Skip to main content

พันธกุมภา

ถึง มีนา

อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร

ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น

ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิต

บางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้ ฉันเองหากไม่มีเพื่อนที่ปฏิบัติธรรมเหมือนกัน ก็คงจะไม่ค่อยปฏิบัติเท่าไหร่ คงจะเตร็ดเตร่ไปมา ทำบ้างไม่ทำบ้าง แต่พอเรามีเพื่อนคอยกระตุ้น ดูแล พูดคุย มันก็ทำให้เรามีกำลังใจในการกระทำ

เพื่อนจึงช่วยให้เราพยุงความกลัว เท่าทันและเอาชนะความกลัวได้
เรื่องเพื่อนทางธรรมนี่ก็สำคัญมาก

ตอนที่ฉันไปปฏิบัติที่วัดป่าสุคะโตนั้น แม้จะมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมาก แต่เรื่องการปฏิบัตินั้นฉันก็คิดว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่พี่น้องหรือคนที่สนใจจะได้เรียนรู้ด้วยตนเอง นั้นคือเป็น ภาวนามยปัญญา คือ การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงด้วยตัวของตน แม้ว่าปัญญาในมรรคองค์ที่ ๘ จะได้กล่าวถึง สุตตมยปัญญา และ จิตตมยปัญญา คือ ปัญญาจากการอ่านและฟัง และปัญหาจากการพิจารณาไตร่ตรอง แต่ปัญญาที่สำคัญสุดๆ ก็คือ “ปัญญาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง”

หลายคนที่ปฏิบัติ มักพบหนทางที่ตนคิดว่าเหมาะสมกับจริตของตัวเอง แน่นอนว่าภูมิปัญญาของแต่ละคนต่างกัน ฉันหรือเธอก็มีภูมิปัญญาต่างกัน มีความคิด มีจริตที่ต่างกัน ฉะนั้นการที่จะบอกว่าเราจะให้คนนี้ปฏิบัติแบบที่เราปฏิบัติก็คงจะไม่ได้หมายความว่ามันจะเหมาะกับเขามากน้อยเพียงใด

ฉันจำได้ว่ามีอาจารย์หลายท่านที่บอกว่าให้เราลองที่จะศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมกับจริตของเรา เช่น หากใครที่เป็นคนคิดมาก มีอารมณ์แปรปรวนไปมา โกรธง่าย กลัวง่าย อาจจะเน้นที่การ “ดูจิต” เป็นหลัก ส่วนใครที่ติดกับร่างกาย หน้าตา รูปร่าง ความสวยงาม เป็นต้น ก็อาจเน้นที่การ “ดูกาย”– ซึ่งการดูกายดูจิต ถือเป็นหนทางกว้างๆ ของสติปัฏฐานหรือการเจริญสติวิปัสสนานั่นเอง

การเรียนรู้ของแต่ละคนจำเป็นต้องเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละคน ที่จะได้พบ ได้เผชิญ ได้รู้ตามจริงที่ปรากฏ ทั้งกาย เวทนา จิต และธรรม ทั้งนี้หลังจากที่แต่ละคนปฏิบัติกับครูบาอาจารย์แล้ว เมื่อต้องกลับมาปฏิบัติเองก็เป็นความท้าทายอย่างยิ่งของคนนั้นๆ

แม้ว่าหลายคนจะบอกว่าการปฏิบัติจะปฏิบัติที่ไหนก็ได้ เราจะนั่งสมาธิที่ไหนก็ได้นั้น ฉันคิดว่าไม่ผิด แต่บางครั้งหากเราปฏิบัติ โดยที่ไม่รู้แนว ทำไปโดยไม่มีหลักที่ชัดเจนหรือทำด้วยความลังเลสงสัย เช่น บางคนนั่งสมาธิแล้วอาจเจอนิมิตต่างๆ หากใครที่รู้ก็จะเท่าทันนิมิต แต่บางคนก็อาจหลงนิมิต ไปยึดติด คิดว่าตนได้หลุดพ้นก็ว่าได้ หรือบางคนอาจจะทำไปแบบช้างตาบอด คือสักแต่ทำแต่ไม่รู้ว่าทำแล้วจะเป็นอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้นตามมาบ้าง ดังนั้น การที่เราไปแสวงหาความรู้จากผู้รู้ จากอาจารย์ต่างๆ นั้น ก็น่าจะเป็นส่วนช่วยตัวเราได้ดีไม่น้อย ที่จะทำให้เราเห็นหนทาง เห็นวิธีการและแนวปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้เมื่อเราไปปฏิบัติในวัด หรือสถานปฏิบัติธรรม แน่นอนว่า สภาพแวดล้อมในพื้นที่ต่างๆ นั้น ย่อมเหมาะสมแก่การปฏิบัติ คือเงียบ และสงบ หรือ “สัปปายะ” ต่อเรานั้นเอง หรือแม้แต่บางครั้งก็มีกระแสกิเลส ที่ไม่มากและเอื้อต่อการปฏิบัติของเรากว่าที่บ้านหรือที่หอพักหรือที่ทำงาน

เพื่อนที่ปฏิบัติเหมือนกัน ปฏิบัติแนวเดียวกันนี้เองจะช่วยให้เรามีคนที่คอยเกื้อกูลกันและแนะนำ ตลอดจนสอบถามแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอารมณ์ของเราได้เป็นอย่างดี – ฉันเชื่อว่าการที่ปฏิบัติแล้วมีเพื่อนๆ พี่น้องทางธรรมมาช่วยแนะนำและชี้แนะ จะทำให้เรารู้ความก้าวหน้าของตน และมีเพื่อนที่คอยให้กำลังใจ เป็นแรงกระตุ้นให้เราปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง

ต่อเนื่องในระดับชีวิตประจำวันของเรา คือให้การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน คือการทำชีวิตให้เป็นปกติธรรมดา “ธรรมะ”  คือ ธรรมดาของชีวิต คือ ธรรมชาติ และคือความเป็นสากล ความทุกข์ไม่ได้แบ่งแยก ศาสนา ความเชื่อ อายุ เพศ อาชีพ  ความทุกข์คือสิ่งปรากฏอยู่ทั่วไป คือสากล ฉะนั้น ธรรมะที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ นั้นก็คือหลักสากล ที่ไม่ได้หมายถึงคนที่เป็นพุทธศาสนิกชนเท่านั้น คนที่นับถือศาสนาอื่นๆ ก็สามารถเข้าถึงหนทางแห่งการพ้นทุกข์นี้ได้โดยไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นต้องนับถือศาสนาพุทธ หากแต่คนๆ ได้พบกับหนทางสายกลางแห่งการดำเนินชีวิตให้เท่าทันทุกข์ และพบสุขอย่างแท้จริง

การปฏิบัติในชีวิตประจำวันของฉัน คือ เช้า ค่ำ นั่งวิปัสสนา ครั้งละ ๓๐ – ๖๐ นาที แล้ว เวลาที่เหลือ ที่ต้องทำงานคือกำหนดตามดูลมหายใจ เป็นหลัก และ เวลากลางวัน ก็เดินจงกรม เวลาทำงาน นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ พิมพ์งาน อ่านหนังสือ ขับรถ กระพริบตา เคี้ยวอาหาร กลืนน้ำลาย ก็ตามรู้กายที่รู้สึก คือเมื่อรู้สึกที่ไหนของกายก็รู้ สักแต่เพียงรู้ รู้แล้วไม่ปรุงแต่ง วางใจเป็นกลาง มีอุเบกขา และมีสติเท่าทันความคิด ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ ไม่คิดว่าชอบหรือไม่ชอบ เพราะหากชอบเราก็จะมีความโลภเกิดขึ้น ถ้าไม่ชอบเราก็จะมีความโกรธ ยิ่งเป็นการเพาะเชื้อกิเลสขึ้นไปอีก ดังนั้น จึงดู สักแต่รู้ อย่างเดียว

ทั้งนี้ คนที่ปฏิบัติวิปัสสนา ไม่ได้เป็นคนที่พิเศษไปกว่าคนอื่น หรือต้องมีอะไรที่วิเศษแตกต่างจากคนอื่นๆ หรือทำตัวสุดโต่ง ปรามาสคนอื่นว่า คุณไม่ปฏิบัติธรรมคุณดีไม่เท่าฉันหรอก หรือ ยึดติดกับตัวตนของตนเพิ่มขึ้น คนที่คิดเช่นนี้ไม่ใช่นักวิปัสสนา หรือนักปฏิบัติธรรมที่ดี เพราะยิ่งสร้างอุปาทานเกิดขึ้น สร้างความยึดมั่นถือมั่นเพิ่มขึ้น ทางตรงกันข้าม นักวิปัสสนาทั้งหลายควรจะมีเมตตา กรุณา ต่อผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงธรรมะ เพราะเขาอาจจะยังไม่ถึงเวลาธรรมะจัดสรรก็ได้ ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยได้คือการแผ่เมตตา แบ่งปันความสุข สงบ ที่ได้รับจากการปฏิบัติให้แก่คนที่ยังเข้าไม่ถึงธรรม เพื่อให้เขาได้พบกับธรรมอันประเสริฐเช่นตัวเรา

ธรรมะของนักพัฒนา

นักพัฒนาหลายท่านที่ฉันรู้จัก ตอนนี้หลายคนก็เริ่มจะเข้าหาธรรมะ เข้าหาการปฏิบัติทางสำนักปฏิบัติ หรือวัดสายต่างๆ ฉันมักได้ยินเรื่องราวของพี่ๆ ที่รู้จักและนำมาเล่าสู่กันฟัง บางคนก็จับกลุ่มเจอกันและคุยกันในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ หรือบางคนก็นัดกันไปปฏิบัติธรรมร่วมกัน

นักพัฒนาที่ได้ออกเดินทางด้านภายในเริ่มมีมากขึ้น การแสวงหาทางจิตวิญญาณมีให้เราได้เห็น เช่น หลายเวทีที่มีการจัด มักจะมีเรื่องเหล่านี้ผนวกรวมเข้าไปอยู่ด้วย

แม้ว่าจะมีหลายคนมองว่านักพัฒนาที่ปฏิบัติธรรมนั้นเป็นพวกที่เห็นแก่ตัว และแสวงหาความสุขของตน จนบางครั้งลืมความทุกข์ของชาวบ้านหรือคนอื่นๆ นั้น ฉันกลับมองว่านี่เป็นการมองของคนที่ยังไม่เข้าใจ และอาจจะยังไม่ชัดเจนกับสิ่งที่ผู้ปฏิบัติคนนั้นเป็นอยู่ เพราะ บางคนที่ปฏิบัติก็ปฏิบัติจนไม่คิดถึงคนรอบข้าง พูดยกตนข่มท่าน หรือ ทำตัวแปลกแยกแตกต่างอย่างสุดโต่ง

เรื่องต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นกับฉัน ที่เปลี่ยนไปหลังจากปฏิบัติวิปัสสนาครั้งแรกเมื่อสองปีก่อน เพื่อนพี่ๆ ที่รู้จักกันหลายคน มองว่าเป็นจริตศรัทธา คือมองว่าเป็นค่านิยมชั่วครู่ หรือเป็นความฮิตชั่วคราว บางคนถึงกับบอกว่าฉันเปลี่ยนไป พูดไม่รู้เรื่อง และทำตัวไม่ค่อยคุ้นเคย

ฉันบอกเสมอว่าไม่ผิดที่ฉันจะเปลี่ยน – และไม่ผิดที่คนๆ หนึ่งจะเปลี่ยนเมื่อได้พบกับธรรมะ อันที่จริงคนเราเปลี่ยนแปลงทุกๆ วัน ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ ไม่ว่าจะเหนื่อยหรือมีพลัง ไม่ว่าจะกลัวหรือเข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพวกเราทุกๆ วัน และทุกๆ ลมหายใจ....

เธอว่าอย่างนั้นไหม มีนา......

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
ผมคิดไว้มานานหลายเดือนแล้วว่า จะตั้งใจเขียน "บันทึกการเจริญสติ" ของตัวเองขึ้นมาเพราะคิดว่าคงจะดี ถ้าได้บันทึกไว้ เพื่อการเรียนรู้ของตัวเอง และคนอื่นๆ ที่สนใจ ก่อนที่จะบันทึกในกาลต่อไป ขอเล่าเรื่องการภาวนาของตัวเองก่อน....สำหรับผมแล้ว เริ่มต้นของการปฏิบัติคือเมื่อปลายปี 2549 ก็เกิดจากทุกข์ทางใจ เพราะงานเยอะ เครียด และตอนนั้นแฟนจะขอเลิก เขาเลยเสนอว่าให้ไปปฏิบัติธรรมเพื่อทำใจ จึงได้สมัครไปปฏิบัติของท่าน โกเอ็นก้า ที่ ธรรมอาภา จ.พิษณุโลก พอไปทำมา 10 วัน ก็ดีใจ ที่ทุกข์ครั้งนี้ทำให้ได้พบกับธรรมะ
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา ปลายปี 2551 นี้ ผมมีโปรแกรมไปเจริญสติที่วัดป่าสุคะโตอีกครั้ง ภายหลังจากเมื่อสิ้นปี 2550 ที่ผ่านมาผมได้เดินทางไปที่วัดป่าสุคะโตแล้วและได้พบหลัก พบหนทาง หลายอย่างที่เหมาะสมกับตัวเองยิ่งนัก แต่การเดินทางไปครั้งนี้ไม่เหมือนปีก่อน....มีหลายเรื่องเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลง ไปตามกาลเวลา สิ่งที่เข้ามารับรู้ทำให้อารมณ์ของผมเกิดขึ้นไปต่างๆ นานา และสิ่งที่เสียใจที่สุด ทำให้ใจหม่นหมองมาหลายวัน นั่นคือการมรณภาพของ "หลวงปู่" เมื่อหลายสัปดาห์ก่อน
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา เมื่อฉบับที่แล้ว ผมได้กล่าวถึงโครงการ “ธรรมทานสู่โรงพยาบาล” ที่ผมและลูกปัดไข่มุก ร่วมกันทำในนามกลุ่ม “ธรรมะทำดี” – กลุ่มที่เราสองคนร่วมกันคิด ร่วมกันก่อร่างสร้างตัวขึ้นมา เพื่อการเผยแพร่ธรรมะที่เราได้พบและเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ ทั้งวัยรุ่นและผู้ใหญ่ ที่ผ่านมา พวกเราสองคนต้องขอบคุณพี่ๆ หลายๆ ท่านที่ได้ส่งหนังสือมาให้นะครับ ตอนนี้มีคนที่มอบหนังสือมาหลายเล่ม ทั้งนิตยสาร และหนังสือธรรมะ และก็มีบางส่วนที่เราไปหาซื้อแถวจตุจักร จากเงินเก็บของเราที่มีอยู่
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง พี่มีนา  ผมหายจากหน้าจอไปนานเพราะมีงานให้ทำ จนฟกช้ำจิตใจไปทั่วเลย ไม่ค่อยมีเวลาได้พัก เพราะงานที่ผมรัก ทำให้ผมต้องใช้กำลังกายและความคิดมากเหลือล้น ผมจึงเป็นดั่งคนที่นำเอาพลังชีวิตในอนาคตมาใช้ ซึ่งตอนนี้ไม่รู้ว่าจะพอมีเรี่ยวแรงเหลือใช้หรือไม่ในกาลต่อไป เฮ้อ...แต่ที่จะเล่าให้พี่ฟังครานี้ก็คือ ช่วงที่ผ่านมาผมและ “ลูกปัดไข่มุก” ได้ไปจัดห้องสนทนาธรรมชื่อห้องว่า “ห้องธรรมตามใจ” เนื่องในงานเพศศึกษาวิชาการขององค์การแพธ แล้วมีเรื่องที่น่าสนใจมากมาย ทว่าในฉบับนี้อยากเอาคำคมชวนคิดที่ “ลูกปัดไข่มุก” และผมได้ช่วยกันคิดและเขียนขึ้นมาบอกเล่าต่อ ดังนี้ครับ 1.…
พันธกุมภา
มีนา ถึง...น้อง พันธกุมภา ความขี้เกียจมันไม่เข้าใคร ออกใครจริงๆ ... แต่ตอนนี้ต้องเริ่มลุกขึ้นมาทำงานแล้ว เพราะคนที่อดทนไม่ได้เมื่อเราไม่ทำงานก็คือ “แม่” ของเราเอง แม่ของพี่ เป็นภาพสะท้อนของคนจีนในเมืองไทย รุ่นที่ 2 ที่ยังคง ลำบาก ทำงานหนัก และถือปรัชญาพุทธ “ขงจื๊อ” ในเรื่องการทำงานว่าต้องมี ความซื่อสัตย์ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ความขยัน อดทน และอดออม แม่มีทุกอย่างจริงๆ แต่พี่อาจจะไม่มีทุกอย่าง อย่างที่แม่มี เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตที่เรามีความเหมือนและความต่าง แม้เราจะเติบโตมาท่ามกลางครอบครัวที่สอนให้เราเป็นคนค้าขาย เราอาจจะไม่ได้อยากค้าขาย ครอบครัวสอนให้เราทำงานหนัก…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภาช่วงนี้เป็นเวลาพักของพี่ ช่างเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากๆ ในความรู้สึก... แต่พี่อดคิดถึงน้องไม่ได้... แล้ววันหนึ่ง... โดยที่ไม่คาดคิด เราก็มาพบกันโดยที่มิได้คาดหมายหรือนัดกันไว้ก่อน พี่อดคิดไม่ได้ว่า ชีวิตคนเราช่างแปลกจริงๆ เราก็มาพบกันจนได้ เพราะความไม่สบายของพี่ชายเพื่อนของเรา ส่วนตัวพี่ไปบ้านนั้นเพราะต้องการไปดูแลตัวเองนอกจากได้ไปดูแลตัวเองและพบกับน้องแล้ว พี่ยังได้พบกับเพื่อนอีกหลายคน ที่ไม่ได้พบกันนานที่นั่น ใครหลายคนบอกว่า โลกมันช่างแคบ ถ้าเรารู้จักคนนี้ เราก็จะรู้จักคนนั้น แต่อาจจะไม่ใช่ในช่วงเวลาเดียวกันเท่านั้นเองการพักผ่อนของพี่ ก็คงเหมือนกับคนทั่วๆ…
พันธกุมภา
มีนา ถึง...พันธกุมภา ตั้งแต่ตกงาน พี่ยังไม่ได้หยุดงานเลย พี่พบว่าโลกปัจจุบันมีงานอยู่หลายประเภท ขึ้นอยู่กับว่าใครจะนิยามมันว่าเป็นงานอย่างไร สำหรับชีวิตพี่ตอนนี้ มีงานแบบที่ถูกให้คุณค่าทั้งในเชิงเศรษฐกิจและสังคม และงานที่ไม่ได้ถูกให้ค่าเชิงเศรษฐกิจแต่จำเป็นต้องทำ อันนี้ยังไม่ได้นับรวมเรื่องทางธรรมที่พี่ไปพบมา คืองานที่ทำแล้วไม่มีคุณค่าทางโลกแต่ได้ “บุญ” คิดดูสิว่า... ในโลกเรามีงานมากมายขนาดไหน งานที่พี่ลาออกมาเพื่อขอพัก พี่ยังไม่ได้พักเลยจนกระทั่งบัดนี้ เพราะพี่ทำแต่งานที่ไม่ให้ค่าทางเศรษฐกิจ อย่าง การดูแลแม่ งานบ้าน และการดูแลบ้าน และยังงานอื่นๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับครอบครัว…
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา ผมขอแสดงความดีกับพี่สาวของผมด้วยนะครับ ที่มีโอกาสได้พักผ่อน แม้ว่าหลายคนจะบอกว่าการที่เราตกงานนั้นเปรียบเสมือนการพายเรือในมหาสมุทรที่กว้างใหญ่เคว้งคว้างไม่รู้ว่าจะมีหนทางในงานใหม่อย่างไรได้อีก ผมทราบดีว่าพี่คงจะเหนื่อยจากการทำงานมิน้อยเลย และเชื่อว่าการได้รับมอบหมายงานเยอะคงไม่ใช่สาเหตุของการออกจากงานหรอกใช่ไหมครับ ผมรู้ว่าจดหมายหลายฉบับที่พี่ได้เขียนมาบอกเล่านั้นมันสะท้อนให้เห็นถึงการต่อสู้กับวิถีชีวิตความเป็นคนในเมืองหลวง และรวมถึงการต้องสัมพันธ์กับคนมากหน้าหลายตา ที่มีตัวตนแตกต่างกันไป การที่เราทำงานที่เรารัก…
พันธกุมภา
มีนา  ถึง พันธกุมภา พี่กำลังจะเป็นคนตกงานค่ะ... ฉันกำลังจะเป็นคนตกงานค่ะ เดือนสิงหาคมนี้เป็นเดือนสุดท้ายสำหรับการทำงานอย่างเป็นทางการของฉัน ญาติพี่น้อง... เจ้านาย... เพื่อนร่วมงาน... เพื่อน... ต่างเป็นห่วงเป็นใยกลัวว่าพี่จะว่าง กลัวว่าฉันจะไม่มีงานทำ ไม่มีเงินใช้ ตอนที่ฉันทำงาน พวกเขาต่างให้ความห่วง ความกังวล ว่าฉันทำงานหนักเกินไป  คนและสังคมสมัยนี้ให้คุณค่ากับการทำงานมากกว่าคุณค่าของความว่างงาน พี่เคยมีประสบการณ์การตกงานมาก่อนหน้านี้แล้ว ครั้งนั้นพี่ยังไม่สามารถปล่อยวางเรื่องการว่างงานได้ แต่ครั้งนี้ พี่พยายามปล่อยวางเรื่องการงานในปัจจุบันเพื่อพบกับความว่าง …
พันธกุมภา
  พันธกุมภาถึง มีนาเมื่อฉบับที่แล้วพี่มีนาได้กล่าวถึงเรื่องการ "ปล่อยวาง" ซึ่งผมมองว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของการปฏิบัติธรรม เพราะหาไม่แล้วเราก็เป็นเพียงแค่ผู้เผชิญกับความสุขที่จิตใจเกิดขึ้นโดยที่หลงยึดติดอย่างไม่ทันรู้ตัวทั่วถ้วนสิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำในที่นี้ก็คือ เรื่องการปล่อยวาง หรือ การวางเฉย ซึ่งคล้ายกับภาษาธรรมที่เรียกว่า "อุเบกขา" นี้ ถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิบัติธรรมอย่างยิ่ง เพราะอย่างที่เราได้รู้กันมานั้นก็คือ ในการปฏิบัติธรรมนั้น ถือว่ามีด้วยกัน 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ การทำสมถะ และการทำวิปัสสนา เท่าที่รู้, การทำสมถะ คือ การทำให้จิตสงบ ทำให้จิตนิ่ง…
พันธกุมภา
มีนา สวัสดี พันธกุมภา รู้ว่าน้องสบายดี พี่ก็ยินดีไปด้วย การดำรงชีวิตอย่างมีสติไม่ใช่เรื่องง่าย พี่ก็ว่างบ้างไม่ว่างบ้าง เพียงแต่ช่วงเวลาที่น้องไม่ว่าง บังเอิญพี่ว่าง ซึ่งเป็นเรื่องดีที่เราจะมีจังหวะชีวิตที่แตกต่างกัน และทำให้การเขียนงานลงตัว พี่ยังคิดอยู่ว่า ถ้าไม่ว่างขึ้นมาพร้อมๆ กัน คงมีปัญหาแน่ๆ สำหรับพี่ ความแตกต่างจึงน่าสนใจ เช่นเดียวกับฤดูที่แตกต่าง ชีวิตที่ขึ้นๆ ลงๆ ช่วงสัปดาห์ที่น้องกำลังมีความสุขอยู่นั้น ชีวิตของพี่เหน็ดเหนื่อยและผจญกับความทุกข์ของคนอื่น แล้วยึดมาเป็นความทุกข์ของตนเอง ... บางทีพี่ก็คิดว่า ทำไมเราจึงเป็นคนอย่างนั้นไปได้ และทุกวันนี้ก็ยังเป็นอยู่…
พันธกุมภา
พันธกุมภา ถึง มีนา สวัสดีครับพี่มีนา เป็นอะไรไปถึงไหนอย่างไรบ้างครับ หวังว่าพี่จะสบายดีมีสติในทุกๆ ความสนุกนะครับ อืม...จะว่าไปแล้วเราก็ไม่ได้ตอบรับจดหมายกันนานทีเดียว บางทีพี่ก็ว่างมากมายจนผมรู้สึกอิจฉาตาร้อน และผมเองบางทีก็ว่างนิดหน่อย พอมีเวลามานั่งขีดเขียน เวียนวนให้พี่ได้ยลได้ติดตามอยู่เนืองๆ ช่วงที่ผ่านมาวันเข้าพรรษา ผมพาตัวเองไปเข้าวัดมาครับ แถวๆ เกาะสีชัง ได้ไปกับคนที่รักและใช้ชีวิต “ดูจิต” สนทนาธรรมและดื่มด่ำบรรยากาศอบอุ่นจากไอทะเล ทำกับข้าวกินกันริมชายฝั่ง นั่งนับดาวยามราตรี มีเวลาก็ขี่มอเตอร์ไซค์เที่ยวรอบเกาะ หาซื้อเงาะ ซื้อทุเรียนมานั่งกิน รินน้ำเปล่าชนกัน…