Skip to main content

แปลโดย ... สมยศ  พฤกษาเกษมสุข

แปลจาก The  Economist, 4 ส.ค. 2012
 
 

ลักษมี  ซีกัล  (ร้อยเอกลักษมี) หมอ และนักต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย  มรณกรรมเมื่อวันที่  23 กรกฎาคม  (อายุ  97  ปี) 

เมื่อเธอย้ายเข้ามา  เหมือนนกเริงร่าโผบิน  บริเวณรอบ ๆ คลินิกเช่าขนาดกระจิดริดในเขตอุตสาหกรรมกานเปอร์ในแถบภาคเหนือของอินเดีย  ลักษมี  ซีกัลป์ (Lakshmi  Sehgal) ทำให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในมือของเธอ  สองแขนบอบบาง แต่ว่ามั่นคง  นิ้วน้อยของเธอลูบไล้ไปบนท้องป่องของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ สัมผัสได้ถึงการเต้นของชีพจร หรือหยั่งรู้ถึงบาดแผลของคนบาดเจ็บ
 
น้องสาวของลักษมี กล่าวว่า เธอมีเทคนิคทำให้มั่นใจได้เสมอ สองมือนี้เคยบีบนวดแขนขาของร่างกายอันผอมกร่องของผู้อพยพชาวบังคลาเทศ  และยังได้ช่วยบรรเทาบาดแผลไฟไหม้ที่ตาของเหยื่อระเบิดในโรงงานสารเคมีที่เมืองโบฟาล (Bhopal)
 
สองมือนี้แหละที่สามารถลั่นไกปืนพก (Revolver) และพร้อมที่จะแกะสลักลูกระเบิดก่อนจะเขวี้ยงออกไป  สองมือนี้เช่นกันที่ใช้สำหรับเปลี่ยนรังกระสุนปืนทอมมี่ (Tommy Gun) และกวัดแกว่งดาบ มือทั้งสองข้างของเธอมีทั้งทักษะรักษาคนไข้ แต่ก็เป็นมืออำมหิตเหมือนกับผู้ชายบางคน สำหรับหมอลักษมีได้รับการฝึกฝนเคียงข้างผู้ชายที่พร้อมจะกลายเป็นเครื่องจักรสังหาร จากปี 1943 ถึง ปี 1945 ในเขตป่าลึกในสิงคโปร์ และพม่า เธอคือคนสั่งการกองทัพแห่งชาติอินเดียโดยมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มผู้นำกองทัพชาวอังกฤษ
 
หน่วยทหารหญิง “จันทร์ศรี” จัดตั้งโดย ซับฮาส  จันทรา โบส ผู้นำการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย เป็นหน่วยทหารสำหรับผู้หญิงแห่งแรกของเอเชีย ชื่อหน่วยนี้ตั้งไว้เป็นเกียรติประวัติของผู้นำการต่อต้านอังกฤษ คือ นางซีปอย มูทินี่ (Sepoy  Mutiny) หญิงแม่หม้ายลูกติดซึ่งตัดสินใจทิ้งชุดสาหรี (เสื้อผ้าสำหรับสตรีอินเดีย) มาสวมใส่กางเกงเพื่อกระโจนสู่สนามรบ สำหรับหมอลักษมีเป็นอีกคนหนึ่งซึ่งมีลักษณะแก่นแก้ว ห้าวหาญแบบผู้ชาย (Tom Boy) แต่งงานตั้งแต่ยังเด็ก  พาดโผน ขี่ม้า และขับรถ ผู้ซึ่งขว้างทิ้งชุดเสื้อผ้าของต่างชาติลงบนกองเพลิงของความคิดชาตินิยม (Nationalist) คือแบบอย่างหญิงแกร่งที่ไม่มีสิ่งใดต้านทานได้ (Irresistible)
เช่นเดียวกันกับโบส ที่ไม่อาจต้านทานได้ เธอเจอกับ “นีทาจิ” ( Netagi) ครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี ในปี 1928 เมื่อแม่ของเธอซึ่งเป็นนักต่อสู้อีกคนหนึ่งพาเธอไปที่นครกัลกัตตา เข้าร่วมประชุมสภาพของพรรคการเมือง เขาก้าวเดินในชุดเครื่องแบบอยู่แถวหน้าของกลุ่มอาสาสมัครของพรรค ด้วยท่าทางแข็งขันอย่างกล้าหาญ แว่นตาที่สวมใส่ดูคล้ายนกเค้าแมว ต้องแสงแดดส่องประกาย  15 ปีต่อมาเมื่อเธอต้องหนีไปอยู่สิงคโปร์กับคู่รักคนใหม่ เพื่อจัดตั้งคลีนิคสำหรับรวมกลุ่มผู้หญิงอินเดียให้ร่วมกันต่อสู้ตามวัตถุประสงค์คือการเชื่อมโยงกับญี่ปุ่น บุกอินเดีย ผ่านพม่า และยึดเมืองหลวง เธอได้เลื่อนยศพักเอก ถึงแม้จะเรียกเธอในยศร้อยเอกก็ตาม เธอได้บันทึกเสียงร้องเพลงของกองทัพที่ชื่อว่า ชาโลดีลี (Chalo  Dilli) บนหนทางสู่เดลลี
 
ในฐานะที่เป็นคนพื้นบ้านจาก มาดราส (ตอนนี้เป็นเจนไน : Chennai) ซึ่งเป็นต้นเสียงจังหวะเพลงของชาวทมิฬ เธอคุ้นเคยกับอากาศร้อน แต่ว่าไม่ถึงกับร้อนชื้น เธอใส่ชุดสีกากีที่ชุ่มไปด้วยเหงื่อทุกวันซึ่งทรมานมาก อย่างไรก็ตามเธอตัดเล็บตามแบบแฟชั่นทันสมัย และใช้แสดงความเคารพกับแว่นกันแดดสไตล์ทันสมัย กองทหารที่เธอสั่งการส่วนใหญ่เป็นเด็กวัยรุ่น เป็นชาวไร่สวนยางชาวมาลายัน แรกแย้มระริกระรี้ และขี้อาย พวกเขาได้รับการฝึกฝนอย่างหนัก แต่สำหรับเธอแล้วต้องเจอกับสภาพคับข้องใจอย่างมากเพราะทำหน้าที่รักษาพยาบาล การเคลื่อนไหวของโบสสิ้นสุดลงในปี 1945 ใช้เวลากว่า 23 วันในการถอนกำลังกลับผ่านป่าเขาลำเนาไพรในช่วงมรสุมฝนตกหนัก ผู้นำกองทหารดูแลด้วยความกระวนกระวานใจต่อทหารหญิง และครั้งหนึ่งร้อยเอกลักษมีได้มีโอกาสทำหน้าที่เป็นหมอรักษาบาดแผลพุพองที่เท้าของผู้นำกองทหาร
 
ฝันถึงอิสรภาพของผู้หญิง

มองย้อนหลัง เธอรู้สึกว่าการต่อสู้เพื่ออิสรภาพทั้งหมดที่ผ่านมาเกิดความผิดพลาด กำแพงกั้นถูกทำลาย และความทันสมัยไล่ตามหลัง อานุภาพเงินตราได้ทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่หลงเหลืออยู่ การเป็นคนพูดตรงไป ตรงมา เป็นนักปฏิวัติ เธอปฏิเสธอุดมคติเพ้อฝันสำหรับการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวอินเดีย ในฐานะที่เธอเป็นผู้หญิงคนเดียวที่อยู่ในคณะกรรมการบริหารเพื่อการปลดปล่อยอินเดีย เธอปรารถนาที่จะยกเลิกประเพณีการแต่งงานของเด็ก การวางสินสอดแต่งงาน และการห้ามหญิงหม้ายแต่งงานใหม่ เธอต้องการให้ผู้หญิงมีโอกาสเหมือนเธอ ได้รับการศึกษา ได้รับการสนับสนุนด้วยตนเอง นอกจากนี้เธอหวังว่าอินเดียจะได้เลิกแบ่งแยกกันเสียทีระหว่างคนจนกับคนรวย หญิงกับชาย วรรณะและศาสนา เธอจะรีบเร่งช่วยเหลือประชาชน นำเสื้อผ้าหยูกยาไปให้ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มไหน นับถือศาสนาอะไร
 
เมื่อนางอินทิรา คานธี ถูกฆาตรกรรมในปี 1984 โดยชาวซิกส์ เธอใช้ร่างตัวเล็กของเธอช่วยชาวซิกส์ที่เป็นเจ้าของร้านค้าริมถนน  เมื่อสุเหร่าอโยธยา (Ayodhya  Mosque) ถูกทำลายในปี 1992 เธอประณามพวกฮินดูที่ออกมาเริงระบำด้วยความดีใจ
 
ตอนเป็นเด็กหญิง เธอสนใจลัทธิคอมมิวนิสต์ เธอได้อ่านหนังสือเรื่อง ดาวแดงเหนือแผ่นดินจีน (Red Star over Chaina) และสนทนาตลอดคืนกับผู้หญิงซึ่งศรัทธาในลัทธิคอมมิวนิสต์กลุ่มแรกของอินเดีย ในปี 1971 ลูกสาวของเธอสุพาชินี (Subhashini) เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มลัดทธิมาร์กซ์ซึ่งเป็นสาขาพรรค เธอรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้านของตนเองด้วยแรงกระตุ้นจากจิตใจนักต่อสู้ที่ชื่อว่า นาตาจิ และยังปรารถนาที่จะให้อินเดียมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันอย่างแท้จริง
 
เธอเข้าสู่การเมืองในการลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาในปี  2002  ตอนอายุ  87  ปี เธอเป็นตัวแทนพรรคการเมืองฝ่ายซ้าย  4  พรรคลงเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดี โดยเน้นการสร้างเอกภาพของอินเดีย เธอถูกโจมตีหลายครั้ง แต่ไม่เป็นไรเพราะมันไม่สำคัญ  เท่ากับว่าเธอยังคงเป็นหมอที่ไม่เคยละเลยที่จะดูแลคนป่วยของเธอ
 
ทุกเช้าจนถึงวันสุดท้ายที่หัวใจวายในเดือนกรกฎาคม เธอไปที่คลินิกเวลา 9 โมงเช้า โดยที่ไม่เคยคิดเงินค่ารักษาพยาบาล จึงมีคนป่วยมาก ก่อนเปิดคลินิกเธอจะกวาดถนน  ซึ่งสกปรกจากเพื่อนบ้านขว้างทิ้งขยะออกมาทางหน้าต่าง ซึ่งมักจะเป็นงานในหน้าที่ของคนวรรณะต่ำ  แต่ว่านี่เป็นเรื่องเล็กน้อยที่ต้องทำด้วยสองมือของเธอ ซึ่งเธออยากเห็นแบบอย่างเช่นนี้ในอินเดียต่อไป
 

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข18 พฤษภาคม 2556
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข13  พฤษภาคม 2556  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ   พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการเปิดใจ เนื่องในโอกาสถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว จากการถูกกล่าวหาตาม กม.อาญา ม.112 ครบ2ปี
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 สมยศ  พฤกษาเกษมสุข23 เมษายน 2556  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 เรือนจำพิเศษกรุงเทพ  แดน 133  ถ.งามวงศ์วาน  ลาดพร้าวจตุจักร  กรุงเทพฯ 10900 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 สมยศ  พฤกษาเกษมสุข13 มีนาคม 2556 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
การที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ขาดความกล้าหาญทางการเมืองหวังแต่เพียงอยู่ในอำนาจต่อไป โดยเพิกเฉยต่อการนิรโทษกรรม เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความล้าหลังทางการเมือง ย่อมทำให้ผู้รักประชาธิปไตยทั้งมวลสิ้นหวังต่อรัฐบาล ซึ่งหมายถึงจุดเริ่มต้นของบทอวสานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างแน่นอน
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เพ็ญสุภา สุขตะ ใจอินทร์ ทบทวนประวัติศาสตร์4บรรณาธิการผู้ถูกกล่าวหาปรักปรำให้เป็น “กบฎแห่งแผ่นดิน”