Skip to main content

พันธกุมภา

ถึง มีนา

อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร

ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น

ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิต

บางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้ ฉันเองหากไม่มีเพื่อนที่ปฏิบัติธรรมเหมือนกัน ก็คงจะไม่ค่อยปฏิบัติเท่าไหร่ คงจะเตร็ดเตร่ไปมา ทำบ้างไม่ทำบ้าง แต่พอเรามีเพื่อนคอยกระตุ้น ดูแล พูดคุย มันก็ทำให้เรามีกำลังใจในการกระทำ

เพื่อนจึงช่วยให้เราพยุงความกลัว เท่าทันและเอาชนะความกลัวได้
เรื่องเพื่อนทางธรรมนี่ก็สำคัญมาก

ตอนที่ฉันไปปฏิบัติที่วัดป่าสุคะโตนั้น แม้จะมีเรื่องราวที่น่าสนใจอีกมาก แต่เรื่องการปฏิบัตินั้นฉันก็คิดว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่พี่น้องหรือคนที่สนใจจะได้เรียนรู้ด้วยตนเอง นั้นคือเป็น ภาวนามยปัญญา คือ การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติจริงด้วยตัวของตน แม้ว่าปัญญาในมรรคองค์ที่ ๘ จะได้กล่าวถึง สุตตมยปัญญา และ จิตตมยปัญญา คือ ปัญญาจากการอ่านและฟัง และปัญหาจากการพิจารณาไตร่ตรอง แต่ปัญญาที่สำคัญสุดๆ ก็คือ “ปัญญาจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง”

หลายคนที่ปฏิบัติ มักพบหนทางที่ตนคิดว่าเหมาะสมกับจริตของตัวเอง แน่นอนว่าภูมิปัญญาของแต่ละคนต่างกัน ฉันหรือเธอก็มีภูมิปัญญาต่างกัน มีความคิด มีจริตที่ต่างกัน ฉะนั้นการที่จะบอกว่าเราจะให้คนนี้ปฏิบัติแบบที่เราปฏิบัติก็คงจะไม่ได้หมายความว่ามันจะเหมาะกับเขามากน้อยเพียงใด

ฉันจำได้ว่ามีอาจารย์หลายท่านที่บอกว่าให้เราลองที่จะศึกษาหาแนวทางที่เหมาะสมกับจริตของเรา เช่น หากใครที่เป็นคนคิดมาก มีอารมณ์แปรปรวนไปมา โกรธง่าย กลัวง่าย อาจจะเน้นที่การ “ดูจิต” เป็นหลัก ส่วนใครที่ติดกับร่างกาย หน้าตา รูปร่าง ความสวยงาม เป็นต้น ก็อาจเน้นที่การ “ดูกาย”– ซึ่งการดูกายดูจิต ถือเป็นหนทางกว้างๆ ของสติปัฏฐานหรือการเจริญสติวิปัสสนานั่นเอง

การเรียนรู้ของแต่ละคนจำเป็นต้องเกิดจากประสบการณ์ของแต่ละคน ที่จะได้พบ ได้เผชิญ ได้รู้ตามจริงที่ปรากฏ ทั้งกาย เวทนา จิต และธรรม ทั้งนี้หลังจากที่แต่ละคนปฏิบัติกับครูบาอาจารย์แล้ว เมื่อต้องกลับมาปฏิบัติเองก็เป็นความท้าทายอย่างยิ่งของคนนั้นๆ

แม้ว่าหลายคนจะบอกว่าการปฏิบัติจะปฏิบัติที่ไหนก็ได้ เราจะนั่งสมาธิที่ไหนก็ได้นั้น ฉันคิดว่าไม่ผิด แต่บางครั้งหากเราปฏิบัติ โดยที่ไม่รู้แนว ทำไปโดยไม่มีหลักที่ชัดเจนหรือทำด้วยความลังเลสงสัย เช่น บางคนนั่งสมาธิแล้วอาจเจอนิมิตต่างๆ หากใครที่รู้ก็จะเท่าทันนิมิต แต่บางคนก็อาจหลงนิมิต ไปยึดติด คิดว่าตนได้หลุดพ้นก็ว่าได้ หรือบางคนอาจจะทำไปแบบช้างตาบอด คือสักแต่ทำแต่ไม่รู้ว่าทำแล้วจะเป็นอย่างไร จะเกิดอะไรขึ้นตามมาบ้าง ดังนั้น การที่เราไปแสวงหาความรู้จากผู้รู้ จากอาจารย์ต่างๆ นั้น ก็น่าจะเป็นส่วนช่วยตัวเราได้ดีไม่น้อย ที่จะทำให้เราเห็นหนทาง เห็นวิธีการและแนวปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

ทั้งนี้เมื่อเราไปปฏิบัติในวัด หรือสถานปฏิบัติธรรม แน่นอนว่า สภาพแวดล้อมในพื้นที่ต่างๆ นั้น ย่อมเหมาะสมแก่การปฏิบัติ คือเงียบ และสงบ หรือ “สัปปายะ” ต่อเรานั้นเอง หรือแม้แต่บางครั้งก็มีกระแสกิเลส ที่ไม่มากและเอื้อต่อการปฏิบัติของเรากว่าที่บ้านหรือที่หอพักหรือที่ทำงาน

เพื่อนที่ปฏิบัติเหมือนกัน ปฏิบัติแนวเดียวกันนี้เองจะช่วยให้เรามีคนที่คอยเกื้อกูลกันและแนะนำ ตลอดจนสอบถามแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับอารมณ์ของเราได้เป็นอย่างดี – ฉันเชื่อว่าการที่ปฏิบัติแล้วมีเพื่อนๆ พี่น้องทางธรรมมาช่วยแนะนำและชี้แนะ จะทำให้เรารู้ความก้าวหน้าของตน และมีเพื่อนที่คอยให้กำลังใจ เป็นแรงกระตุ้นให้เราปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่อง

ต่อเนื่องในระดับชีวิตประจำวันของเรา คือให้การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน คือการทำชีวิตให้เป็นปกติธรรมดา “ธรรมะ”  คือ ธรรมดาของชีวิต คือ ธรรมชาติ และคือความเป็นสากล ความทุกข์ไม่ได้แบ่งแยก ศาสนา ความเชื่อ อายุ เพศ อาชีพ  ความทุกข์คือสิ่งปรากฏอยู่ทั่วไป คือสากล ฉะนั้น ธรรมะที่จะทำให้เราพ้นทุกข์ นั้นก็คือหลักสากล ที่ไม่ได้หมายถึงคนที่เป็นพุทธศาสนิกชนเท่านั้น คนที่นับถือศาสนาอื่นๆ ก็สามารถเข้าถึงหนทางแห่งการพ้นทุกข์นี้ได้โดยไม่ได้หมายความว่าคนๆ นั้นต้องนับถือศาสนาพุทธ หากแต่คนๆ ได้พบกับหนทางสายกลางแห่งการดำเนินชีวิตให้เท่าทันทุกข์ และพบสุขอย่างแท้จริง

การปฏิบัติในชีวิตประจำวันของฉัน คือ เช้า ค่ำ นั่งวิปัสสนา ครั้งละ ๓๐ – ๖๐ นาที แล้ว เวลาที่เหลือ ที่ต้องทำงานคือกำหนดตามดูลมหายใจ เป็นหลัก และ เวลากลางวัน ก็เดินจงกรม เวลาทำงาน นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ พิมพ์งาน อ่านหนังสือ ขับรถ กระพริบตา เคี้ยวอาหาร กลืนน้ำลาย ก็ตามรู้กายที่รู้สึก คือเมื่อรู้สึกที่ไหนของกายก็รู้ สักแต่เพียงรู้ รู้แล้วไม่ปรุงแต่ง วางใจเป็นกลาง มีอุเบกขา และมีสติเท่าทันความคิด ความรู้สึก อารมณ์ต่างๆ ไม่คิดว่าชอบหรือไม่ชอบ เพราะหากชอบเราก็จะมีความโลภเกิดขึ้น ถ้าไม่ชอบเราก็จะมีความโกรธ ยิ่งเป็นการเพาะเชื้อกิเลสขึ้นไปอีก ดังนั้น จึงดู สักแต่รู้ อย่างเดียว

ทั้งนี้ คนที่ปฏิบัติวิปัสสนา ไม่ได้เป็นคนที่พิเศษไปกว่าคนอื่น หรือต้องมีอะไรที่วิเศษแตกต่างจากคนอื่นๆ หรือทำตัวสุดโต่ง ปรามาสคนอื่นว่า คุณไม่ปฏิบัติธรรมคุณดีไม่เท่าฉันหรอก หรือ ยึดติดกับตัวตนของตนเพิ่มขึ้น คนที่คิดเช่นนี้ไม่ใช่นักวิปัสสนา หรือนักปฏิบัติธรรมที่ดี เพราะยิ่งสร้างอุปาทานเกิดขึ้น สร้างความยึดมั่นถือมั่นเพิ่มขึ้น ทางตรงกันข้าม นักวิปัสสนาทั้งหลายควรจะมีเมตตา กรุณา ต่อผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงธรรมะ เพราะเขาอาจจะยังไม่ถึงเวลาธรรมะจัดสรรก็ได้ ดังนั้น สิ่งที่จะช่วยได้คือการแผ่เมตตา แบ่งปันความสุข สงบ ที่ได้รับจากการปฏิบัติให้แก่คนที่ยังเข้าไม่ถึงธรรม เพื่อให้เขาได้พบกับธรรมอันประเสริฐเช่นตัวเรา

ธรรมะของนักพัฒนา

นักพัฒนาหลายท่านที่ฉันรู้จัก ตอนนี้หลายคนก็เริ่มจะเข้าหาธรรมะ เข้าหาการปฏิบัติทางสำนักปฏิบัติ หรือวัดสายต่างๆ ฉันมักได้ยินเรื่องราวของพี่ๆ ที่รู้จักและนำมาเล่าสู่กันฟัง บางคนก็จับกลุ่มเจอกันและคุยกันในเรื่องต่างๆ เหล่านี้ หรือบางคนก็นัดกันไปปฏิบัติธรรมร่วมกัน

นักพัฒนาที่ได้ออกเดินทางด้านภายในเริ่มมีมากขึ้น การแสวงหาทางจิตวิญญาณมีให้เราได้เห็น เช่น หลายเวทีที่มีการจัด มักจะมีเรื่องเหล่านี้ผนวกรวมเข้าไปอยู่ด้วย

แม้ว่าจะมีหลายคนมองว่านักพัฒนาที่ปฏิบัติธรรมนั้นเป็นพวกที่เห็นแก่ตัว และแสวงหาความสุขของตน จนบางครั้งลืมความทุกข์ของชาวบ้านหรือคนอื่นๆ นั้น ฉันกลับมองว่านี่เป็นการมองของคนที่ยังไม่เข้าใจ และอาจจะยังไม่ชัดเจนกับสิ่งที่ผู้ปฏิบัติคนนั้นเป็นอยู่ เพราะ บางคนที่ปฏิบัติก็ปฏิบัติจนไม่คิดถึงคนรอบข้าง พูดยกตนข่มท่าน หรือ ทำตัวแปลกแยกแตกต่างอย่างสุดโต่ง

เรื่องต่างๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นกับฉัน ที่เปลี่ยนไปหลังจากปฏิบัติวิปัสสนาครั้งแรกเมื่อสองปีก่อน เพื่อนพี่ๆ ที่รู้จักกันหลายคน มองว่าเป็นจริตศรัทธา คือมองว่าเป็นค่านิยมชั่วครู่ หรือเป็นความฮิตชั่วคราว บางคนถึงกับบอกว่าฉันเปลี่ยนไป พูดไม่รู้เรื่อง และทำตัวไม่ค่อยคุ้นเคย

ฉันบอกเสมอว่าไม่ผิดที่ฉันจะเปลี่ยน – และไม่ผิดที่คนๆ หนึ่งจะเปลี่ยนเมื่อได้พบกับธรรมะ อันที่จริงคนเราเปลี่ยนแปลงทุกๆ วัน ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ ไม่ว่าจะดีใจหรือเสียใจ ไม่ว่าจะเหนื่อยหรือมีพลัง ไม่ว่าจะกลัวหรือเข้มแข็ง สิ่งเหล่านี้คือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพวกเราทุกๆ วัน และทุกๆ ลมหายใจ....

เธอว่าอย่างนั้นไหม มีนา......

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิตบางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้…
พันธกุมภา
มีนา
ฉันดีใจ...ที่เธอมีคนดูแลระหว่างการเดินทาง แม้ว่าเราจะเดินทางเพื่อไปปฏิบัติธรรม คนส่วนมากเขาก็มองว่าเราเติบโตมาในสังคมที่เห็นว่าการชวนดื่มเหล้า การกินอาหารร่วมกันเป็นการให้เกียรติกับผู้มาเยือน การที่เธอกล้าปฏิเสธและอธิบายความเป็นตัวเธอ นับว่าเป็นความกล้าที่จะบอกความเป็นตัวตนด้านดีของตัวเองคนจำนวนมากเกรงใจคนอื่นอย่างน่าเป็นห่วง ฉันเอง...บางครั้งยังไม่กล้าที่จะบอกถึงความเป็นตัวตน หรือความคิดจริงๆ ในเรื่องงาน หลายครั้งเป็นข้อจำกัดขององค์กร สถาบัน และเส้นแบ่งหลายๆ อย่างที่ทำให้เรา...ไม่กล้า ไม่กล้าที่จะบอกว่า เราอยากทำงานเพราะคิดถึงคนที่ลำบาก…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา....เมื่อวางแผนการเดินทางเสร็จสิ้น และพยายามที่จะเคลียร์งานทุกอย่างให้แล้วเสร็จก่อนช่วงส่งท้ายปีเก่า ฉันเดินทางออกจากบ้านที่เชียงรายในวันที่ 24 ธันวาคม 2550 เพื่อมาจัดการงานต่างๆ เอกสารที่คั่งค้างจากการทำวิจัย ช่วงการเดินทางโดยรถทัวร์จากเชียงรายมายังกรุงเทพฯ ฉันนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกลัวหลายเรื่อง กลัวรถจะชน กลัวจะมี “มาร” มาขวางไม่ให้ได้ไปปฏิบัติคำว่า “มาร” ในที่นี้ ฉันไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เท่าที่เคยสัมผัสคือ น่าจะมาเป็นลักษณะของอุปสรรค กีดกันไม่ให้เราไปปฏิบัติ อย่างเช่นบางคนพอจะไปปฏิบัติธรรม ก็ป่วยไม่สบาย หรือ ประสบอุบัติเหตุ หรือว่าคนรอบข้างเราเช่น ญาติพี่น้อง ป่วยไม่สบาย…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภา…แม้ว่าฉันจะไม่ได้ไปที่วัดป่าสุคะโตกับเธอ ฉันเห็นบรรยากาศไปพร้อมกับการเล่าสู่กันของเธอ อดไม่ได้ที่จะนึกถึง “ความกลัว” ตั้งแต่เด็ก เรามักถูกขู่ให้กลัวอยู่เสมอ เมื่อพ่อแม่เลี้ยงเรามา รัก ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เด็กเล็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นของตัวเอง เขาเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่รู้ว่า ไฟมันร้อน น้ำในบ่อมันลึกหรือตื้นเพียงไหน ปลั๊กไฟห้ามเอานิ้วแหย่เข้าไป อาจจะเดินไปไหนไกลๆ โดยพ่อแม่ไม่เห็นแล้วประสบอันตรายสิ่งที่เด็กไม่ได้ประสบกับตัวเอง เด็กไม่รู้ว่าอันตราย ไฟมันร้อน น้ำมันลึก เป็นอย่างไร พ่อแม่จึงมักดึงเอาสัญชาติญาณด้านลึกคือความกลัวออกมา การขู่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่างที่เธอได้บอกฉันนั่นแลว่า กว่าคนเราจะสามารถเอาใจมาอยู่กับกายได้นั้นต้องใช้เวลาและให้โอกาสตัวเองพอสมควร ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยคิดเลยว่าทำไมต้องเอาใจมาอยู่กับกาย หรือเอากายมาอยู่กับใจ เพราะเขาไม่มีโอกาสได้รู้ว่าควรทำอย่างไร ควรทำเมื่อไหร่บ่อยครั้งที่ “ความสุข” ทางโลก ที่เข้ามากระทบเราทั้งทาง หู ตา จมูก ลิ้น และกาย รวมถึงใจของเรานั้นทำให้เราคิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง แต่หารู้ไม่ว่าการที่รับผัสสะเหล่านั้นมาปรุงแต่งก็กลับทำให้จิตใจของเรามีแต่การสร้างกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว หลายคนที่เข้าถึงธรรมปฏิบัติ บางคนพบว่าความสุขทางโลกไม่ใช่ทางออกหรือคำตอบของชีวิต…
พันธกุมภา
มีนา    ถึง พันธกุมภา ฉันต้องขอบคุณ พันธกุมภา ที่เชื้อเชิญ และพยายามดึงฉันออกมาเขียน แม้ว่าจะถูกบอกว่า "น่าจะเป็นนักเขียนได้..." แต่ฉันยังไม่...แม้แต่ลงมือทำ จะเป็นได้อย่างไร หน้านี้...และหน้าที่นี้ ต้องเป็นความต้องการของพันธกุมภา ที่จะดึงฉันออกมาจากะลาเดิมเป็นแน่ สำหรับฉันแล้ว การเดินทางไปวัดป่าสุคะโต เพื่อพบหลวงพ่อเทียนของเธอ แทบจะไม่เกี่ยวข้องอะไร หากเราไม่ใช่กัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ฉันสนับสนุนให้เดินทางเพื่อไปเรียนรู้ ให้จิตอยู่กับกาย คนสมัยนี้...ฉันเองก็เป็นคนสมัยนี้ ไม่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันของตนเอง ฉันเคยสังเกตตัวเองเมื่อต้องทำงาน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา,ฉันเริ่มเขียน “ธรรมตามใจ” มาได้เพียงไม่นาน ก็พบว่าอันแท้แล้ว ยังมีกัลยาณมิตรทางธรรมอีกหลายคนที่อยู่ในช่วงวัยใกล้ๆ กัน จึงน่าจะชวนกันมาแบ่งปันธรรมปฏิบัติในพื้นที่นี้ร่วมกัน มีนา, เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ที่ตอบรับคำเชื้อเชิญจากฉัน – เธอ เป็นผู้หญิงรุ่นพี่ ที่ฉันรู้จักมาค่อนปีทีเดียว ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าเจอกันครั้งแรกที่ไหนอย่างไร เพราะผ่านมาแล้วหลายนาน แต่ก็ไม่เป็นไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่ต่อไปเราทั้งสองจะได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เราต่างปฏิบัติเช่นกันฉันกับเธอ, พันธกุมภากับมีนา, เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมา ตัวตนทางโลกของเราอาจมีค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่างกันอยู่มาก แต่ในทางธรรมแล้ว…
พันธกุมภา
บุคลิกภายนอกและนิสัยภายในของเขา ไม่ได้บ่งบอกเลยว่าเขาจะมีท่าทีสนใจในธรรมะและปฏิบัติเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ คนที่รู้จักเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะมีความคิดที่อยากบวชเรื่องของเขาน่าสนใจตรงที่ว่า อยู่ดีๆ เขาก็บอกกับข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ที่ทำงานด้วยกันว่าอยากจะบวช เพื่อนคนนี้ของข้าพเจ้า แต่เดิมเป็นคนชอบเที่ยวกลางคืน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แถมขี้หลีอีกต่างหาก จนวันหนึ่งตัวเองได้ไปปฏิบัติวิปัสสนา, เวลา 10 วันของการปฏิบัติ ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มไม่เที่ยว เริ่มไม่ดื่มเหล้า แต่ยังคงความขี้หลีสาวๆ และสูบบุหรี่อยู่ทุกๆ คนต่างรับรู้อยู่อย่างห่างๆ ว่าเขาตั้งใจปฏิบัติ…
พันธกุมภา
ดูจิต...ดูจิตคืออะไร? ข้าพเจ้ามักสงสัยตลอดเวลา เมื่อมีผู้ใหญ่ได้บอกสอนเรื่องการ “ดูจิต” บางคนถามว่าวันนี้ดูจิตเป็นยังไงบ้าง ดูจิตไปถึงไหนแล้ว แต่ละคำถามเกิดจากการติดตามผลของการปฏิบัติที่พี่ๆ แต่ละท่านต่างเฝ้าสอบถามด้วยความเป็นห่วงวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ ท่านได้ถามข้าพเจ้าว่าชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ไม่ได้พบเจอกันมาเสียนาน ข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องการปฏิบัติของข้าพเจ้าให้ผู้ใหญ่ท่านได้รับฟัง และเราก็ได้คุยถึงครูบาอาจารย์ที่สอนการวิปัสสนากรรมฐานแต่ละหนแห่งผู้ใหญ่ท่านนี้ได้แนะนำ และชวนเชิญให้ข้าพเจ้าได้ลองปฏิบัติตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ…
พันธกุมภา
- 1 - ข้าพเจ้าได้อ่าน บทเขียนของ “กลางชล” ในนิตยสาร “ธรรมะใกล้ตัว” ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 http://www.dungtrin.com/mag  ซึ่งเป็นบทบรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าว ที่ได้พาตัวข้าพเจ้าให้นำใจเข้าศึกษาและเรียนรู้ธรรมะจากนิตยสารธรรมเล่มนี้ในบทบรรณาธิการ “กลางชล” เล่าว่า ได้เสียงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ดังขึ้นจากแผ่นซีดีว่า “การศึกษาธรรมะ คือการลงทุนให้กับชีวิตตัวเองนะ หลวงพ่อจะบอกให้ หลวงพ่อเองตอนอยู่กับโลก ก็ไม่ได้เป็นรองใครหรอก อยู่ในโลกก็มีความสุข แต่แล้วก็พบว่า ความสุขของโลกนี่นะ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลย...”อย่างตอนเด็ก ๆ เราก็คิดว่า ถ้าเราเอนท์ติดคณะนั้นคณะนี้…
พันธกุมภา
ข้าพเจ้าเพิ่งเริ่มเข้าใจว่าชีวิตที่เกิดขึ้นมานี้มีแต่ “ทุกข์” ทั้งๆ ที่หลายเรื่องราว เราสามารถที่จะพบกับความสุขได้โดยไม่ยาก แต่นั้นอาจไม่ใช่ความสุขที่นำไปสู่การพ้นทุกข์อย่างแท้จริงชีวิตอย่างช่วงวัยของข้าพเจ้านั้น มีหลากหลายเรื่องราวที่เข้ามากระทบ ทำให้จิตใจสับสนวุ่นวายและบางคราก็ไม่สามารถที่จะหาทางออกไปสู่เส้นทางแห่งความสงบสุขได้อย่างแท้จริง ความว้าวุ่นใจที่เกิดขึ้น ได้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ข้าพเจ้าเริ่มตระหนักแล้วว่า ควรจะนำพาชีวิตของตนเองให้พบกับความสุข-สงบ-เบิกบาน อย่างเอาจริงเอาจังเสียแต่โดยพลัน แม้ว่าที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พาตัวเองเข้าไปสู่เส้นทางของความบันเทิงเริงใจ เที่ยวผับ เธค…