Skip to main content

 

คุณห่างเคยอยู่ไกลจากบ้านมากที่สุดเท่าไร ของเราประมาณ1,730 กม. คือ อุดร-นครศรีธรรมราช จุดเปลี่ยนส่วนหนึ่งของชีวิตเมื่ออายุของเรา 19 ปี เราได้ไปเรียนที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นการเปิดกว้างในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะความเป็นอยู่ สภาพอากาศที่ไม่มีฤดูหนาวที่เราชอบ วัฒนธรรม อาหาร ทุกอย่างแตกต่างมากๆ

มาอยู่ครั้งแรกสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนมากที่สุดคือ อาหารการกินและภาษา ในตอนปี1 เราจะไม่ค่อยพูดหรอก เพราะกลัวว่าบางอย่างที่เราพูดไปจะเป็นสิ่งที่เขาไม่ชอบจะอยู่สังเกตการศึกษาเรื่อยๆจากเพื่อนๆที่เป็นคนใต้ทุกคน สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ คนใต้คุยสนุกมาก แค่เรานั่งฟังเฉยๆก็สนุกแล้ว ส่วนอาหารเหรอ ไม่ต้องถามเพื่อนนะว่าเผ็ดไหม เพราะมันจะบอกว่าไม่เผ็ด ไม่เผ็ดก็บ้าแล้วมันเป็นคนกินเผ็ดคงไม่รู้สึกแล้วแหล่ะ พูดถึงอาหารก็มีเราตลกอยู่เรื่อง เราไปสั่งอาหารขอสุกี้หมู แต่คนขายบอกว่าไม่มีหมูเพราะร้านนี้เป็นร้านอิสลาม แทบจะอยากกราบขอโทษก๊ะ(พี่สาว)อย่างแรงเลย เพราะความลืมตัว หลังๆมาต้องตั้งหลักก่อนสั่งให้ดีๆเลยแหล่ะ

สิ่งต่อมาที่แปลกใหม่คือด้านภาษาที่ต้องปรับตัวมากๆกลัวจะฟังออก จนตอนนี้เองก็แทบจะพูดทองแดง จะสนุกมากๆเวลาที่เพื่อนๆเถียงกันในเรื่องของภาษา เพราะสุดท้ายถึงจะใต้แต่ใต้ในแต่ละที่ก็พูดไม่เหมือนกัน เรียกไม่เหมือนกัน เวลาดูภาษาใต้ในโทรศัพท์ฟังง่ายกว่าการฟังเพื่อนอีก ตอนมาใหม่ๆเพื่อนก็จะถามว่าพูดภาษาอีสานได้ไหม เราจะให้พูดเลยก็ไม่ได้หรอก เพราะที่บ้านไม่ได้สอนให้พูดก็เลยอดที่จะแลกเปลี่ยนภาษา อดเสียดายไม่ได้เลย

อยู่มหาลัยนี้ได้เที่ยวแทบทุกอย่าง หน้าม.มีทะเล หลังม.มีน้ำตก และทะเลหมอก ถ้าวันไหนร้อนแล้วไม่มีการบ้านก็จะชวนกันไปน้ำตก เที่ยวจนตอนนี้เดินไปทั่วน้ำตกแล้ว ส่วนทะเลหมอกถ้าไม่อดนอนแล้วอยากจะไปจริงก็ไม่ได้ไป เพราะเราต้องออกเดินทางกันประมาณตี5 และทางก็มืด แต่เมื่อขึ้นไปถึงแล้วได้เจอหมอกเยอะๆ รู้สึกเหมือนได้อยู่ภาคเหนือเลยล่ะ ถึงจะไม่เคยไปก็เถอะ และสุดท้ายพูดถึงภาคใต้ไม่มีทะเลก็แปลก จะบอกได้เล่นน้ำทะเลไหมก็มีบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะไปเอาของกินไปนั่งกินกันที่ริมหาด ก่อกองไฟ ร้องเพลงกันสนุกสนาน

มีครั้งหนึ่งที่เราต้องทำหนังสือพิมพ์และมีคอลัมน์ท่องเที่ยว เราเลือกเที่ยวที่ปากพนัง แต่ดันไปตอนปีใหม่เพราะม.ปิดหยุดและเราก็ยังต้องเขียนงานเลยจะต้องไปตอนนั้นที่ไม่กระทบกับการเรียนแต่ได้งาน พวกเรานั่งมอไซต์ไปกัน ตอนนั้นโชคร้ายมากเพราะฝนจะชอบหยุดๆตกตลอดทางเดิน เราเลยต้องใส่เสื้อกันฝนตลอดทางพูดเลยว่าการอยู่ที่ภาคใต้ทำให้เรายอมใส่เสื้อกันฝน เพราะที่อุดรเราไม่ชอบในการใส่มันมากเลยส่วนมากรอให้หยุดแล้วค่อยไปต่อ แต่มาอยู่ที่นี่ลุยมากๆ และก็สนุกมากในเมืองปากพนังเป็นเมืองกรุงเก่าของนคร สิ่งก่อสร้างของเขาจะมีรูๆรอบบ้าน เพื่อนบอกว่าเขาท้ารังนกขายกันที่นี่ และสิ่งที่เราชอบมากสุดคือ การที่ได้นั่งเรือข้ามฝั่ง ถึงมันจะแปปเดี๋ยวแต่สนุกดีนะ ในราคาแค่ 1 บาทเอง ที่ปากพนังมีทั้งน้ำจืดที่เป็นเขื่อน และน้ำเค็มที่เป็นทะเล แถมยังมีกังหันลมใหญ่ๆ ที่พอขับไปดูใกล้ๆมันก็ใหญ่มาก อาหารการกินที่นั้นดีเลยล่ะ มีทั้งตลาด 100 ปี และตลาดน้ำปากพนัง พวกเราซื้อกินกันไม่หยุด สนุกมากเป็นเมืองที่ดูสงบ เราอยากจะลองเที่ยวโดยที่อาศัยอยู่กับชาวเมืองปากพนังดูสักครั้งหากได้มีโอกาส

การได้มาที่นี่มันเหมือนการก้าวข้ามทุกอย่างของเรา จากเมื่อก่อนที่ไม่มีความกล้า จนตอนนี้เรากล้าที่จะเปิดรับสิ่งใหม่ๆ เป็นการเปิดโลกความคิด การมองเห็นให้กับเรามากๆ ทุกสิ่งย่อมมีความไม่เหมือนกัน อยากเหมือนในข้อแรกแต่ข้อสองสามสี่ก็อาจจะไม่เหมือนกัน เราได้เห็นเลยว่าทุกอย่างมันมีเหตุมีผล มีประวัติความเป็นมาของมัน อยากจะลอง อย่าพึ่งเชื่อในสิ่งที่ยังไม่เห็น ในสิ่งที่ยังไม่สัมผัส อาจารย์พูดเสมอว่าเราต้องเป็นแก้วน้้าที่เติมน้ำไปยังไงน้้าก็ไม่เต็มแก้วสักที เรายังอยากที่จะเห็นว่าที่อื่นๆ จะเป็นยังไงจะอยู่แบบไหน อยากเรียนรู้และอยากสัมผัส สร้างความทรงจ้าที่แปลกใหม่ตลอดเวลา ได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยลอง อยากจะกล้ามากขึ้นมากขึ้น ผ่านวิธีการเที่ยว การไปอยู่ในแบบของพวกเขาจริงๆ

 

 

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา
Storytellers
หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”
Storytellers
“Raising and caring for children is more like tending a garden :it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”
Storytellers
หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้
Storytellers
- ฉันเริ่มการสรุป สาธยาย เพ้อเจ้อ และพรรณา ณ วันที่12 ธันวาคม 2561 (12/12) เวลา 18.36 -
Storytellers
คำเตือนการพยายามร้อยเรียงเรื่องราวมันคงจะชัดเจนจนสับสนมากอ่านประโยคเดียวงงไหมคะ?ไม่ต้องพยายามเข้าใจอะไรให้มันง่ายหรอกค่ะ เดี๋ยวมันไม่สนุก ไปกันแบบงงๆกับคนงงๆดีกว่า .Pre-ช่วงประมาณกลางเดือนตุลาคม 2561
Storytellers
ตอน : การจัดการที่อยู่
Storytellers
การนำเสนอ ตั้งใจว่าจะทำเป็น จดหมาย 3 ฉบับที่เขียนในสเนพ่อง เพราะว่าในสเนพ่อง ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ท จึงทำให้การพูดคุยสื่อสารกันด้วยจดหมายน่าจะเข้ากับการนำเสนอการเดินทางในครั้งนี้มากที่สุดค่ะ มีจดหมายฉบับที่ส้มโอเขียนให้ครูเฟริ์นและได้มอบให้ครูเฟริ์นจริงในวันสุดท้ายก่อนออกจากสเนพ่
Storytellers
หลังจากที่นอนคิดเกือบทั้งคืนว่าเราจะเก็บกระเป๋าไปพื้นที่เรียนรู้ที่ไหนดี(จากยี่สิบกว่าตัวเลือกที่ทางโครงการ storytellers in journey มีให้) เราก็ได้คำตอบสุดท้ายแล้ว พรุ่งนี้โมจะไปเสน่พ่อง!
Storytellers
           คุณเคยเห็นเวลาที่รถติดหล่มไหม มันคงใช้เวลาอยู่นานเลยนะกว่าจะหลุดพ้นจากหล่มนั้นมาได้ คงต้องใช้ทั้งเวลาทั้งแรงและปัจจัยอีกหลายๆอย่างมากมายในการหลุดออกมา การจากลาจากใครสักคนก็เหมือนกัน ความรู้สึกของการจากลามันก็เหมือนรถที่ติดหล่มที่เมื่อติดลงไปแล้วก็ทำให้ความ
Storytellers
          พบเพื่อลา มาเพื่อจาก ผมลุกจากที่นอนออกมาทำธุระส่วนตัวก็เห็นน้องๆกำลังแต่งตัวถือหนังสือเตรียมตัวกันมาเรียน มันคงเป็นการตื่นมาเรียนที่แต่ละคนดูสดชื่นไม่เหมือนกับตัวเองสมัยเด็กๆที่โรงเรียนไม่ต่างอะไรจากกรงขังที่ตีกรอบสี่เหลี่ยมให้กับเราแต่สำหรับที่นี่โรงเรียนเหมือน