Skip to main content
http://parid.prachatai.com/wp-content/viva-la-vida.jpg


ช่วงที่ผ่านมาผมขอลาพักจากการเขียนคอลัมน์ไปชั่วคราว ไม่ได้ลากิจ และยังไม่ได้ลาออกจากการเขียนคอลัมน์แน่นอน เพียงแต่หลบจากความเหนื่อยล้าจากหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อไปเติมพลังให้ตัวเองเท่านั้น

ในช่วงที่พักจากการเขียนคอลัมน์ไป ก็คิดว่าจะลองหลบมุมสงบ ๆ อยู่ ปิดหูปิดตาตัวเองจากสิ่งรอบข้างดูสักพัก … แต่แล้วก็ไม่สำเร็จ ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวบางอย่างที่ทำให้ผมต้องรู้สึกถึงความย่ำแย่ น่าเบื่อหน่ายไม่รู้จบของประเทศที่ผมอยู่อีกครั้ง

จริง ๆ แล้วมันเป็นเรื่องของผู้ชายคนหนึ่ง (ซึ่งสื่อบางแห่งดูจะพยายามแปลงให้เขากลายเป็นเพศอื่นอยู่เสมอ…ซึ่งผมว่าเขาคงไม่เดือดร้อนอะไร) เขาไม่ได้เป็นคนดีอะไรนักหนา แต่ก็ไม่ได้เป็นคนเลวขนาดที่ว่าเห็นแล้วต้องเบือนหน้าหนี เขาเป็นมนุษย์คนหนึ่งอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ที่บังเอิญมีโอกาสสวมสูทออกทีวีให้พวกท่านได้หาเรื่องด่าอยู่เสมอเท่านั้น

สิ่งที่ทำให้ผมหงุดหงิดคือ เขาถูกรังแกด้วยเรื่องที่ฟังดูขำขันเหลือเกินในโลกที่ Freedom of Speech ควรจะเป็นของประชาชนได้แล้ว เป็นการใช้อำนาจรัฐเพื่อผลประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายที่ไม่ใช่รัฐบาล แต่ไม่เห็นมีใครออกมาวิจารณ์พวกนี้ในพื้นที่สาธารณะบ้าง การวิจารณ์รัฐบาล (ที่แม้จะมาจากการเลือกตั้ง) เป็นเรื่องดี ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมว่าโครงสร้างอำนาจรัฐมันมีมากกว่ารัฐบาล มันยังมีผู้ที่คอยออกมาโจมตี ไม่ว่าจะเป็นพรรคฝ่ายแค้นหรือพวกขุนนางกังฉินทั้งหลาย ซึ่งพวกหลังนี้รอดพ้นการวิพากษ์วิจารณ์ไปได้ทุกครั้ง

เป็นเรื่องธรรมดาในวงการนี้ที่มีแพ้มีชนะ ท่ามกลางผู้คนที่ต้องสูดกลิ่นเน่าเหม็นของมันต่างรู้เรื่องนี้ดี แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ถูกรังแกไล่ต้อนจนมุมโดยพวกขุนนางอำนาจนิยมจะแพ้พ่ายเสมอไป เพราะปลาบางตัวมันทำเบ่งใหญ่ได้แต่ในหนองน้ำเล็ก ๆ ที่มันคิดว่านั่นเป็นทั้งโลกของมันแล้ว แต่ไม่รู้หรอกว่าเมื่อหนองน้ำเล็ก ๆ นั่นกลายเป็นบึงใหญ่ขึ้นมา มันอาจจะต้องเจอปลาอีกกี่ตัวที่ใหญ่กว่ามันโดยไม่ต้องเบ่ง

“You might be a big fish
In a little pond
Doesn’t mean you’ve won
‘Cause along may come
A bigger one”

- Lost!

สิ่งที่พอจะทำให้ผมมีอารมณ์คึกกลับมาเขียนเรื่องเพลงได้อีกครั้งคืออัลบั้มใหม่ของวงบริทป็อบแห่งยุคอย่าง Coldplay หลังจากที่งานของพวกเขาอาจจะดูเนื่อย ๆ ลงไปบ้างในอัลบั้มก่อนหน้านี้ (แต่ยังคงความไพเราะอยู่เช่นเคย) อัลบั้มนี้ดูเหมือนพวกเขาจะกลับมามีชีวิตชีวา กระปรี้กระเปร่ากันอีกครั้ง แค่เห็นชื่ออัลบั้มอย่าง “Viva la Vida or Death and all his friends” และปกอัลบั้มที่แปลกตาไปก็พอจะรู้แล้วว่าจะต้องเตรียมตัวพบอะไรใหม่ ๆ จากวงนี้อย่างแน่แท้

คำว่า Viva la Vida (แปลว่า “สดุดีชีวิต” ไม่ก็คำอื่นที่ใกล้เคียงกัน) มาจากชื่อรูปวาดของศิลปินหญิง ฟรีดา คาห์โล (ใครอยากรู้เรื่องราวชีวิตอันฉูดฉาดของเธอคงต้องลองหาภาพยนตร์ที่ชื่อ “ฟรีดา” มาดู) ขณะที่รูปปกเป็นรูปวาดของศิลปินฝรั่งเศสที่มีชื่อว่า “Liberty Leading the People” เป็นรูปที่เขียนถึงการปฏิวัติต่อต้านพระเจ้าชาร์ลที่สิบ หรือที่เรียกกันว่า “การปฏิวัติเดือนกรกฎา”

หากจะให้อธิบายเกร็ดต่อเล็กน้อย (เท่าที่ข้อมูลและความรู้อย่างงู ๆ ปลา ๆ ของผู้เขียนจะมี) การปฏิวัติในครั้งนี้ส่งผลให้พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปส์ ขึ้นครองราชย์ต่อและทำให้เกิดการแบ่งฝักฝ่ายชัดเจนระหว่างฝ่ายสนับสนุนราชบัลลังค์และฝ่ายสนับสนุนสาธารณรัฐ แต่กระบวนการทางประวัติศาสตร์ก็ค่อย ๆ ขับเคลื่อนมาเรื่อย ๆ จนถึงการปฏิวัติครั้งสำคัญในปี คศ.1848

ก่อนที่คอลัมน์นี้จะกลายเป็นคอลัมน์ประวัติศาสตร์ ผมก็อยากพูดถึงความสงสัยของตัวเองอยู่หน่อยว่า การเปลี่ยนรูปแบบปกอัลบั้มจากเดิมของพวกเขาต้องการจะสื่ออะไรมากกว่าการเปลี่ยนแปลงทางดนตรีหรือเปล่า เพราะทั้งสามอัลบั้มก่อนหน้านี้ปกจะออกเรียบง่าย นิ่ง แต่แฝงความหมาย ขณะที่ปกอัลบั้มแบบ “การปฏิวัติเดือนกรกฎา” นี้ดูอล่างฉ่างผิดวิสัย Coldplay (ไม่นับว่ามี Reference งานจิตรกรรมถึงสองชิ้น)

แล้วผมก็พบว่ามีเพลงหนึ่งที่พูดถึงการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองของฝรั่งเศส คือเพลง Viva la Vida ซึ่งเป็นเรื่องเล่าผ่านมุมมองของราชาผู้เคยมีอำนาจมาก่อน แล้วพบว่าวันหนึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของบ้านเมืองก็มาถึง เมโลดี้ทั้งจากเครื่องสายและจากเสียงร้องของ Chris Martin สวยได้อารมณ์มาก ทั้งตัวดนตรีและเนื้อเพลงไม่แฝงความโกรธแค้นใด ๆ ไว้เลย ดู ๆ ไปออกจะเป็นมุมมองที่เข้าใจโลกเสียด้วยซ้ำ

“Just a puppet on a lonely string
Oh who would ever want to be king?”

- Viva la Vida

บรรยากาศของการใช้เครื่องสายสร้างอารมณ์โออ่าแต่ก็ยังไม่ลืมความไพเราะดั้งเดิมของ Coldplay เป็นแค่การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งเท่านั้น สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งน่าจะมาจากโปรดิวเซอร์ของอัลบั้มนี้คือ Brian Eno ผู้เคยทำหน้าที่เดียวกันนี้กับวงอย่าง U2 (ไม่รู้ Coldplay ประชดที่ถูกหาว่าเริ่ม U2 เข้าไปทุกวันแล้วหรือเปล่า) Talking Head และเคยมีผลงานแนวอิเล็กโทรนิคของตัวเอง คงต้องบอกว่า Eno มีส่วนสำคัญในการช่วยปั้นซาวน์ของ Coldplay ที่พยายามจะฉีกไปจากสามอัลบั้มก่อนให้เป็นรูปเป็นร่างได้ไม่ “หลุด” จนเกินไป

http://parid.prachatai.com/wp-content/coldplay.jpg

นอกจาก U2 แล้ววงที่มักจะถูกนำมาเปรียบเทียบกับพวกเขาคือ Radiohead ซึ่งช่วงต้นของเพลง 42 ลูปของเปียโน เสียงร้องและเนื้อเพลง มันก็ชวนให้นึกถึง Radiohead อย่างช่วยไม่ได้ ก่อนจะตัดบทเปลี่ยนจังหวะกระทันหันไปสู่อีกอารมณ์ ซึ่งมุขตัดบทนี้ยังมีในอีกหลาย ๆ แทรก บางแทรกก็ใช้วิธีซ้อนเพลง ทำให้รู้สึกแปลก ๆ ไปบ้าง และบางเพลงก็ชวนให้อึดอัดไปหน่อย

(โดยส่วนตัวผมไม่ชอบเพลง Yes! ที่ คริส มาร์ติน พยายามจะร้องเสียงโทนต่ำ แต่ชอบ Chinese Sleep Chant ที่ซ่อนอยู่หลังเพลงนี้อีกที…ลำบากใจไม่น้อยเวลาจะฟัง)

ก่อนหน้าอัลบั้มนี้จะออกมามีเพลงหนึ่งที่เปิดเป็น Single ให้ดาวน์โหลดฟรีคือเพลง Violet Hill เป็นเพลงที่มีดนตรีหนักแน่น แต่มีจังหวะเน้น ๆ และริฟฟ์กีต้าร์ทรงพลัง พูดถึงสงครามและศาสนาแบบกี๊ก ๆ แต่พอเข้าใจได้

“I don’t want to be a soldier
Who the captain of some sinking ship
Would stow, far below
So if you love me why’d you let me go?”

- Violet Hill

ที่ผ่านมางานของ Coldplay หลายเพลงมักจะแฝงเรื่องหนัก ๆ ไว้ภายใต้ดนตรีที่ฟังดูตรงกันข้ามคือฟังดูเบาสบาย แต่ใน Viva la Vida or Death and All His Friends ดูจะปรับตัวดนตรีให้มีความหนักตามเนื้อหาและบางเพลงก็ออกโทนหม่นหมอง (เว้นเพลง Viva la Vida ที่พูดถึงการเมืองแบบลึกลงไปในมิติความเป็นมนุษย์) ขณะเดียวกันก็ไม่ลืมเพลงเบา ๆ ที่ชวนให้หลบหนีจากโลกน่าเบื่อนี้ไปชั่วคราว

เพลงที่พูดถึงคือสองเพลงสุดท้าย คือเพลง Strawberry Swing และ Death and All His Friends เพลงแรกมีเสียงกีต้าร์ที่ได้อิทธิพลจากดนตรีพื้นบ้านแอฟริกัน บวกกับซาวน์ไซคีเดลิกหน่อย ๆ จังหวะจะโคนของกลองรวม ๆ ทำให้เพลงนี้ดูสดใสไม่น้อย เนื้อหาเป็นเรื่องหวนหาอดีตอยู่กลาย ๆ

ขณะที่ Death and All His Friends ในโครงสร้างของเพลงที่ค่อย ๆ บิวท์ช้า ๆ จากเปียโนนุ่ม ๆ ไปสู่จังหวะที่เร่งเร้าเรื่อย ๆ จนถึงท่อนร้องประสานเสียง ก็แฝงความหมายอย่างมีมิติไว้ภายใต้เนื้อเพลงเรียบ ๆ

“I don’t want a cycle of recycled revenge
I don’t want to follow death and all of his friends”

- Death and All His Friends

นัยหนึ่งอัลบั้ม “สดุดีชีวิตหรือความตายกับผองเพื่อนของเขา” เหมือนได้เข้าไปสำรวจ เผชิญหน้ากับบางด้านของชีวิต ขณะเดียวกันก็แอบแฝงการพยายามหนีและปฏิเสธอีกด้านอยู่เงียบ ๆ

ในท้ายเพลง Death and All His Friends ก็มีเพลงซ่อนไว้คือ The Escapist ซึ่งบอกว่าในที่สุดแล้ว การหนีมันก็เป็นเพียงความฝัน ทุกคนล้วนติดอยู่ในบ่วงที่เรียกว่าชีวิต ชีวิตที่เต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลง เต็มไปด้วยการต่อสู้ไม่รู้จบ และชีวิตนี่เองคือสิ่งที่น่าถนุถนอมรักษา ไม่ให้อำนาจใด ๆ มาฉกชิง

“And in the end
We lie awake
And we dream
We’ll make an escape”

- The Escapist

 

บล็อกของ Music

Music
     จำได้ว่าเทปเพลงที่ผมได้ฟังเป็นม้วนสุดท้ายคือเทปรวมเพลงของ Bob Dylan ซึ่งผมไปอัดเอามาจากคนอื่นอีกที  ผมฟังมันจากเครื่องเล่นเทปพกพา (Walkman-ของปลอมเท่านั้น) แบบเปิดลำโพงได้ รถที่ผมใช้นั้นเครื่องเล่นเทปมันพังไปตั้งแต่ช่วงที่ถูกน้ำท่วมแล้ว ช่วงหนึ่งผมจึกมักจะเอา Walkman ตัวนี้มาวางเปิดไว้ในรถแทน และเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์หรือรถไฟก็มักจะติดเจ้าเครื่องเล่นนี้เสียบหูฟัง ฟังเทปที่ว่านี้ไปขณะเดินทางทุกครั้ง จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็น เทป Cassette คู่การเดินทางของผมไม่ว่าจะในระยะใกล้หรือระยะไกลเลยก็ว่าได้คุณภาพเสียงจากเครื่องเล่นของผมในตอนนั้น…
Music
 ที่ผ่านมาผมพูดถึงการที่ดนตรีไม่ได้ทำให้ใครกลายเป็นปัจเจกเทียมก็แล้ว พูดถึงโลกอันหลากหลายหลังปี 1970 ก็แล้ว พูดถึงการที่ตัวดนตรี Serious Music หรือ Popular Music ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการ Liberate อะไรโดยตรง (เว้นแต่วัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย จะว่าไป หากนับวัฒนธรรมที่พ่วงมาด้วย Popular Music น่ะ ช่วย “ปลดปล่อย” ผู้คนได้มากกว่าด้วยซ้ำ) ก็แล้วสำหรับในบทนี้ก็จะมาพูดถึงสิ่งที่อดอร์โนทำผิดพลาดมากที่สุด นั่นคือการปฏิเสธดนตรีป็อบโดยสิ้นเชิง ไม่ร่วมสังฆกรรมใด ๆ กับมันอีก เพราะเขาได้ตีกรอบมาแล้วว่าดนตรีป็อบมันย่อมเป็นอะไรที่ถูกทำให้มีมาตรฐานเดียวกัน (Standardize) และความที่มันมีมาตรฐานเดียวกันนี่เอง…
Music
   In The Flesh?"Tell me is something eluding you sunshine?Is this not what you expected to see?If you'd like to find out what's behind these cold eyesYou'll just have to claw your way through this disguise"จากเพลง ‘In The Flesh?'ของ Pink Floydอดอร์โน...ผมศึกษาและเขียนแย้งแนวคิดของคุณในเรื่องป็อบปูล่าร์มิวสิคมาพอสมควร แต่สิ่งที่ผมค้นพบได้จากตัวคุณมันมีแต่เรื่องเกี่ยวกับความคิดทฤษฎีทั้งนั้นบางขณะที่ผมเคาะแป้นคีย์บอร์ดถกเถียงกับทฤษฎีของคุณ ผมก็ไพล่นึกไปว่า ในช่วงที่คุณมีชีวิตอยู่นั้น อะไรที่ทำให้คุณบันเทิงใจกับดนตรีที่มีซาวด์แบบ Atonal จนคุณถึงกับเขียนชมมันเป็นวรรคเป็นเวรขนาดนี้ (…
Music
    Arnold Schoenberg(นักประพันธ์เพลงคนโปรดของ Adorno)ดูเหมือนความตายของ Adorno ในปี 1969 จะทำให้ผู้ที่ใช้แนวคิดของ Adorno มาวิพากษ์ Popular Music หยุดเติบโตไปด้วย พวกเขามักจะมองดนตรีที่มีอิทธิพลตั้งแต่ยุค 70's เป็นต้นมาอย่างเหมารวมและติ้นเขิน พวกเขาถึงขั้นจัด The Beatles, Nirvana และ Linkin Park ไว้ในประเภทเดียวกันผมไม่ปฏิเสธความเป็นป็อบและร็อคของทั้งสามวงที่ยกตัวอย่างมานี้ หากความเป็นร็อคคือความหนัก และการมีจังหวะที่ชัดเจน หากความป็อบคือความติดหู ฟังง่าย ผมก็เชื่อว่าทั้ง สี่เต่าทอง, กรันจ์เจอร์นิพพาน และ สวนสาธารณะของลินคอร์น ต่างก็มีความเป็นป็อบและความเป็นร็อคทั้งสิ้น (…
Music
Theodor W. Adornoผมได้อ่านบทความเรื่อง "ทบทวนแนวคิด ‘อุตสาหกรรมวัฒนธรรม' : เมื่อวัฒนธรรมกลายเป็นอุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมสร้างวัฒนธรรม" ของ อ.เกษม เพ็ญภินันท์ จากวิภาษาฉบับที่ 7 แล้วก็นึกขึ้นได้ว่าเคยอ่านเรื่องของนักคิด/นักวิจารณ์ ที่ชื่อ Theodor Adorno นี้ จากบทความชื่อ "อดอร์โนกับอุตสาหกรรมวัฒนธรรม : กรณีศึกษาเพลงสมัยนิยม (Popular Music)" ในหนังสือชื่อ "เหลียวหน้าแลหลัง วัฒนธรรมป็อบ" ซึ่งเป็นบทความที่พูดถึงเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะAdorno เป็นนักคิดสังคมนิยมชาวเยอรมัน ผู้นำเอาแนวคิดของทั้ง Max Waber, Marx และ แม้แต่ Sigmund Freud เข้ามาจับในงานเขียนเชิงวิพากษ์วิจารณ์ของเขา…
Music
ยามใกล้เที่ยงคืนของวันที่ 31 ธันวาคม หรือวันสิ้นปี ในหลาย ๆ พื้นที่ของโลกจะมีการร้องเพลงที่ชื่อ "โอลด์ แลงค์ ซายน์" (Auld Lang Syne) ซึ่งนับเป็น New year's Anthem ฉบับสากล เช่นเดียวกับที่ในไทยมีเพลงตามประเพณีอย่าง "สวัสดีปีใหม่" นั่นแลเพลง "สวัสดีปีใหม่" ของไทยที่ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็กแล้ว ผ่านเลยมาไม่ว่ากี่ปี ๆ ก็ยังได้ยิน โดยตามประวัติศาสตร์เพลงนี้มีมาตั้งแต่ สมัยช่วงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของ จอมพล ป. (ไม่มีกุ้งเผา) เป็นช่วงที่เปลี่ยนวันปีใหม่ไทยจาก 1 เมษายน มาเป็น 1 มกราคม เพื่อความเป็นสากล (ข้ออ้างยอดฮิตของชนชั้นนำในยุคนั้น) และ "สวัสดีปีใหม่" ก็เป็นหนึ่งในเพลงเทศกาล ที่มาจากวงสุนทราภรณ์…
Music
"ถึงรู้ว่ามันจะต้องเกิดขึ้น แต่ก็ยากจะทำใจ"คำๆ นี้ใช้ได้ดีกับสถานการณ์ในช่วงวันที่ 19-21 ที่ผ่านมา กับการที่พวก Elite ทั้งหลายที่นั่งเออออห่อหมกกับร่างกฏหมายที่จะมีผลกับประชาชนทั้งประเทศ ดูตัวเลขก็รู้แล้วว่าพวกเขาเออออห่อหมกกันขนาดไหน ไม่โปร่งใสมากขนาดไหน และเผด็จการกันขนาดไหน!เป็นที่รู้กันว่า พวก Elite ทั้งหลายนี้มาจากการคัดเลือกแต่งตั้งกันเองของคนบางกลุ่ม ซึ่งทำให้ได้กลิ่นคณาธิปไตยตุๆ แล้ว กระบวนการพิจารณากฏหมาย ที่พากันออกถี่ระรัว จนราวกับว่าพวกเขาไม่ได้คลอด กม.ลูกทั้งหลายอย่างมีสติ แต่เหมือนคนเมาสำรอกอาเจียนเอาทุกสิ่งทุกอย่างในใส้ในพุงออกมา!ใช่แล้ว!…
Music
นึกย้อนไปถึงวันที่ได้เข้ามหาวิทยาลัยวันแรกๆ ชุดยูนิฟอร์มถูกระเบียบกับตำราเรียนเล่มใหญ่ๆ หอพักในมหาวิทยาลัยที่ทำให้พานพบกับผู้คนมากหน้าหลายตา ความรู้สึกอย่างหนึ่งที่ต่างไปจากตอนเรียนในโรงเรียนมัธยม คือความรู้สึกว่า ที่นี่ ฉันจะมีเสรีภาพมากขึ้น มีชีวิตที่หลากหลายกว่าเก่า และพื้นที่ทางความคิดที่จะปลดปล่อยฉันจากกรงขังอันแปลกแยกของโลกใบเดิมได้แต่แล้วก็ได้พบว่า สิ่งที่คาดหวังเอาไว้มันเป็นความจริงเพียงแค่บางส่วน นอกนั้นเป็นมายาภาพที่ฉันนึกฝันเอาเองใช่ๆ ฉันเคยถูกเสี้ยมสอนเช่นเดียวกับอีกหลายๆ คนว่าผู้ใหญ่เป็นผู้มีประสบการณ์ สิ่งที่พวกเขามอบให้เราต้องเป็นสิ่งที่ดีแน่ๆ แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ…
Music
"ไม่ว่าจะสูงต่ำดำขาว ทุกคนล้วนมีชีวิตเฉกเช่นเดียวกัน ไม่มีชีวิตของใครที่มีค่ามากกว่าของใคร ท่านทั้งหลาย...ประโยคสุดท้ายในเพลง Imagine ของ จอห์น เลนนอน ไม่ได้มีความหมายแบบนี้หรอกหรือ"
Music
Magic เป็นชื่ออัลบั้มล่าสุดของ Bruce Springsteen (หรือที่เรียกกันว่า The Boss*) ในอัลบั้มนี้เขากลับมาร่วมงานกับวงแบ็คอัพที่ชื่อ E Street band อีกครั้ง ทำให้ทิศทางของอัลบั้มนี้เน้นไปที่แนวทางของร็อคอีกครั้ง หลังจากอัลบั้มที่แล้วคือ Devils and Dust ออกเป็นงานแนวโฟล์คมากกว่าแต่ไม่ว่าจะเป็น Bruce Springsteen ในแบบของโฟล์คหรือ Bruce Springsteen ในแบบของร็อค ผมก็รู้สึกว่าดนตรีของ The Boss ผู้นี้ก็ช่างเต็มไปด้วยกลิ่นอายของความเป็นอเมริกันอยู่เสมอมาซึ่งดนตรีในอัลบั้ม Magic นี้ไม่เพียงแค่กลิ่นของความเป็นอเมริกันที่ยังคงมีอยู่ถ้วนทั่วอย่างเดียวเท่านั้น แต่ละเพลงที่ถ่ายทอดออกมาจาก The Boss กับวง E…
Music
ในคืนวันที่ 10 ของเดือนที่แล้ว (ตุลาคม)...ผมนั่งหน้าจอคอมพ์ใจจดใจจ่ออยู่กับเว็บไซต์ http://www.inrainbows.com/ เพราะได้ข่าวว่าวง Radiohead จะประกาศขายเพลงแบบ Digital Download ผ่านทางเว็บไซต์นี้และที่ทำให้คนตื่นเต้นกันอย่างหนึ่งก็คือ การที่ทางวง Radiohead ประกาศว่า จะสามารถสั่งซื้อในแบบที่ผู้ซื้อสามารถให้ราคาเองได้ตามใจชอบ ...ตามใจชอบในที่นี้หมายความว่า แม้แต่จะใส่เงินเป็น 0.00 (ซึ่งก็เหมือนขอโหลดมาฟรี ๆ นั่นแหละ) ก็สามารถทำได้ ! ซึ่งจะว่าไปเรื่องนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ขนาดนั้น เพราะผมเคยเจอวงที่ชื่อว่า Craw เปิดเว็บไซต์ที่ใช้ชื่อง่าย ๆ ว่า http://www.craw.com/…
Music
"ความฉาบฉวยและความสับสนอาจจะทำให้บางคนคิดว่ามันเวอร์ไปหรือเปล่า ยุคสมัยมันหม่นมืดขนาดนี้จริงๆ หรือ ต้องไม่ลืมว่าวง Porcupine Tree มาจากประเทศอังกฤษ มิวสิควีดิโอเพลง Fear of a Blank Planet เองก็อาจชวนให้นึกถึงเหตุการณ์บางอย่างที่เคยเกิดขึ้นจริง (หลายครั้ง) ในสหรัฐฯ และที่สำคัญคือการเล่าของพวกเขาก็ไม่ได้ตัดสินอะไรแทนเราว่าสิ่งที่บอกผ่านออกมานี้ดีหรือไม่ดี" วง Porcupine Tree อาจจะเป็นที่รู้จักน้อยมากสำหรับคนทั่วไป และอาจจะเป็นที่รู้จักบ้างพอสมควรสำหรับคนที่ชอบฟังเพลงแนว Progressive Rock ซึ่ง Porcupine Tree ถือเป็นวงที่มีแนวทางของ Psychedelic/Space อันหลอนและล่องลอยแบบ Pink Floyd เป็นหลัก…