Skip to main content

 

สมยศ  พฤกษาเกษมสุข

13 มีนาคม 2556

 

หลังจากการปะทะสู้รับกันระหว่างหน่วยงานเฉพาะกิจนาวิกโยธินฝ่ายรัฐบาลกับขบวนการบีอาร์เอ็น แบ่งแยกดินแดน 3 จังหวัดภาคใต้ ฝ่ายบีอาร์เอ็นเพลี้ยงพล้ำเสียชีวิต 16 คน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ฝ่ายรัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้ใช้มาตรการทางการเมืองแทนการทหาร ด้วยการใช้มาตรา 21 พรบ.ความมั่นคง แทนการใช้ พรก.ฉุกเฉิน เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาในคดีความมั่นคงได้กลับตัวเข้าสู่การอบรม 6 เดือน ซึ่งจะทำให้การดำเนินคดีอาญาเป็นอันระงับไป ในขณะเดียวกันวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 เปิดการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยซึ่งมี พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เป็นตัวแทนฝ่ายไทย และนายฮัสซัน ตอยิบ ตัวแทนฝ่ายบีอาร์เอ็น (Bansan Resolusi National Melayu Patani) หรือขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี  ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามเพื่อเปิดให้มีการเจรจายุติปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้

3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีอัตลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างไปจากส่วนอื่น ๆ ของสังคมไทย มีลักษณะพิเศษทางประวัติศาสตร์ของตนเอง ปัญหาความรุนแรง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ยืดเยื้อมานานนับศตวรรษ นับตั้งแต่รัฐสุลต่านปาตานีถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ จากอังกฤษในปี 2452 การเรียกร้องรัฐอิสระเกิดมาอย่างต่อเนื่องจนก่อรูปเป็นขบวนการแบ่งแยกดินแดนในปัจจุบัน

ถ้าเป็นเพียงโจรก่อการร้าย หรือเป็นพวกก่ออาชญากรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติด น้ำมันเถื่อน หรือเป็นแก๊งอิทธิพล รัฐไทยย่อมปราบปรามได้อย่างราบคาบไปแล้ว แต่ขบวนการเหล่านี้ดำรงอยู่เหนียวแน่น ต่อเนื่อง เพราะมีอุดมการณ์ มีความคิดความเชื่อทางศาสนา และอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมเป็นของตนเอง จึงไม่มีทางจะกำจัดให้หมดสิ้นซากไปได้ และด้วยการสนับสนุนของคนในพื้นที่ย่อมเป็นการยากจะใช้กำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์เข้าปราบปรามให้ราบคาบไปได้ สิบปีที่ผ่านมาของการตอบโต้ด้วยความรุนแรงก่อให้เกิดความสูญเสียไปแล้วไม่น้อยกว่า 5,000 คน และงบประมาณอีกนับแสนล้านบาท

การใช้การเมืองนำการทหาร ใช้มาตรการผ่อนปรน การเจรจาใช้คนกลางไกล่เกลี่ย เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด เพื่อไปสู่เป้าหมายแห่งสันติภาพให้ได้ แม้ว่าอาจไม่ประสบผลสำเร็จด้วยข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญ และความเป็นชาตินิยมแบบไทย และด้วยระยะเวลาที่อาจทอดยาวออกไป แต่ย่อมดีกว่าการใช้ความรุนแรง และสู้รบกันจนย่อยยับกันไปข้างหนึ่ง จะนำมาซึ่งความเครียดแค้น ชิงชัง ไม่มีจุดจบ

การยอมรับความแตกต่างหลากหลายในอัตลักษณ์ ยอมรับให้มีการปกครองตนเองขนความเสอมภาคเท่าเทียม บนความเอื้ออาทร ความรักที่มีต่อกันเท่านั้นจะเป็นกุญแจสู่สันติภาพขึ้นมาได้  ดังนั้นการยึดติดอยู่กับความคิดชาตินิยมแบบรัฐเดียวอาจจะต้อมีการทบทวนกันใหม่เพื่อให้มีกระบวนการไปสู่การปกครองตนเองซึ่งประชาชนในพื้นที่คือผู้กำหนดชะตากรรมของพวกเขากันเอง

 

 

ภาษาอังกฤษประจำวัน

สมยศ  พฤกษาเกษมสุข

 

Insurgent (อินเซอร์เจนท์) เป็นคำนามหมายถึงผู้ก่อความไม่สงบ มีการใช้กำลังเข้าต่อต้านรัฐบาล ต่อต้านกฎหมาย และการปกครอง

ดังนั้นผู้ก่อความไม่สงบใน 3 จังหวัดภาคใต้ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Insurgent มักเป็นการกระทำอย่างมีแผนการ มีการจัดองค์กรที่แน่นอนเพื่อกระทำการดังกล่าวให้บรรลุเป้าหมายความต้องการของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ อีกคำหนึ่งซึ่งใช้แทนกันได้คือ Rebels (เรบเบิล) หมายถึงกลุ่มคนที่ต่อสู้เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองในประเทศนั้น มีลักษณะเป็นผู้ก่อการกบถขึ้น

·         More than 150 teachers in the deep south of Thailand, were killed by insurgents since 2004.

มีครูชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยมากกว่า 150 คนถูกฆ่าตายโดยผู้ก่อความไม่สงบตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมา

·         The  agreement peace talks on February  28, 2013 between Thai Government and rebel group, came after the failed attack on Thai military base that left 16 insurgents dead.

ข้อตกลงเจรจาสันติภาพเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2013 ระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเกิดขึ้นหลังจากการโจมตีที่ล้มเหลวที่ค่ายทหารไทยซึ่งผู้ก่อความไม่สงบเสียชีวิต 16 ราย

 

อีกคำหนึ่งคือคำว่า Riot (ไร-ออท) ซึ่งใช้ในความหมายถึงกลุ่มคนที่ก่อการจลาจลเป็นความไม่สงบอีกแบบหนึ่ง มักเป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นฉับพลันในที่สาธารณะเกิดขึ้นเป็นไปเอง เช่น รัฐบาลใช้กำลังทหารปราบปรามการชุมนุมเดินขบวนของประชาชน ทำให้เกิดการจราจลขึ้นมาดดยอัตโนมัต

·         The civil court ruled that the torching of shopping malls was the incident of riot. There fore the insurance company must pay the damages.

ศาลแพ่งตัดสินว่าการวางเพลิงห้างสรรพสินค้าเป็นเหตุการณ์จลาจล ดังนั้นบริษัทประกันภัยต้องจ่ายค่าเสียหาย

 

 

อ่านต่อฉบับต่อไป

 

บล็อกของ สมยศ พฤกษาเกษมสุข

สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข18 พฤษภาคม 2556
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ  พฤกษาเกษมสุข13  พฤษภาคม 2556  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ พฤกษาเกษมสุข  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
สมยศ   พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการเปิดใจ เนื่องในโอกาสถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว จากการถูกกล่าวหาตาม กม.อาญา ม.112 ครบ2ปี
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 สมยศ  พฤกษาเกษมสุข23 เมษายน 2556  
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 เรือนจำพิเศษกรุงเทพ  แดน 133  ถ.งามวงศ์วาน  ลาดพร้าวจตุจักร  กรุงเทพฯ 10900 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
 สมยศ  พฤกษาเกษมสุข13 มีนาคม 2556 
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
การที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ขาดความกล้าหาญทางการเมืองหวังแต่เพียงอยู่ในอำนาจต่อไป โดยเพิกเฉยต่อการนิรโทษกรรม เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความล้าหลังทางการเมือง ย่อมทำให้ผู้รักประชาธิปไตยทั้งมวลสิ้นหวังต่อรัฐบาล ซึ่งหมายถึงจุดเริ่มต้นของบทอวสานของรัฐบาลยิ่งลักษณ์อย่างแน่นอน
สมยศ พฤกษาเกษมสุข
เพ็ญสุภา สุขตะ ใจอินทร์ ทบทวนประวัติศาสตร์4บรรณาธิการผู้ถูกกล่าวหาปรักปรำให้เป็น “กบฎแห่งแผ่นดิน”