Skip to main content

ปกนิตยสารสำหรับผู้ชาย FHM และ Mars

 

- องค์ประกอบบนหน้าปก (Composition) และ- รูปที่ใช้ (Image)

 

สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับหนังสือประเภทปลุกใจทั้งหลายนั้น นิตยสาร 2 เล่มนี้นับเป็นตัวอย่างของพัฒนาการในการยกระดับการบริโภคความหมายให้ดูมีรสนยิมมากขึ้น ไม่ใช่เพียงเพราะการเป็นหนังสือหัวนอกเท่านั้น แต่ยังเป็นการบ่งบอกว่าผู้หญิงในภาพคืออาหารตาชนิดหนึ่ง ที่เต็มใจให้แต่งปรุง การโพ้สท์ท่า บ่งบอกนัย (to connote) ว่าเป็นอาหารพร้อมเสิร์ฟ ที่มีอยู่ครบเครื่อง ถ้าเปรียบเป็นขนมเค้ก รูปร่างก็คือก้อนขนมที่จงใจใส่มาทั้งก้อน มีรายละเอียดทั้ง ครีมตกแต่งหน้า (Topping) พวก Whipping Cream, คุ้กกี้, ผลไม้จำพวกเชอรี่ ที่ดูอร่อยตาและชวนชิม ภาพหลัก (Key Image) จึงเป็นภาพแบบ Seductive (ยั่วยวน) ซึ่งส่งรหัสว่า เป็นความมั่นใจ  มีเสน่ห์ดึงดูดใจ ท้าท้ายและยั่วยวน ไม่ว่าจะเป็นมือที่เกี่ยวขอบกางเกง ยืนเผชิญหน้าแบบตรง ๆ  (FHM) หรือการนอนบิดเป็นรูปตัว S เพื่อเน้นสัดส่วนโค้งเว้าและชฺวนให้ชม (Mars) เช่นเดียวกัน   

 

- สี (Color)  โทนสีและอารมณ์ในภาพ (Tone and Mood) และแบบตัวอักษรของหัวหนังสือ (Typo/Magazine Head)

 

สีสันจัดจ้าน จงใจใช้สีโทนร้อน โดยเฉพาะพื้นหลังสีส้มหรือแดง ที่ภาษาสากลบ่งบอกถึงทั้งความยั่วยวน กิเลส อันตราย การเล่นกับไฟ เช่น ในความเชื่อแบบตะวันตก หรือความมีตัวตน มีชีวิต เช่น ในความเชื่อแบบจีนก็ได้ พื้นสีนี้ รองรับรูปทรงของนางแบบที่อยู่ด้านหน้า รวมทั้งช่วยขับเน้นหัวหนังสือแบบที่ไม่มีฐานและเชิง (Serif) รวมถึงการใช้สีขาวโดยบังเอิญอย่างจงใจทั้ง 2 ฉบับ อันเป็นรหัสของความทันสมัย หมายถึงความเป็นผู้หญิงหัวสมัยใหม่ที่เปิดกว้างในทัศนะอย่างเป็นบวกที่มีต่อเรื่องชีวิตและเรื่องเพศ (Life Style and Sex Life)  ปกนิตยสารสำหรับผู้ชาย FHM และ Mars

 

- องค์ประกอบบนหน้าปก (Composition) และ- รูปที่ใช้ (Image)

 

สำหรับผู้ที่คุ้นเคยกับหนังสือประเภทปลุกใจทั้งหลายนั้น นิตยสาร 2 เล่มนี้นับเป็นตัวอย่างของพัฒนาการในการยกระดับการบริโภคความหมายให้ดูมีรสนยิมมากขึ้น ไม่ใช่เพียงเพราะการเป็นหนังสือหัวนอกเท่านั้น แต่ยังเป็นการบ่งบอกว่าผู้หญิงในภาพคืออาหารตาชนิดหนึ่ง ที่เต็มใจให้แต่งปรุง การโพ้สท์ท่า บ่งบอกนัย (to connote) ว่าเป็นอาหารพร้อมเสิร์ฟ ที่มีอยู่ครบเครื่อง ถ้าเปรียบเป็นขนมเค้ก รูปร่างก็คือก้อนขนมที่จงใจใส่มาทั้งก้อน มีรายละเอียดทั้ง ครีมตกแต่งหน้า (Topping) พวก Whipping Cream, คุ้กกี้, ผลไม้จำพวกเชอรี่ ที่ดูอร่อยตาและชวนชิม ภาพหลัก (Key Image) จึงเป็นภาพแบบ Seductive (ยั่วยวน) ซึ่งส่งรหัสว่า เป็นความมั่นใจ  มีเสน่ห์ดึงดูดใจ ท้าท้ายและยั่วยวน ไม่ว่าจะเป็นมือที่เกี่ยวขอบกางเกง ยืนเผชิญหน้าแบบตรง ๆ  (FHM) หรือการนอนบิดเป็นรูปตัว S เพื่อเน้นสัดส่วนโค้งเว้าและชฺวนให้ชม (Mars) เช่นเดียวกัน   

 

- สี (Color)  โทนสีและอารมณ์ในภาพ (Tone and Mood) และแบบตัวอักษรของหัวหนังสือ (Typo/Magazine Head)

สีสันจัดจ้าน จงใจใช้สีโทนร้อน โดยเฉพาะพื้นหลังสีส้มหรือแดง ที่ภาษาสากลบ่งบอกถึงทั้งความยั่วยวน กิเลส อันตราย การเล่นกับไฟ เช่น ในความเชื่อแบบตะวันตก หรือความมีตัวตน มีชีวิต เช่น ในความเชื่อแบบจีนก็ได้ พื้นสีนี้ รองรับรูปทรงของนางแบบที่อยู่ด้านหน้า รวมทั้งช่วยขับเน้นหัวหนังสือแบบที่ไม่มีฐานและเชิง (Serif) รวมถึงการใช้สีขาวโดยบังเอิญอย่างจงใจทั้ง 2 ฉบับ อันเป็นรหัสของความทันสมัย หมายถึงความเป็นผู้หญิงหัวสมัยใหม่ที่เปิดกว้างในทัศนะอย่างเป็นบวกที่มีต่อเรื่องชีวิตและเรื่องเพศ (Life Style and Sex Life)  

 

 

ปกนิตยสารสำหรับผู้หญิง สกุลไทย และ แพรว

 

- องค์ประกอบบนหน้าปก (Composition) และ- รูปที่ใช้ (Image)

นิตยสารทั้ง 2 ฉบับแม้ว่าจะเชิดชูความเป็นหญิงไทย แต่ต่างก็มีรหัส (Code) ที่แตกต่างกัน ขณะที่สกุลไทยพยายามขับเน้นความเป็นกุลสตรีผ่านความเคร่งขรึมเรียบง่าย แม้จะใช้คนรุ่นใหม่ แต่ก็มีท่าทีของการอนุรักษ์อย่างเห็นได้ชัด ทั้งพื้นหลังที่ดูนิ่งสงบ แสงไฟตกให้เงาด่านหลังผลักตัวนางแบบ (Figure) ให้ลอยเด่นออกมาราวกับจงใจบอกว่ามีฉากหลังรองรับ เป็นทางการ เป็นต้นแบบของหญิงไทยตัวอย่าง และรางวัลที่นางแบบ(ถ้า)ได้รับก็คือทุนเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Capital)  ที่ไม่จำเป็นต้องอาศัยทุนอื่นใดเข้ามาช่วยเสริมอีก ท่าทีที่ปรากฏจึงแสดงออกมาในแบบ Catalogue คือความนิ่งทื่อเหมือนรูปปั้น ตาอาจเปิดกว้าง ปากอมยิ้มแต่ไม่มีอะไรอยู่ในตัวตน ไม่มีบุคลิกของตัวเองที่แน่นอน - ชัดเจน นอกจากความเป็นต้นแบบของการโฆษณาชวนเชื่ออะไรก็ได้ เช่น ความเป็นกุลสตรี ความเป็นหญิงไทย เป็นต้น

ขณะที่แพรวใช้นางแบบทีมีชื่อเสียง (Celebrity) และแม้จะเต็มไปด้วยรายละเอียดประดับประดา แต่ก็ยังถูกจัดระเบียบให้เข้าที่ (Hierarchy) ตามลำดับความสำคัญของตัวสาร อีกทั้งการโพ้สท์ท่าและฉากหลังที่ดูเป็นธรรมชาติมากกว่า จึงดูมีชีวิตชีวาและเป็นทางการน้อยกว่า นั่นหมายถึงการเปิดโอกาสให้มายาคติ (Mythology) เข้ามาทำงานในพื้นที่บนปกมากขึ้น ในฐานะกุลสตรีที่มีความเพียบพร้อมด้วยทุนสัญลักษณ์แทบจะทุกชนิด และยังเป็นหญิงไทยสมัยใหม่แบบลูกผสมระหว่างวิคตอเรียน (ราว ค.ศ. 1830) กับสมัยใหม่ตอนต้น (ราว ค.ศ. 1930) และภาษท่างทางจึงเป็นไปในแบบ Maternal หรือ ความเป็นคุณแม่ มีวุฒิภาวะ ฉลาดเฉลียว มีความเมตตา มากประสบการณ์  อบอุ่น มีความเข้าอกเข้าใจ และเข้าใจอะไรง่าย ยิ้มน้อย ๆ ดูมีอำนาจ ผ่านทรงผมหั่นสั้น ๆ 

 

- สี (Color)  โทนสีและอารมณ์ในภาพ (Tone and Mood) และแบบตัวอักษรของหัวหนังสือ (Typo/Magazine Head)

รหัสหญิงไทยของสกุลไทยถูกใส่เข้ามาผ่านตัวหนังสือแบบกึ่งฐานเชิง (Semi-San) ราวกับเป็นการต่อรองความหมายกันระหว่างความคลาสสิคกับความทันสมัย เมื่อประกอบกับสีเหลืองและพื้นสีหลังโทนสีน้ำตาลอ่อน มันจะเป็นรูปสัญญะที่สะท้อนถึงความมีรากเหง้า หรือมีสกุลรุนชาติ ซึ่งก็คือความเป็นไทยที่แอบ แอบอิงกับความเป็นวิคตอเรียนที่แสดงออกผ่านชุดราตรีสีดำที่แอบซ่อนระบายของลวดลายเล็ก ๆ ไว้

ขณะที่รหัสความเป็นหญิงไทยในตัวอักษรที่ใช้เป็นหัวหนังสือแพรว ที่ผ่านการปรับมาหลายครั้งเพื่อให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป กลับเป็นรูปทรงที่พลิ้วไหวไหลลื่น ความปราดเปรียวคล่องแคล่วไม่ต่างจากคตินิยมความแบบบางพลิ้วไหว (Slim) ที่เคยเป็นที่นิยมในสังคมอเมริกันในยุคเริ่มต้นของการผลิตแบบฟอร์ด (Fordism) ที่รถยนต์ ยานพาหนะ และสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ต่างเน้นไปที่งานดีไซน์ที่นำเสนอผ่านความแบบบางพลิ้วไหว ความเคลื่อนไหว ความรวดเร็ว ของวิถีชีวิตทันสมัย เมื่อผสานกับสีโทนร้อนแต่ถูกเบรกค่าสีไว้ (Pastel) จึงช่วยทำให้ปกมีสีสันสดใสแต่ไม่ถึงกับฉูดฉาดหวือหวา บนฉากหลังสีเรียบ ภาพรวมของปกจึงออกมาดูนิ่งและคลาสสิค  ตัดกับตัวหนังสือประกอบในจุดต่าง ๆ ที่เป็นแบบหัวตัด (Serift) เพื่อแสดงนัยของความทันสมัยอย่างชัดเจน

 

การบริโภคเชิงสัญลักษณ์ (Symbolic Consumption) ผ่านการจับจ้อง (Gaze) เป็นคุณสมบัติสำคัญของยุคสมัยแห่ง “วัฒนธรรมทางสายตา” (Visual Culture) และสังคมแบบวัฒนธรรมปวงชน (Pop Culture) จึงเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนและต่อรองของความหมาย ทำให้สิ่งที่นำเสนอผ่านปกนิตยสาร หรือตัวนิตยสาร (Media) เป็นมากกว่าประโยชน์ใช้สอย (Function) ในเรื่องการอ่าน แต่เป็นเรื่องของการรับรู้ ปลูกฝัง หรือตอบโต้กับความหมายที่ซ่อนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นความทันสมัย (Modernism) ความหรูหรา (Luxury) ความมีระดับ (Classicism) ความยั่วยวน – ดึงดูด (Sexy) ความฉลาดปราดเปรียว (Smart) หรืออื่น ๆ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงโครงสร้างเชิงลึกที่ค่อย ๆ ซึมซ่าน (Instill) ผ่านเข้ามาผ่านสื่อในชีวิตประจำวันที่มีความหลากหลาย  แตกต่างกันไปตามแต่ยุคสมัย เป็นโครงสร้างเชิงลึกที่อาศัยมายาคติ (Mythology) ที่ประกอบไปด้วยตัวสัญญะอันหลากหลายในการหล่อเลี้ยงและสืบทอดต่อ ๆ กันไปอย่างไม่รู้จบ เพราะธรรมชาติของมนุษย์เกิดจากโครงสร้าง และโครงสร้างเกิดจากอำนาจนำเดี่ยว (Hegemony) ที่ประกอบสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์ จึงไม่มีสิ่งใดที่เป็นธรรมชาติแท้ เพราะแม้แต่ ’ความเป็นธรรมชาติ’ (ไม่ใช่สภาวะในธรรมชาติ) ก็คือสิ่งที่มนุษย์กำหนดขึ้นนั่นเอง ทั้งนี้ ก็เพื่อให้เกิดเปรียบเทียบระหว่างสิ่งหนึ่งกับสิ่งอื่น (Binary Opposition) และเพื่อหล่อเลี้ยงโครงสร้างต่อไป ผ่านตัวตน (Self identity) ภาพ (Visual) และการจับจ้อง (Gaze) ในรูปแบบต่าง ๆ การจับจ้อง (Gaze) จึงเป็นอำนาจสูงสุดในการต่อรองและปกครองกันและกัน ของโครงสร้างส่วนบน (Super - Structure) กับโครงสร้างส่วนล่าง (Infra- Structure) หรือโครงสร้างส่วนล่าง (Infra - Structure)  แลกเปลี่ยนความหมายกับโครงสร้างส่วนบน (Super - Structure) ก็ได้               

...................................................................................

เอกสารอ้างอิง

 

ชนิดา เสงี่ยมไพศาลสุข แปล. (2550). เศรษฐกิจของทรัพย์สินเชิงสัญลักษณ์ : ปิแยร์ บูร์ดิเยอ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์คบไฟ

นรชิต จิรสัทธรรม. (2553). โพสต์โมเดิร์นกับเศรษฐศาสตร์ : บทวิพากษ์สมมติฐานความมีเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์ = Post modern & economics.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา

วงหทัย ตันชีวะวงศ์. (2554). การโฆษณาข้ามวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Anne D'Alleva. (2005). Methods & Theories of Art History. London, UK: Laurence King Publishing.     

John Berger. (1972). Ways of Seeing. London, UK: Penguin.     

Michael O' Shaughessy, Jane Stadler. (2002) Media and Society.USA: Oxford University Press.

Richard J. Lane. (2000). JEAN BAUDRILLARD. London : Routledge.

Tony Schirato and Jen Webb. (2004). Reading the visual. Australia: National Library of Australia.

สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2556, http://www.signature9.com/style/fashion/vogues-september-issue-will-brin...

สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2556, http://caseyculture.tumblr.com/post/181476027/the september issue.jpg

สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2556, http://bluenwhite.wordpress.com/tag/miranda-priestly/

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556,  http://en.wikipedia.org/wiki/Venus_of_Willendorf

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556,  http://www.dek-d.com/board/view/2733007/ SNSD

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556,  http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=design-fashion&month=01-05-2005&group=4&gblog=2

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556,  http://www.apexprofoundbeauty.com/th/news-detail.asp?newsID=464

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556, http://www.manager.co.th/home/viewnews.aspx?NewsID=9520000055424

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556, http://www.mornor.com/2009/forum/redirect.php?tid=188562&goto=lastpost

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556, http://en.wikipedia.org/wiki/File:%C3%89douard_Manet_-_Le_D%C3%A9jeuner_sur_l%27herbe.jpg

สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2556, http://www.huffingtonpost.com/2009/01/27/emvogueem-photoshopped-si_n_161...

สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2556, http://en.wikipedia.org/wiki/Le_d%C3%A9jeuner_sur_l'herbe

บล็อกของ รอลงบัส (Rawlongbus)

รอลงบัส (Rawlongbus)
Q- What makes you depressed?Slavoj Zizek  “Seeing stupid people happy.”
รอลงบัส (Rawlongbus)
          (ฉบับปรับปรุง พิมพ์ครั้งแรก: วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2556)   
รอลงบัส (Rawlongbus)
ปกนิตยสารสำหรับผู้ชาย FHM และ Mars - องค์ประกอบบนหน้าปก (Composition) และ- รูปที่ใช้ (Image)  
รอลงบัส (Rawlongbus)
กรณีศึกษาจากนิตยสาร (Case Studies) 
รอลงบัส (Rawlongbus)
การปฎิบัติการของสัญญะ  
รอลงบัส (Rawlongbus)
Man act women appear. Men look at women.  Women watch themselves being looked at.