Skip to main content

picture1

ในประเทศลาว หากเอ่ยถึงวรรณคดีปฏิวัติแล้ว หลายคนก็เข้าใจทันทีที่เอ่ยถึง ว่าเป็นบทวรรณคดีที่แต่งขึ้นในยุคที่ทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระยะที่ประเทศชาติลาวตกเป็นอาณานิคมของจักรพรรดิเก่าและใหม่  ระยะนี้วรรณคดีเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์อยู่อย่างหนึ่ง คือ เป็นเครื่องมือรับใช้ให้แก่การปฏิวัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลดปล่อยประเทศชาติและประชาชนออกจากการกดขี่ของจักรวรรดินิยม เพื่อให้ชาติและประชาชนมีเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยประชาชน

เมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณคดีปฏิวัติระยะนี้จึงมีความสำคัญมากในการประกอบส่วนเข้าในการโฆษณาเผยแพร่ผลงาน และการชนะสงครามของการปฏิวัติ, การรณรงค์ให้ประชาชนบรรดาชนเผ่าเข้าร่วมการปฏิวัติเพื่อต่อสู้กับจักรวรรดินิยม และหุ้นผู้ขายชาติที่หวังกลืนกินประเทศชาติลาว

หลายๆ บทประพันธ์ที่ประพันธ์ขึ้นจากฝีมือของนักเขียนปฏิวัติ เช่น 1. ส.บุบผานุวง หรือ ชายเชโปน ที่มีชื่อจริงว่า “สุวันทอน บุบผานุวง” 2.จ.เดือนสะหวัน ที่มีชื่อจริงว่า จันที เดือนะหวัน  3. ดาวเหนือ และนักเขียนปฏิวัติ ซึ่งข้าพเจ้าไม่สามารถจำชื่อได้หมดและก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

นักเขียนเหล่านี้ได้กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วฟ้าเมืองลาว ในฐานะที่เป็นนักเขียนปฏิวัติอาวุโส

picture2

picture3

บทเขียนที่เขียนขึ้นโดย ส.บุบผานุวงก็มี อาทิ ใต้ร่มทงของพัก, ลูกสาวของพัก, กองพันที่สอง, อยากข้าเพี่นโตตาย.

บทเรื่องที่เขียนจาก “จ.เดือนสะหวัน” ก็มี เส้นทางแห่งชีวิต 3 เล่ม นอกนี้ก็มีบท เรื่องต่างๆที่ถูกนำลงพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ นอกจากสองท่านนี้ก็ท่านนักเขียนท่านอื่นๆเช่น “ดวงไช หลวงพาสี” เรื่อง สายเลือดเดียวกัน  เรื่อง ฟองเดือนเก้า ของ “ท่านคำมา พมกอง” และ พัดพากจากสี่พันดอน ของ “ป้าเวียงเฮือง”  นอกนี้ก็มีบทเขียนอื่นๆและนักเขียนปฏิวัติท่านอื่นๆ หลายท่านซึ่งผมไม่สามารถจำได้หมด

บทเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมานั้น แสดงออกให้เราเห็นถึงแนวคิดปฏิวัติ สีสันตามรูปแบบปฏิวัติ หลักจรรยาบรรณของรูปปฏิวัติ ก้าวไปสู่แนวคิดที่สร้างสรรค์ในรูปแแบบปฏิวัติ เพราะทุกบทเรื่องที่เขียนล้วนสะท้อนให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า “มีเพียงการปฏิวัติเท่านั้น ที่สามารถนำความเป็นเจ้าของประเทศชาติมาสู่พี่น้องประชาชนชาวลาวทั้งประเทศได้”

เมื่อเราอ่านวรรณคดีปฏิวัติแล้วทำให้เราสามารถมองเห็นเส้นขนานสองด้านอย่างแจ่มแจ้ง คือ ความก้าวหน้าศิวิไลซ์ของการปฏิวัติและความอยุติธรรมในสังคมเก่า แต่ในบทเรื่องปฏิวัติไม่ได้พูดถึงว่า การปฏิวัติมีอะไรบ้างที่ไม่ดีและในสังคมเก่ามีอะไรบ้างที่ดี

เมื่อเราอ่านบทเรื่องปฏิวัติแล้ว เหมือนกับว่าเราสามารถมองเห็นความมีระเบียบของผู้คนจะเป็นใครก็ตามที่เดินตามเส้นทางปฏิวัติ มองเห็นความจงรักภักดีของคนที่มีต่อการปฏิวัติ ถือเอาการปฏิวัติเปรียบเสมอเหมือนชีวิตจิตใจ ถือการปฏิวัติเหมือนกับลมหายใจเข้าออกของตน

นอกจากนั้น เมื่อเราอ่านแล้วทำให้เรามองเห็นว่า สภาพการดำรงชีวิตของผู้คนก่อนการปฏิวัติมีความเป็นอยู่ที่เลอะเทอะ สร้างสิ่งที่ไม่ดีงามขึ้นในสังคม อ่านแล้วทำให้เรามองเห็นภาพเหมือนกับว่า แผ่นดินลาวก่อนปฏิวัติถูกครอบงำด้วยซาตานอะไรประมาณนั้น

อ่านแล้วเหมือนกับว่า ก่อนการปฏิวัติแผ่นดินลาวทุกหย่อมหญ้ามีแต่เปลวไฟลุกลามไปทั่ว ทำให้แผ่นดินกลายเป็นแผ่นดินเถื่อน ในแผ่นดินเต็มไปด้วยคราบเลือดและน้ำตา รอการช่วยเหลือให้หลุดออกจากกงกรรมแห่งนรกอเวจี

อย่างใดก็ดี ในบทต่อไปผมจะอนุญาตท่านผู้อ่าน เสนอเรื่องลาวต่างๆในบทวรรณคดีปฏิวัติเพื่อเป็นการแลกเปลียนทัศนะด้วยกัน.


หมายเหตุ : งานชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ “เวียงจันท์ใหม่” เมื่อปี ค.ศ.2005 แล้ว แต่จำเดือนไม่ได้ จึงขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย  

บล็อกของ แสงพูไช อินทะวีคำ

แสงพูไช อินทะวีคำ
จริงๆแล้วผมพยายามถอดความจากกวีที่เป็นสำนวนภาษาลาวมาเป็นคำไทย.... แต่คงไม่ไพเราะเหมือนคำลาวที่ผมแต่งไว้เพราะการเขียนภาษาไทยไม่ดีพอ..... อย่างไรก็ตาม ผมมีความตั้งใจมากเพื่อการสื่อความเข้าใจทั้งสองด้านให้กลายเป็นพลังแห่งความรักของสองชาติลาวไทย  ผมมีความต้องการสูงสุดให้คนลาวและไทยมีความเข้าใจกันมากขื้น  ผมเข้าใจว่าในโลกใบนี้หากไม่มีคำว่า “ศัตรู” คงดีที่สุดพี่สัญญากับน้องว่าจะเปลี่ยนพี่จะเพียรแต่งแต้มแปลงเรือนผมผมไม่แดงเหมือนฝรั่งหลอกพี่ว่าแต่มาเจอเธอยิ่งกว่าเดีมผมก็แดงแทงใจน้องหูก็บ๋องมีต่างช่างเปลียนไปหูก็บ๋อง ผมก็แดงมันแทงใจก็นั้นไง…
แสงพูไช อินทะวีคำ
วันนี้ผมมีของฝากจากเมืองลาว มาให้พี่น้องได้อ่านกัน สิ่งที่ผมจะนำมาให้อ่านในประชาไทเป็นบทกลอนที่ผมแต่งขื้นเมื่อปี 2003 ระยะนั้นผมมองเห็นอะไรสักอย่างหนิ่งที่มันแฝงตัวอยู่กับสังคมลาว บางทีสิ่งที่พูดอาจไม่ใช่เป็นสิ่งที่เกีดขื้นในเมืองลาวเพียงอย่างเดียว......แต่มันอาจเป็นสิ่งที่เกีดขื้นในทั่วโลกก็เป็นได้ แต่ในที่นี้ผมขอใช้เป็นสำนวนภาษาลาว ด้านหนิ่งสมบูรณ์ด้วย  มูนมากเงินคำด้านหนิ่งต่ำเพียงดิน  คอบความจนไฮ้(ไร้)เปลียบเหมือนไฟลามไหม้  มะไลกันบ่ดับมอด   เป็นแล้วสองส้นเตาะต่อยดั้น  ครือพ้าบั่นขวานยามเมื่องกางต่อน้ำ  พัดขาดเป็นวังกางต่อฟังคำหวาน …
แสงพูไช อินทะวีคำ
ที่ ESCUDERO, ประเทศ Philippines“ไปทานข้าวกันเถอะ!”..............เธอเป็นคนค่อนข้างอ้วนท้วน  ยักไหล่เบาๆ...ปล่อยคำทักทายเหมือนกับเธอมีอำนาจสูงสุด ใช่จริงด้วยเพราะเวลานี้มันเลยเที่ยงไปแล้ว หลายคนท้องร้อง คอยให้ผู้รับผิดชอบงานสัมมนาบอกให้หยุดพักได้“วันนี้ไปรับประทานอาหารในสถานที่แปลกๆ กันนะ”....เธอร้องบอก ขณะที่ทุกคนเร่งเดินออกจากห้องประชุมมุ่งหน้าไปที่ร้านอาหาร......“เขาบอกว่าจะทานข้าวบนผิวน้ำ!”....หนุ่มฟิลิปปินส์คนหนึ่งเดินเข้ามาพูดกับผม“อ้าว! จะไปทานได้ไงล๋ะ?”“ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน”ผมมองหน้าเขา แล้วหนุ่มคนนั้นก็มองหน้าผม ในที่สุดเราทั้งสองก็หัวเราะ เพราะไม่รู้จะพูดอะไรอีก…
แสงพูไช อินทะวีคำ
หยุดการพูดถึงวรรณคดีปฏิวัติไว้สักระยะหนึ่งก่อน แล้วค่อยพูดกันต่อไป...หันมาพูดเรื่องวัฒนธรรมให้อิ่มใจสักนิดหนึ่ง.........เพื่อนฝั่งเชียงของบอกผมว่า อยากอ่านงานเขียนเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมลาว ผมก็นึกจะเขียนตามนั้น แต่พอเอาเข้าจริงๆ มันไม่ใช่อย่างที่นึกเอาไว้ เพราะวัฒนธรรมชุมชนในบางแห่งเลือนหายไปอย่างมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนก็คงเป็นพิธีกรรมขอน้ำฟ้าน้ำฝนของชุมชนในชนบท   เมื่อเป็นอย่างนี้แล้ว ผมก็คิดไปว่า เราจะพูดเรื่องนี้ให้ใครฟัง?  จะพูดให้ตัวเราเองฟังก็อายตัวเอง เพราะเหตุการณ์มันไม่ใช่เป็นไปอย่างเดิมแล้วผมขอพูดถึงการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทางพิธีกรรมดีกว่า…
แสงพูไช อินทะวีคำ
วรรณคดีปฏิวัติที่กล่าวถึงมากที่สุดก็คงจะเป็นปรปักษ์สองด้าน คือ การปฏิวัติและระบบการปกครองเก่า การสะท้อนให้เราได้เห็นความอยุติธรรม นักประพันธ์ปฏิวัติสะท้อนให้เห็นภาพในระบบการปกครองเก่าได้ชัดเจน ว่า ระบบการปกครองเก่า เวลาใดก็เป็นปรปักษ์อย่างที่สุดต่อกับการปฏิวัติ ความอยุติธรรมส่วนมากก็คงเกิดขื้น บนแผ่นดินที่นอนอยู่ใต้แห่งการควบคุมของระบบการปกครองของระบบเก่าที่เวลาใดก็เป็นศัตรูสุดขีดต่อการปฏิวัติลาว ในบทประพันธ์สะท้อนให้เห็นมากที่สุดก็คงเป็น หนุ่มสาวพร้อมเพรียงกันหลบหนีจากแผ่นดินเกิดของเขา ไปหาการปฏิวัติวรรณคดีปฏิวัติที่พบเห็นส่วนมาก นักประพันธ์ชอบใช้ในรูปของการบันทึกเป็นส่วนใหญ่…
แสงพูไช อินทะวีคำ
มีหลายอย่างที่สะท้อนออกมาให้เราได้เห็นและคิด เมื่อมองเห็นภาพโดยรวมที่ว่า- -ทำไมนักเขียนถึงกำเนิดขึ้นในระยะที่ประเทศชาติทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย? นักเขียนปฏิวัติมีจุดยืนของตัวเองอย่างไร เพื่อเขียนบทประพันธ์ของตน? นักประพันธ์ปฏิวัติมองเห็นข้อบกพร่องอะไรบ้างของระบบล่าอาณานิคมแบบเก่าและใหม่?  พวกเขาใช้หลักการประพันธ์อย่างไรเพื่อให้คนอ่านได้มองเห็นความสมจริงของเรื่อง?  นักประพันธ์ปฏิวัติมีความต้องการให้เข้าใจการปฏิวัติอย่างไรและเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งต่อระบบจักรววตินิยม? คำถามเหล่านี้ตั้งขึ้นเพื่อการหาคำตอบว่า นักประพันธ์มีจุดยืนของตนอย่างไรเพื่อการเขียน!…
แสงพูไช อินทะวีคำ
ในประเทศลาว หากเอ่ยถึงวรรณคดีปฏิวัติแล้ว หลายคนก็เข้าใจทันทีที่เอ่ยถึง ว่าเป็นบทวรรณคดีที่แต่งขึ้นในยุคที่ทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระยะที่ประเทศชาติลาวตกเป็นอาณานิคมของจักรพรรดิเก่าและใหม่  ระยะนี้วรรณคดีเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์อยู่อย่างหนึ่ง คือ เป็นเครื่องมือรับใช้ให้แก่การปฏิวัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลดปล่อยประเทศชาติและประชาชนออกจากการกดขี่ของจักรวรรดินิยม เพื่อให้ชาติและประชาชนมีเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยประชาชนเมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณคดีปฏิวัติระยะนี้จึงมีความสำคัญมากในการประกอบส่วนเข้าในการโฆษณาเผยแพร่ผลงาน และการชนะสงครามของการปฏิวัติ,…