Skip to main content

สมยศ  พฤกษาเกษมสุข

 

 

 

ทั่วทุกมุมโลกติดตามการเคลื่อนไหวทางการเมืองในเวลาไล่เลี่ยกันของประเทศสหรัฐอเมริกา และจีน คือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐครั้งที่ 57 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2555 นายบารัก โอบามา จากพรรคเดโมแครต ได้รับชัยชนะกลับมาเป็นผู้นำสหรัฐสมัยที่ 2 อีกครั้ง ส่วนที่ประเทศจีน มีการประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 8 – 14 พฤศจิกายน 2555 เป็นการเปลี่ยนผ่านผู้นำจีนสูงสุด เป็นไปตามการคาดหมายนายลี  จิ้น  ผิง  วัย 59 ปีก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำสูงสุดในต่ำแหน่งประธานาธิบดี และผู้บัญชาการทหารสูงสุดของจีน

สหรัฐเป็นประเทศมหาอำนาจเก่าแก่เรียกกันว่าพญาอินทรีย์แห่งโลกตะวันตก ที่ทรงอิทธิพลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมการเมืองระหว่างประเทศ  ส่วนจีนกลายเป็นประเทศมหาอำนาจใหม่เรียกกันว่าพญามังกรในซีกโลกตะวันออก ทั้งสองประเทศกำลังแผ่ขยายอิทธิพลไปทุกหนแห่งการเปลี่ยนแปลงผู้นำทางการเมืองของทั้ง 2 ประเทศจึงมีผลกระทบไปทั่วทุกมุมโลก สะท้อนถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์

สหรัฐอเมริกาต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยเงินเฟ้อสูงหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นถึง 100 เปอร์เซ็นต์ อัตราว่างงานสูง 10 เปอร์เซ็นต์ (จำนวน 30 ล้านคน) ชนชั้นกลางลดลงจาก 61 เปอร์เซ็นต์ เหลือ 50 เปอร์เซ็นต์ พรรคเดโมแครตบริหารประเทศแบบเสรีนิยม เน้นการผ่อนผันประนีประนอม ส่วนพรรครีพับลิกัน เน้นความเป็นอนุรักษ์นิยมใช้มาตรการแข็งกร้าวทางเศรษฐกิจ และการเมือง

นายโอบามายืนยันระหว่างการหาเสียงว่าจะดำเนินการแก้ไขวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ปรับลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ และปรับอัตราการเก็บภาษี งดเก็บภาษีคนมีรายได้น้อย แต่เพิ่มภาษีคนรวยให้มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงสภาวะหน้าผาแห่งการคลัง (Fiscal Cliff) ในต้นปี 2556 หากทำไม่สำเร็จอเมริกาอาจต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง นอกจากนี้โอบามาจะทำให้สหรัฐมีกองทัพที่ดีที่สุดในโลก รวมทั้งขยายบทบาทอเมริกา สร้างพันธมิตรใหม่ทั้งฐานการผลิด และตลาดการค้า นโยบายต่างประเทศมุ่งเน้นภูมิภาคเอเชียเพื่อรักษาแชมป์เศรษฐกิจเบอร์ 1 ของโลก

พญามังกร อย่างประเทศจีน เป็นดาวรุ่งพุ่งแรงด้วยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงสุดอย่างต่อเนื่องและมั่นคง แต่เดิมญี่ปุ่นมีขนาดเศรษฐกิจอันดับที่ 2 ของโลก แต่ทว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นถดถอย มีหนี้สาธารณะถึงร้อยละ 233 ของจีดีพี หรือเท่ากับ 3.2 ล้านบาทต่อประชากร 1 คน มีแต่ทรงกับทรุด จนต้องเสียตำแหน่งเศรษฐกิจอันดับที่ 2 ให้แก่ประเทศจีน เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์ของจีนเชื่อว่า หากจีนรักษาพลวัตรทางเศรษฐกิจได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า ขนาดเศรษฐกิจของจีนอาจก้าวกระโดดเป็นอันดับ 1 แทนที่สหรัฐ ขณะเดียวกันจีนยังสะสมแสนยานุภาพทางทหารด้วยการพัฒนาทั้งเรือรบและเครื่องบินรบทางอากาศ ท่ามกลางความตึงเครียดในกรณีพิพาทดินแดนกับญี่ปุ่น และทะเลจีนใต้

แต่จีนก็ต้องเผชิญกับปัญหาคอรัปชั่น การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ถูกโจมตีจากประเทศตะวันตกอยู่เสมอ รวมทั้งการเติบโตของชนชั้นกลางเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ ประชาธิปไตย มากยิ่งขึ้นจนบั่นทอนเสถียรภาพรัฐบาล

การที่ประธานาธิบดีโอบามาเดินทางมาเยือนไทยเมื่อวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน ตามมาด้วยนายกรัฐมนตรีจีน นายเวิน เจีย เป่า ระหว่างวันที่ 20 – 21 พฤศจิกายน 2555 เป็นการแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของประเทศไทยในภูมิภาคเป็นอย่างดี เพราะไม่ใช่แค่เป็นหลักในการเชื่อมโยงภูมิภาคด้วยปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ แต่ยังเป็นฐานการผลิตทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมภาคเอกชนอย่างจริงจัง และในด้านความมั่นคงทางอาหาร  ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ของผู้ส่งออกอาหารโลก เป็นฐานการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์  อิเลคโทรนิคส์  ฮาร์ตดิสไดรฟ์  รวมทั้งภาคบริการยังมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยว  การโสเภณี  และการบริการทางการแพทย์

วิกฤติเศรษฐกิจในยุโรป  อเมริกา  การเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของโลก ทำให้ประเทศต่าง ๆ ปรับตัวกันขนานใหญ่ไม่มีประเทศใดในโลกนี้จะอยู่อย่างโดดเดี่ยวได้อีกต่อไป

ตัวอย่างของการปรับตัวในภูมิภาคก็คือ กระบวนประชาธิปไตยในพม่า  ด้วยการปล่อยตัวนักโทษการเมือง ยอมให้นักศึกษาที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศกลับมามีส่วนร่วมต่อการพัฒนาประเทศ การให้สิทธิเสรีภาพต่อสื่อมวลชนจนได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลก เช่นเดียวกับ เวียดนาม  ลาว  กัมพูชา ที่ต้องเปิดประเทศ ยอมรับการลงทุน และการค้าเสรีมากยิ่งขึ้นจนทำให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว

แต่ประเทศไทยยังมะรุมมะตุ้มอยู่กับความขัดแย้ง แตกแยกอย่างรุนแรง การเมืองเป็นเรื่องของคนเหลวไหล  ไร้สาระ  แย่งชิงอำนาจด้วยความถ่อย สถุล ทำให้การพัฒนาทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก แม้ว่าจะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่กลังกลายเป็นรัฐล้มเหลว (Fail State) ตกอยู่ในอำนาจครอบงำของระบบราชการหัวโบราณ ทั้งในรูปแบบการรัฐประหารโดยกองทัพ และการตัดสิทธิทางการเมืองโดยอำนาจตุลาการล้าหลัง  เศรษฐกิจ – การเมือง จึงไม่อาจขับเคลื่อนไปสู่ความก้าวหน้าได้

นายโอบามา เดินทางมาเยือนไทยก็เพื่อเชิญชวนให้เข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ เอเชีย – แปซิฟิก (Trans – Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ซึ่งในขณะนี้มีสมาชิก 11 ประเทศ หากไทยตกลงด้วยจะกลายเป็นประเทศที่ 12 ซึ่งดูเหมือนว่าประเทศไทยจะต้องเข้าร่วมในที่สุด เพราะเศรษฐกิจไทยพึ่งพาสหรัฐเป็นอย่างมาก  เพียงแต่การเข้าร่วม TPP นั้น รัฐบาลไทยจะเจรจาให้ได้ผลประโยชน์สูงสุดอย่างไร  และส่งผลกระทบด้านลบให้น้อยที่สุด

ประเทศไทยจะก้าวเดินไปข้างหน้าได้ จำเป็นต้องร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค และในระดับโลก ทั้งในระดับทวิภาคี และพหุภาคี ความร่วมมือในภูมิภาคจะสร้างอกนาจการต่อรองร่วมกัน เช่น การกำหนดราคาสินค้าการเกษตร  เป็นต้น  แต่ทว่าประเทศไทยจำเป็นต้องก้าวพ้นความขัดแย้ง แตกแยกภายในให้ได้  ซึ่งดูเหมือนว่า การปรองดองจะไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไปแล้ว คงเหลือไว้ที่การแตกหัก เพื่อเริ่มต้นใหม่สำหรับการพัฒนาไปสู่ความทันสมัย และโลกาภิวัฒน์ให้ได้ในที่สุด

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข18 พฤษภาคม 2556
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข13  พฤษภาคม 2556  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ   พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการเปิดใจ เนื่องในโอกาสถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว จากการถูกกล่าวหาตาม กม.อาญา ม.112 ครบ2ปี
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 สมยศ  พฤกษาเกษมสุข23 เมษายน 2556  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 เรือนจำพิเศษกรุงเทพ  แดน 133  ถ.งามวงศ์วาน  ลาดพร้าวจตุจักร  กรุงเทพฯ 10900 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 สมยศ  พฤกษาเกษมสุข13 มีนาคม 2556 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
การที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ขาดความกล้าหาญทางการเมืองหวังแต่เพียงอยู่ในอำนาจต่อไป โดยเพิกเฉยต่อการนิรโทษกรรม เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความล้าหลังทางการเมือง ย่อมทำให้ผู้รักประชาธิปไตยทั้งมวลสิ้นหวังต่อรัฐบาล ซึ่งหมายถึงจุดเริ่มต้นของบทอวสานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างแน่นอน
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เพ็ญสุภา สุขตะ ใจอินทร์ ทบทวนประวัติศาสตร์4บรรณาธิการผู้ถูกกล่าวหาปรักปรำให้เป็น “กบฎแห่งแผ่นดิน”