Skip to main content

การปฎิบัติการของสัญญะ

 

 

ที่จริงการกระกอบสร้างความหมายและการต่อรองความหมายเกิดขึ้นมานานแล้ว นับตั้งแต่มนุษย์เริ่มอธิบายความหมายของสรรพสิ่งรอบ ๆ ตัว, ความหมายของชีวิต รวมถึงตัวเอง โดยแปลงความหมายนามธรรมไปสู่สิ่งอื่นที่เป็นรูปธรรม ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทาง (Approach) ในการเข้าถึงความรู้ หรืออาจจะเป็นการดำรงไว้ซึ่งอำนาจบางอย่าง แม้ว่าจะวนเวียนอยู่แต่ในสาขาของปรัชญาและเทววิทยาอย่าง “ศาสตร์การตีความ” (Hermaneutics) ในยุคแรก ๆ ในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 แต่ก็เนื่องจากข้อจำกัดที่เกิดจากการผูกขาดความหมายไว้เพียงคำตอบเดียว ถือเป็นที่สุด และวนเวียนอยู่เฉพาะในแวดวงศาสนา เช่น การตีความถ้อยความ – เหตุการณ์ในคัมภีร์ไบเบิ้ล นั้นเอง ที่ทำให้การผูกขาดความหมายกลายเป็นสิ่งที่ตายตัว เปลี่ยนแปลง – บิดผันไม่ได้ เป็นการกำหนดแบบจากบนลงล่าง (Hierarchy) เพียงทางเดียว จึงไม่สัมพันธ์กับกระบวนทัศน์ของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างพลิกฟ้าพลิกแผ่นดิน ตั้งแต่การปฏิวัติฝรั่งเศสในปลายศตวรรษที่ 18 ที่เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง กระทั่งมาถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกัน ที่เปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจ พลังการผลิต การแลกเปลี่ยนวัตถุ – สิ่งของ สินค้า ผ่านตัวกลางคือสกุลเงินต่าง ๆ ที่เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์ที่เคยมาก่อนหน้านั้นราวกับเป็นคนละโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเกิดขึ้นของสื่ออิเลคโทรนิกส์อย่างมากมาย ตั้งแต่ โทรศัพท์ ภาพยนตร์ การส่งกระจายเสียงคลื่นวิทยุ – โทรทัศน์ การบันทึกเสียง การบันทึกเทปภาพและเสียง เป็นอาทิ สื่อทั้งหลายที่ช่วยเป็นมือไม้ให้กับระบบทุนและการเมืองสมัยใหม่ ล้วนเป็นเครื่องมือในการสั่นคลอนการผูกขาดความหมายไว้กับสถาบันใดสถาบันหนึ่ง หรือตัวบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว ทำให้ความหมายเลื่อนไหล และเกิดการต่อรองขึ้นระหว่างคนหลาย ๆ กลุ่มในสังคมนวสมัย (Modern) ดังนั้น ระบบสัญญะจึงเกิดขึ้นในนามของวิชาสัญศาสตร์ (Semiotics) ตามแนวทางของการศึกษาภาษาศาสตร์เชิงโครงสร้าง (Structural Lingustics) ของ Ferdinand de Saussure หรือสัญวิทยา (Semiology) ตามแนวคิดของ Charles Sanders Peirce นักวิทยาศาสตร์ – นักปรัชญาชาวอเมริกัน6

ในขณะที่ในแบบของ Ferdinand de Saussure เริ่มก่อร่างองค์ความรู้จากโครงสร้างภาษา ว่าสัญญะ (Sign) นั้นประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ รูปสัญญะ (Signifer) ในฐานะของตัวกำหนดกรอบความคิดจากการเรียกหรือนิยามสิ่งใดสิ่งหนึ่ง กับ ความหมายสัญญะ (Signified) ในฐานะตัวอ้างอิงเพื่อแสดงความหมายนั้นให้เห็นทั้งในเชิงความเข้าใจหรือเชิงประจักษ์

 
  

ไม่ว่ารูปสัญญะ (Signifer) ลักษณะสะปะสะปะ (Arbitary) จะเรียกว่าต้นไม้ (ไทย), tree (อังกฤษ), arbre (ฝรั่งเศส), ชซู่ว์ (จีนกลาง), ยูเอกิ (ญี่ปุ่น) แต่ความหมายสัญญะ  (Signified)  ที่ปรากฏในความคิดยังคงเป็นสิ่งเดียวกันที่รูปสัญญะอ้างอิงถึง  เพราะตัวสัญญะ ไม่มีความหมายในตัวของมันเอง แต่เป็นการอ้างอิงความหมาย (Signifying Practices)ที่อยู่รอบ ๆ ตัวมันที่เรียกว่ากรอบทางสังคม (Social Convention) ซึ่งสังคมสอนให้คิดและเชื่อในระดับฝังลึกที่เรียกว่าสามัญสำนึก ไม้กางเขน > คริสต์, นกพิราบ > การสื่อสาร, ช่อมะกอก > สันติภาพ, สวัสดิกะ > นาซี (เผด็จการ – ความชั่วร้าย) สีดำ – ไว้ทุกข์, สีขาว – บริสุทธิ์ ฯลฯ กระบวนการทำงานของสัญญะนี้เรียกว่า Signification (การก่อเกิดความหมาย) โดยที่ รูปสัญญะ (Signifer) กับ ความหมายสัญญะ  (Signified)  แยกออกจากกันไม่ได้      

เพราะฉะนั้น มนุษย์จึงมักจะเข้าใจอะไรผ่านโครงสร้างภาษา และเชื่อว่าภาษาเป็นภาพสะท้อนของโลกความเป็นจริง  สัญศาสตร์ (Semiotics/ Semiology) (a system of sign/ a science of sign) จึงเป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยความหมาย เป็นการศึกษาจากสิ่งแทนความ (Representation) ว่าสามารถก่อให้เกิดความหมายได้อย่างไร” เป็นการศึกษาถึงกระบวนการที่ทำให้เรา 1. เข้าใจความหมายของสิ่งใด ๆ (Comprehend meanings) 2. และการที่เราให้ความหมายกับสิ่งใด ๆ (Attribute meanings) Representation คือ สิ่งแทน ตัวแทน ที่ทำหน้าที่ส่งผ่านความหมาย กินความกว้างขวาง ตั้งแต่ภาษาพูด/เขียน ภาษาภาพ วัตถุ/สิ่งของ/อาคาร/สถานที่/กลิ่น/เสียง ฯลฯ ที่มันสามารถแทนความหมายของสิ่งอื่นได้  จึงเป็นการท้าทายกระบวนการคิดก่อนหน้านั้นทั้ง ธรรมชาตินิยม (Naturalism), สัจนิยม (Realism), ธรรมชาตินิยม (naturalism), เจตจำนงนิยม (Intentionality) ซึ่งเป็นวิธีคิดที่สืบทอดมาตั้งแต่ ศ.ที่ 17 – 18 – 19 – ต้น 20 ที่เชื่อในเรื่องความเป็นจริงที่ตายตัว ความจริงที่ถูกกำหนดมา เปลี่ยนแปลงไม่ได้ โดยอำนาจอะไรบางอย่าง สัญศาสตร์ จึงปลดปล่อยทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ตัวสาร และปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องคือ ปัจจัยทางสังคม – วัฒนธรรม (Norms - Conventions)  

ขณะที่ Charles Sanders Peirce ในนำปฏิบัติการระบบสัญญะไปสู่หารสื่อความหมายเชิงภาพ โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ Iconic Sign หรือ       Icon คือ, Indexical Sign หรือ Index คือ และ Symbol คือ

Iconic Sign –  สัญญะเชิงคล้าย/เหมือน (Resemble) อ้างอิงกับความเป็นจริง เช่น ภาพถ่าย ภาพเขียน (portrait/landscape/realistic) อนุสาวรีย์ มีแรงกระตุ้นสูงกว่าสัญญะเชิงทัศนะตัวอื่น ๆ

Index – สัญญะเชิงสาเหตุ-ผลลัพธ์ (Causal Relationship) เช่น หมาหอน > ผี, ควัน > ไฟ, รูกระสุน > การยิง, รอยล้อ > มีรถขับผ่านมา, น้ำตา > ความเศร้า

Symbol – สัญญะเชิงข้อตกลงร่วม (Convention) ไม่มีสิ่งใดเชื่อมโยงกับความเป็นจริง ใช้กับสิ่งที่มีความซับซ้อน เช่น นกพิราบ > เสรีภาพ/การสื่อสาร, ดอกกุหลาบ > ความรัก, นกอินทรีย์ > อเมริกา, Nike > ความเร็ว

กระบวนการทำงานของสัญญะของ Peirce ไม่ต่างจาก  Saussure เพราะทั้ง 3 ชนิดดังที่กล่าวไปนั้น มีองค์ประกอบสำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ 1. ส่วนที่เป็นสิ่งนำพาสัญญะ (Sign Vehicle) 2. กับสิ่งแทน/ตัวแทน (Interpretant) ทั้ง 2 อ้างอิงถึงสรรพสิ่ง (Object) ไม่ต่างจากรูปสัญญะ (Signifier) กับความหมายสัญญะ (Sifnified) ทั้งหมด เป็นเครื่องมือหลัก ที่จะนำไปใช้ประกอบกับเครื่องมือชนิดอื่นอีกหลาย ๆ ตัว เพื่อให้การถอดรื้อความหมาย (Deconstruction) ของวาทกรรมที่ถูกประกอบสร้างขึ้น (Construction) เพื่อให้การบริโภคความหมายเสร็จสมบูรณ์

 

 

ภาษาร่างกาย ทีท่า และใบหน้า (Body Language, Gesture and Facial Expression) ในฐานะเครื่องมือสื่อสารแห่งสัญญะ7

 

Body Language หรือ “อาการภาษา” คือ Kinesics  อวัจภาษาในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกาย ภาษาร่างกายเป็นที่จดจำถึงความรู้สึก/ความหมายมากกว่าภาษาพูด สามารถซ่อน/โกหกบ่างสิ่งบางอย่างได้ เช่น ยักไหล่(ไม่เป็นไร) ส่ายหน้า(ไม่เห็นด้วย) ส่ายหัว(แย่) ยืดตัว(แกร่ง) ยืดอก(กล้า) ห่อตัว(เหี่ยว/หดหู่/กลัว) การเต้นด้วยท่าทางต่าง ๆ สามารถส่งสัญญาณว่า เท่ ดูดี หรือ กวน ล้อเลียน เสียดสี ยั่วยวน ก็ได้/ ภาษาร่างกายบ่อยครั้งควบคุมไม่ได้/ทำให้อับอาย แม้จะรู้ว่าไม่ตั้งใจ เช่น เรอ ท้องร้อง(หิว) หายลม จาม หาว

ดังนั้น  2 ใน 3 ของสาร (Message) ที่มนุษย์ส่ง/สื่อออกไปจะผ่านภาษาร่างกาย ซึ่งมีอยู่หลายชนิดแบ่งเป็นภาษาท่าทาง 1 พัน, ภาษามือ 5 พัน, สีหน้า 2 แสน 5 หมื่นชนิด, ร่างกายจึงเป็นต้นกำเนิดของสัญญะอย่างหนึ่ง เรียกว่า Non-Verbal Semiotics ภาษาร่างกายมีไว้เพื่อติดต่อสือสาร/มีชีวิตรอดอยู่ในสังคม เรียนรู้ผ่านการปลูกฝัง (Norms/Commonsense) หรือ “Signifying Body” การส่งสัญญะผ่านร่างกาย กรณีศึกษาที่คลาสิกตัวอย่างหนึ่งเช่น เมื่อคนเข้าไปในลิฟท์ที่เต็มไปด้วยคนแปลกหน้า ปฎิกิริยาก็คือ  1 เข้ามุมใครมุมมัน  2 มองที่ประตู (หมายเลขชั้น) 3 มองพื้น 4 มองเพดาน 5 เล่นมือถือ 6 ยืนเงียบ ๆ เข้าชาน/ทำสมาธิ ทั้งหมดเพื่อหลับเลี่ยงการสบสายตา (Eye Contact) เรียกว่า “Elevator Code” หรือ รหัสเฉพาะที่ใช้ในลิฟต์

Gesture คือการใช้ มือ แขน หัว ลำตัว ประกอบเป็นท่าทาง ใช้ในชีวิตประจำวัน และเห็นได้ในงานถ่ายภาพแฟชั่นต่าง ๆ บางตำราถือว่าเป็นภาษาที่เก่าแก่กว่าภาษาพูด เช่น เมื่อเจอชาวต่างชาติ ภาษาที่ใช้ได้ง่าย/เข้าใจได้เร็วที่สุดก็คือภาษาท่าทาง เช่น ใช้นิ้วชี้บอกทาง โบกมือไปมาบอกว่าไม่ใช่ ส่ายหน้าบอกว่าเข้าใจผิด กางแขนออกบอกว่ากว้าง/ไกล/ใหญ่เท่าไหร่ ใช้นิ้วขีดเส้นในอากาศ ยกมือขึ้นห้ามปราม ชูนิ้วโป้งให้ 2 ข้างคือเก่งมาก/เยี่ยม/ยอด แบมือออกบอกว่าจริงใจ/ไม่มีเจตนาอะไรแอบแฝง นิ้วชี้/กลางประกบกันอวยชัยให้พรให้โชคดี เอามือแตะหัวเบา ๆ บอกว่าไม่มีสมอง เกาหัวบอกว่ากลุ้มใจ กำมือทุบเบา ๆ บนหน้าผากบอกว่าหนักใจ หรือการชูนิ้วกลาง  ไม่ต่างจากสัญญาณของตำรวจจราจร

Facial Expression  บางทีเรียกว่า Grammar of the face > ใช้แสดง Feeing > เบิกบาน ร่าเริง โกรธ งอน หงุดหงิด ประหลาดใจ เศร้า หมอง หดหู่/ ถือเป็น Self-Representation > ในอดีตจึงมีการอ่านสัญญะ/เพิ่มสัญญะบนใบหน้า เช่น ทาลิปสติกสีแดง = อยู่ในภาวะเจริญพันธุ์/ฉันเป็นสาวแล้ว) ชายไว้หนวด = เจ้าชู้/ประสิทธิภาพ/ลูกดก  หรือละครที่ใส่หน้ากากชนิดต่าง ๆ อย่าง โขน/ คาบูกิ ฯลฯ โดยใช้บุคลิกของบุคคล (รูปสัญญะ) ผสมกับความหมายอื่น ๆ ในสังคมจนเกิดเป็นมายาคติเกี่ยวกับโหงวเฮ้ง (คุณลักษณะ 5 ประการ) ขึ้นมา  ศัพท์ในภาษาอังกฤษ (ภาษา > สัญญะแทนความจริง) จึงมีศัพท์เกี่ยวกับใบหน้ามากมาย เช่น face to face/ money face/ to face the music/ หรือในภาษาไทย เช่น ขายผ้าเอาหน้ารอด/ ขายหน้าตา(Pretty Face) อับอายขายขี้หน้า หน้าใหญ่ ฯลฯ จึงเป็นที่มาของอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง/เครื่องประดับในปัจจุบัน (รวมทั้งเสื้อผ้า/แฟชั่น) เพื่อลบ กลบ เสริม บุคลิกต่าง ๆ ของบุคคลขึ้นมา (เพื่อแก้โหงวเฮ้ง/ หรือศัลยกรรมแบบเกาหลี ซึ่งเป็นวิธีคิดแบบ Modern สู่ Postmodern ในฐานะทุนเชิงสัญลักษณ์ติดตัว หรือ Embodies Capital

นอกจากรหัสดังกล่าวแล้ว สังคมคมเรายังมีรหัสที่ติดตัวมา คือ Gender Code (เพศสภาวะ/ เพศที่เราเลือกเป็น > Sex/ เพศโดยกำเนิดตามธรรมชาติ) เพศโดยทั่วคือ masculinity กับ Femininity ในสังคมตะวันตก เพศชายมักจะเป็น Sex-Seekers > คือ เป็นฝ่ายริเริ่ม (จีบ/ทำความรู้จัก) และแสดงความสนใจต่อเพศตรงข้ามก่อน โดยมี Norms กำกับอยู่ แม้ว่าปัจจุบันเพศจะมีมากกว่า 6 เพศแล้วก็ตาม  > Male/ Female (Heterosexual)/ Metrosexual/ Lesbian/ Gay (Homosexual/Bisexual)/ Transvestite หรือ transsexual (Transgender) เรียกรวม ๆ ว่า Queer หรือ Odd ถ้าตรงเพศเรียกว่า Square ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับรหัสต่าง ๆ ทั้งสิ้น

ดังนั้น ร่างกายจึงเป็นสื่อหรือพาหนะ  (Media - Vehicle) ในการเชื่อมต่อ สื่อสาร ต่อรองอำนาจ ทำความเข้าใจกัน และแยกให้เห็นระหว่างรหัสที่เป็นวัฒนธรรม - สังคม กับสิ่งที่เป็นธรรมชาติของร่างกายมนุษย์ ที่ประกอบสร้างขึ้นมาเป็นสัญญะ - วาทกรรม ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของมายาคติต่าง ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะในประเด็นของเพศสภาพ (Genderism)

 

 

Gaze การจับจ้อง

 

การจับจ้อง  (Gaze) ใช้กันมาก ทุกรูปแบบในทุกสื่อ เช่น สื่อโทรทัศน์ ได้แก่ ละครทีวี ภาพยนตร์โฆษณา มิวสิควิดีโอ สื่อภาพยนตร์ สื่อสิ่งพิมพ์ โดยเฉพาะนิตยสารแฟชั่นต่าง ๆ บางครั้งเรียกว่า The look จนเกิดคำว่า Male Gaze หรือ การจับจ้อง - จ้องมองแบบผู้ชาย เป็นการมองผู้หญิงเพื่อความเพลินเพลิน หรือ Voyeuristic way และ Mutual Gaze หรือ การจ้องมองกันและกันระหว่างบุคคล เป็นการมองแบบเลกเปลี่ยน - สื่อสารความหมายต่าง ๆ หรือ Interpersonal Communication ทั้งนี้ Laura Mulveyศาสตราจารย์ - นักทฤษฎีทางด้านภาพยนตร์ - นักสตรีนิยมชาวอังกฤษเชื้อสายโปแลนด์ ได้เป็นผู้คิดค้นคำศัพท์ชุดนี้ขึ้นมาในปี พ.ศ. 1975 บทฐานคิดที่ว่าคนดูโดยเฉพาะกับสื่อภาพยนตร์นั้นมักจะจับจ้องไปยังภาพด้วยการมองแบบเพศตรงข้ามฝ่ายชาย (Heterosexual Male) โดยสายตาฝ่ายชายมักโลมไล้ไปตามเส้นโค้งเว้าของเรือนร่างผู้หญิง ขณะที่เหตุการณ์ที่ดำเนินไปก็เอื้ออำนวยให้เกิดฉากที่ทำให้เรือนร่างของผู้หญิงเปิดเผยต่อสายตาของเพศชายให้มากที่สุด ซึ่งแนวคิดนี้ ถูกนำไปประยุกต์ใช้ในการผลิตและวิเคราะห์สื่อชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น นิตยสารผู้ชาย นิตยสารผู้หญิง นิตยสารแฟชั่น ทำให้ผู้หญิงแปรสภาพสู่ความวัตถุแห่งการจับจ้อง (The object of the gaze) เพราะแม้แต่กระทั่งผู้หญิงเองก็ยังจับจ้องมองกันและกันผ่านสายตาแบบผู้ชาย หรือมุมมองของกล้องที่กำหนดโดยผู้ชาย

ประเด็นสำคัญของการจับจ้องอยู่ที่ “สิ่งที่ถูกจับจ้อง” (The object of the gaze) มักจะไม่รู้ตัวว่ากำลังถูกจ้องมองอยู่ มีความหมายมากว่าแค่การมองดู เป็นการมองที่แฝงนัยของอำนาจ หมายถึง ผู้จ้องมอง (The gazer is the superior) มีอำนาจมากกว่า ผู้ถูกมองหรือสิ่งที่ถูกมอง ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องเรื่องเพศสภาพ (Genderism) เช่น การดูรูปโป๊ การแอบมอง การตามถ่ายภาพดาราคนโปรด - ดาวมหาวิทยาลัย - สาวพร๊ตตี้ - คนที่แอบปลื้ม โดยที่บุคคลไม่รู้ตัว เพื่อตอบสนองหรือเติมเต็ม หรือเพื่อความเพลินเพลิน  (Voyeurism)

 

Laura Mulvey จึงได้แบ่งการจับจ้อง (Gaze) ออกเป็น 3 แบบ คือ

1 วิถีที่ผู้ชายจับจ้องมองดูผู้หญิง (How men look at women.)

2 วิถีที่ผู้หญิงจับจ้องมองดูตัวเอง (How women look at themselves.)

3 วิถีที่ผู้หญิงจับจ้องมองดูกันเอง (How women look at other women.)

ทั้ง 3 แบบ ล้วนเป็นพิธีกรรมของการบริโภค รูปร่าง หน้าตา สีหน้า ท่าทาง ที่เกิดขึ้นในสื่อเชิงทัศน์ (Visual Culture) ทั้งหลายเสมอมา นั้บตั้งแต่อารยธรรมมนุษย์เริ่มสร้างภาพแทนเพื่อสื่อความหมายและเพื่อวัตถุประสงค์แตกต่างกันไป นับตั้งแต่รูปปั้น Venus of Willendorf8 (ระหว่าง 24,000 - 22,000 ก่อนประวัติศาสตร์) ที่ร่างกายของผู้หญิงกลายเป็น

สื่อที่ช่วยรับประกันความมั่นคงปลอดภัยของชีวิต ทั้งใยแง่ของอาหารที่อุดมสมบูรณ์และลูกในครรภ์ ซึ่งย่อมตรงกันข้ามกับชีวทัศน์ (Ideology) ของคนยุคปัจจุบันที่ 

การนำเสนอร่างกายของผู้หญิงผ่านสื่อ ได้ขับเน้นนัยทางกามารมณ์ (Erotic) ผ่านสายตาของเพศชาย(Male Gaze) และมีวัตถุประสงค์เพื่อความเพลินเพลินอันเกิดจากการได้จับจ้องมองดู (Voyeurism) เป็นหลัก ดังรูปร่างของกลุ่มนักร้องสาววง Girl’s Generation9 จากประเทศเกาหลี ที่สะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกของคนสมัยใหม่ที่เทคโนโลยีในการผลิตอาหารสมบูรณ์และเลือกได้ตามใจชอบแล้ว แต่สามารถรักษารูปร่างหน้าตาให้ดูปราดเปรียว การเคลื่อนไหวที่มีประสิทธิภาพ ความแคล่วคล่องว่องไว เหมาะสมกับการเผชิญชีวิตนอกบ้านเป็นส่วนใหญ่ของผู้หญิงปัจจุบัน โดยเฉพาะวัยรุ่น – วัยทำงาน และแน่นอนว่า หญิงสาวเหล่านี้ ต่างสำรวจตรวจตรากันและกันผ่านสายตาแบบผู้ชาย เพื่อปรับแปลงแต่งเสริม รูปโฉมโนมพรรณ ให้ต้องตาต้องใจ ต้องกับรสนิยมของผู้ชายในยุคสมัยปัจจุบันเช่นกัน พิธีกรรมแห่งการจับจ้องเหล่านี้ ดำเนินไปเป็นวัฏจักรแห่งการผลิตระบบสัญญะให้มีสืบทอดต่อ ๆ กันมา ครบถ้วนทั้ง 3 แบบตามที่ Laura Mulvey ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ แม้ว่า จะมีนักสตรีนิยมรุ่นหลังหลาย ๆ คน ออกมาวิพากษ์แนวคิดที่ว่านี้ของ Laura Mulvey ก็ตาม ว่าผู้หญิงไม่ได้ยอมให้ตัวเองเป็นฝ่ายให้ถูกจับจ้องแต่เพียงฝ่ายเดียวเสมอไป แต่ยังมีการตอบโต้ด้วยการจ้องมองกลับมาเช่นกัน  แต่ถึงอย่างนั้น การจ้องมองก็ยังคงดำเนินไปภายใต้บรรทัดฐานทั้ง  3 ประการดังกล่าว

 

6  ดู Anne D’Alleva, p.131. Structuralism emerged in France in the 1950s and 1960s among anthropologists, sociologists, and literary theorist who took as their model the linguistics of Ferdinand de Saussure.

7  ดู Marcel Danesi, p.45-56. Messages, Signs, and Meanings A Basic Textbook in Semiotics and Communication

8  ดู http://en.wikipedia.org/wiki/Venus_of_Willendorf   

...................................................................................

เอกสารอ้างอิง

 

ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข แปล. (2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์ : ปิแยร์ บูร์ดิเยอ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คบไฟ

นรชิต จิรสัทธรรม. (2553). โพสต์โมเดิร์นกับเศรษฐศาสตร์ : บทวิพากษ์สมมติฐานความมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ = Post modern & economics.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา

วงหทัย ตันชีวะวงศ์. (2554). การโฆษณาข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Anne D'Alleva. (2005). Methods & Theories of Art History. London, UK: Laurence King Publishing.     

John Berger. (1972). Ways of Seeing. London, UK: Penguin.     

Michael O' Shaughessy, Jane Stadler. (2002) Media and Society.USA: Oxford University Press.

Richard J. Lane. (2000). JEAN BAUDRILLARD. London : Routledge.

Tony Schirato and Jen Webb. (2004). Reading the visual. Australia: National Library of Australia.

สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2556, http://www.signature9.com/style/fashion/vogues-september-issue-will-bring-in-more-than-92-million.jpg

สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2556, http://caseyculture.tumblr.com/post/181476027/the september issue.jpg

สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2556, http://bluenwhite.wordpress.com/tag/miranda-priestly/

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556,  http://en.wikipedia.org/wiki/Venus_of_Willendorf

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556,  http://www.dek-d.com/board/view/2733007/ SNSD

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556,  http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=design-fashion&month=01-05-2005&group=4&gblog=2

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556,  http://www.apexprofoundbeauty.com/th/news-detail.asp?newsID=464

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556, http://www.manager.co.th/home/viewnews.aspx?NewsID=9520000055424

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556, http://www.mornor.com/2009/forum/redirect.php?tid=188562&goto=lastpost

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556, http://en.wikipedia.org/wiki/File:%C3%89douard_Manet_-_Le_D%C3%A9jeuner_sur_l%27herbe.jpg

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556, http://www.huffingtonpost.com/2009/01/27/emvogueem-photoshopped-si_n_161310.html

สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2556, http://en.wikipedia.org/wiki/Le_d%C3%A9jeuner_sur_l'herbe

 

        

บล็อกของ รอลงบัส (Rawlongbus)

รอลงบัส (Rawlongbus)
Q- What makes you depressed?Slavoj Zizek  “Seeing stupid people happy.”
รอลงบัส (Rawlongbus)
          (ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งแรก: วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556)   
รอลงบัส (Rawlongbus)
ปกนิตยสารสำหรับผู้ชาย FHM และ Mars - องค์ประกอบบนหน้าปก (Composition) และ- รูปที่ใช้ (Image)  
รอลงบัส (Rawlongbus)
กรณีศึกษาจากนิตยสาร (Case Studies) 
รอลงบัส (Rawlongbus)
การปฎิบัติการของสัญญะ  
รอลงบัส (Rawlongbus)
Man act women appear. Men look at women.  Women watch themselves being looked at.