Skip to main content

มีนา


ถึง พันธกุมภา


มีเรื่องอยากเล่าให้พันธกุมภาฟัง...


ช่วงที่ห่างหายกันไป พี่ยังติดตามข่าวคราวการทำงาน การเดินทาง และระลึกถึงเธออยู่เสมอ เพียงแค่รู้ว่าเธอสบายดี พี่ก็สบายใจ


เมื่อไม่นานมานี้ พี่เดินทางไปเชียงใหม่ ไปกับกลุ่มคนที่คุ้นเคยบ้าง ไม่คุ้นเคยกันบ้าง หลายคนเคยรู้จักกันมาก่อน หลายคนไม่ได้รู้จัก แม้ว่าจะรู้จักก็ตาม ก็ไม่ได้ลึกซึ้งถึงเรื่องด้านในต่อกัน ไม่เหมือนเพื่อนบางคน แม้ว่าจะไม่ได้พบเจอกันมากนัก แต่เราก็ยังสนิทใจมากกว่า รู้สึกสัมผัสได้ถึงความอาทรที่มีต่อกัน...อย่างน้อง


เมื่อเริ่มต้นการเดินทางจากรุงเทพฯ พี่รู้จักกับพี่ๆ หลายคนที่ร่วมเดินทางครั้งนี้ ในฐานะเพื่อนร่วมงาน อย่างไม่ลึกซึ้ง อีกคนหนึ่งที่ไม่เคยรู้จักและเห็นหน้ามาก่อนเลย เมื่อเพียงเห็นหน้า เขาก็ไม่ชอบพี่เสียแล้ว และยังดำรงความไม่ชื่นชอบจนกระทั่งวันที่เราจากกัน หลายครั้งก็คิดว่า เออ...คนแบบนี้ก็มีด้วยหนอ


ด้วยความไม่รู้ต้นสาย ปลายเหตุของความไม่พึงใจของเพื่อนร่วมทางคนนี้ พี่ทำอะไรไม่ได้มาก นอกจากพยายามเมตตาเขา...ที่ต้องใช้ความพยายาม เพราะความไม่ชอบของเขานั้น ได้ทำให้สิ่งที่เขาทำกับเรา ปฏิบัติต่อเรา เป็นความพยายามทำให้เราโกรธ ไม่ชอบเขา เช่นเดียวกับที่เขาไม่ชอบเรา


บางครั้งอดนึกไม่ได้ว่า เออ...หนอ มนุษย์เรานี่ช่างหาสิ่งที่ไม่ดีเอาไว้ในจิต เอาไว้ในใจแท้ๆ...


พี่เดินทางผ่านเรื่องราวของความไม่พึงใจ ไม่ชอบใจ ของคนอื่นที่มีต่อเรา และที่เรามีต่อคนอื่นมานาน พี่รู้สึกว่ามันเนิ่นนาน ทุกครั้งจะพยายามหาเหตุผลมาอธิบายว่า เอ...มันเรื่องอะไรกันหนอ ทำไมเขาถึงคิดกับเราแบบนี้ ทำไมเราเป็นเช่นนี้ ทำไมเราไม่ทำอย่างนี้...พี่มาสังเกตจากเรื่องนี้ หลังจากรับรู้ว่า แม้การกระทำใดๆ ของเราก็อาจจะก่อความไม่ชอบใจกับคนๆ นี้ได้


อย่างการทำงานร่วมกัน พี่เคยผ่านวิกฤตในการตัดสินใจเรื่องการทำงานและการเรียนมาแล้ว และเราได้มีการแลกเปลี่ยนกันในกลุ่ม ประสบการณ์ที่เขาเล่าให้เราฟังเต็มไปด้วยความภาคภูมิใจในการเป็นนักเรียนที่ดีและอยากกลับไปเป็นครูที่ดี แต่เมื่อมาถึงจุดนี้กับการทำงานด้านสังคม เขาลังเลที่จะกลับไปเริ่มต้นกับการศึกษาใหม่ๆ และสังคมการทำงานแบบใหม่ที่ไม่มีอะไรแน่นอน


ส่วนพี่ผ่านจุดที่กำลังเปลี่ยนแปลงนั้นมาแล้ว พี่จึงแลกเปลี่ยนความคิดผ่านประสบการณ์ของตนเองไป กาลกลับเป็นว่า เขาเข้าใจว่าเราอยากอวดในสิ่งที่เหนือกว่า สูงกว่า ดีกว่า ไปกระทบกับตัวตน (Ego) ของเขาอย่างเต็มๆ ยิ่งทำให้เขายอมรับเราไม่ได้ และแข่งขันมากขึ้น


ประสบการณ์ครั้งนี้สอนพี่ และทำให้พี่ระลึกถึงข้อเขียนของ พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ที่เคยอ่านมาก่อนนี้ว่า ...มนุษย์แม้ถูกสอนให้มีเหตุผลมากแค่ไหนก็ตาม ทั้งๆ ที่ทุกวันนี้ก็มีความสุข...สบาย กว่ามนุษย์ในยุคก่อนๆ ที่ผ่านมา แต่ยังคงใช้สัญชาตญาณที่จดจำความกลัว มากกว่าความคิดที่เป็นเหตุ เป็นผล…”


เรื่องนี้เกี่ยวข้องโดยตรงกับความเกลียดและความกลัวของมนุษย์อย่างไร...เมื่อก่อนพี่ก็นึกไม่ออกว่า มันเกี่ยวอย่างไร


แต่เมื่อมาเจอด้วยตัวเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน บางครั้งเราเองเป็นผู้กระทำ คือทำความไม่พึงใจ ไม่ชอบใจให้กับใครบางคนโดยที่เรารู้หรือไม่รู้ตัวก็ตาม หรือบางคนกระทำต่อเรา เมื่อก่อนพี่จะฟูมฟายว่า เราไปทำอะไรให้เขามากมาย ทำไมเขาถึงไม่ชอบเราขนาดนี้ รังเกียจและกลั่นแกล้งเราขนาดนี้ เมื่อเติบโตมากขึ้น พี่ก็เริ่มไม่เชื่อว่า แม้เราจะอยู่เฉยหรือวางตัวอย่างสงบ ก็อาจจะเป็นเหตุให้เกิดความไม่พึงใจดังกล่าวนั้นได้


บางครั้งความเป็นตัวตนของใครหลายคนก็ทำให้ใครอีกหลายคนไม่พอใจ เช่น การเกิดมาในชาติตระกูลที่ดีกว่า การมีการศึกษาดีกว่า การมีโอกาสทางสังคมที่ดีกว่า เป็นต้น แต่หากพิจารณาแค่เรื่องคนเพียงอย่างเดียว เดี่ยวๆ เลยนั้น ก็จะขาดองค์ประกอบไป คือ “สิ่งแวดล้อม”


เรื่องนี้พระอาจารย์ ไพศาล ได้อธิบายไว้ค่อนข้างดีว่า ...สิ่งแวดล้อมสมัยก่อนนั้นเต็มไปด้วยอันตราย มนุษย์จึงพัฒนาการใช้สัญชาตญาณมานานนับล้านๆ ปี...และมีการเปลี่ยนแปลงมาสู้สังคมที่ใช้เหตุผลมาเมื่อไม่นานมานี้เอง...” มนุษย์ยังคงจดจำกับการที่ใช้สัญชาติญาณบอกถึงความปลอดภัย การเลี่ยงภัย หลบภัย และเรียนรู้ที่จะเท่าทันตนเอง ผ่านการศึกษาในรูปแบบใดๆ ก็ตาม


ยิ่งคนที่สนใจพระพุทธศาสนา และมีการปฏิบัติจะรู้ว่า หัวใจของการปฏิบัติสำหรับคนทั่วไป คือ การรู้จักตัวตนของตนเอง แต่ไม่ใช่การโทษตนเอง หลายคนตีความความผิดบาป ความไม่ชอบใจ ความอิจฉา ริษยา ความโกรธ ความเกลียด ที่ตนเองมี ว่าเป็นสิ่งผิด สิ่งบาป และต้องไม่มีอยู่ในตัวตน เพราะจะเป็นคนไม่ดี ประเด็นนี้ที่พี่พยายามรู้จักตนเองคือ ทำอย่างไร ที่จะไม่กดความรู้สึกเหล่านี้แล้วบอกว่า “ไม่นะ...ฉันไม่โกรธ ฉันไม่เกลียด ฉันไม่อิจฉา...” แต่พยายามรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง โชคดีที่พี่มีครูและกัลยาณมิตรคอยเตือนสติอย่างเท่าทัน


พี่เห็นคนปฏิบัติจำนวนมาก ปากก็พูดมา เราต้องพยายามไม่เป็นคนไม่ดี ไม่โกรธ ไม่เกลียด... แต่ไม่เรียนรู้ที่จะเท่าทันอารมณ์ตัวเอง พี่ค้นพบกับการเดินทางและการปฏิบัติที่แสนจะธรรมดาว่า “การยอมรับ” ในสิ่งที่เราเป็นตอนนั้น...มันง่ายมากเลย...และช่วยให้เราเดินทางผ่านความโกรธ เกลียด อิจฉา ชอบ หรือไม่ชอบได้ในระดับหนึ่ง หลายครั้งถึงกับวางมันได้


น่าเสียดายที่ครู อาจารย์ หลายๆ คนที่เป็นครูทางพระพุทธศาสนาสอนเรื่องตัวตน แต่ไม่บอกเคล็ดลับในการเท่าทันตัวตน และหลายคนขาดการเชื่อมโยงความเป็นตัวตนกับสังคมในด้านอื่นๆ พี่ไม่ค่อยรู้จักครูหรือพระอาจารย์มากนัก แต่พระอาจารย์ที่พี่ได้เรียนรู้ผ่านหนังสืออย่างพระพุทธเจ้าและท่านอื่นๆ ทำให้รู้ว่า การที่คนต้องไปปฏิบัติที่วัด การมีวัดนั้นเป็นอุบายชั้นดีที่ทำให้คนที่ต้องการปฏิบัติธรรมมีสถานที่ที่ไม่สบายเกินไป ไม่ลำบากเกินไป และปลอดภัยสำหรับคน เมื่อสังคมปลอดภัยมากขึ้นแล้ว แต่คนก็ยังไม่ได้ทิ้งสัญชาตญาณแห่งความระมัดระวังนั้นไป


เมื่อมาทบทวนดูแล้ว ชีวิตของคนสมัยนี้เต็มไปด้วยความสบาย ความสนุกสนาน แต่กลับมีความกลัวในใจมากยิ่งไปกว่ามนุษย์สมัยก่อน หรือคนในสังคมที่ค่อนข้างลำบาก อย่างคนชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อยู่ตามป่า ดง ดอย หรือพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีเงินมากนัก กลับมีความสุข มีรอยยิ้ม มีกิน มีใช้ ยิ้มได้มากกว่าคนที่อยู่ในเมือง จะมีก็แต่ทุกข์จากดิน ฟ้า อากาศ เพียงเท่านั้น ทั้งนี้คนกลุ่มนี้ต้องอยู่บนเงื่อนไขของการผลิตที่ไม่ใช่การตอบสนองตลาดมากๆ เพราะยังมีคนชาติพันธุ์อีกมากที่ไม่สามารถอยู่บนพื้นที่ของตนเองได้ เพราะการถูกขับไล่จากป่า และการผลิตตามตลาด (contact farming) แล้วมีหนี้สิน เหล่านี้เองที่เป็นปัจจัยแวดล้อมให้มนุษย์ไม่สามารถพัฒนาตัวตนด้านในได้ (spiritual life) ได้อย่างที่ควรจะเป็น


ถ้าดูจากการผลิตภาพยนต์ที่ชาวฮอลลีวูดที่ผลิตจากความเชื่อเกี่ยวกับคนบาป คนไม่ดี ทั้งหลายก็จะพบว่า มีคนดีและคนไม่ดีอยู่ปะปนกัน หรือบางครั้งตัดสินใจไม่ได้ด้วยซ้ำไปว่า การมีที่มาที่ไปอย่างไรจึงจะตัดสินว่า ใครดี ใครไม่ดี แล้วใครควรจะเป็นผู้มีชีวิตรอด และอยู่บนเรือของพระเจ้าและไปสร้างโลกใหม่ด้วยกัน เพราะในที่สุด โลกอาจจะไม่แตก ไม่มีใครที่ดีที่สุด ไม่มีใครชั่วสุดๆ จนรับไม่ได้


หากเชื่อเรื่อง “การพัฒนา” ไม่เพียงแค่สังคมที่เราพัฒนาได้ คนเรา จิตใจ และสิ่งแวดล้อมก็พัฒนาได้เช่นเดียวกัน การปฏิบัติทางพุทธศาสนาเป็นการเปิดโอกาสให้กับคน ไม่ว่า วันนี้คุณเป็นอย่างไร คุณรู้และเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี คุณก็พัฒนาได้ ศาสนาใดๆ ไม่ได้มีความต่าง เพราะต่างเปิดโอกาสให้คุณทำดี รู้จัก และเท่าทันตนเอง อย่าเชื่อโดยไม่มีเหตุผลนะจ๊ะ


บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิตบางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้…
พันธกุมภา
มีนา
ฉันดีใจ...ที่เธอมีคนดูแลระหว่างการเดินทาง แม้ว่าเราจะเดินทางเพื่อไปปฏิบัติธรรม คนส่วนมากเขาก็มองว่าเราเติบโตมาในสังคมที่เห็นว่าการชวนดื่มเหล้า การกินอาหารร่วมกันเป็นการให้เกียรติกับผู้มาเยือน การที่เธอกล้าปฏิเสธและอธิบายความเป็นตัวเธอ นับว่าเป็นความกล้าที่จะบอกความเป็นตัวตนด้านดีของตัวเองคนจำนวนมากเกรงใจคนอื่นอย่างน่าเป็นห่วง ฉันเอง...บางครั้งยังไม่กล้าที่จะบอกถึงความเป็นตัวตน หรือความคิดจริงๆ ในเรื่องงาน หลายครั้งเป็นข้อจำกัดขององค์กร สถาบัน และเส้นแบ่งหลายๆ อย่างที่ทำให้เรา...ไม่กล้า ไม่กล้าที่จะบอกว่า เราอยากทำงานเพราะคิดถึงคนที่ลำบาก…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา....เมื่อวางแผนการเดินทางเสร็จสิ้น และพยายามที่จะเคลียร์งานทุกอย่างให้แล้วเสร็จก่อนช่วงส่งท้ายปีเก่า ฉันเดินทางออกจากบ้านที่เชียงรายในวันที่ 24 ธันวาคม 2550 เพื่อมาจัดการงานต่างๆ เอกสารที่คั่งค้างจากการทำวิจัย ช่วงการเดินทางโดยรถทัวร์จากเชียงรายมายังกรุงเทพฯ ฉันนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกลัวหลายเรื่อง กลัวรถจะชน กลัวจะมี “มาร” มาขวางไม่ให้ได้ไปปฏิบัติคำว่า “มาร” ในที่นี้ ฉันไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เท่าที่เคยสัมผัสคือ น่าจะมาเป็นลักษณะของอุปสรรค กีดกันไม่ให้เราไปปฏิบัติ อย่างเช่นบางคนพอจะไปปฏิบัติธรรม ก็ป่วยไม่สบาย หรือ ประสบอุบัติเหตุ หรือว่าคนรอบข้างเราเช่น ญาติพี่น้อง ป่วยไม่สบาย…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภา…แม้ว่าฉันจะไม่ได้ไปที่วัดป่าสุคะโตกับเธอ ฉันเห็นบรรยากาศไปพร้อมกับการเล่าสู่กันของเธอ อดไม่ได้ที่จะนึกถึง “ความกลัว” ตั้งแต่เด็ก เรามักถูกขู่ให้กลัวอยู่เสมอ เมื่อพ่อแม่เลี้ยงเรามา รัก ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เด็กเล็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นของตัวเอง เขาเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่รู้ว่า ไฟมันร้อน น้ำในบ่อมันลึกหรือตื้นเพียงไหน ปลั๊กไฟห้ามเอานิ้วแหย่เข้าไป อาจจะเดินไปไหนไกลๆ โดยพ่อแม่ไม่เห็นแล้วประสบอันตรายสิ่งที่เด็กไม่ได้ประสบกับตัวเอง เด็กไม่รู้ว่าอันตราย ไฟมันร้อน น้ำมันลึก เป็นอย่างไร พ่อแม่จึงมักดึงเอาสัญชาติญาณด้านลึกคือความกลัวออกมา การขู่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่างที่เธอได้บอกฉันนั่นแลว่า กว่าคนเราจะสามารถเอาใจมาอยู่กับกายได้นั้นต้องใช้เวลาและให้โอกาสตัวเองพอสมควร ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยคิดเลยว่าทำไมต้องเอาใจมาอยู่กับกาย หรือเอากายมาอยู่กับใจ เพราะเขาไม่มีโอกาสได้รู้ว่าควรทำอย่างไร ควรทำเมื่อไหร่บ่อยครั้งที่ “ความสุข” ทางโลก ที่เข้ามากระทบเราทั้งทาง หู ตา จมูก ลิ้น และกาย รวมถึงใจของเรานั้นทำให้เราคิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง แต่หารู้ไม่ว่าการที่รับผัสสะเหล่านั้นมาปรุงแต่งก็กลับทำให้จิตใจของเรามีแต่การสร้างกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว หลายคนที่เข้าถึงธรรมปฏิบัติ บางคนพบว่าความสุขทางโลกไม่ใช่ทางออกหรือคำตอบของชีวิต…
พันธกุมภา
มีนา    ถึง พันธกุมภา ฉันต้องขอบคุณ พันธกุมภา ที่เชื้อเชิญ และพยายามดึงฉันออกมาเขียน แม้ว่าจะถูกบอกว่า "น่าจะเป็นนักเขียนได้..." แต่ฉันยังไม่...แม้แต่ลงมือทำ จะเป็นได้อย่างไร หน้านี้...และหน้าที่นี้ ต้องเป็นความต้องการของพันธกุมภา ที่จะดึงฉันออกมาจากะลาเดิมเป็นแน่ สำหรับฉันแล้ว การเดินทางไปวัดป่าสุคะโต เพื่อพบหลวงพ่อเทียนของเธอ แทบจะไม่เกี่ยวข้องอะไร หากเราไม่ใช่กัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ฉันสนับสนุนให้เดินทางเพื่อไปเรียนรู้ ให้จิตอยู่กับกาย คนสมัยนี้...ฉันเองก็เป็นคนสมัยนี้ ไม่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันของตนเอง ฉันเคยสังเกตตัวเองเมื่อต้องทำงาน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา,ฉันเริ่มเขียน “ธรรมตามใจ” มาได้เพียงไม่นาน ก็พบว่าอันแท้แล้ว ยังมีกัลยาณมิตรทางธรรมอีกหลายคนที่อยู่ในช่วงวัยใกล้ๆ กัน จึงน่าจะชวนกันมาแบ่งปันธรรมปฏิบัติในพื้นที่นี้ร่วมกัน มีนา, เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ที่ตอบรับคำเชื้อเชิญจากฉัน – เธอ เป็นผู้หญิงรุ่นพี่ ที่ฉันรู้จักมาค่อนปีทีเดียว ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าเจอกันครั้งแรกที่ไหนอย่างไร เพราะผ่านมาแล้วหลายนาน แต่ก็ไม่เป็นไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่ต่อไปเราทั้งสองจะได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เราต่างปฏิบัติเช่นกันฉันกับเธอ, พันธกุมภากับมีนา, เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมา ตัวตนทางโลกของเราอาจมีค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่างกันอยู่มาก แต่ในทางธรรมแล้ว…
พันธกุมภา
บุคลิกภายนอกและนิสัยภายในของเขา ไม่ได้บ่งบอกเลยว่าเขาจะมีท่าทีสนใจในธรรมะและปฏิบัติเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ คนที่รู้จักเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะมีความคิดที่อยากบวชเรื่องของเขาน่าสนใจตรงที่ว่า อยู่ดีๆ เขาก็บอกกับข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ที่ทำงานด้วยกันว่าอยากจะบวช เพื่อนคนนี้ของข้าพเจ้า แต่เดิมเป็นคนชอบเที่ยวกลางคืน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แถมขี้หลีอีกต่างหาก จนวันหนึ่งตัวเองได้ไปปฏิบัติวิปัสสนา, เวลา 10 วันของการปฏิบัติ ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มไม่เที่ยว เริ่มไม่ดื่มเหล้า แต่ยังคงความขี้หลีสาวๆ และสูบบุหรี่อยู่ทุกๆ คนต่างรับรู้อยู่อย่างห่างๆ ว่าเขาตั้งใจปฏิบัติ…
พันธกุมภา
ดูจิต...ดูจิตคืออะไร? ข้าพเจ้ามักสงสัยตลอดเวลา เมื่อมีผู้ใหญ่ได้บอกสอนเรื่องการ “ดูจิต” บางคนถามว่าวันนี้ดูจิตเป็นยังไงบ้าง ดูจิตไปถึงไหนแล้ว แต่ละคำถามเกิดจากการติดตามผลของการปฏิบัติที่พี่ๆ แต่ละท่านต่างเฝ้าสอบถามด้วยความเป็นห่วงวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ ท่านได้ถามข้าพเจ้าว่าชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ไม่ได้พบเจอกันมาเสียนาน ข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องการปฏิบัติของข้าพเจ้าให้ผู้ใหญ่ท่านได้รับฟัง และเราก็ได้คุยถึงครูบาอาจารย์ที่สอนการวิปัสสนากรรมฐานแต่ละหนแห่งผู้ใหญ่ท่านนี้ได้แนะนำ และชวนเชิญให้ข้าพเจ้าได้ลองปฏิบัติตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ…
พันธกุมภา
- 1 - ข้าพเจ้าได้อ่าน บทเขียนของ “กลางชล” ในนิตยสาร “ธรรมะใกล้ตัว” ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 http://www.dungtrin.com/mag  ซึ่งเป็นบทบรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าว ที่ได้พาตัวข้าพเจ้าให้นำใจเข้าศึกษาและเรียนรู้ธรรมะจากนิตยสารธรรมเล่มนี้ในบทบรรณาธิการ “กลางชล” เล่าว่า ได้เสียงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ดังขึ้นจากแผ่นซีดีว่า “การศึกษาธรรมะ คือการลงทุนให้กับชีวิตตัวเองนะ หลวงพ่อจะบอกให้ หลวงพ่อเองตอนอยู่กับโลก ก็ไม่ได้เป็นรองใครหรอก อยู่ในโลกก็มีความสุข แต่แล้วก็พบว่า ความสุขของโลกนี่นะ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลย...”อย่างตอนเด็ก ๆ เราก็คิดว่า ถ้าเราเอนท์ติดคณะนั้นคณะนี้…
พันธกุมภา
ข้าพเจ้าเพิ่งเริ่มเข้าใจว่าชีวิตที่เกิดขึ้นมานี้มีแต่ “ทุกข์” ทั้งๆ ที่หลายเรื่องราว เราสามารถที่จะพบกับความสุขได้โดยไม่ยาก แต่นั้นอาจไม่ใช่ความสุขที่นำไปสู่การพ้นทุกข์อย่างแท้จริงชีวิตอย่างช่วงวัยของข้าพเจ้านั้น มีหลากหลายเรื่องราวที่เข้ามากระทบ ทำให้จิตใจสับสนวุ่นวายและบางคราก็ไม่สามารถที่จะหาทางออกไปสู่เส้นทางแห่งความสงบสุขได้อย่างแท้จริง ความว้าวุ่นใจที่เกิดขึ้น ได้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ข้าพเจ้าเริ่มตระหนักแล้วว่า ควรจะนำพาชีวิตของตนเองให้พบกับความสุข-สงบ-เบิกบาน อย่างเอาจริงเอาจังเสียแต่โดยพลัน แม้ว่าที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พาตัวเองเข้าไปสู่เส้นทางของความบันเทิงเริงใจ เที่ยวผับ เธค…