Skip to main content

พันธกุมภา

ถึง มีนา

ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีรุ่นพี่คนหนึ่งมาหาผมที่บ้าน เราสองคนไม่ได้เจอกันมานานหลายปี พอมาเจอกันอีกหนจึงเป็นเรื่องที่ตื่นเต้นไม่น้อยที่ได้พบเจอกัน รุ่นพี่คนนี้ชื่อ “นนท์” พี่นนท์ เป็นรุ่นพี่ที่เคยสอนผมเต้นเชียลีดเดอร์ เมื่อตอนเรียนมัธยมต้น อายุของพี่นนท์ห่างจากผม 2 ปี พี่นนท์เป็นคนต่างหมู่บ้าน แต่เราอยู่ในตำบลเดียวกัน

ผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่นนท์เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการพูด ท่าที การแสดงออก จากเมื่อก่อนที่ค่อนข้างกรี๊ดกร๊าด พูดไม่หยุด และชอบนินทาคนอื่นอยู่บ่อยๆ มาคราวนี้พี่นนท์ไม่เหมือนเดิม คือ นิ่งขึ้น ท่าทีสุขุมเยือกเย็น ไม่ทำท่ารุกรี้รุกรนตอนคุยกันเหมือนเมื่อก่อน แถมยังไม่นินทาใคร ให้ได้ยินเลย

“ตอนนี้เป็นยังไงบ้างจ๊ะลูก” พี่นนท์ถามผม หลังจากที่ผมยกมือไหว้ และผมค่อนข้างแปลกใจที่พี่เค้าเรียกผมว่าลูก ผมไม่ได้ถามกลับว่าทำไมถึงเรียกผมว่า ‘ลูก’ ผมเพียงแต่พยักหน้า ตอบและบอกว่า “สบายดีครับ ไม่ได้เจอกันนานเลย พี่สบายดีนะครับ แหม เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแปลงเยอะเลยนะ”

“ใช่” พี่นนท์ตอบด้วยความมั่นใจ แล้วก็เล่าชีวิตของเขาที่ผ่านมา เขาบอกว่า หลังจากเรียนจบมัธยมปลายก็ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคอีสาน ตอนนั้นเป็นช่วงที่เข้าสู่วัยรุ่น และออกไปอยู่ห่างบ้านเป็นครั้งแรก ช่วงที่เรียนปี 1 ปี 2 ก็ต้องใจเรียน และโทรกลับบ้าน คุยกับคนที่บ้านบ่อยๆ แต่พอขึ้น ปี 3 ปี 4 ก็เริ่มเที่ยวกับเพื่อนๆ แล้วก็ใช้จ่ายของฟุ่มเฟือย จนต้องยืมเงินคนอื่นมา แล้วติดหนี้ในที่สุด

“นี่ไม่นับหนี้เงินกู้ยืมที่กู้นะ เวลาเงินไม่พอจ่ายก็ไปขอยืมคนอื่นๆ พี่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมตัวเองใช้จ่ายฟุ่มเฟือยขนาดนั้น ครั้งหนึ่งมีเพื่อนชวนไปทำงานอย่างว่า แต่ดีที่ไม่ไปเพราะรู้เลยว่าเรากำลังจะเข้าไปสู่อะไร” พี่นนท์เล่ามาถึงตรงนี้ น้ำเสียงเริ่มนิ่งและอ่อนลง ดูเหมือนแกจะเริ่มปลงกับชีวิต

ชายหนุ่มรุ่นพี่ เล่าต่อว่า ตอนนั้นชีวิตทุกข์มาก เครียดและคิดมาก การเรียนก็ไม่ค่อยดีเหมือนช่วงแรกๆ เพื่อนๆ ที่เที่ยวก็ทะเลาะกัน คุยกันไม่รู้เรื่อง เลยไม่รู้ว่าจะเอายังไงดี แต่แล้วมันก็ผ่านพ้นช่วงนั้นมาได้ เพราะมีคนที่รู้จักกันอีกคนมาช่วยใช้หนี้ให้ โดยเค้าให้เราทยอยใช้หนี้เดือนละไม่มากนัก ตอนนั้นจึงเป็นโชคของตัวเอง

ผมไม่คิดเลยว่า พี่ที่ไม่เคยเจอกันมานาน เมื่อมาเจอกันอีกครา มันเหมือนมีเรื่องราวที่มาเล่าสู่กันฟังมากมายและลึกเพียงนี้ ผมได้เล่าให้พี่นนท์ฟังเรื่องชีวิตตัวเอง ทั้งการเรียน การทำงาน และความรัก – เราคุยกันไป หัวเราะไปและบางคราก็หยุดนิ่งอยู่นานเมื่อเป็นเรื่องเศร้าของอีกคนหนึ่ง

กว่า 3 ชั่วโมง ที่เราคุยกัน มีเรื่องหนึ่งที่เราคุยแล้วดูเหมือนจะทำให้ชีวิตเราอิ่มเอมใจและเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น สิ่งที่เราคุยนั้นก็คือเรื่อง “ธรรมะ” – ธรรมะที่ไม่ได้คุยถึงหลักธรรม ศีล หรือ พระไตรปิฎก แต่เป็นเรื่อง “ชีวิต” เป็นเรื่อง “ภายใน” ที่เราต่างได้เรียนรู้จากการเจริญสติ หรือ ปฏิบัติธรรม

พี่นนท์เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ใกล้จบปี 4 เขาได้พบกับหนังสือธรรมะของพระอาจารย์ปราโมทย์ ปราโมชโช จากนั้นเขาก็ได้อ่าน และนำหลักปฏิบัติในหนังสือมาอ่าน ซึ่งหนังสือเป็นเรื่องของการ “ดูจิต” โดยมีเนื้อหาเน้นในการปรับความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม และการเจริญสติในแนวการดูจิต

พี่นนท์ บอกว่า “พี่ค่อยๆ อ่านหนังสือทีละหน้า ไม่กล้าอ่านทั้งหมด พออ่านไปหน้าไหนก็เริ่มเอามาปฏิบัติไปทีละน้อย ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ไม่กล้าทำอะไรมาก เพราะบางเรื่องถ้าไม่ได้ทำ มันจะอ่านไม่รู้เรื่อง เลยต้องเอาทีละเล็ก ทีละน้อย”

เมื่อได้อ่านและนำมาปฏิบัติแล้ว พี่นนท์บอกว่า ชีวิตของตัวเองเปลี่ยนไปมาก รู้ทันจิตใจของตัวเอง รู้ทันอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด สุข ทุกข์ เศร้า ดีใจ เสียใจ อยู่บ่อยๆ และไม่คิดมากเหมือนอดีต ซึ่งพี่นนท์บอกว่า ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ชนิดหักมุมอย่างที่ผมได้เห็น เป็นผลพวงมาจากหนังสือเล่มนี้นั้นเอง

พอคุยเรื่องหนังสือ เราก็พบเหมือนกันว่า เดี๋ยวนี้หนังสือธรรมะ มีเยอะมากในท้องตลาด นอกจากหนังสือที่มีแจกเป็นธรรมทานตามแหล่งต่างๆ แล้ว ก็จะมีหนังสือธรรมะขายในราคาที่ต่างกันไป และคนก็ไม่รู้สึกเสียดายเงินที่จะซื้อ ถึงแม้บางเล่มจะมีราคาสูงก็ตาม

“พี่ว่าเดี๋ยวนี้คนเข้าถึงธรรมะมากขึ้น” พี่นนท์พูดลอยๆ ออกมา แต่เป็นสิ่งที่น่าคิดมาก เพราะผมเองก็เห็นด้วยว่าคนเข้าถึงธรรมะมากขึ้น ทั้งเรื่องการเจริญสติ เรื่องหลักธรรม มีหลายรูปแบบที่มีการนำธรรมะเข้ามาเชื่อมโยงให้กับคน ทั้งทำให้เป็นเรื่องสนุก ตื่นเต้น ขำขัน หรือออกมาผ่านสื่อเวบไซต์ โปรแกรมบล็อกต่างๆ

ผมไม่ได้คิดลึกลงไปว่า สิ่งเหล่านี้เหมาะสมหรือไม่อย่างไร ทว่ากลับมองเห็นว่ายิ่งธรรมะเข้าใกล้ชีวิตคนได้มากเท่าใด ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แม้ว่าแต่ละคนจะเรียนรู้ต่างกัน เช่น บางคนเรียนรู้จากการฟัง การอ่าน แต่การเรียนรู้เหล่านี้ก็ช่วยให้คนได้เข้าใจหลัก เข้าใจธรรมะที่นำมาปรับใช้กับชีวิตของตนเอง ตามภูมิปัญญา ภูมิธรรมของแต่ละคนที่มีอยู่ (ทั้งที่สั่งสมมาแต่อดีตกาล และปัจจุบัน)

บ่อยครั้งธรรมะถูกมองให้เป็นเรื่องไกลตัวคน มองเป็นเรื่องเครื่องรางของขลัง มองเป็นเรื่องพระ เรื่องเจ้า เพียงเท่านั้นที่ “ผูกขาด” ความรู้นี้แต่เพียงกลุ่มเดียว แต่หาใช่เป็นของคนทุกคน ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้ว ธรรมไม่ได้หมายความว่าเป็นของกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง แต่หลักธรรมนั้นเป็นของคนทุกๆ คน คือหลักสากล

ครั้งหนึ่งในพุทธกาล เมื่อ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า “ดูกร ภิกษุทั้งหลาย.....” ภิกษุ ที่พระพุทธองค์หมายถึงคือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ชาย หญิง นี่หมายความว่า คำสอนของพระพุทธองค์ เมื่อเรียกภิกษุแล้วไม่ได้หมายความแค่ “ผู้ที่นุ่งห่มผ้าเหลือง” เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นจุดสะท้อนว่าคนทุกคนสามารถเข้าถึงธรรมะได้เสมอกัน

ส่วนจะเข้าถึงมากน้อย ลึกตื้น หนาบาง อย่างไร ก็เป็นสิ่งที่แต่ละคนจะได้รับและเรียนรู้ ตามศักยภาพและภูมิธรรมของตนที่มี

อย่างไรก็ตามนอกจากเรื่องคนที่เข้าถึงธรรมะเยอะแล้ว อีกอย่าง ที่พี่นนท์ ถามผมว่า “คิดยังไง ที่วัยรุ่นสนใจธรรมะ เป็นค่านิยม เป็นกระแส เป็นเพียงความฮิตเท่านั้นหรือยังไง”

ผมตอบพี่นนท์ทันทีว่า “ถ้าวัยรุ่นฮิตธรรมะแล้วจะเป็นปัญหาอะไร เพราะอย่างน้อยเขาก็ได้ซึมซับเข้าไปสู่ตัวเอง ได้เข้าใกล้ธรรมะ และเมื่อเข้าถึงแล้ว บางคนไม่ชอบ ก็เป็นสิทธิในการเลือกของเขา แต่บางคนที่ชอบก็เป็นสิ่งที่เขาเลือกด้วยความเต็มใจว่าจะเดินต่อไปอย่างไร แต่ละคนก็มีเวลาที่ธรรมะจะจัดสรรแตกต่างกัน แล้วแต่ปัจจัยต่างๆ ด้วย”

พี่นนท์พยักหน้า และเสริมว่า “ผู้ใหญ่มักชอบบ่นว่าวัยรุ่นชอบฮิตอะไรแล้วจะเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่ไม่ได้มองหรือสนับสนุนให้วัยรุ่นได้ทำอะไรดีๆ จริงๆ เลย พอทำอะไรที่ไม่ดีก็ต่อว่า พอทำอะไรดีๆ ก็ว่าเป็นค่ากระแสชั่วคราว แต่ไม่มีความพยายามให้วัยรุ่นมีช่องทางที่จะทำอะไรดีๆ ต่อเนื่องเลย”

ยิ่งเมื่อพี่นนท์คุยมาถึงตรงนี้ก็ทำให้ผมคิดถึงสิ่งที่พี่มีนาเขียนเมื่อฉบับที่แล้ว ว่าจริงๆ แล้วจิตของวัยรุ่น นั้นก็ต้องเป็นสิ่งที่วัยรุ่นคนนั้นๆ จะพยุง พยายามรักษาสภาวะจิตของตัวเองต่อไป แต่ต่อข้อที่ว่า “ใจของใคร” นี่สิ ยิ่งกลับเห็นว่าผู้ใหญ่ได้เอาใจออกมาที่วัยรุ่นมากกว่าการมองใจของตนเอง ทำให้คิดแทนเด็ก กลัว กังวลใจต่างๆ นานาว่าวัยรุ่นจะทำแบบนั้นไม่ดี หรือจะทำแบบนี้ได้จริงหรือไม่

ผู้ใหญ่บางท่านไม่ได้นำใจมาสู่ตนหรือดูจิตของตัวเอง จนต้องพบกับความทุกข์ใจนานาประการ (ที่ว่าดูจิตตัวเอง ไม่ได้แปลว่าเห็นแก่ตัว หรือที่ว่าไม่ให้ผู้ใหญ่เอาใจมาไว้ที่วัยรุ่น ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้ห่วงใย หรือเข้าใจวัยรุ่นนะครับ) เพียงเพราะส่งจิตออกข้างนอก

การที่วัยรุ่นฮิตธรรมะ หรือคนทั่วไปหันมาเข้าถึงธรรมะมากขึ้นนั้น ถือเป็นสิ่งที่ดีที่ควรให้เวลา เพราะการเรียนรู้ทางธรรมเป็นสิ่งที่ควรให้เวลา ไม่ใช่ว่ารู้จักธรรมแล้วจะบรรลุธรรมในไม่กี่วินาที หรือเป็นคนดีในชั่วพริบตา ( ในพุทธกาลอาจมี แต่ปัจจุบันผมไม่แน่ใจนัก) เพราะทุกๆ อย่างต้องให้เวลา

ให้เวลาตัวเองในที่นี้คือ ให้เวลาตัวเองดูจิตของตัวเองบ่อยๆ ขึ้น รู้ตัวบ่อยขึ้น ไม่ส่งจิตออกนอก ค่อยๆ ทำไปทีละนิด ทำเหมือนดั่งคำกล่าวของพระอาจารย์ท่านหนึ่งที่สอนว่า “ให้ปฏิบัติ เหมือนไม่ได้ปฏิบัติ” คือ ทำไปแบบเล่นๆ ไม่เพ่ง ไม่กดดันตัวเอง ค่อยๆ รู้ รู้ไปทีละนิด เวลาโกรธก็รู้ เวลากลัวก็รู้ เวลาหลงก็รู้ เวลารู้ก็รู้ สักแต่ว่ารู้ไปอย่างเดียว

ค่อยๆ ทำ ไปทีละเล็ก บ่อยๆ ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ

ท้ายที่สุดแล้ว ผมและพี่นนท์ เราต่างเป็นวัยรุ่น และเราทั้งสองก็เป็นคนที่อยู่ในกระแสฮิตธรรมะ แต่สิ่งที่ทำให้เราได้พบและเดินทางแห่งธรรมเสมอมา ก็คือ การจัดสรรธรรมะที่เข้ามาในตัวเราโดยที่เราเองต่างตอบไม่ได้ว่าทำไมเราจึงเป็นเช่นนั้น และเราก็เป็นเพียงคนที่แสวงหาบางสิ่ง ที่เราเองก็บอกไม่ถูกเหมือนกันว่าทำไมจึงเป็นเช่นนี้....

บล็อกของ พันธกุมภา

พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา อ่านเรื่องความกลัวของมีนาแล้ว ฉันเริ่มมองมาที่ตัวเองแล้วว่า ฉันกลัวอะไร? มาถึงตอนนี้ก็คิดได้ว่าคงไม่มีความกลัวอะไรที่น่ากลัวไปกว่าการที่เรา “ไม่รู้” ว่าตัวเอง “กลัว” อะไร ความกลัวเป็นสิ่งที่เราสร้างขึ้น – ใครสักคนเคยบอกเช่นนั้น ฉันมักเลือกสร้างความกลัวเพื่อให้ตัวเองกล้าหาญ และเอาชนะความกลัวให้ได้ เพราะความกลัวคือสิ่งที่ท้าทายจิตใจและมานะในตัวของฉัน แต่ยังไงก็ตามมีน้อยคนนักที่จะสามารถพัฒนาความกลัวที่มีอยู่ในตนให้กลายเป็นความเข้มแข็งในการดำรงชีวิตบางที เราอาจอยู่อย่างโดดเดี่ยวจนไม่มีใครเป็นเพื่อนคอยแนะนำ ให้คำปรึกษา หรือหารือกันเรื่อง “ด้านใน” ของตนก็เป็นได้…
พันธกุมภา
มีนา
ฉันดีใจ...ที่เธอมีคนดูแลระหว่างการเดินทาง แม้ว่าเราจะเดินทางเพื่อไปปฏิบัติธรรม คนส่วนมากเขาก็มองว่าเราเติบโตมาในสังคมที่เห็นว่าการชวนดื่มเหล้า การกินอาหารร่วมกันเป็นการให้เกียรติกับผู้มาเยือน การที่เธอกล้าปฏิเสธและอธิบายความเป็นตัวเธอ นับว่าเป็นความกล้าที่จะบอกความเป็นตัวตนด้านดีของตัวเองคนจำนวนมากเกรงใจคนอื่นอย่างน่าเป็นห่วง ฉันเอง...บางครั้งยังไม่กล้าที่จะบอกถึงความเป็นตัวตน หรือความคิดจริงๆ ในเรื่องงาน หลายครั้งเป็นข้อจำกัดขององค์กร สถาบัน และเส้นแบ่งหลายๆ อย่างที่ทำให้เรา...ไม่กล้า ไม่กล้าที่จะบอกว่า เราอยากทำงานเพราะคิดถึงคนที่ลำบาก…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา....เมื่อวางแผนการเดินทางเสร็จสิ้น และพยายามที่จะเคลียร์งานทุกอย่างให้แล้วเสร็จก่อนช่วงส่งท้ายปีเก่า ฉันเดินทางออกจากบ้านที่เชียงรายในวันที่ 24 ธันวาคม 2550 เพื่อมาจัดการงานต่างๆ เอกสารที่คั่งค้างจากการทำวิจัย ช่วงการเดินทางโดยรถทัวร์จากเชียงรายมายังกรุงเทพฯ ฉันนอนไม่ค่อยหลับ เพราะกลัวหลายเรื่อง กลัวรถจะชน กลัวจะมี “มาร” มาขวางไม่ให้ได้ไปปฏิบัติคำว่า “มาร” ในที่นี้ ฉันไม่รู้ว่าคืออะไร แต่เท่าที่เคยสัมผัสคือ น่าจะมาเป็นลักษณะของอุปสรรค กีดกันไม่ให้เราไปปฏิบัติ อย่างเช่นบางคนพอจะไปปฏิบัติธรรม ก็ป่วยไม่สบาย หรือ ประสบอุบัติเหตุ หรือว่าคนรอบข้างเราเช่น ญาติพี่น้อง ป่วยไม่สบาย…
พันธกุมภา
มีนาถึง พันธกุมภา…แม้ว่าฉันจะไม่ได้ไปที่วัดป่าสุคะโตกับเธอ ฉันเห็นบรรยากาศไปพร้อมกับการเล่าสู่กันของเธอ อดไม่ได้ที่จะนึกถึง “ความกลัว” ตั้งแต่เด็ก เรามักถูกขู่ให้กลัวอยู่เสมอ เมื่อพ่อแม่เลี้ยงเรามา รัก ดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี เด็กเล็กๆ มีความอยากรู้อยากเห็นเป็นของตัวเอง เขาเพิ่งเกิดใหม่ ยังไม่รู้ว่า ไฟมันร้อน น้ำในบ่อมันลึกหรือตื้นเพียงไหน ปลั๊กไฟห้ามเอานิ้วแหย่เข้าไป อาจจะเดินไปไหนไกลๆ โดยพ่อแม่ไม่เห็นแล้วประสบอันตรายสิ่งที่เด็กไม่ได้ประสบกับตัวเอง เด็กไม่รู้ว่าอันตราย ไฟมันร้อน น้ำมันลึก เป็นอย่างไร พ่อแม่จึงมักดึงเอาสัญชาติญาณด้านลึกคือความกลัวออกมา การขู่ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือ…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนาอย่างที่เธอได้บอกฉันนั่นแลว่า กว่าคนเราจะสามารถเอาใจมาอยู่กับกายได้นั้นต้องใช้เวลาและให้โอกาสตัวเองพอสมควร ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยคิดเลยว่าทำไมต้องเอาใจมาอยู่กับกาย หรือเอากายมาอยู่กับใจ เพราะเขาไม่มีโอกาสได้รู้ว่าควรทำอย่างไร ควรทำเมื่อไหร่บ่อยครั้งที่ “ความสุข” ทางโลก ที่เข้ามากระทบเราทั้งทาง หู ตา จมูก ลิ้น และกาย รวมถึงใจของเรานั้นทำให้เราคิดว่านี่คือความสุขที่แท้จริง แต่หารู้ไม่ว่าการที่รับผัสสะเหล่านั้นมาปรุงแต่งก็กลับทำให้จิตใจของเรามีแต่การสร้างกรรมใหม่ๆ เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว หลายคนที่เข้าถึงธรรมปฏิบัติ บางคนพบว่าความสุขทางโลกไม่ใช่ทางออกหรือคำตอบของชีวิต…
พันธกุมภา
มีนา    ถึง พันธกุมภา ฉันต้องขอบคุณ พันธกุมภา ที่เชื้อเชิญ และพยายามดึงฉันออกมาเขียน แม้ว่าจะถูกบอกว่า "น่าจะเป็นนักเขียนได้..." แต่ฉันยังไม่...แม้แต่ลงมือทำ จะเป็นได้อย่างไร หน้านี้...และหน้าที่นี้ ต้องเป็นความต้องการของพันธกุมภา ที่จะดึงฉันออกมาจากะลาเดิมเป็นแน่ สำหรับฉันแล้ว การเดินทางไปวัดป่าสุคะโต เพื่อพบหลวงพ่อเทียนของเธอ แทบจะไม่เกี่ยวข้องอะไร หากเราไม่ใช่กัลยาณมิตรที่ดีต่อกัน ฉันสนับสนุนให้เดินทางเพื่อไปเรียนรู้ ให้จิตอยู่กับกาย คนสมัยนี้...ฉันเองก็เป็นคนสมัยนี้ ไม่ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบันของตนเอง ฉันเคยสังเกตตัวเองเมื่อต้องทำงาน…
พันธกุมภา
พันธกุมภาถึง มีนา,ฉันเริ่มเขียน “ธรรมตามใจ” มาได้เพียงไม่นาน ก็พบว่าอันแท้แล้ว ยังมีกัลยาณมิตรทางธรรมอีกหลายคนที่อยู่ในช่วงวัยใกล้ๆ กัน จึงน่าจะชวนกันมาแบ่งปันธรรมปฏิบัติในพื้นที่นี้ร่วมกัน มีนา, เป็นเพื่อนรุ่นพี่ ที่ตอบรับคำเชื้อเชิญจากฉัน – เธอ เป็นผู้หญิงรุ่นพี่ ที่ฉันรู้จักมาค่อนปีทีเดียว ตอนนั้นจำไม่ได้ว่าเจอกันครั้งแรกที่ไหนอย่างไร เพราะผ่านมาแล้วหลายนาน แต่ก็ไม่เป็นไร คงไม่สำคัญไปกว่าการที่ต่อไปเราทั้งสองจะได้แบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรื่องราวที่เราต่างปฏิบัติเช่นกันฉันกับเธอ, พันธกุมภากับมีนา, เป็นสิ่งที่สมมุติขึ้นมา ตัวตนทางโลกของเราอาจมีค่าเฉลี่ยของอายุที่ต่างกันอยู่มาก แต่ในทางธรรมแล้ว…
พันธกุมภา
บุคลิกภายนอกและนิสัยภายในของเขา ไม่ได้บ่งบอกเลยว่าเขาจะมีท่าทีสนใจในธรรมะและปฏิบัติเจริญสติอย่างสม่ำเสมอ หลายๆ คนที่รู้จักเขาต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่เขาจะมีความคิดที่อยากบวชเรื่องของเขาน่าสนใจตรงที่ว่า อยู่ดีๆ เขาก็บอกกับข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ที่ทำงานด้วยกันว่าอยากจะบวช เพื่อนคนนี้ของข้าพเจ้า แต่เดิมเป็นคนชอบเที่ยวกลางคืน ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แถมขี้หลีอีกต่างหาก จนวันหนึ่งตัวเองได้ไปปฏิบัติวิปัสสนา, เวลา 10 วันของการปฏิบัติ ทำให้ชีวิตของเขาเปลี่ยนแปลงไป เริ่มไม่เที่ยว เริ่มไม่ดื่มเหล้า แต่ยังคงความขี้หลีสาวๆ และสูบบุหรี่อยู่ทุกๆ คนต่างรับรู้อยู่อย่างห่างๆ ว่าเขาตั้งใจปฏิบัติ…
พันธกุมภา
ดูจิต...ดูจิตคืออะไร? ข้าพเจ้ามักสงสัยตลอดเวลา เมื่อมีผู้ใหญ่ได้บอกสอนเรื่องการ “ดูจิต” บางคนถามว่าวันนี้ดูจิตเป็นยังไงบ้าง ดูจิตไปถึงไหนแล้ว แต่ละคำถามเกิดจากการติดตามผลของการปฏิบัติที่พี่ๆ แต่ละท่านต่างเฝ้าสอบถามด้วยความเป็นห่วงวันหนึ่ง ข้าพเจ้าได้พบกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้าเคารพนับถือ ท่านได้ถามข้าพเจ้าว่าชีวิตเป็นอย่างไรบ้าง หลังจากที่ไม่ได้พบเจอกันมาเสียนาน ข้าพเจ้าได้เล่าเรื่องการปฏิบัติของข้าพเจ้าให้ผู้ใหญ่ท่านได้รับฟัง และเราก็ได้คุยถึงครูบาอาจารย์ที่สอนการวิปัสสนากรรมฐานแต่ละหนแห่งผู้ใหญ่ท่านนี้ได้แนะนำ และชวนเชิญให้ข้าพเจ้าได้ลองปฏิบัติตามแนวทางของ หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ…
พันธกุมภา
- 1 - ข้าพเจ้าได้อ่าน บทเขียนของ “กลางชล” ในนิตยสาร “ธรรมะใกล้ตัว” ฉบับที่ 29 ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2550 http://www.dungtrin.com/mag  ซึ่งเป็นบทบรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าว ที่ได้พาตัวข้าพเจ้าให้นำใจเข้าศึกษาและเรียนรู้ธรรมะจากนิตยสารธรรมเล่มนี้ในบทบรรณาธิการ “กลางชล” เล่าว่า ได้เสียงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช ดังขึ้นจากแผ่นซีดีว่า “การศึกษาธรรมะ คือการลงทุนให้กับชีวิตตัวเองนะ หลวงพ่อจะบอกให้ หลวงพ่อเองตอนอยู่กับโลก ก็ไม่ได้เป็นรองใครหรอก อยู่ในโลกก็มีความสุข แต่แล้วก็พบว่า ความสุขของโลกนี่นะ ไม่ได้เรื่องเลย ไม่ได้เรื่องเลย...”อย่างตอนเด็ก ๆ เราก็คิดว่า ถ้าเราเอนท์ติดคณะนั้นคณะนี้…
พันธกุมภา
ข้าพเจ้าเพิ่งเริ่มเข้าใจว่าชีวิตที่เกิดขึ้นมานี้มีแต่ “ทุกข์” ทั้งๆ ที่หลายเรื่องราว เราสามารถที่จะพบกับความสุขได้โดยไม่ยาก แต่นั้นอาจไม่ใช่ความสุขที่นำไปสู่การพ้นทุกข์อย่างแท้จริงชีวิตอย่างช่วงวัยของข้าพเจ้านั้น มีหลากหลายเรื่องราวที่เข้ามากระทบ ทำให้จิตใจสับสนวุ่นวายและบางคราก็ไม่สามารถที่จะหาทางออกไปสู่เส้นทางแห่งความสงบสุขได้อย่างแท้จริง ความว้าวุ่นใจที่เกิดขึ้น ได้เป็นจุดเริ่มต้นทำให้ข้าพเจ้าเริ่มตระหนักแล้วว่า ควรจะนำพาชีวิตของตนเองให้พบกับความสุข-สงบ-เบิกบาน อย่างเอาจริงเอาจังเสียแต่โดยพลัน แม้ว่าที่ผ่านมา ข้าพเจ้าได้พาตัวเองเข้าไปสู่เส้นทางของความบันเทิงเริงใจ เที่ยวผับ เธค…