ริงโทนที่เปลี่ยนไป โดย ฟิตรีนา อาลี

สวัสดีพี่ๆทุกคนค่ะหนูเป็นเด็ก 3 จังหวัด ชายแดนใต้ หนูเป็นคนหนึ่งที่สนใจอยากเข้าร่วมกิจกรรม "นักเล่าเรื่องในที่อื่น"เป็นอย่างมาก หนูรู้ข่าวสารกิจกรรมนี้ ตอนที่กำลังจะสอบ อยู่ๆเฟสบุคก็แจ้งเตือนมาว่ามีบางคนโพสต์อะไรบางอย่างในกลุ่ม หนูกดเข้าไปดูพร้อมอ่านรายละเอียด ณ.ตอนนั้นหนูบอกกับตัวเองว่า" สอบเสร็จฉันจะต้องสมัคร"ทั้งๆที่ในหัวหนูยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะเขียนเรื่องราวอะไรส่งไป หนูรู้แค่เพียงว่าหนูอยากเปิดโลกทัศน์ของตัวเอง ไปเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากพื้นที่ใหม่ๆบ้าง เพราะหนูเชื่อเหลือเกินว่าทุกพื้นที่ย่อมมีเรื่องราวใหม่ๆให้เราได้เรียนรู้ได้ค้นพบอยู่เสมอ

สำหรับเรื่องราวที่หนูจะเล่าในวันนี้มันเป็นเรื่องราวในวัยเด็กของหนู และเป็นเรื่องที่หนูเคยเล่าตอนไปค่ายสิทธิอาจารย์ชื่นชมและชื่นชอบผลงานของหนูด้วย แต่สิ่งที่หนูคาดหวังในตอนนั้นคือหวังแค่เพียงให้คนอื่น เข้าใจความรู้สึกของหนู ในวันนี้หนูจึงอยากจะหยิบยกเรื่องราวดังกล่าวกลับมาเล่าอีกครั้งหวังว่าพี่ๆจะชื่นชอบๆ เและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผลงานของหนูจะได้รับการพิจารณาและได้รับโอกาสจากพี่ๆเช่นนี้ขออนุญาติเล่าเรื่องที่หนูเคยเขียนในตอนนั้นเลยนะคะ
"ริงโทนที่เปลี่ยนไป"

เมื่อพูดถึงเรื่องราว 3 จังหวัดฉันเชื่อเหลือเกินว่าสิ่งต่างๆ ที่หลายๆ คนเคยได้ยินก็คงหนีไม่พ้นเรื่องราวอันแสนโหดร้ายจากดินแดนแห่งนี้ที่หลายๆคนประทับตราว่าอันตราย น่ากลัวและโหดร้าย หลายๆเรื่องราวที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อ ผ่านทีวีและหนังสือพิมพ์ ที่พาดหัวข้อแรงๆ"โจรใต้กระหน่ำกราดยิงนักเรียน" "จุดระเบิดก่อม็อบปล้นความสันติ"ก็คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธหรอกว่าไม่เคยได้ยินไม่เคยได้ฟังเรื่องราวความรุนแรงพวกนี้

สำหรับเรื่องราว 3 จังหวัดที่จะหยิบยกพูดถึงในตอนนี้ก็เช่นกัน ฉันกำลังจะพูดถึงอีกหนึ่งเรื่องราวความทรงจำในวัยเด็กกับดินแดนที่แสนโหดร้ายนี้ ย้อนกลับไปตอนฉันอยู่ป.2 ในปีพ.ศ 2547 วิถีชีวิตในทุกๆวันของฉัน จะมีแม่ผู้เป็นเสมือนนาฬิกา ทำหน้าที่ปลุกฉันในทุกๆเช้าของทุกวัน ปลุกเพื่อให้ฉันลุกขึ้นอาบน้ำแต่งตัว ไปโรงเรียน แต่แล้วเช้าวันหนึ่งเสียงนาฬิกาที่คอยปลุกฉันในทุกๆเช้าก็เปลี่ยนไป เปลี่ยนไปจากเสียงผู้หญิงคนหนึ่งที่เรียกปลุกฉันด้วยน้ำเสียงที่อ่อนนุ่ม เปี่ยมล้นด้วยความรัก กลับกลายเป็นเสียงอื่นแทนเปลี่ยนจากเสียงแม่เป็นเสียงตูมตูมตูม ปังๆๆ ฉันจำได้ไม่เคยลืมเลยว่าเสียงปลุกในวันนั้นมันช่างน่ากลัวมาก ฉันสะดุ้งตื่นขึ้นด้วยความกลัว รีบลุกจากที่นอนพร้อมตั้งคำถามมากมายในหัวว่ามันเกิดอะไรขึ้นทำไมช่างน่ากลัวเหลือเกิน ฉันภาวนาขอให้เสียงที่ได้ยินนั้นเป็นเพียงแค่ฝันร้าย ฉันภาวนาเมื่อตื่นขึ้นความฝันนั้นจะหายไป แต่มันช่างโหดร้ายเหลือเกินสิ่งที่ฝันนั้นกลับกลายเป็นความจริงที่เกิดขึ้นจริงกับบ้านของฉัน ฉันเชื่อว่าหลายๆคนที่ติดตามเรื่องราว 3 จังหวัดยังคงจำเหตุการณ์กราดยิงในมัสยิดได้และเป็นที่แน่นอนว่าคนที่นี่ไม่เคยลืมเรื่องราวอันแสนเจ็บปวดนั้นได้เลย แม้เวลาจะล่วงพ้นมา 14 ปีแล้วแต่เหตุการณ์โศกนาฏกรรมนั้นยังคงประทับชัดเจนอยู่ในหัวใจของเราที่นี่

มัสยิดกรือเซะ ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ศาสนสถานที่เป็นที่เคารพของเราหลายคนที่นี่ ศาสนสถานที่คอยเชื่อมความหลากหลายทางพหุวัฒนธรรมให้เราสามารถอาศัยอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข มาในวันนี้กลายเป็นสนามรบ ฆ่าฟันกัน มีการตายกันในสถานที่เก่าแก่ที่ที่เป็นดั่งสัญลักษณ์ของเราเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเลยผ่านมาแล้ว 14 ปีแต่ยังคงเป็นบาดแผลในใจไม่เคยจางหายของใครหลายๆคนโดยเฉพาะญาติของผู้ตายสิ้นเสียงปืนจากการปะทะในวันนั้นที่นี่ก็เปลี่ยนไป กลายเป็นประวัติศาสตร์บาดแผลและเป็นหนึ่งเชื้อเพลิงที่ให้ไฟใต้คุโชนจนถึงทุกวันนี้

ฉันเชื่อว่าหลายๆคนคงเบื่อกับเรื่องราวพวกนี้แล้ว เบื่อที่จะต้องมาฟังเรื่องราวอันแสนโหดร้ายจากดินแดนแห่งนี้ ฉันและคนที่นี่ก็รู้สึกไม่ต่างกันกับพวกคุณ พวกเราเบื่อที่จะต้องมาเจอะเจอกับเรื่องราวความสูญเสียที่วนไปวนมาไม่จบสิ้น ฉันรู้ว่าถ้าฉันขอให้บ้านฉันกลับมาเป็นเหมือนเก่า คำขอของฉันคงจะเป็นไปได้ยาก และอาจจะคงเป็นไปไม่ได้เลยเพราะที่ผ่านๆมามีหลายๆคนพยายามเรียกร้อง ร้องขอ แต่ผลสุดท้ายทุกอย่างก็เหมือนเดิม มาในวันนี้ฉันจะไม่ขอให้บ้านฉันกลับมาเป็นดั่งเดิม แต่อยากจะขอเพียงไม่ให้มันแย่ไปกว่าเดิม ฉันไม่รู้ว่าสิ่งที่ขอฉันต้องขอกับใคร. ฉันไม่รู้ว่าเขาจะรับรู้หรือเปล่าว่าฉันกำลังร้องขอ
ฉันไม่รู้เลยจริงๆว่าเมื่อฉันขอเขาจะให้ฉันไหม
ฉันเพียงแค่อยากจะขอแค่นี้จริงๆฉันไม่อยากเห็นเด็กน้อยในสามจังหวัดอีกหลายๆคนต้องสะดุ้งตื่นนอนจากเสียงริงโทนซึ่งปกติเป็นเสียงแสนไพเราะเพราะพริ้งหากทว่าที่นี่กลายเป็นเสียงริงโทนปลุกอันแสนโหดร้ายเช่นที่ฉันเคยเจอะเจอ

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (2) โดยนางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (1) โดย นางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”

Storytellers In Journey : นักเล่าเรื่องในที่อื่น

“Raising and caring for children is more like tending a garden :
it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,
nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”

เดินทาง เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ก้าวข้าม โดย ดาราวดี พานิช

หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้