Skip to main content

 

เรื่องราวนี้เกิดขึ้นกับการเดินทางระหว่างฉันและเพื่อนๆกว่า 12 คน เราได้ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน 7 วัน 6 คืน ที่บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี

การเดินทางครั้งนี้ไม่ได้เป็นการเดินทางเพื่อมาท่องเที่ยวแต่การเดินทางของเราครั้งนี้คือการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลในการทำงานซึ่งพวกเรากำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 2 คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่สำหรับการเดินทางครั้งนี้ไม่ใช่แค่การลงพื้นที่เพื่อตักตวงข้อมูลกลับไปทำงานเพียงอย่างเดียวแต่เป็นการเดินทางเพื่อเข้าใจและสัมผัสวิถีชีวิตของคนภายในชุมชนมากกว่าซึ่งเราเองได้รับความอบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูกตั้งแต่ก้าวขามาที่นี่

การเดินทางของเราเริ่มดำเนินขึ้นเมื่อเราก้าวเข้าสู่ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ซึ่งเมื่อเรามาถึงคนภายในชุมชนได้มีการทำพิธีเรียกขวัญซึ่งถือเป็นพิธีกรรมการต้อนรับในฉบับของชาวไทยทรงดำไว้ใช้เรียกขวัญผู้มาเยือน เพื่อปัดเป่าสิ่งไม่ดีออกจากตัวและให้พบแต่สิ่งที่ดีในชีวิต เราทำพิธีบนเรือนไทยทรงดำ โดยมีแม่หมอหรือแม่มดเป็นผู้ดำเนินพิธีกรรม หมู่บ้านหัวเขาจีนแห่งนี้อายุราว 100 ปีโดยมีตำนานเล่าสืบขานกันมาว่า พื้นที่บริเวณนี้ ในอดีตมีท้องทะเลล้อมรอบถือเป็นทำเลที่มีการค้าขายแลกเปลี่ยนระหว่างกัน ต่อมาเกิดอุบัติเหตุเรือสำเภาที่มาทำการค้าขายบริเวณนี้เกิดแตก บริเวณหัวของเรือสำเภามาติดอยู่กับภูเขา คนบริเวณนั้นจึงขนานนามว่า “หัวเขาจีน” ต่อมาหลังจากที่ชนชาติพันธุ์ไทยทรงดำถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยศึกในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงนำชื่อนี้มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “หมู่บ้านหัวเขาจีน” คนภายในหมู่บ้านกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวไทยทรงดำซึ่งนับถือศาสนาผีเป็นหลัก ภายในชุมชนมีการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักและบางกลุ่มทอผ้าซึ่งมีการเลี้ยงตัวไหมซึ่งโชคดีมากวันที่เราไปเราได้พบกับตัวไหมแรกเกิดซึ่งเรายังสามารถเข้าใกล้ได้บ้างหลังจากนั้นเราจะห้ามบุคคลอื่นเข้าใกล้เนื่องจากตัวไหมจะไม่ชักใยเนื่องจากไม่คุ้นกลิ่น ตัวไหมอาจจะตายได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งความรู้ใหม่ที่เราไม่เคยรู้มาก่อน

วันแรกของการมาที่นี่ก็เหมือนการปรับตัวทุกอย่างใหม่ การนอน การกิน ทุกอย่างต้องเริ่มปรับใหม่ทั้งหมดที่นี่รายล้อมไปด้วยทุ่งนาปนกับกลิ่นขี้หมูที่ปะปนกับอากาศเนื่องจากที่นี่ล้อมรอบไปด้วยฟาร์มหมูกว่า 1,000 ไร่ วันแรกเป็นวันที่พิเศษที่สุดและตื่นเต้นที่สุดของเราเพราะเราจะได้รู้ว่า หน้าตาที่พักของเราที่เราต้องอาศัยอยู่ 7 วันจะเป็นอย่างไร ซึ่งพวกเราได้อาศัยอยู่ที่โฮมสเตย์เอมศรีไพรซึ่งคำว่า เอม ภาษาของชาวไทยทรงดำ หมายถึง แม่ บ้านของเราเป็นบ้านไม้ยกสูง วัสดุหลักเป็นไม้ไผ่ ด้านใต้ถุนเป็นปูนเปลือยตกแต่งโดยการใช้ไม้และเครื่องจักสานเป็นหลัก ให้ความรู้สึกการเป็นธรรมชาติซึ่งสอดคล้องกับวิถีชีวิตดั้งเดิมที่มีการทำจักรสานนอกจากนี้บริเวณรอบบ้านของเอมมีการปลูกพืชผักสวนครัวซึ่งสามารถเก็บเกี่ยวเพื่อประกอบอาหารได้

เรื่องราวในแต่ละวันเปลี่ยนแปลงฉันไปทีละนิด เราต้องปรับตัวมากขึ้นจากฉันคนเดิมที่รักไม่เป็น55555 ผ่าม ไม่ใช่ จากฉันคนเดิมที่ทำอะไรเองไม่เป็น นอนหรูอยู่ห้องแอร์ ตามตรงก็ไม่ได้หรูขนาดนั้นแค่ติดแอร์มาก ไม่มีแอร์ไม่ได้ ถ้าอยู่บ้านก็ต้องเปิดแอร์เท่านั้น โดนแดดจัดก็ไม่ได้แสบผิวมาก ชีวิตเลยมีแต่กินกับนอนเป็นส่วนใหญ่ จนวันกลับที่พลิกไปเป็นอีกแบบคือเริ่มทำอะไรเองมากขึ้น ความเป็นเด็กอ้วนทำให้เราต้องลุกขึ้นมาทำอะไรบางอย่าง เราตัดสินใจเก็บมะนาวจากสวนด้วยตัวเองรอบ 3 ทุ่มกว่าเพื่อมาทำน้ำจิ้มหมูกระทะ ถ้าไม่มีมะนาวน้ำจิ้มหมูกระทะจะอร่อยได้อย่างไร เด็กอ้วนก็คือเด็กอ้วน และ ได้หั่นมะนาวเองเป็นครั้งแรกในชีวิต มะนาวที่บ้านเอมน้ำเยอะมาก มากขนาดขอเอมซื้อกลับมาที่บ้านด้วยแต่เอมก็ให้เรากลับมา กลับบ้านมาก็อวดมะนาวก่อนเลยเพราะไม่เคยกินมะนาวที่ไหนอร่อยเท่าที่นี่ ได้นั่งจิบโอวัลตินทำงานกับโน้ตบุ๊กเครื่องหนึ่ง มองออกไปข้างนอกบ้านเป็นบรรยากาศของทุ่งนา นอนนอกชานอากาศเย็นสบาย จากเป็นคนกินอาหารยากมากก็กินได้ง่ายมากขึ้น หลากหลายขึ้น จากเป็นความอดทนต่ำก็อดทนสูงขึ้น ตลอดเวลาเราได้ไปสัมผัสวิถีชีวิตที่นี่มากขึ้น เริ่มจากการที่พวกเราตื่นมาช่วยเอมในการทำกับข้าวเกือบทุกวัน แต่เมนูที่ประทับใจของเรา คือ เมนูไข่เจียวชะอม เนื่องจากเราเก็บไข่ไก่จากแม่ไก่ในเล้าที่มันจะออกไข่ทุกวัน วันละฟองซึ่งเอมเลี้ยงแม่ไก่อยู่ประมาณ 3 ตัว ซึ่งแม่ไก่พึ่งฟักไข่ออกมาทำให้ไข่ไก่ที่เราได้มีความสดเป็นพิเศษส่วนชะอมเราก็เก็บจากสวนบริเวณบ้านของเอม สรุปมื้อเช้าเราหมดค่าใช้จ่ายในการทำอาหารที่ 0 บาท เป็นความรู้สึกที่อิ่มเอมใจและพิเศษมาก เราได้เป็นส่วนหนึ่งและวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเป็นอะไรที่เรารู้สึกผ่อนคลาย บรรยากาศยามเช้าอากาศค่อนข้างดี ลมเย็นสบายทุกวัน เราได้ออกเดินทางเพื่อไปคุยกับภายในชุมชน เราได้คุยกับคนหลากหลายมาก เราได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันก่อให้เกิดความเข้าใจพื้นที่แห่งนี้อย่างลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น

คนที่สำคัญและผูกพันมากที่สุด คือ คุณลุงดำ คุณลุงเป็นปราชญ์ชาวบ้านสาขาศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น คุณลุงดำ อายุ 84 ปี คุณลุงประกอบอาชีพจักสานมายาวนานกว่า 70 ปี ปัจจุบันคุณลุงยังคงประกอบอาชีพเดิม เพิ่มเติมคือเป็นเจ้าของแฮชแท็ก #BagByUncleBlack ซึ่งเป็นแฮชแท็กที่หนูสร้างขึ้นเองไว้เก็บรูปของตะกร้าของคุณลุงดำและเครื่องจักสานของคุณลุงดำซึ่งไม่มีใครรู้และคุณลุงเองก็ไม่รู้ว่าตอนนี้คุณลุงมีแฮชแท็กเก็บผลงานส่วนตัวแล้ว คุณลุงคือคนที่สานตะกร้าที่ฉันถือไปวัดหทัยนเรศวร์ จังหวัดราชบุรี ซึ่งทุกคนต่างชมว่า ตะกร้าสวยมาก หลังจากกลับจากที่วัดหนูรีบกลับไปฟ้องคุณลุงดำว่า “วันนี้หนูถือตะกร้าของคุณลุงไปทำบุญที่วัดเมื่อเช้าไปด้วยนะ มีแต่คนชมตะกร้าหนูสวย ไม่มีใครชมหนูสวยเลย” คุณลุงก็ยิ้มให้เล็กน้อยด้วยความภูมิใจที่มีคนเห็นคุณค่าตะกร้าจักสานของคุณลุง แววตาของคุณลุงบอก หนูว่า คุณลุงมีความสุขมากขนาดไหน แค่รอยยิ้มกับแววตาคุณลุงก็รู้สึกอบอุ่นใจอย่างบอกไม่ถูก ฉันเองก็ได้เรียนรู้การทำจักสานเหมือนกันซึ่งฉันเองก็รู้ดีว่า กว่าจะได้ตะกร้าใบหนึ่งมาไม่ใช่เรื่องง่ายจากประสบการณ์ในการพยายามหั่นลำไม้ไผ่ให้กลายเป็นตอกเล็กๆ เพื่อจะสานกว่าจะทำได้แต่ละตอกนั้นกินเวลาเกือบครึ่งค่อนวันและแต่ละลายก็มีความซับซ้อนต่างกัน และที่สำคัญกว่าจะอ้อนคุณลุงให้สานตะกร้านี้ได้ใช้เวลาตื้ออยู่หลายวันจนคุณลุงเริ่มบ่นพวกเราว่า “ตั้งแต่มีนักศึกษามาที่นี่ ไม่เคยมีใครเซ้าซี้เท่าพวกเรามาก่อน” ซึ่งถ้าบอกแบบทั่วไปมันก็แค่คำดุคำบ่นธรรมดาแต่เรามองลึกไปกว่านั้นว่า คำพูดของคุณลุงเชิงตัดพ้อว่าไม่มีคนรุ่นใหม่ที่สนใจตะกร้าของคุณลุงมากเท่ากับกลุ่มของพวกเราเลย ตั้งแต่ได้รู้จักคุณลุง หนูเองถ้าว่างก็ไปหาคุณลุงเสมอ ไปนั่งคุยกับคุณลุงเกือบทุกวัน บางวันก็หลายครั้งเราได้แลกเปลี่ยนความรู้ เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เรียนรู้การทำเครื่องจักสานอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เข้าใจว่าทุกอย่างไม่ง่ายและมีเรื่องราวที่น่าค้นหาเสมอ

ประสบการณ์ที่ที่แห่งนี้มอบให้เป็นประสบการณ์หนึ่งมีค่าในชีวิตของหนู เรารู้สึกอบอุ่นทุกครั้งที่นึกถึงประสบการณ์ที่ผ่านมา ถ้ามีโอกาสฉันอยากกลับไปที่แห่งนี้อีกครั้ง การมาครั้งนี้ไม่ได้มาแค่ศึกษาแต่มาเพื่อสัมผัสวิถีชีวิต ได้ทั้งความรัก ความอบอุ่น และเรื่องราวดีๆ มิตรภาพที่หาจากที่ไหนไม่ได้

รักและคิดถึงมาก

หัวเขาจีนที่รัก

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
“เมื่อเส้นที่ขอบฟ้าจดแผ่นน้ำ มันเรียกเราและจะต้องไป อีกไกลเท่าไรแค่เพียงลมที่มันโหม บนแผ่นน้ำยังคอยช่วยเราก็คงเข้าใจ ว่าห่างเพียงใดSee the line where the sky meets the sea it calls me
Storytellers
บ้านที่มีเนื้อที่เกือบไร่ในชุมชนชนบท กว้างและเหงาเกินไปที่จะอยู่กันเพียงแค่สองคน สี่ขาซักตัวอาจจะช่วยลดความเหงาลงได้ บ้านเราคุยกันแล้วมีข้อสรุปว่า เราจะหาสมาชิกเข้าบ้าน พี่สาวของผู้เขียนจึงเริ่มปฎิบัติการหาสมาชิกใหม่มาเป็นเพื่อนพ่อกับแม่ ด้วยวิถีชาวไร่ที่ไม่มีห้องแอร์ มีแต่เพียงป่าอ้อยป่ามันล้อมร
Storytellers
สวัสดีครับ  ชื่อนายสมบัติ  แก้วเนื้ออ่อน  ชื่อเล่นบัติครับ  อายุ  24  ปี  เกิดเมื่อวันที่  6  พฤษภาคม  พ.ศ.2537  มีพี่น้องทั้งหมด  5  คนครับ  บัติเป็นคนสุดท้อง  ภูมิลำเนาเป็นคนสงขลาตั้งแต่กำเนิดครับ  เกิดที่จังหวัดสงข
Storytellers
ขอกล่าวสวัสดีอาจจะไม่เป็นทางการซักเท่าไหร่นะครับ ผมชื่อ ศุภศิษฏ์ สิทธิสิงห์ ชื่อเล่นชื่อ เอิร์ธ
Storytellers
สวัสดีครับ ผมชื่อ ศิริศักดิ์ นิยมเดชา ชื่อเล่น ลิฟ อายุ 24 ปี ศึกษาอยู่ชั้นปีที่3 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อก่อนผมไม่เคยเชื่อเรื่องการผันเปลี่ยนของชีวิตเลย ไม่เชื่อว่าชีวิตของผมนั้นจะเปลี่ยนไปถึงขั้นที่ตกต่ำในชีวิต ขณะที่ตัวเองกำลังเดินอยู่บนเส้นทางของความฝัน คือการเรียนหนังสื
Storytellers
สวัสดีครับ ผม ศราวุฒิ เหตุเกตุ นิสิตชั้นปีที่2 มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร เป็นคนที่ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ เคยได้ทำละครเวทีมาแล้ว 2 เรื่อง เวลาว่างจากการเรียนก็จะออกไปช่วยพ่อแม่ขายของตามงานวัดทั่วไป มีหลากหลายเหตุการณ์และเรื่องราวเกิดขึ้น หนึ่งเรื่องที่เลือก
Storytellers
สวัสดีพี่ๆทุกคนค่ะหนูเป็นเด็ก 3 จังหวัด ชายแดนใต้ หนูเป็นคนหนึ่งที่สนใจอยากเข้าร่วมกิจกรรม "นักเล่าเรื่องในที่อื่น"เป็นอย่างมาก หนูรู้ข่าวสารกิจกรรมนี้ ตอนที่กำลังจะสอบ อยู่ๆเฟสบุคก็แจ้งเตือนมาว่ามีบางคนโพสต์อะไรบางอย่างในกลุ่ม หนูกดเข้าไปดูพร้อมอ่านรายละเอียด ณ.ตอนนั้นหนูบอกกับตัวเองว่า" สอบเสร็จฉั
Storytellers
สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวปราดา เชียงกา อายุ 23ปี เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาบริหารธุรกิจ เอกการท่องเที่ยวและการโรงแรม วันนี้อยากมาเล่าเรื่องประสบการณ์ของตัวเองที่ได้ไปฝึกงานที่บริษัทดำน้ำ ที่เกาะช้างเป็นเวลา 4 เดือน คือ 1 เทอมสุดท้ายก่อนเรียนจบจากมหาวิทยาลัย&nbs
Storytellers
 สวัสดีค่ะดิฉันชื่อ นางสาวดาราวดี พานิช อายุ18ปี อาชีพ นักศึกษาเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ คือเรื่อง ดาวดวงสุดท้าย