผ่านจุดที่กำลังเปลี่ยนแปลงนั้นมาแล้ว พี่จึงแลกเปลี่ยนความคิดผ่านประสบการณ์ของตนเองไป กาลกลับเป็นว่า เขาเข้าใจว่าเราอยากอวดในสิ่งที่เหนือกว่า สูงกว่า ดีกว่า ไปกระทบกับตัวตน (Ego) ของเขาอย่างเต็มๆ ยิ่งทำให้เขายอมรับเราไม่ได้ และแข่งขันมากขึ้น


ประสบการณ์ครั้งนี้สอนพี่ และทำให้พี่ระลึกถึงข้อเขียนของ พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ที่เคยอ่านมาก่อนนี้ว่า ...มนุษย์แม้ถูกสอนให้มีเหตุผลมากแค่ไหนก็ตาม ทั้งๆ ที่ทุกวันนี้ก็มีความสุข...สบาย กว่ามนุษย์ในยุคก่อนๆ ที่ผ่านมา แต่ยังคงใช้สัญชาตญาณที่จดจำความกลัว มากกว่าความคิดที่เป็นเหตุ เป็นผล…”


เรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเกลียดและความกลัวของมนุษย์อย่างไร...เมื่อก่อนพี่ก็นึกไม่ออกว่า มันเกี่ยวอย่างไร


แต่เมื่อมาเจอด้วยตัวเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางครั้งเราเองเป็นผู้กระทำ คือทำความไม่พึงใจ ไม่ชอบใจให้กับใครบางคนโดยที่เรารู้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม หรือบางคนกระทำต่อเรา เมื่อก่อนพี่จะฟูมฟายว่า เราไปทำอะไรให้เขามากมาย ทำไมเขาถึงไม่ชอบเราขนาดนี้ รังเกียจและกลั่นแกล้งเราขนาดนี้ เมื่อเติบโตมากขึ้น พี่ก็เริ่มไม่เชื่อว่า แม้เราจะอยู่เฉยหรือวางตัวอย่างสงบ ก็อาจจะเป็นเหตุให้เกิดความไม่พึงใจดังกล่าวนั้นได้


บางครั้งความเป็นตัวตนของใครหลายคนก็ทำให้ใครอีกหลายคนไม่พอใจ เช่น การเกิดมาในชาติตระกูลที่ดีกว่า การมีการศึกษาดีกว่า การมีโอกาสทางสังคมที่ดีกว่า เป็นต้น แต่หากพิจารณาแค่เรื่องคนเพียงอย่างเดียว เดี่ยวๆ เลยนั้น ก็จะขาดองค์ประกอบไป คือ “สิ่งแวดล้อม”


เรื่องนี้พระอาจารย์ ไพศาล ได้อธิบายไว้ค่อนข้างดีว่า ...สิ่งแวดล้อมสมัยก่อนนั้นเต็มไปด้วยอันตราย มนุษย์จึงพัฒนาการใช้สัญชาตญาณมานานนับล้านๆ ปี...และมีการเปลี่ยนแปลงมาสู้สังคมที่ใช้เหตุผลมาเมื่อไม่นานมานี้เอง...” มนุษย์ยังคงจดจำกับการที่ใช้สัญชาติญาณบอกถึงความปลอดภัย การเลี่ยงภัย หลบภัย และเรียนรู้ที่จะเท่าทันตนเอง ผ่านการศึกษาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม


ยิ่งคนที่สนใจพระพุทธศาสนา และมีการปฏิบัติจะรู้ว่า หัวใจของการปฏิบัติสำหรับคนทั่วไป คือ การรู้จักตัวตนของตนเอง แต่ไม่ใช่การโทษตนเอง หลายคนตีความความผิดบาป ความไม่ชอบใจ ความอิจฉา ริษยา ความโกรธ ความเกลียด ที่ตนเองมี ว่าเป็นสิ่งผิด สิ่งบาป และต้องไม่มีอยู่ในตัวตน เพราะจะเป็นคนไม่ดี ประเด็นนี้ที่พี่พยายามรู้จักตนเองคือ ทำอย่างไร ที่จะไม่กดความรู้สึกเหล่านี้แล้วบอกว่า “ไม่นะ...ฉันไม่โกรธ ฉันไม่เกลียด ฉันไม่อิจฉา...” แต่พยายามรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง โชคดีที่พี่มีครูและกัลยาณมิตรคอยเตือนสติอย่างเท่าทัน


พี่เห็นคนปฏิบัติจำนวนมาก ปากก็พูดมา เราต้องพยายามไม่เป็นคนไม่ดี ไม่โกรธ ไม่เกลียด... แต่ไม่เรียนรู้ที่จะเท่าทันอารมณ์ตัวเอง พี่ค้นพบกับการเดินทางและการปฏิบัติที่แสนจะธรรมดาว่า “การยอมรับ” ในสิ่งที่เราเป็นตอนนั้น...มันง่ายมากเลย...และช่วยให้เราเดินทางผ่านความโกรธ เกลียด อิจฉา ชอบ หรือไม่ชอบได้ในระดับหนึ่ง หลายครั้งถึงกับวางมันได้


น่าเสียดายที่ครู อาจารย์ หลายๆ คนที่เป็นครูทางพระพุทธศาสนาสอนเรื่องตัวตน แต่ไม่บอกเคล็ดลับในการเท่าทันตัวตน และหลายคนขาดการเชื่อมโยงความเป็นตัวตนกับสังคมในด้านอื่นๆ พี่ไม่ค่อยรู้จักครูหรือพระอาจารย์มากนัก แต่พระอาจารย์ที่พี่ได้เรียนรู้ผ่านหนังสืออย่างพระพุทธเจ้าและท่านอื่นๆ ทำให้รู้ว่า การที่คนต้องไปปฏิบัติที่วัด การมีวัดนั้นเป็นอุบายชั้นดีที่ทำให้คนที่ต้องการปฏิบัติธรรมมีสถานที่ที่ไม่สบายเกินไป ไม่ลำบากเกินไป และปลอดภัยสำหรับคน เมื่อสังคมปลอดภัยมากขึ้นแล้ว แต่คนก็ยังไม่ได้ทิ้งสัญชาตญาณแห่งความระมัดระวังนั้นไป


เมื่อมาทบทวนดูแล้ว ชีวิตของคนสมัยนี้เต็มไปด้วยความสบาย ความสนุกสนาน แต่กลับมีความกลัวในใจมากยิ่งไปกว่ามนุษย์สมัยก่อน หรือคนในสังคมที่ค่อนข้างลำบาก อย่างคนชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ตามป่า ดง ดอย หรือพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีเงินมากนัก กลับมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกิน มีใช้ ยิ้มได้มากกว่าคนที่อยู่ในเมือง จะมีก็แต่ทุกข์จากดิน ฟ้า อากาศ เพียงเท่านั้น ทั้งนี้คนกลุ่มนี้ต้องอยู่บนเงื่อนไขของการผลิตที่ไม่ใช่การตอบสนองตลาดมากๆ เพราะยังมีคนชาติพันธุ์อีกมากที่ไม่สามารถอยู่บนพื้นที่ของตนเองได้ เพราะการถูกขับไล่จากป่า และการผลิตตามตลาด (contact farming) แล้วมีหนี้สิน เหล่านี้เองที่เป็นปัจจัยแวดล้อมให้มนุษย์ไม่สามารถพัฒนาตัวตนด้านในได้ (spiritual life) ได้อย่างที่ควรจะเป็น


ถ้าดูจากการผลิตภาพยนต์ที่ชาวฮอลลีวูดที่ผลิตจากความเชื่อเกี่ยวกับคนบาป คนไม่ดี ทั้งหลายก็จะพบว่า มีคนดีและคนไม่ดีอยู่ปะปนกัน หรือบางครั้งตัดสินใจไม่ได้ด้วยซ้ำไปว่า การมีที่มาที่ไปอย่างไรจึงจะตัดสินว่า ใครดี ใครไม่ดี แล้วใครควรจะเป็นผู้มีชีวิตรอด และอยู่บนเรือของพระเจ้าและไปสร้างโลกใหม่ด้วยกัน เพราะในที่สุด โลกอาจจะไม่แตก ไม่มีใครที่ดีที่สุด ไม่มีใครชั่วสุดๆ จนรับไม่ได้


หากเชื่อเรื่อง “การพัฒนา” ไม่เพียงแค่สังคมที่เราพัฒนาได้ คนเรา จิตใจ และสิ่งแวดล้อมก็พัฒนาได้เช่นเดียวกัน การปฏิบัติทางพุทธศาสนาเป็นการเปิดโอกาสให้กับคน ไม่ว่า วันนี้คุณเป็นอย่างไร คุณรู้และเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี คุณก็พัฒนาได้ ศาสนาใดๆ ไม่ได้มีความต่าง เพราะต่างเปิดโอกาสให้คุณทำดี รู้จัก และเท่าทันตนเอง อย่าเชื่อโดยไม่มีเหตุผลนะจ๊ะ


บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ชีวิตนี้แสนสั้นและใจก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช้าสายบ่ายค่ำจิตใจไม่เหมือนเดิม กายก็มีทั้งสุขและทุกข์แปรปรวนไปตามธรรมดา ชีวิตแต่ละวันจึงแสนจะสั้นและดูแล้วไม่เที่ยงเอาเสียเลย จนบางครั้งรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป จึงต้องใคร่ครวญคิดคำนึงอยู่เสมอๆ ว่าตั้งแต่เกิดมามีอะไรที่ตัวเองยังไม่ได้ทำบ้าง และก็ควรจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนี้เพื่อลงมือทำสิ่งนั้นอย่างจริงจังไม่ใช่แค่คิดและปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ
พันธกุมภา
เร็วๆ นี้ผมและญาติธรรมกำลังร่วมกันดำเนินการจัดพิมพ์ธรรมใจไดอารี่ ฉบับธรรมทาน ซึ่งพี่ๆ ญาติธรรม ทุกๆ คน ที่ได้มาพบเจอ รู้จัก สนทนาธรรมกัน ได้ช่วยเหลือ เกื้อกูล ให้คำปรึกษา แนะนำต่างๆ มากมาย และเมื่อมีผู้เสนอให้ทำ ธรรมใจไดอารี่ขึ้น
พันธกุมภา
สำหรับผมกับแฟน เราทั้งสองคบกันด้วยเหตุแห่งความศรัทธาที่มีต่อกัน ในวันที่เราเจอกันครั้งแรก แม้ไม่ได้รู้สึกอยากจะได้มาครอบครองแต่ด้วยความที่เธอเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่สนใจในทางธรรม ทั้งการถือศีล และการปฏิบัติ ทำให้เราทั้งสองได้สนทนาและแบ่งปันการภาวนาของกันและกันและก็ได้คุยกันเรื่อยมา
พันธกุมภา
วันธรรมดาวันหนึ่ง ชีวิตประจำวันก็ผ่านไปด้วยเหตุปัจจัยเหมือนเดิม มีประชุม ทำค่าย อบรม เดินทางจัดกิจกรรมตามจังหวัดต่างๆ ได้เจอผู้คนมากหน้าหลายตา มีโอกาสได้สนทนากันตามเรื่องราวที่แตกต่างกันไป แต่ข้างในใจกลับเต็มไปด้วยความเฉื่อยชา เบื่อหน่าย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าใดนัก
พันธกุมภา
การได้สังเกตจิตใจของตัวเองตามความเป็นจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าจิตใจนี้มีธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปมาตามเหตุปัจจัยเงื่อนไขชีวิต แล้วยังมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปสู่ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ความโกรธ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว ขาดสติ เผลอหลงใหลไปกับโลกของความคิดและสิ่งภายนอกใจ
พันธกุมภา
คำอวยพรจากเพื่อนๆ พี่น้อง หลายๆ คน ส่งมายังผมหลายฉบับ ทำให้เกิดความปีติยินดี ที่ได้รับคำอวยพรอย่างยิ่ง และผมก็ได้ตอบกลับไปยังเพื่อนๆ พี่น้อง ทั้งที่ส่งมาและไม่ได้ส่งมา อีกหลายๆ คน การให้พรจึงเสมือนเป็นการให้กำลังใจและบอกให้กันและกันรู้ว่ายังคงระลึกถึงกันอยู่เสมอ
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่การเจริญสติของใครหลายคนติดอยู่กับอารมณ์คือหลงไปแช่อยู่กับอารมณ์นานจึงทำให้เกิดการเผลอยึดมั่นในอารมณ์นั้น กลายเป็นติดหลุม เผลอลงไปแช่ จะรู้สึกมัวๆ หรือเผลอไปแทรกแซง จนยากยิ่งนักที่จะรู้สึกตัวทัน ทั้งนี้ครูบาอาจารย์ท่านแนะไว้ว่าอาจเป็นเพราะจิตยังไม่ถึงฐานหรือจิตยังไม่ตั้งมั่น
พันธกุมภา
  ในการภาวนาบ่อยครั้งนักที่ผมมักจะได้ยินคนอื่นๆ มาเล่าให้ฟังทำนองว่า สถานที่นี้ไม่ดีเลย ไม่เหมาะที่จะภาวนาเลย เสียงก็ดัง คนก็เยอะ ไม่มีที่ ไม่มีทางเดินจงกรมหรือนั่งปฏิบัติเลย เพราะมองว่าการที่จะภาวนาได้นั้นจะต้องไปในสถานที่ที่มีรูปแบบ เช่น มีทางให้เดินจงกรม มีเบาะให้นั่งภาวนา เป็นต้น
พันธกุมภา
ปลายเดือนตุลาคม 2552 นี้ ผมได้มีโอกาสไปภาวนากับพี่ๆ ญาติธรรมเชียงใหม่ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพวกเราไปกัน 4 คน ได้แก่ พี่เอ้ พี่ยา พี่นา และผม ซึ่งผมรู้จักพี่ๆ ผ่านทางการสนทนาในอินเตอร์เน็ตและทุกๆ คนก็ภาวนาในแนวดูจิตเหมือนๆ กัน
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่รู้สึกตัว และอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นภายในใจ มันยิ่งทำให้เห็นว่าเราสามารถตามรู้ ตามดูสภาวะต่างๆ ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ด้านบวก หรืออารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นภายในใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกันคือ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้
พันธกุมภา
ในแต่ละวันชีวิตคนเราก็มีเวลา 24 ชั่วโมง เหมือนกัน ไม่มีใครมีเวลามากหรือน้อยไปกว่ากัน ทว่าอยู่ที่ว่าใครจะจัดสรรเวลาให้กับตัวเองมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และอื่นๆ อีกมายมาย ซึ่งการจัดระดับความสำคัญของภารกิจระหว่างวันแต่ลัอย่างนื้ถือเป็นเรื่องที่ช่วยให้วันแต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณประโยชน์
พันธกุมภา
โดยปกติแล้ว ผมมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหวตัวเองไปๆ มาๆ ดังนั้นการเจริญสติด้วยการรู้สึกที่กายและใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมานี้ จึงเป็นการภาวนาที่ทำให้ผมถนัดและสามารถรู้สึกตัวได้บ่อยที่สุด