สายน้ำ ความสุข ความฝัน โดย สุภาวดี เชื้อประโรง

“เมื่อเส้นที่ขอบฟ้าจดแผ่นน้ำ มันเรียกเรา

และจะต้องไป อีกไกลเท่าไร

แค่เพียงลมที่มันโหม บนแผ่นน้ำยังคอยช่วยเรา

ก็คงเข้าใจ ว่าห่างเพียงใด

See the line where the sky meets the sea it calls me

and no one knows, how far it goes

If the wind in my sail on the sea stays behind me

one day I'll know, how far I'll go”

ข้อความข้างต้นมาจากเนื้อร้องในเพลง How far I’ll go หรือชื่อเพลงภาษาไทยว่า ห่างเพียงใด เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโมอาน่าหนึ่งในบทเพลงของเจ้าหญิงดิสนีย์ที่ฉันชอบมากทั้งค้าร้องภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เนื่องจากเป็นเพลงที่ฟังเมื่อไหร่ฉันจะมองเห็นภาพความทรงจำของตัวเองที่มีสีฟ้าสองเฉดสีเคลื่อนตัวมาบรรจบ ณ เส้นขอบฟ้ากลับมาให้คิดถึงทุกครั้ง และนั่นก็คือหนึ่งในความทรงจำที่ดีที่สุดของฉัน ผู้หลงใหลในเสียงคลื่น และหลงรักท้องทะเล

ชื่อของฉันคือสุภาวดี เชื้อประโรงชื่อเล่นว่าน้ำฝน ปัจจุบันกำลังจะอายุครบ 25ปีในวันที่ 4 ธันวาคมที่กำลังจะถึงในอีกเดือนเศษเป็นคนกรุงเทพฝั่งธนบุรีแต่กำเนิด คุณแม่เป็นคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่ในตลาดพลู คุณพ่อเป็นคนไทยเชื้อสายมอญจากบ้านแพ้ว พายเรือล่องคลองบางกอกใหญ่มาพบรักกับคุณแม่ที่ตลาดพลูก่อนจะย้ายไปปลูกต้นรักกันที่ตึกแถวย่านบางบอนมีพยานรักด้วยกัน 3คน และฉันเป็นคนที่ 3 ซึ่งหลงมาห่างมาพี่สาวคนรองถึง 7ปีและพี่ชายคนโต 11ปี ถ้าถามว่านิสัยฉันเหมือนใครในบ้าน ก็คงตอบได้อย่างไม่ลังเลว่าเหมือนคนที่ชื่อน้ำฝนแต่ถ้าถามว่าทำไมถึงรักทะเล คงต้องเล่ากันเป็นเรื่องเป็นราวแต่ทั้งหมดน่าจะเริ่มต้นมาจากคุณพ่อ

ช่วงเวลาที่ฉันรอคอยที่สุดตั้งแต่จำความได้คือช่วงสงกรานต์ ไม่ใช่เพราะจะได้เล่นสาดน้ำตามเทศกาล แต่เพราะฉันจะได้นั่งรถ ต่อเรือเครื่อง พายเรือไปซื้อขนม เล่นน้ำคลองที่บ้านสวนของคุณพ่อต้องขอบคุณคุณพ่อที่พาฉันโดดน้ำคลองและล่อหลอกให้ว่ายน้ำข้ามคลองมาตั้งแต่เด็กทำให้ฉันว่ายน้ำได้และชื่นชอบกิจกรรมทุกชนิดที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ดำน้ำลึกจึงเป็นความใฝ่ฝันอย่างหนึ่งของฉัน

โอกาสไล่ตามความฝันในการดำน้ำลึกวิ่งเข้ามาหาตอนฉันกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรฉันได้พบกับค่ายที่ชื่อว่าค่ายโบราณคดีใต้น้ำ ค่ายที่จะพาไปรู้จักการทำงานของนักโบราณคดีใต้น้ำและสอนดำน้ำเบื้องต้น แม้วิชาเอกภาษาไทย โทภาษาอังกฤษที่ฉันศึกษาอยู่จะมีความเกี่ยวข้องกับสายงานโบราณคดีค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับวิชาเอกอื่นๆแต่ฉันก็สามารถผ่านการทดสอบร่างกายและการตรวจสุขภาพเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของค่ายในที่สุด ค่ายโบราณคดีใต้น้ำใช้เวลาทั้งสิ้น 20 วัน ใน 10 วันแรกจะเป็นการเตรียมร่างกาย ท้าความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ดำน้ำเรียนทฤษฎีต่างๆ รวมไปถึงการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ส่วนใน 10วันหลัง จะได้ออกเรือไปใช้ชีวิตอยู่กลางทะเล ไปดำน้ำทะเลกันจริงๆ ในหนึ่งวันจะดำน้ำกันวันละ 2 รอบ แบ่งเป็นดำทำความลึกและดำอิสระ โดยจะเรียกการดำแต่ละครั้งว่าไดฟ์ในประสบการณ์การดำน้ำของฉัน มีไดฟ์นึงจากค่ายครั้งนี้ที่ฉันยกให้เป็นที่สุดของความประทับใจ ไดฟ์นั้นคือการดำทำความลึกในระยะ 30เมตร เป็นไดฟ์ที่ใช้เวลาในการดำสั้นที่สุด เนื่องจากความลึกที่มากท้าให้ออกซิเจนไม่พอใช้และเป็นอันตรายต่อร่างกาย หากดำเป็นเวลานานการดำไดฟ์นี้เมื่อลงท้าความลึกถึงพื้นแล้วต้องค่อยๆขึ้นแทบจะในทันทีด้านล่างมืดเกือบสนิทไม่มีอะไรให้บันเทิงใจนอกจากดินนุ่มๆ ที่ฟุ้งกระจายเพราะทีมที่ลงมาก่อนหน้า ฉันในตอนนั้นคิดแค่ว่านี่มันไม่มีอะไรเลย ไม่มีปลาหายากว่ายผ่านไม่เหมือนโลกใต้ทะเลในสารคดีที่เคยดูหรือที่จินตนาการเอาไว้แต่ความคิดนั้นก็ค่อยเปลี่ยนไปในระหว่างที่กำลังขึ้น เมื่อลองเงยหน้ามองไปข้างบน น้ำทะเลแยกชั้นกันออกเป็นสองสีจากการตกกระทบของแสงและตะกอนของฝุ่น สีฟ้าสองเฉดที่บรรจบกัน มุมที่มองขึ้นไปบอกฉันให้รู้ว่าท้องทะเลกว้างใหญ่มากเพียงไหน ในขณะที่กำลังดำดิ่งไปกับความงามสีฟ้าแมงกระพรุนไฟสีสันโทนร้อนจัดจ้านก็ลอยตามกระแสน้ำเข้ามาอยู่ในสายตา แม้ว่าแมงกะพรุนไฟจะเป็นสัตว์ทะเลที่พบเห็นได้ไม่ยากเมื่อเทียบกับสัตว์ทะเลชนิดอื่น แต่ภาพนั้นกลับเป็นภาพที่ชัดเจนในความรู้สึกของฉันเสมอ แม้ว่าจะผ่านมาเกือบ 5 ปีแล้วก็ตามจากนั้นยามแล่นเรืออยู่กลางทะเล ทุกครั้งที่มองไปยังเส้นขอบฟ้ามองเห็นสีฟ้าของผืนฟ้าและแผ่นน้ำทอดตัวขนานไปด้วยกัน มันท้าให้ฉันรู้สึกสบายใจ และรู้ว่าตัวเองได้ตกหลุมรักภาพ กลิ่น และเสียงของทะเลและท้องฟ้าไปเสียแล้ว

การดำน้ำแต่ละครั้งใช้เวลาและงบประมาณค่อนข้างมาก ฉันจึงไม่มีโอกาสได้ไปดำบ่อยนัก นอกจากจะติดเรือไปกับบรรดาครูฝึกและตามไปดูการทำงานของรุ่นพี่นักโบราณคดีใต้น้ำที่รู้จักกันในค่ายแต่อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งฉันมักจะหาเวลาให้ตัวเองได้ไปนั่งเรือ เที่ยวทะเล เติมพลังกายและพลังใจมาสู้กับตึกสูงในกรุงเทพมหานคร น่าเสียดายที่ในปีนี้ยังไม่มีโอกาสได้ไปเนื่องด้วยปัญหาสุขภาพ จึงทำได้แค่ฟังเพลงปลอบใจตัวเอง และย้ำให้รู้ว่าคิดถึงสีฟ้าสดใสนั้นมากขนาดไหน

 

เขียน ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2561

ภาพจาก https://www.pinterest.com/pin/465770786447181237

 

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (2) โดยนางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

ปรากฏการณ์การพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐ คำว่า “ความดีงามแห่งรัฐ” คือ สิ่งที่รัฐมองว่าดีงามและควรค่าแก่การรักษา

ย่านเมืองเก่า ความปวดร้าวที่ต้องยอมรับ? (1) โดย นางสาวฑิชาธร กลั่นเกษร

หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”

Storytellers In Journey : นักเล่าเรื่องในที่อื่น

“Raising and caring for children is more like tending a garden :
it involves “a lot of exhausted digging and wallowing in manure” to create a safe,
nurturing space in which innovation, adaptability and resilience can thrive.”

เดินทาง เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ก้าวข้าม โดย ดาราวดี พานิช

หลังจากครุ่นคิดมาทั้งคืน ถึงพื้นที่การเรียนรู้ มุกได้เลือกไปที่ ชุมชนไทดำ จังหวัดสุราษฎร์ธานีค่ะ มีหลายเหตุผลมากมายในการเลือกเดินทางครั้งนี้ นั่นก็คือ อยากที่จะไปเรียนรู้ถึงวัฒนธรรม พิธีกรรม รวมถึงวิถีชีวิตต่าง ๆของคนไทดำ ว่ามีความแตกต่างกับชีวิตประจำวันของเราอย่างไร และสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ทำให้