Skip to main content

มีนา

20080321 ภาพพระอาทิตย์ยามเย็น

ถึง พันธกุมภา

จุดหมายปลายทาง การเดินทางธรรมของเธอครั้งนี้อยู่ที่วัดป่าสุคะโต ที่...ซึ่งฉันไม่เคยไป หากหลายคนอยากไป ก็คงไม่ได้คิดถึงเรื่องการเดินทาง หากมักนึกถึงปลายทาง และในที่สุด...แม้รู้ว่าเธออาจจะเดินทางถึงวัดป่าสุคะโตแน่นอน เธอก็น่าจะเรียนรู้ระหว่างทางดังที่เธอเล่าให้เราฟัง

ฉันเคยพูดถึงเรื่องความกลัวระหว่างการเดินทาง “ในความกลัว” มาก่อนแล้ว ด้านหนึ่งฉันนึกเสมอว่า คนธรรมดาทั่วไปอย่างฉัน ร่ำเรียนมาด้วยวิธีคิดแบบมีเป้าหมาย โดยไม่สนใจระหว่างทาง หรือกระบวนการเรียนรู้ก่อนที่จะถึงเป้าหมาย ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว “ระหว่างทาง” เป็นสิ่งสำคัญมาก อาจจะมากกว่าเป้าหมายด้วยซ้ำไป

จากนักเรียนมัธยมสู่การเรียนมหาวิทยาลัย เป้าหมายอาจจะอยู่ที่การเรียนจบ การรับปริญญา ปริญญาบัตร หรือการได้เกียรตินิยม ความหมายของการเรียน มันอยู่ที่ปริญญาหรือการเรียนได้ที่หนึ่งเท่านั้นหรือ

สำหรับใครหลายคนขอเพียงแค่เรียนจบ ขอเพียงแค่สอบได้ เหล่านี้ล้วนเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ บางคนขอจบแบบมีเกียรตินิยมควบคู่มาด้วย นี่เองที่เป็นเป้าหมาย สิ่งนี้หรือคือคุณค่าของการศึกษา

เมื่อร่ำเรียนจบมาแล้ว เราอาจจะได้พบว่า เพื่อนเราที่ต้องออกจากการศึกษากระทันหัน (retired) ก็ล้วนเรียนอยู่กับเรา แล้วเขานำเอาวิชาความรู้ไปใช้ได้บ้างไหม มีจุดหมายอื่นหรือเปล่าที่เขาได้ทำแม้ว่าเขาอาจจะเรียนไม่จบได้ปริญญา หรือไปเรียนจบที่อื่นที่อาจจะมีศักดิ์ศรีน้อยกว่า จบช้ากว่า

เพื่อนๆ ฉันหลายคนที่ต้องออกจากการศึกษากลางคัน จำนวนหนึ่งไปเรียนต่อที่สถาบันอื่น อีกจำนวนหนึ่งกลับไปทำงาน หรือทำในสิ่งที่เขาสนใจ  เช่น ‘เม’ เพื่อนคนหนึ่งที่เคยรีไทร์ไปขายเสื้อผ้าอยู่บริเวณมหาวิทยาลัยที่เราเรียนด้วยกัน เขาเล่าให้ฟังว่า ความผิดพลาดที่ผ่านมา ทำให้เขาสู้กับการเรียนครั้งใหม่ในมหาวิทยาลัยเปิด เขาเรียนจบช้ากว่าเราเพียงปีเดียว และเขาก็มาทำงานไม่ต่างจากเรา ... เรื่องราวของเมบอกฉันว่า คนเราเรียนรู้จากความผิดพลาดได้

ไม่ได้ผิดอะไรที่คนเราจะหกล้ม หรือล้มทั้งยืน หากเรายังมีลมหายใจ เราเรียนรู้มันได้ แม้จะต้องผ่านความเจ็บปวดบ้างก็ตาม

เราถูกสอนและให้คุณค่าจากผู้อื่น คนอื่น ในด้านการศึกษาว่าต้องประสบความสำเร็จในชีวิต ด้วยการเรียนจบ ทำงานที่เงินเดือนสูงๆ มีบ้านหลังโต มีรถแพงขับ ซึ่งไปผูกติดกับการบริโภคทั้งสิ้น คุณค่าของการศึกษาในท้ายที่สุดไปจบที่การตีค่าเป็นราคา ค่าเงิน

ไม่ใช่ว่าเงินไม่สำคัญ หรือเป็นเป้าหมายสูงสุดสำหรับ “ความสำเร็จ” แต่คุณภาพอีกหลายอย่าง เช่น สุขภาพ ความสุข การมีชีวิตที่ไม่ทำร้ายตนเอง ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน เหล่านี้ไม่ได้ถูกวัดออกมาเป็นคุณค่าเลย อีกอย่างหนึ่งคนสมัยเราอาจจะให้คุณค่าของเงินเกินกว่าที่มันเป็น คือให้เงินตีค่าเสียหมด แต่ความสุขที่จะได้ทำงาน สุขภาพที่ดีจนกว่าจะหมดอายุขัย กลับถูกมองข้าม ละเลย

ช่วงที่พระพุทธองค์ทรงพากเพียรเพื่อเรียนรู้ทางธรรมหรือหนทางแห่งการปล่อยวางอย่างที่สุด เราขอใช้คำนี้ เพราะสำหรับเราแล้ว พระพุทธองค์ทรงเรียนรู้ด้วยพระองค์เองและให้ความสำคัญทุกขณะหายใจ หลับ เดิน นั่งหรือนอน ทรงปล่อยวางจากความวิตก กังวล ความไม่สบายใจใดๆ ทั้งปวง ที่คนสมัยเรายากที่จะเรียนรู้

คนในสมัยเรา เรียนรู้เพื่อจะให้ถึงเป้าหมาย โดยละทิ้งระหว่างทางสู่เป้าหมาย ซึ่งอาจมีสาระสำคัญยิ่งกว่าเสียอีก...

ระหว่างทางที่พระพุทธองค์ทรงเรียนรู้ แม้ไม่ใช่ทุกข์ของพระองค์ แต่พระพุทธองค์เห็นทุกข์ของมนุษย์ ที่มีทั้งความอยากต่อเงินทอง อยากต่อสิ่งของของคนอื่น อยากในสิ่งที่มากเกินความต้องการ ซึ่งก่อให้เกิดความเบียดเบียนต่อผู้อื่น เบียดเบียนเพื่อมาเป็นสิ่งของๆ เรา นำมาครอบครอง ท่านครุ่นคิดถึงการละวางความอยากเหล่านั้น ไม่ใช่ว่าจะละวางได้ทันที แต่เป็นการลด ค่อยๆ ลด ในขณะเดียวกันก็เรียนรู้จิตใจของตนไปด้วย

การปฏิบัติธรรม ไม่ใช่เพียงแค่นั่งหลับตาแล้วตามลมหายใจ เดิน นั่ง และนอนอย่างมีสติเท่านั้น ต้องรวมการเรียนรู้ที่จะมีปัญญาในด้านอื่นๆ โดยเฉพาะการลดที่จะยึด ลดที่จะติด กับสิ่งใดๆ โดยเฉพาะตัวเราเอง ยึดกับความสำเร็จ ยึดที่จะต้องเป็นสิ่งนั้นๆ ไปด้วย สิ่งที่สำคัญสำหรับการเรียนรู้ก็คือคนรอบข้าง ทั้งเพื่อน ญาติ พี่ น้อง พ่อ แม่ เพื่อนร่วมงานที่สนับสนุนเรา และให้ข้อคิดที่ดีกับเราได้ เช่นเดียวกับการอยู่รวมกันของสงฆ์ หรือ สังฆะ ที่แปลว่าการรวมกัน “ความเป็นชุมชน” ที่ไม่ยึดกับพื้นที่ว่าต้องเป็นวัดนี้ บ้านนั้น อาศรมที่นี่เท่านั้นที่เราจะรวมกันได้ หากหมายถึงการรวมกันเพื่อเรียนรู้สู่ทางที่จะไปด้วยกัน

ทางธรรม ไม่ใช่เพียงต้องไปถึงวัดป่าสุคะโต แต่วัดป่าสุคะโตเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้เราเดินไปสู่ทางธรรมทางหนึ่ง ... ระหว่างทาง และยังไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่ สำเร็จอย่างไร คือสิ่งที่ต้องเรียนรู้อีกมาก

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ชีวิตนี้แสนสั้นและใจก็เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เช้าสายบ่ายค่ำจิตใจไม่เหมือนเดิม กายก็มีทั้งสุขและทุกข์แปรปรวนไปตามธรรมดา ชีวิตแต่ละวันจึงแสนจะสั้นและดูแล้วไม่เที่ยงเอาเสียเลย จนบางครั้งรู้สึกกลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรก่อนที่ลมหายใจจะหมดไป จึงต้องใคร่ครวญคิดคำนึงอยู่เสมอๆ ว่าตั้งแต่เกิดมามีอะไรที่ตัวเองยังไม่ได้ทำบ้าง และก็ควรจะใช้เวลาที่เหลืออยู่ของชีวิตนี้เพื่อลงมือทำสิ่งนั้นอย่างจริงจังไม่ใช่แค่คิดและปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ
พันธกุมภา
เร็วๆ นี้ผมและญาติธรรมกำลังร่วมกันดำเนินการจัดพิมพ์ธรรมใจไดอารี่ ฉบับธรรมทาน ซึ่งพี่ๆ ญาติธรรม ทุกๆ คน ที่ได้มาพบเจอ รู้จัก สนทนาธรรมกัน ได้ช่วยเหลือ เกื้อกูล ให้คำปรึกษา แนะนำต่างๆ มากมาย และเมื่อมีผู้เสนอให้ทำ ธรรมใจไดอารี่ขึ้น
พันธกุมภา
สำหรับผมกับแฟน เราทั้งสองคบกันด้วยเหตุแห่งความศรัทธาที่มีต่อกัน ในวันที่เราเจอกันครั้งแรก แม้ไม่ได้รู้สึกอยากจะได้มาครอบครองแต่ด้วยความที่เธอเป็นวัยรุ่นคนหนึ่งที่สนใจในทางธรรม ทั้งการถือศีล และการปฏิบัติ ทำให้เราทั้งสองได้สนทนาและแบ่งปันการภาวนาของกันและกันและก็ได้คุยกันเรื่อยมา
พันธกุมภา
วันธรรมดาวันหนึ่ง ชีวิตประจำวันก็ผ่านไปด้วยเหตุปัจจัยเหมือนเดิม มีประชุม ทำค่าย อบรม เดินทางจัดกิจกรรมตามจังหวัดต่างๆ ได้เจอผู้คนมากหน้าหลายตา มีโอกาสได้สนทนากันตามเรื่องราวที่แตกต่างกันไป แต่ข้างในใจกลับเต็มไปด้วยความเฉื่อยชา เบื่อหน่าย ไม่ค่อยมีความสุขเท่าใดนัก
พันธกุมภา
การได้สังเกตจิตใจของตัวเองตามความเป็นจริงตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา พบว่าจิตใจนี้มีธรรมชาติแปรเปลี่ยนไปมาตามเหตุปัจจัยเงื่อนไขชีวิต แล้วยังมีปกติไหลลงสู่ที่ต่ำ ไปสู่ความอยากได้ อยากดี อยากมี อยากเป็น ความโกรธ ขุ่นเคือง หงุดหงิด ความไม่รู้เนื้อรู้ตัว ขาดสติ เผลอหลงใหลไปกับโลกของความคิดและสิ่งภายนอกใจ
พันธกุมภา
คำอวยพรจากเพื่อนๆ พี่น้อง หลายๆ คน ส่งมายังผมหลายฉบับ ทำให้เกิดความปีติยินดี ที่ได้รับคำอวยพรอย่างยิ่ง และผมก็ได้ตอบกลับไปยังเพื่อนๆ พี่น้อง ทั้งที่ส่งมาและไม่ได้ส่งมา อีกหลายๆ คน การให้พรจึงเสมือนเป็นการให้กำลังใจและบอกให้กันและกันรู้ว่ายังคงระลึกถึงกันอยู่เสมอ
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่การเจริญสติของใครหลายคนติดอยู่กับอารมณ์คือหลงไปแช่อยู่กับอารมณ์นานจึงทำให้เกิดการเผลอยึดมั่นในอารมณ์นั้น กลายเป็นติดหลุม เผลอลงไปแช่ จะรู้สึกมัวๆ หรือเผลอไปแทรกแซง จนยากยิ่งนักที่จะรู้สึกตัวทัน ทั้งนี้ครูบาอาจารย์ท่านแนะไว้ว่าอาจเป็นเพราะจิตยังไม่ถึงฐานหรือจิตยังไม่ตั้งมั่น
พันธกุมภา
  ในการภาวนาบ่อยครั้งนักที่ผมมักจะได้ยินคนอื่นๆ มาเล่าให้ฟังทำนองว่า สถานที่นี้ไม่ดีเลย ไม่เหมาะที่จะภาวนาเลย เสียงก็ดัง คนก็เยอะ ไม่มีที่ ไม่มีทางเดินจงกรมหรือนั่งปฏิบัติเลย เพราะมองว่าการที่จะภาวนาได้นั้นจะต้องไปในสถานที่ที่มีรูปแบบ เช่น มีทางให้เดินจงกรม มีเบาะให้นั่งภาวนา เป็นต้น
พันธกุมภา
ปลายเดือนตุลาคม 2552 นี้ ผมได้มีโอกาสไปภาวนากับพี่ๆ ญาติธรรมเชียงใหม่ ที่สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ซึ่งพวกเราไปกัน 4 คน ได้แก่ พี่เอ้ พี่ยา พี่นา และผม ซึ่งผมรู้จักพี่ๆ ผ่านทางการสนทนาในอินเตอร์เน็ตและทุกๆ คนก็ภาวนาในแนวดูจิตเหมือนๆ กัน
พันธกุมภา
บ่อยครั้งที่รู้สึกตัว และอารมณ์ต่างๆ เกิดขึ้นภายในใจ มันยิ่งทำให้เห็นว่าเราสามารถตามรู้ ตามดูสภาวะต่างๆ ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ด้านบวก หรืออารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้นภายในใจ สิ่งต่างๆ เหล่านี้มีหน้าที่เหมือนกันคือ ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้
พันธกุมภา
ในแต่ละวันชีวิตคนเราก็มีเวลา 24 ชั่วโมง เหมือนกัน ไม่มีใครมีเวลามากหรือน้อยไปกว่ากัน ทว่าอยู่ที่ว่าใครจะจัดสรรเวลาให้กับตัวเองมากน้อยเพียงใด ทั้งเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว และอื่นๆ อีกมายมาย ซึ่งการจัดระดับความสำคัญของภารกิจระหว่างวันแต่ลัอย่างนื้ถือเป็นเรื่องที่ช่วยให้วันแต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณประโยชน์
พันธกุมภา
โดยปกติแล้ว ผมมักจะเป็นคนที่ไม่ชอบอยู่กับที่ เป็นคนที่ชอบเคลื่อนไหวตัวเองไปๆ มาๆ ดังนั้นการเจริญสติด้วยการรู้สึกที่กายและใจเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปมานี้ จึงเป็นการภาวนาที่ทำให้ผมถนัดและสามารถรู้สึกตัวได้บ่อยที่สุด