Skip to main content

  
ดอกเสี้ยวขาว

ยามเช้าในหุบเขาผาแดง หมอกขาวยังคงปกคลุมทั่วท้องนา ความหนาวเริ่มย่างกรายมาเยือน ท้องทุ่งในยามนี้เต็มไปด้วยผู้คนต่างรวมแรงร่วมใจกันเอามื้อเอาแฮง (ลงแขก) บ้างช่วยกัน ตีข้าว (นวดข้าว) มัดข้าว และตัดข้าว หลังจากที่ต้องรอคอยมานานหลายเดือนกับการรอคอยผลผลิตแห่งฤดูกาล

 

'การตัดข้าว' ในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่า การอดข้าว ไม่กินข้าว แต่เป็นนวัตกรรมใหม่บวกกับภูมิปัญญาชาวบ้านที่คิดค้นขึ้นเอง โดยใช้รถตัดหญ้าแบบสะพาย มาดัดแปลง เปลี่ยนใบมีด และทำที่รองรับข้าว เพื่อใช้แทนการเกี่ยวข้าวของชาวนาในอดีต

 

เครื่องตัดข้าว หรือเครื่องเกี่ยวข้าว นี้เป็นการคิดค้นโดยชาวบ้านแม่ป๋าม เป้าหมายเพื่อลดต้นทุนในการเกี่ยวข้าว เมื่อตัดข้าวเสร็จ ชาวบ้านก็จะช่วยกันมัดข้าว และช่วยกันตีข้าว

พัฒนาการของการทำนา ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มจากการปลูกเพื่อกิน ส่วนใหญ่จะใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก สมัยนั้นชาวนาจะอยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ ช่วยกันทำมาหากิน หลังจากนั้นเริ่มมีการเอามื้อเอาแรง (ลงแขก) ช่วยกันภายในชุมชน ก่อเกิดความสามัคคีปรองดองกัน มีเรื่องราวมาเล่าสู่กันฟัง ไปมาหาสู่กันในชุมชน

 

ปี พ.ศ. 2550 จำได้ว่า ผมเคยจ้างเหมาชาวบ้านจากชุมชนอื่นมาเกี่ยวข้าว เพราะแรงงานในชุมชนเริ่มมีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ออกไปทำงานต่างถิ่น จำต้องพึ่งแรงงานจากภายนอก


ผ่านพ้นไปเพียงขวบปี พัฒนาการของการทำนาได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้ปีนี้ผมได้เลื่อนตำแหน่งโดยไม่รู้ตัว จากเป็นลูกชาวนาเป็นลูกผู้จัดการนาไปโดยปริยาย เพราะไม่ต้องไปก้มๆเงย ๆ เกี่ยวข้าวให้ปวดหลัง จากเดิมที่ใช้คนเกี่ยวข้าว 10 คนต่อวัน ต้องเลี้ยงดูปูเสื่อเต็มที่ แต่ปัจจุบัน ใช้คนเพียง 2 คน ทำให้ค่าแรงงานลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยไม่ต้องคิดว่าคุ้มหรือไม่ และดูแล้วประสิทธิภาพก็ไม่แตกต่างกัน

 

อย่างไรก็ตาม ในความไม่แตกต่างย่อมมีความแตกต่าง ถ้ามองถึง การตัดข้าว อาจทำให้เห็นความสัมพันธ์ของคนในชุมชนอาจค่อยๆเลือนหายไป ทำให้การทำนาเปลี่ยนไป ต่อไป ลูกหลานอาจจะไม่รู้จัก คำว่า เกี่ยวข้าว จับเคียวเกี่ยวข้าวไม่เป็น ได้แต่จับปากกา ผมคิดว่าประเด็นเหล่านี้ชาวนารู้ดี คำถามอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรกับสังคมแห่งความเปลี่ยนแปลง

 

ที่สำคัญการปรับตัวของชาวนา เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน ถึงแม้นักคิดสายวัฒนธรรมชุมชน อาจมองว่าเป็นทำลาย ความเป็นลูกทุ่ง ความเป็นชุมชน อยากให้ทำนาแบบดั้งเดิมทั้งหมด ใช้ควาย ใช้คนเพียงอย่างเดียว แต่ผมคิดว่าเราคงต้องกลับมาคิด วิเคราะห์ เพื่อที่จะประยุกต์ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเป็นจริง

 

ใช่ พวกเราไม่ได้หลงลืมรากเหง้าแห่งชาวนา ความสัมพันธ์ของคนยังคงมีอยู่ ตราบใดยังมีผืนดิน ให้บ่มเพาะเมล็ดพันธ์แห่งฤดูกาล ความเป็นชาวนายังคงหยัดยืนอยู่ต่อไป


รวงข้าวรอการตัด


ตัดข้าว


เครื่องตัดข้าว

 
คนตัดข้าว


การมัดข้าว


การตีข้าว

บล็อกของ ที่ว่างและเวลา

ที่ว่างและเวลา
ดอกเสี้ยวขาว เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเยี่ยมเยียนพี่น้องลาหู่บ้านนาน้อย ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ และได้กำลังใจอย่างเต็มเปี่ยมอีกครั้ง เมื่อได้ร่วมพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ นั่นคือพิธีมอเลเว ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการเคารพธรรมชาติ อย่างนอบน้อม ไก่ หมู ข้าว อาหาร ผลไม้ ของเซ่นไหว้ที่พี่น้องชาวบ้านร่วมกันนำมาบูชา ถูกจัดเตรียมไว้ พร้อมที่จะทำพิธีกรรม บริเวณใต้ต้นไม้ใหญ่ กลิ่นธูปได้ลอยคละคลุ้งไปทั่วบริเวณงาน ท่ามกลางความเชื่อที่มีต่อผืนป่า ผีป่า ที่คอยปกปักรักษาดงดอยแห่งนี้   อะโหล ปุแส ผู้นำบ้านนาน้อย ได้อธิบายคำว่า มอ เลเว คำว่า มอ…
ที่ว่างและเวลา
อาภัสสร สมบุลย์วัฒนากุล  เสียงเพลงเดือนเพ็ญจากการขับร้องของฉันจบลง ท่ามกลางเสียงปรบมือของผู้เข้าร่วมงานสามร้อยกว่าคน ที่หอประชุมในมหาวิทยาลัยพายัพ เชียงใหม่ เมื่อคืนวันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา งานนี้ร่วมจัดโดยเพื่อนพ้องจากพม่าที่อยู่ในจังหวัดเชียงใหม่และเพื่อนพ้องคนไทย เพื่อช่วยระดมทุนไปให้พี่น้องชาวพม่าผู้ประสบภัยจากพายุไซโคลนนาร์กิส ฉันบอกพวกเขาว่าฉันไม่ใช่นักร้อง แต่อยากมาร้องเพลง...เพื่อร่วมเป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ประสบภัย และเพื่อนชาวพม่าที่อยู่ในไทย ให้สู้ต่อไปอย่างมีความหวัง คืนนั้น ฉันได้เพื่อนใหม่อีกมากมาย…
ที่ว่างและเวลา
อัจฉรียา เนตรเชยต่อจากตอนที่แล้วผู้เขียนกับเพื่อนชาวเวียดนามถกเถียงกันว่า ความจริงแล้วชาวม้งดำที่นี่ “เวรี่แอ็กทีฟ” ในระบบตลาด แต่ทำไมในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น ที่โรงแรม ร้านอาหาร หรือมัคคุเทศน์ (ซึ่งก็เป็นธุรกิจหนึ่งในระบบตลาด) แทบจะไม่มีชาวม้งดำเข้าไปเป็นลูกจ้างเลย เพื่อนเวียดนามบอกว่าอาจจะเป็นไปได้ว่าเพราะพวกเขามีการศึกษาต่ำ
ที่ว่างและเวลา
อัจฉริยา  เนตรเชยเมื่อสัปดาห์ก่อนผู้เขียนซึ่งเป็นนักเรียนเรียนภาษาเวียดนามที่ฮานอยได้ใช้เวลา 3 วันไปเป็นนักท่องเที่ยวที่ซาปา (Sa Pa) เมืองในหมอกบนพื้นที่สูงของภาคเหนือของเวียดนาม ภูเขาที่นี่สูงเสียดฟ้าสลับซับซ้อนกันหลายลูกจริงๆ จนภูเขาบ้านเราสมควรถูกเรียกว่า “ฮิล” มากกว่า “เม้าเท่นท์” นาขั้นบันไดก็มีให้เห็นกันอย่างดาษดื่นจนกลายเป็นโลโก้ของเมืองนี้ หมู่บ้านม้งดำ และเย้าแดงกลางหุบเขา น้ำตกและลำธารใสๆที่ไหลผ่านกลางหมู่บ้านมีให้เห็นตลอดสองข้างทาง ทำให้ที่นี่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนอันสุดแสนจะโรแมนติกของคู่รัก เมื่อต้นปีใครๆ ก็บอกว่าหิมะตกที่ซาปาสวยงามมาก...อยากเห็น (…
ที่ว่างและเวลา
สัมภาษณ์-เรียบเรียง : บัณฑิต เอื้อวัฒนานุกูลรศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมณ์ เคยเป็นอาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีความเชี่ยวชาญภาษาทิเบต ทำวิจัยเรื่องทิเบตมานานนับ 10 ปี เคยเดินกราบอัษฎางคประดิษฐ์ (เดิน 3 ก้าว ก้มกราบ 1 ครั้ง) บนเส้นทางของนักแสวงบุญอันเก่าแก่ทุรกันดาร ณ เขาไกรลาสเป็นระยะทางกว่า 80 กม. ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิพันดารา (Thousand Stars) ซึ่งเป็นองค์กรสร้างการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องพุทธศาสนาแบบวัชรยานในสังคมไทย และยังคงเดินทางไปทิเบตอยู่เสมอมิว เยินเต็น บวชเรียนใต้ร่มกาสาวพัตร์ของพุทธศาสนาวัชรยานในบ้านเกิดที่ทิเบตมานาน 27 ปี เป็นผู้ติดตาม อ.กฤษดาวรรณ…
ที่ว่างและเวลา
ภู เชียงดาวพะโด๊ะ มาน ซาห์อดีตเลขาธิการสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง กี่ชีวิต…ที่เคว้งคว้างกลางป่ากี่ร่างที่ผวาลอยละลิ่วลับดับสูญนี่คือผลพวงของสงครามนี่คือการกระทำของศัตรูผู้โหดเหี้ยม ผู้บาปหนาและน่าละอายที่คอยกดขี่ข่มเหง เข่นฆ่า ผู้คนหญิงชาย, บริสุทธิ์ผู้รักสันติและความเป็นธรรมเถิดไม่เป็นไร...เราจะไม่ทุกข์ ไม่ท้อใบไม้ใบหนึ่งถูกปลิดปลิวร่วงหากบนก้านกิ่งนั้นยังคงมีใบอ่อนแตกใบให้เห็นอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันยังคงมุ่งมั่นกันอยู่ใช่ไหม นักรบผู้กล้ากับความฝัน ความกล้าในแผ่นดิน ‘ก่อซูเล’ปลุกเร้าจิตวิญญาณเพื่อสืบสานตำนานการต่อสู้เพื่อรอวันทวงคืนผืนแผ่นดินเกิดยังจำกันได้ไหม...…
ที่ว่างและเวลา
‘ดอกเสี้ยวขาว’   การที่ต้องลำบากเดินลัดเลาะไปตามร่องเขา ไต่ขึ้นไปบนความสูงชัน นานหลายชั่วโมง เพียงเพื่อไปกวาดใบไม้บนสันดอยสูงนั้น หลายคนอาจมองเป็นเรื่องธรรมดาไม่สำคัญ แต่สำหรับผมกลับมองว่า นี่ไม่ใช่เรื่องใหญ่และไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ที่นั่น, บนสันดอยสูง...พวกเขาช่วยกันกวาดใบไม้ ก่อนที่จะจุดไฟเผา ซึ่งไม่ได้ไปคนเดียว แต่ไปร่วมกันหมดทุกหลังคาบ้าน มีทั้งผู้เฒ่า เด็กเยาวชน ผู้ใหญ่ ผู้นำทางศาสนา ฯลฯ “ตอนนี้ถ้าทางการเขาสั่งห้ามเผาป่า จะทำได้มั้ย?...” ผมลองแหย่ถามชาวบ้าน “แล้วถ้าเขาสั่งห้ามกินข้าว เราจะทำได้มั้ย...ถ้าเชื่อ เราก็ไม่ได้กินข้าว ไม่ได้กินอะไรเลย...”…
ที่ว่างและเวลา
เรื่อง/ภาพโดย วัชระ สุขปาน ลำธารสีเทา ขัดเงา จนเกิดริ้วสีเงิน ฝูงปลาพลิกพลิ้วตัว สะท้อนแสงกลับไปบอกเวลากับดวงอาทิตย์
ผักกูดอ่อน ยอดใบบอน ยอดผักหนาม ฟ้อนอรชรอยู่ริมคุ้งน้ำ ถ้ายังไม่มีใครไปเก็บ ก็จะเป็นสุมทุม ที่วัวควายชอบซุ่มตัวต้นไม้ล้มขวางลำธารโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็นเพราะธรรมชาติ ก็พอเป็นสะพานใช้ข้ามไปถึงเขียงนา ก็ยังมีขนุน มะม่วง ส้มโอ ถั่ว ข้าวโพดสาลี พริก มะเขือ และพืชผักๆ ฯลฯ ให้ได้เห็น และเก็บกินก่อไฟ ต้มน้ำชา นั่งสนทนา และ บ้างเคี้ยวเมี่ยง สูบยาขี้โย
ที่ว่างและเวลา
ธีรเชนทร์  เดชานักสังคมสงเคราะห์1“หนูมีแม่อยู่สองคนค่ะ” เสียงของเด็กหญิงตัวเล็กๆ คนหนึ่งบอกเล่าให้ฟัง “วันนี้หนูมาหาแม่อีกคนหนึ่งของหนู…”“แล้วหนูจำได้ไหมว่าแม่หนูรูปร่างหน้าตาเป็นยังไง” ผมลองเอ่ยถามเธอดู ภายหลังคำถาม เด็กหญิงทำท่าทางเหมือนครุ่นคิดอะไรบางอย่าง....เธอนิ่งนานในความเงียบงัน.....แต่ในแววตาที่ไร้เดียงสานั้น เหมือนจะบอกกับผมอยู่อย่างนั้นว่าเธอจำแม่ของเธอได้ดี...เธอจำได้นะ...ผมไม่แปลกใจว่าทำไมเธอถึงให้คำตอบในสิ่งที่ผมถามเธอก่อนหน้านี้ไม่ได้  แม่...ที่เธอกำลังมาหาในวันนี้นั้น คือแม่แท้ๆ ที่อุ้มท้องเธอมา เป็นแม่ผู้ให้กำเนิด แต่ด้วยเหตุผลและความจำเป็นบางอย่าง…
ที่ว่างและเวลา
‘ลีนาร์’ “ยามเมื่อเราต่างพูดถึงความสุข จะเกิดพลังขึ้นและสร้างคุณค่าขึ้นมาได้”คำกล่าวจากใบหน้ายิ้มแย้มของ ลิซ่า คาเมน เจ้าของภาพยนตร์สารคดีเรื่อง H-FACTOR: where is your heart? ที่เธอและลูกสาวสำรวจธรรมชาติของความสุขของผู้คนข้ามทวีปผ่านคำถามง่าย ๆ ‘ความสุขของคุณคืออะไร’ย้อนไปในวันหนึ่ง ขณะที่ลิซ่าปั่นจักรยานผ่านตอนเหนือของประเทศอินเดีย เธอฉุกคิดขึ้นมาว่าจะทำอย่างไรให้ชาวอินเดียจะแสดงออกถึงความสนุกและความสุขอย่างแท้จริงท่ามกลางความอัตคัดขัดสนที่ยังคงดำเนินอยู่ในเวลานั้น นั่นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของหัวข้อหลักของสารคดีซึ่งเธอและเคย์ล่า ลูกสาววัย 9 ขวบของเธอ…
ที่ว่างและเวลา
‘โถ่เรบอ’หนังสือนวนิยายขนาดสั้น เรื่อง  “เพลงรักช่อดอกไม้” ของ ‘พิบูลศักดิ์ ละครพล’ ที่เคยตีพิมพ์เป็นตอนๆ ใน ‘สกุลไทย’ เมื่อปี 2520 ก่อนสำนักพิมพ์จันทร์ฉายจะนำมารวมเล่มครั้งแรก ในปี 2521 นั้นเปิดฉากด้วยเนื้อเพลงปกาเก่อญอ ที่ชื่อ “แพลาเก่อปอ”“แพลาเก่อปอ ในคืนพระจันทร์ส่องแสง ฉันนั่งเหม่อมอง คอยจ้องแทะนาเต่อกาฉันคอยแสนคอย บะฉ่าเตอถี่บะนา เส่ นอ ถ่อแย เมื่อฉันเคียงคู่กับเธอแมแหม่แคอี ฉันต้องอยู่เดียวเปลี่ยวดายมองหาคู่เคียง บะฉ่าเตอถี่เลอบาโอ้ยอดดวงใจ  แคอีเนอโอะแพแลโปรดจงเห็นใจ เกอหน่าเยอพอคีลา”เพลงนี้ติดหูชาวปกาเก่อญอยาวนานมากว่าสามสิบปี ถือได้ว่าเป็นเพลงยุคแรกๆ…
ที่ว่างและเวลา
‘ฐาปนา’ ผมพบเขาในวันที่เชียงใหม่ยังเปียกปอนจากสายฝน เขาแต่งกายเรียบง่าย บุคลิกคล้ายนักบวช ดูแข็งแรงเหมือนคนอายุสามสิบกว่าๆ  เมื่อได้สนทนา แม้น้ำเสียงเป็นกันเอง แต่ก็แฝงความเคร่งครัดไม่น้อย เขาคือผู้ริเริ่มการเขียน “แคนโต้” บทกวีสามบรรทัดจำนวนสี่ร้อยบทเมื่อสามสิบกว่าปีก่อน ,เป็นผู้ก่อตั้งเวบไซต์ ไทยแคนโต้ (www.thaicanto.com) เมื่อสองปีที่แล้ว และกลายเป็นเวทีที่ใหญ่ที่สุดของบทกวีสามบรรทัด มีแคนโต้นับพันนับหมื่นบท ปรากฎอยู่ในเวบไซต์แห่งนี้ล่าสุด เขามีผลงานวรรณกรรมขนาดยาวแปดร้อยหน้า ที่ชื่อ “โรงเรียนที่เงียบที่สุดในโลก”โดดเดี่ยว และ เด็ดเดี่ยว น่าจะเป็นคำจำกัดความที่ชัดเจนที่สุดสำหรับตัวเขา…