ในประเทศลาว หากเอ่ยถึงวรรณคดีปฏิวัติแล้ว หลายคนก็เข้าใจทันทีที่เอ่ยถึง ว่าเป็นบทวรรณคดีที่แต่งขึ้นในยุคที่ทำการปฏิวัติชาติประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระยะที่ประเทศชาติลาวตกเป็นอาณานิคมของจักรพรรดิเก่าและใหม่ ระยะนี้วรรณคดีเกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์อยู่อย่างหนึ่ง คือ เป็นเครื่องมือรับใช้ให้แก่การปฏิวัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลดปล่อยประเทศชาติและประชาชนออกจากการกดขี่ของจักรวรรดินิยม เพื่อให้ชาติและประชาชนมีเสรีภาพตามระบอบประชาธิปไตยประชาชน
เมื่อเป็นเช่นนั้น วรรณคดีปฏิวัติระยะนี้จึงมีความสำคัญมากในการประกอบส่วนเข้าในการโฆษณาเผยแพร่ผลงาน และการชนะสงครามของการปฏิวัติ, การรณรงค์ให้ประชาชนบรรดาชนเผ่าเข้าร่วมการปฏิวัติเพื่อต่อสู้กับจักรวรรดินิยม และหุ้นผู้ขายชาติที่หวังกลืนกินประเทศชาติลาว
หลายๆ บทประพันธ์ที่ประพันธ์ขึ้นจากฝีมือของนักเขียนปฏิวัติ เช่น 1. ส.บุบผานุวง หรือ ชายเชโปน ที่มีชื่อจริงว่า “สุวันทอน บุบผานุวง” 2.จ.เดือนสะหวัน ที่มีชื่อจริงว่า จันที เดือนะหวัน 3. ดาวเหนือ และนักเขียนปฏิวัติ ซึ่งข้าพเจ้าไม่สามารถจำชื่อได้หมดและก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย
นักเขียนเหล่านี้ได้กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วฟ้าเมืองลาว ในฐานะที่เป็นนักเขียนปฏิวัติอาวุโส
บทเขียนที่เขียนขึ้นโดย ส.บุบผานุวงก็มี อาทิ ใต้ร่มทงของพัก, ลูกสาวของพัก, กองพันที่สอง, อยากข้าเพี่นโตตาย.
บทเรื่องที่เขียนจาก “จ.เดือนสะหวัน” ก็มี เส้นทางแห่งชีวิต 3 เล่ม นอกนี้ก็มีบท เรื่องต่างๆที่ถูกนำลงพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ นอกจากสองท่านนี้ก็ท่านนักเขียนท่านอื่นๆเช่น “ดวงไช หลวงพาสี” เรื่อง สายเลือดเดียวกัน เรื่อง ฟองเดือนเก้า ของ “ท่านคำมา พมกอง” และ พัดพากจากสี่พันดอน ของ “ป้าเวียงเฮือง” นอกนี้ก็มีบทเขียนอื่นๆและนักเขียนปฏิวัติท่านอื่นๆ หลายท่านซึ่งผมไม่สามารถจำได้หมด
บทเรื่องต่างๆ ที่กล่าวมานั้น แสดงออกให้เราเห็นถึงแนวคิดปฏิวัติ สีสันตามรูปแบบปฏิวัติ หลักจรรยาบรรณของรูปปฏิวัติ ก้าวไปสู่แนวคิดที่สร้างสรรค์ในรูปแแบบปฏิวัติ เพราะทุกบทเรื่องที่เขียนล้วนสะท้อนให้เห็นภาพที่ชัดเจนว่า “มีเพียงการปฏิวัติเท่านั้น ที่สามารถนำความเป็นเจ้าของประเทศชาติมาสู่พี่น้องประชาชนชาวลาวทั้งประเทศได้”
เมื่อเราอ่านวรรณคดีปฏิวัติแล้วทำให้เราสามารถมองเห็นเส้นขนานสองด้านอย่างแจ่มแจ้ง คือ ความก้าวหน้าศิวิไลซ์ของการปฏิวัติและความอยุติธรรมในสังคมเก่า แต่ในบทเรื่องปฏิวัติไม่ได้พูดถึงว่า การปฏิวัติมีอะไรบ้างที่ไม่ดีและในสังคมเก่ามีอะไรบ้างที่ดี
เมื่อเราอ่านบทเรื่องปฏิวัติแล้ว เหมือนกับว่าเราสามารถมองเห็นความมีระเบียบของผู้คนจะเป็นใครก็ตามที่เดินตามเส้นทางปฏิวัติ มองเห็นความจงรักภักดีของคนที่มีต่อการปฏิวัติ ถือเอาการปฏิวัติเปรียบเสมอเหมือนชีวิตจิตใจ ถือการปฏิวัติเหมือนกับลมหายใจเข้าออกของตน
นอกจากนั้น เมื่อเราอ่านแล้วทำให้เรามองเห็นว่า สภาพการดำรงชีวิตของผู้คนก่อนการปฏิวัติมีความเป็นอยู่ที่เลอะเทอะ สร้างสิ่งที่ไม่ดีงามขึ้นในสังคม อ่านแล้วทำให้เรามองเห็นภาพเหมือนกับว่า แผ่นดินลาวก่อนปฏิวัติถูกครอบงำด้วยซาตานอะไรประมาณนั้น
อ่านแล้วเหมือนกับว่า ก่อนการปฏิวัติแผ่นดินลาวทุกหย่อมหญ้ามีแต่เปลวไฟลุกลามไปทั่ว ทำให้แผ่นดินกลายเป็นแผ่นดินเถื่อน ในแผ่นดินเต็มไปด้วยคราบเลือดและน้ำตา รอการช่วยเหลือให้หลุดออกจากกงกรรมแห่งนรกอเวจี
อย่างใดก็ดี ในบทต่อไปผมจะอนุญาตท่านผู้อ่าน เสนอเรื่องลาวต่างๆในบทวรรณคดีปฏิวัติเพื่อเป็นการแลกเปลียนทัศนะด้วยกัน.
หมายเหตุ : งานชิ้นนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ “เวียงจันท์ใหม่” เมื่อปี ค.ศ.2005 แล้ว แต่จำเดือนไม่ได้ จึงขออภัย มา ณ ที่นี้ด้วย