Skip to main content

วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก ย่อมมีความสำคัญกับทุกประเทศอย่างที่สุด

หนึ่งเทคโนโลยีซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจโลก และเป็นด้านที่ SenseMaker ให้ความสนใจวิพากษ์ถึงอย่างรอบด้านบนเวทีความคิดแห่งนี้คือ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology; ICT) ซึ่งต่อไปจะขอใช้คำว่า ICT เพื่อความกระชับ

ICT  เป็นเทคโนโลยีสำคัญที่เปลี่ยนแปลงลักษณะของเศรษฐกิจโลก ในระยะยี่สิบปีหลังมานี้ ทั้งในแง่ของตัวตลาดเองที่เคลื่อนที่เข้าสู่ตลาดในรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งเกิดจากความก้าวหน้าของ ICT เช่นตลาดธุรกรรมออนไลน์ เป็นต้น รวมทั้งในแง่ของตัวระบบข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตลาด ด้วยเหตุนี้การเข้าถึงเทคโนโลยีต่างๆเหล่านี้ จึงสามารถถูกมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความแตกต่างทางสังคม

ในด้านความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ การเข้าถึงตลาดรูปแบบใหม่ๆ ซึ่งเกิดจากความก้าวหน้าของ ICT เป็นตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดว่า ผู้ที่เข้าถึงตลาดใหม่ๆได้ ย่อมเป็นผู้ที่ได้เปรียบในการขยายตลาด และเก็บเกี่ยวความเติบโตทางเศรษฐกิจได้มากขึ้นและก่อนหน้าผู้ที่เข้าถึงล้าหลังกว่า

อีกหนึ่งตัวอย่างที่สำคัญคือ ผู้ที่สามารถเข้าถึงระบบข้อมูลข่าวสารและตัวข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับตลาดได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และสมบูรณ์กว่า ย่อมเป็นผู้ที่มีโอกาสที่จะตัดสินใจดำเนินการด้านต่างๆที่จำเป็นได้อย่างรัดกุม ถูกต้อง และรวดเร็วกว่า ซึ่งจุดนี้ถือได้ว่าเป็นความได้เปรียบในแง่ของการใช้โอกาสทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากการประยุกต์ใช้ ICT จะมีผลต่อเศรษฐกิจแล้ว ตัวอุตสาหกรรม ICT  เองในปัจจุบัน ก็ถือได้ว่ามีผลโดยตรงต่อการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจของโลก เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมซึ่งสร้างรายได้อย่างมหาศาล และเป็นหนึ่งในกลไกหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของหลายๆประเทศ

ในบริบทแห่งความแตกต่างทางสังคม ICT ถือเป็นตัวนำชั้นดี ที่อนุญาตให้สมาชิกในหน่วยย่อยต่างๆของแต่ละสังคม เรียนรู้และรับเอาแนวความคิดและวัฒนธรรมจากสังคมอื่นๆได้อย่างไร้พรมแดน ซึ่งในที่สุดก่อให้เกิดมีความหลากหลายทางด้านพื้นฐานความคิด และความแตกต่างในเรื่องของ คติ ความเชื่อ และค่านิยมทางสังคม

นอกจาก ICT เป็นตัวนำชั้นดีแล้ว ICT  ยังเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ดีอีกด้วย คือทำให้การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเป็นไปด้วยความรวดเร็วและอย่างความรุนแรง โดยในบริบทนี้ ICT ถูกมองว่าเป็นสื่อสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือทิศทางการใช้เว็บเทคโนโลยียุค 2.0 เช่น Youtube, Weblog (Blog), และ RSS (จะขอสนทนาถึงในโอกาสต่อไป) สร้างสื่อพลเมือง (เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่จะขอสนทนาถึงในอนาคต) ซึ่งอนุญาติให้สมาชิกแต่ละบุคคลในสังคมสามารถทำตัวเป็นสื่อ และสร้างช่องทางการสื่อสารสองทางระหว่างกันได้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นสื่อทางเลือกใหม่ ที่ทำให้ผู้ที่มีความเข้าใจ สามารถใช้เทคโนโยโลดังกล่าวนี้ชี้นำทางความคิด และสร้างกระแสต่างๆได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย หากแต่มีผลกระทบกับสังคมในระดับที่รุนแรงและเป็นวงกว้าง

ลึกลงไปในเหตุและปัจจัยของความแตกต่างทางสังคมที่เกิดขึ้นข้างต้น อันที่จริงนั้น ICT ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่ SenseMaker ขอเรียกว่า “สังคมในแนวขนาน”

สังคมในแนวขนาน คือการที่สภาพแวดล้อมทางความคิด ของแต่ละปัจเจกบุคคลมีความแตกต่าง ทำให้เกิดการมองเห็นโลกและเข้าใจการการดำเนินไปของสิ่งแวดล้อมรอบข้าง ในมุมมองที่แตกต่างกันไปในแต่ละสังคม

สังคมในแนวขนานเกิดจากการที่แต่ละปัจเจกบุคคล มีภาวะการรับรู้และกรอบความคิดที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัยเช่น การมีพื้นฐานการศึกษาที่แตกต่างกัน การมาจากสังคมที่แตกต่างกัน การได้รับรู้ข่าวสารที่แตกต่างกัน และความเชื่อหรือค่านิยมส่วนบุคคล ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ทำให้สมาชิกแต่ละคนภายในสังคมเดียวกัน สามารถมองเห็นหรือเข้าใจเหตุการณ์อย่างเดียวกัน ได้แตกต่างกันไป

 

อันที่จริงแล้วปรากฏการณ์สังคมในแนวขนาน เกิดขึ้นและมีอยู่ควบคู่กับการมีอยู่ของมนุษย์และสังคมมาอย่างช้านาน หากแต่ในปัจจุบัน ด้วยความก้าวหน้าของ ICT ทำให้ปรากฏการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ถี่ หลากหลาย รวดเร็ว และในวงกว้างมากขึ้น

ปรากฏการณ์สังคมในแนวขนานไม่ใช่สิ่งไกลตัว หากมองในระดับสังคมที่เรียกว่าครอบครัว หมายถึงการที่แต่ละสมาชิกอยู่ในสังคมในแนวขนานที่ต่างกัน หมายความว่าสามีอาจเข้าไม่ถึงสังคมในแนวขนานของภรรยา บิดามารดาไม่อาจจะรู้ได้ว่าสังคมในแนวขนานของบุตรธิดาเป็นอย่างไร และจะรับรู้ได้อย่างไรว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้างข้างในนั้น ซึ่งในท้ายที่สุดจะส่งผลให้ครอบครัวมีหัวข้อสนทนาร่วมกันลดน้อยลง ไม่สามารถให้คำแนะนำให้แก่กัน และไม่สามารถเข้าใจกันและกันได้

เหตุการณ์ในลักษณะเดียวกัน สามารถเกิดขึ้นได้กับสังคมในระดับที่ใหญ่ขึ้น เช่นในระดับชาติ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นย่อมมีวงกว้างและรุนแรงมากขึ้น

ดังนั้นแต่ละสังคมควรที่จะมองผลกระทบจาก ICT อย่างรอบด้าน เพื่อการมีวิสัยทัศน์และแนวนโยบายที่คลอบคลุม เพื่อพลักดันให้สังคมของตนสามารถเก็บเกี่ยวประโยชน์ รวมทั้งเข้าใจและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ ICT ได้อย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ

โดยสรุปแล้ว ทุกระดับสังคม ควรที่กระตือรือร้นให้สังคมของตนสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้อย่างทั่วถึง ซึ่งจะส่งผลให้สังคมของตนสามารถลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจที่มี เมื่อเปรียบเทียบกับกระแสโลกาภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่อย่างต่อเนื่อง แต่ในขณะเดียวกันสังคมนั้นๆควรที่จะตระหนักถึง ผลกระทบซึ่งเทคโนโลยี ICT ทำให้เกิดความแตกต่างทางสังคม และยังส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์สังคมในแนวขนานได้ถี่ หลากหลาย รวดเร็ว และในวงกว้างมากขึ้น

อย่างไรก็ดีการที่สังคมหนึ่งๆ จะสามารถรับมือกับทั้งประโยชน์ และผลกระทบที่เกิดจากการประยุกต์ใช้ ICT ได้อย่างรอบด้านและรอบคอบนั้น คงไม่สามารถโยนหน้าที่ความรับผิดชอบ ให้กับใครคนใดคนหนึ่ง หากแต่ผู้นำหรือผู้ที่ต้องรับผิดชอบในระดับนโยบาย จะต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล อีกทั้งยังต้องสามารถแปลงวิสัยทัศน์ ให้เกิดเป็นผลลัพท์ที่เป็นรูปธรรมได้

พร้อมกันนั้นผู้นำทางความคิดในทุกระดับของสังคม ควรที่จะรับทราบและเข้าใจถึงแนวนโยบายดังกล่าว ซึ่งคนกลุ่มนี้จะเป็นกลจักรสำคัญที่ส่งผลให้สังคมหนึ่งๆ สามารถปรับเปลี่ยนและประสบความสำเร็จตามแนวนโยบายนั้นๆได้อย่างรวดเร็ว

กระนั้นก็ดี สมาชิกในสังคมแต่ละคนเอง ก็ไม่ควรรอหรือฝากความหวังให้ผู้นำทางสังคมเป็นผู้ชี้นำแนวทาง การรับมือการเปลี่ยนแปลงของ ICT หากแต่ตนเท่านั้นที่จะเป็นที่พึ่งแห่งตน ในยุคที่ ICTมีอิทธิพลต่อทุกสังคมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

ขอให้ทุกท่านรับมือกับการพัฒนาทาง ICT อย่างรอบคอบและรอบด้าน

บล็อกของ SenseMaker

SenseMaker
ในบทความที่แล้ว ข้าพเจ้าได้ให้ทัศนะเกี่ยวกับคุณลักษณะสำคัญของอุปกรณ์ ICT ที่ถูกนำมาใช้เป็นกระดานโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร รวมถึงแนวความคิดในการเลือกกระดานโต้คลื่นฯ ที่เหมาะสมกับแต่ละปัจเจกบุคคล ในบทความนี้เรามาพิจารณาว่า...เมื่อเราได้กระดานโต้คลื่นฯที่เหมาะสมมาแล้ว เราจะใช้กระดานโต้คลื่นฯของเราอย่างไรให้คุ้มค่าต่อการลงทุน แล้วความรู้และความสามารถประเภทไหนและอะไรบ้างที่ถือได้ว่า เป็นทักษะที่จำเป็นในการโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร ในการวิเคราะห์นี้ “เวลา” และ “รายได้” สองสิ่งที่ทวีความสำคัญกับชีวิตมนุษย์มากขึ้นทุกที ยังคงเป็นสองตัวแปรหลัก ที่ข้าพเจ้าใช้ประกอบการพิจารณา…
SenseMaker
  หลังจากเขียนบทความ ในหัวข้อโลกยุคหลังอุตสาหกรรม กับสภาวะข้อมูลท่วมโลก เสร็จเมื่อสองอาทิตย์ก่อน ได้เกิดหนึ่งคำถามขึ้นกับข้าพเจ้า นั่นคือ หากมนุษย์ต้องดิ้นรน เพื่ออยู่รอดบนโลกใบนี้ ในยุคที่คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร โถมกระหน่ำใส่ประชาคมโลกอย่างรุนแรง และได้ทำให้กระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และในทิศทางที่ยากจะคาดเดา มากขึ้นทุกที เราต้องทำอย่างไรบ้างในทัศนะของข้าพเจ้า ผู้ที่สามารถโต้คลื่นแห่งข้อมูลข่าวสาร พาตนเองขึ้นไปอยู่บนยอดคลื่น และเป็นผู้กำหนดทิศทางชีวิตของตนเอง คือ ผู้ที่สามารถอยู่รอด และนี่จึงเป็นที่มาของชื่อบทความในตอนนี้และตอนถัดไปข้าพเจ้าขอเริ่มต้นด้วย…
SenseMaker
หัวข้อวิพากษ์วันนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิสัยทัศน์ ในการประยุกต์ใช้ ICT ขององค์กรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็กหรือใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐหรือภาคเอกชน และไม่ว่าจะเป็นองค์กรแสวงหากำไรหรือไม่ โดยข้าพเจ้าเจาะจงไปที่ ทัศนะของผู้บริหารองค์กร ที่ต้องการนำ ICT เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ในลักษณะของการลดต้นทุนแรงงานคน กระชับขบวนการทำงาน และเพิ่มความถูกต้องแม่นยำ ให้กับขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ โดยเฉพาะกับทัศนะองค์กรที่ว่า “ประสิทธิภาพในการทำงานของ ICT สูงกว่ามนุษย์”หรือที่ว่า ”ICT สามารถทำงานทดแทนมนุษย์ได้” สาเหตุสำคัญที่ทำให้ ความคิดในลักษณะดังกล่าวแพร่หลาย สืบเนื่องมาจาก…
SenseMaker
“โลกยุคหลังอุตสาหกรรม (Post industrial Age)” คือชื่อเรียกขานโลกในยุคปัจจุบัน เนื่องด้วยสภาพสังคมและเศรษฐกิจ มีความแตกต่างไปจากยุคก่อนหน้าหรือ ยุคอุตสาหกรรม (Industrial Age) ซึ่งเป็นยุคที่โลกของเราถูกผลักดัน ด้วยการแข่งขันของแต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ผ่านการพัฒนาความสามารถและเทคโนโลยีทางการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในที่สุดอย่างไรก็ดี โลกยุคหลังอุตสาหกรรม แต่ละปัจเจกบุคคลหรือองค์กร ยังคงดิ้นรนต่อสู่ เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขัน และเพื่อความมั่งคั่งในบั้นปลายเช่นเดิม หากแต่ความสำเร็จดังกล่าว กลับถูกขับเคลื่อน…
SenseMaker
เมื่อพูดถึงเหตุและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ บนโลกนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีคือตัวการอันดับต้นๆ โดยในช่วงหนึ่งศตวรรษหลังสุด ICT ถือได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ในทุกสังคม และในวงกว้างไล่มาตั้งแต่การเกิดขึ้นของ ICT ยุคแรกๆ ซึ่งได้แก่โทรเลข ตามมาด้วยโทรศัพท์ มาจนถึง ICT ในยุคปัจจุบัน นั่นคือโทรศัพท์มือถือ และ อุปกรณ์ต่อเชื่อมอินเตอร์เนตต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ หรือคอมพิวเตอร์พกพาขนาดต่างๆความเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏการณ์ชัดเจน คือ การที่ ICT ทำให้สังคมมนุษย์ มีรูปแบบการติดต่อสื่อสาร และรูปแบบการเข้าถึง ประมวลผล…
SenseMaker
หน้าเว็บไซท์ที่ได้รับความนิยมสูง ในช่วงระยะห้าปีที่ผ่านมา หากไม่นับรวมเว็บไซท์ขายของออนไลน์ ส่วนมากยังคงมีลักษณะคล้ายคลึงกับยุคก่อนหน้านี้ นั่นคือ เป็นเว็บไซท์ที่พยายามสร้างเครือข่ายสังคมออนไลน์ ผ่านการเปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ เข้ามาสร้างหัวข้อและบทสนทนาร่วมกัน สร้างกิจกรรมระหว่างกลุ่มผู้ใช้ และเป็นช่องทางให้ผู้ใช้ทำความรู้จักกันวัตถุประสงค์ของเว็บไซท์ดังกล่าว คือเพื่อเพิ่มจำนวนผู้ใช้ ที่มีความสนใจหรือความต้องการคล้ายๆกัน ซึ่งทำให้ในขณะที่ ผู้ใช้ได้รับประโยชน์ ในรูปแบบของการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ และการมีคนรู้จักเพิ่มมากขึ้น ผู้จัดทำเว็บไซท์ก็ได้ประโยชน์ ผ่านการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ทางอ้อม…
SenseMaker
ข่าวต่างๆทางด้าน ICT ที่เกิดขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในปัจจุบัน ชี้ให้เห็นผลกระทบของ “การโลกาภิวัฒน์ (Globalisation)” ที่มีต่อมนุษย์ทุกคน เนื่องจากอิทธิพลของการมีโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีแบบเดียวทั่วโลก จะลดทอนความหลากหลายของวิถีชีวิตมนุษยชาติ ก่อให้เกิดตลาดขนาดใหญ่ ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่กลุ่มทุนข้ามชาติ แต่ในขนะเดียวกัน ปัญหาลักษณะเดียวกัน จะเกิดขึ้นในหลายประเทศ เป็นวงกว้าง หากแต่จะเกิดผลกระทบแตกต่างกันไป ตามบริบทของสังคมนั้นข่าวแรกที่อยากนำเสนอ คือการเกิดขึ้นของ “ปฏิญญากรุงเทพ” ซึ่งถูกจัดทำขึ้นระหว่างการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค หรือ APEC (Asia-…
SenseMaker
แนวโน้มการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วงสิบปีหลัง เป็นไปในลักษณะที่เรียกว่า “convergence” หมายถึงแต่ละเทคโนโลยี พยายามรวบรวมความสามารถของเทคโนโลยีอื่นๆ เข้าไว้ในตัวเอง ดังจะเห็นได้ชัดจากการเกิดขึ้นของกระแสของศัพท์คำว่า ICT ซึ่งสะท้อนถึง การที่เทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียว แต่สามารถให้บริการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และ เทคโนโลยีทางการสื่อสาร (Communication Technology) ไปพร้อมๆ กัน ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเกิดขึ้นทั้งในระดับ โครงข่ายสื่อสารและระดับสินค้าอุปโภคทางเทคโนโลยี
SenseMaker
วันนี้อยากชวนสนทนาถึงศัพท์คำว่า “การเข้าถึงเทคโนโลยี” ซึ่งในทัศนะส่วนตัวคือสภาวะที่บุคคล องค์กร หรือประเทศหนึ่งสามารถได้มาซึ่งความสามารถในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงอยู่และจำเป็นต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดที่เกี่ยวข้องปัจจุบันแนวทางการพัฒนาของเศรษฐกิจโลก เป็นไปในลักษณะที่เทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการการผลิต และเทคโนโลยีอื่นๆอีกมากมายเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกวัน ดังนั้นจึงปฏิเสธไม่ได้ว่าการเข้าถึงเทคโนโลยีในทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจโลก…