Skip to main content

หากเราลัดเลาะรอบกรุงรัตนโกสินทร์ สิ่งที่เห็นล้วนเต็มไปด้วยวัดวาอาราม ย่านที่เต็มไปด้วยความดีงามที่ควรแค่แก่การอนุรักษ์นำมาซึ่ง “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์”

“แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์” มุ่งหมายให้ความดีงามคงอยู่คู่ชาติต่อไป (ประชาไท, 2562) และภารกิจไล่รื้อปฏิปักษ์ต่อความดีงามของรัฐจึงกำเนิดขึ้นภายใต้ชุดความเชื่อว่า “โบราณสถานกับผู้คนเป็นของแสลง ไม่มีสิทธิ์เคียงคู่กัน” นำไปสู่กรณีป้อมมหากาฬเป็นบาดแผลครั้งใหญ่ที่รัฐกระทำต่อความเป็นชุมชน สิ่งที่รัฐทำคือการไล่รื้อบ้านไม้เก่าโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์แต่เก็บไว้ซึ่งกำแพงเมืองป้อมมหากาฬ (มติชน, 20 เมษายน 2561) ซึ่งเป็นความดีงามแห่งรัฐ แท้จริงความดีงามของรัฐคือสิ่งใด? บทเรียนราคาแพงกับการต่อสู้เชิงอำนาจ

ในวันนี้ย่านเมืองเก่ากำลังเปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่กำลังซ้ำรอยเดิม หนึ่งในนั้นคือย่านนางเลิ้งได้รับบทบาทผู้เสียสละเพื่อชาติรายใหม่ การเปิดช่องว่างของพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ที่มุ่งเน้นการสร้างผังเมืองเพื่อเปิดช่องว่างให้เกิดการพัฒนาอย่างสุดโต่ง โดยการกำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์พื้นที่และการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาประเทศ (พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562, 2562) ซึ่งมีการเปลี่ยนสีผังเมืองซึ่งหมายถึงการกำหนดการเข้าถึงทรัพยากรใหม่ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อชีวิตโดยตรง ฉะนั้นการกำหนดสีคือการเปลี่ยนวิถีของผู้คน การเข้าถึงทรัพยากรโดยเฉพาะความมั่นคงทางด้านที่อยู่อาศัยก็เป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยสี่เช่นกัน แต่หากถามว่าเรารับรู้เรื่องนี้หรือไม่? เราคงได้รับคำตอบที่ไม่ต่างกันนัก เพราะเหตุใดเรื่องสำคัญแบบนี้เราถึงไม่รับรู้? การเข้าถึงข้อมูล การออกแบบ ประชาพิจารณ์ สิทธิ์ขาดอยู่ที่ใด?

 “ผังเมืองรวมในกรุงเทพมหานคร” เป็นส่วนหนึ่งสู่การพลิกโฉมกรุงเทพมหานครใหม่ กรุงเทพมหานครกำลังเปลี่ยนไป นั่นคือการปรับเปลี่ยนสี (สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง, 2562)  ย่านนางเลิ้ง เขตป้อมปราบศัตรูพ่ายเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการกระทำดังกล่าวการเปลี่ยนสีพื้นที่ทำให้ราคาที่ดินสูงลิบจากเปลี่ยนสีพื้นที่อยู่อาศัยคือสีเหลืองเป็นพื้นที่พานิชยกรรมคือสีแดงซึ่งเอื้อให้เกิดการขุดเจาะรื้อทำลายความดีงามสามัญเพื่อดำรงไว้ซึ่งความดีงามแห่งรัฐผ่านการสร้างอาคารขนาดใหญ่หรือการสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร, ม.ป.ป.) นำไปสู่แผนการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มซึ่งมีแผนตั้งสถานีหลานหลวงซึ่งมุ่งหวังว่าการระบบขนส่งมวลชนระบบรางเพื่อส่วนรวมโดยการเชื่อมต่อระหว่างฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก (การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย, ม.ป.ป.)  ภายใต้วาทกรรมเสียสละเพื่อส่วนรวม ข้อพิพากษ์ที่เกิดขึ้น คือ สถานีหลานหลวง ย่านนางเลิ้ง รัฐเลี่ยงการทำลายเหล่านั้นได้ รัฐเลือกที่ดินรกร้างของเอกชนได้โดยไม่จำเป็นต้องไล่รื้อตรอกเรืองนนท์ ละครชาตรีสามัญแบบดั้งเดิมที่เป็นต้นตำรับที่คู่กับกรุงตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์(กัญญา ทิพโยสถ, 2561) เพียงแค่รัฐมองเห็นคุณค่าแห่งความดีงามสามัญและยอมรับความงามแบบสามัญ ซึ่งที่ผ่านมารัฐปฏิเสธความงดงามเหล่านั้นและเชื่อว่าความงามแห่งรัฐคือความงามเพียงหนึ่งเดียว เสมือนกับสิ่งที่รัฐเคยกระทำต่อป้อมมหากาฬ การต่อสู้ในแง่ความดีงามแห่งสามัญโดยการวิจัยและนำเสนอทางออกเพื่อการดำรงอยู่ คือ “แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ” เพื่อชี้ชัดว่าชุมชนป้อมมหากาฬเป็นชุมชนบ้านไม้โบราณที่สมบูรณ์ที่สุดในเกาะรัตนโกสินทร์ (ชาตรี ประกิตนนทการ, 2549) หากความดีงามนั้นเป็นสามัญ รัฐจึงมองไม่เห็นและลงมือไล่รื้อเฉกเช่นเดิม หนึ่งเสียงสะท้อนจากคนป้อมมหากาฬที่เขาจำเป็นต้องย้ายออกและเป็นคนไร้งาน ไร้อาชีพ ไร้ที่อยู่อาศัย (ธวัชชัย วรมหาคุณ, 2562) นี่คือสิ่งที่รัฐกระทำอย่างนั้นหรือ?

การกระทำที่ผ่านมาของรัฐ แท้จริงความดีงามของรัฐคือสิ่งใด? การพัฒนาเพื่อส่วนรวมแลกกับวิถีที่ต้องแลก? แท้จริงคำว่าเพื่อส่วนรวมคือเจตนาดีหรือเพียงวาทกรรม? แล้วชีวิตของเราจำเป็นต้องแขวนกับปลายปากกาการพัฒนาของใครจริงหรือ? หากทาบกับคำจำกัดความของคำว่า การพัฒนาเมือง ในมาตรา ๔ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ได้ระบุว่า “การดำเนินการวางนโยบาย รวมทั้งการสร้าง ปรับปรุง ฟื้นฟู บูรณะ ดำรงรักษา หรือดำเนินการอื่นใดเพื่อพัฒนาที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ ภายใต้กรอบของการผังเมือง เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน และความเจริญก้าวหน้าของเมืองบริเวณที่เกี่ยวข้อง หรือชนบท ในด้านต่าง ๆ” (พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562, 2562) สิ่งที่รัฐกระทำอยู่คือความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนจริงหรือ?

ภายใต้การต่อสู้ แรงกดดันที่เราต้องดิ้นรนสู้ต่อ เพียงที่ดินผืนนี้เป็นทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพียงที่ดินพื้นนี้ไม่ได้มีเพื่อไพร่อย่างเรา ความสั่นคลอนที่เราไม่รู้เราจะต่อสู้กับความโหดร้ายนี้ได้อย่าง ท่าทีของสำนักทรัพย์สินฯ ที่พร้อมพิทักษ์ความดีงามแห่งรัฐและยินดีกำจัดปฏิปักษ์ให้พ้นทาง เราไม่มีทางรู้ว่าพรุ่งนี้เราจะอยู่อย่างไร อำนาจเหล่านั้นถูกฝังลึกอยู่ในใจผู้หญิงคนหนึ่งผู้หญิงที่ต่อสู้เพื่อนางเลิ้งที่ต้องอยู่ต่อ ผู้หญิงที่ยืนหยัดรักษาพื้นแผ่นดินเกิดของตน เขาคือ พี่แดง สุวัน แววพลอยงาม แกนนำชุมชนวัดแค ประโยคที่โหดร้ายสำหรับนักต่อสู้อย่างเรา ประโยคนั้นกล่าวเพียงว่า “ฉันอยู่คู่กับการพัฒนาได้ไหม? ขออยู่เป็นพร็อพก็ได้ พร็อพที่มีชีวิต ทำไมการต่อสู้กับการพัฒนาแบบนี้ชาวบ้านต้องแพ้ตลอด” (สุวัน แววพลอยงาม, 2561) คำว่าพร็อพ เป็นคำที่โหดร้ายและบาดลึกในชีวิตของคนคนหนึ่ง คนที่มีลมหายใจแต่ยินยอมเป็นเพียงสิ่งของ สิ่งประกอบฉาก เพื่อการดำรงอยู่ต่อ ความหดหู่ไม่อยู่แค่สิ่งที่ภาคประชาชนสะท้อนแต่การสายตาของรัฐต่างหากที่กำลังทำร้ายเรา สิ่งที่รัฐกระทำคือประโยคเรียบเฉยในห้องเย็น ณ สถานที่แห่งนี้ ประโยคนั้นกล่าวว่า “คุณจะอยู่ที่นี่ก็ได้(ป้อมมหากาฬ)แต่คุณต้องมา 8 โมงเช้า กลับ 6 โมงเย็น ห้ามทำอาหาร ห้ามสูบบุหรี่” (อินทิรา วิทยสมบูรณ์, 2561) ประโยคนี้ยังคงหลอกหลอนฝันร้ายที่ยากจะลืม นี่สิพร็อพของจริง พร็อพที่ไร้ชีวิต ความไร้ค่าเพียงแค่เราเป็นอยู่เบื้องล่างเท่านั้นหรือ? ความเป็นมนุษย์อยู่ส่วนไหน? รัฐมองผู้คนด้วยสายตาแบบใด? หรือแท้จริงแล้วเราเป็นธุลีที่อยู่ได้แค่ผืนดิน

 

บรรณานุกรม

กัญญา ทิพโยสถ. ปราชญ์ชาวบ้านด้านละครชาตรี. (13 ตุลาคม 2562). สัมภาษณ์.

การรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.). แนวคิด วัตถุประสงค์ เป้าหมายโครงการ. สืบค้นจาก

       https://www.mrta-orangelineeast.com/th/about

ชาตรี ประกิตนนทการ. (พฤษภาคม 2549). แผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณป้อม

       มหากาฬ. เอกสารนำเสนอในการประชุมวิชาการนานาชาติการอนุรักษ์พัฒนามรดกวัฒนธรรม

       ท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในแนวทางบูรณาการข้ามศาสตร์, อุดรธานี. สืบค้นจาก

       https://www.slideshare.net/TumMeng/executive-summary-61026019

ธวัชชัย วรมหาคุณ. อดีตประธานชุมชนป้อมมหากาฬ. (26 มกราคม 2562). สัมภาษณ์.

แผนแม่บทกรุงรัตนโกสินทร์ (ใหม่) กับเสียงมนุษย์ (เก่า) ในม่านฝุ่นการพัฒนาเมือง. (5 กุมภาพันธ์ 2562).

       ประชาไท. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2019/02/80875

 “พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562” (2562, 29 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 71 ก.

หน้า 27.

รื้อแล้วบ้านทรงไทย “ป้อมมหากาฬ” ชาวบ้านน้ำตาคลอ เผย 26 ปี “สู้จนสุดทางแล้ว”. (20 เมษายน 2561)

       มติชน. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/local/news_924626

สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง, “สรุปสาระสำคัญของ (ร่าง) ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 4),”

       เอกสารประกอบการประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นของประชาชน 11 พฤษภาคม 2562. (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่), หน้า 1-15.

สำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (ม.ป.ป.). ผังเมืองรวมกรุงเทพ. สืบค้นจาก http://cpd.bangkok.go.th/map1_t.html

สุวัน แววพลอยงาม. แกนนำชุมชนวัดแค. (25 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์.

อินทิรา วิทยสมบูรณ์. นักเคลื่อนไหวสังคม. (25 ธันวาคม 2561). สัมภาษณ์.

บล็อกของ Storytellers

Storytellers
“เมื่อเส้นที่ขอบฟ้าจดแผ่นน้ำ มันเรียกเราและจะต้องไป อีกไกลเท่าไรแค่เพียงลมที่มันโหม บนแผ่นน้ำยังคอยช่วยเราก็คงเข้าใจ ว่าห่างเพียงใดSee the line where the sky meets the sea it calls me
Storytellers
บ้านที่มีเนื้อที่เกือบไร่ในชุมชนชนบท กว้างและเหงาเกินไปที่จะอยู่กันเพียงแค่สองคน สี่ขาซักตัวอาจจะช่วยลดความเหงาลงได้ บ้านเราคุยกันแล้วมีข้อสรุปว่า เราจะหาสมาชิกเข้าบ้าน พี่สาวของผู้เขียนจึงเริ่มปฎิบัติการหาสมาชิกใหม่มาเป็นเพื่อนพ่อกับแม่ ด้วยวิถีชาวไร่ที่ไม่มีห้องแอร์ มีแต่เพียงป่าอ้อยป่ามันล้อมร
Storytellers
สวัสดีครับ  ชื่อนายสมบัติ  แก้วเนื้ออ่อน  ชื่อเล่นบัติครับ  อายุ  24  ปี  เกิดเมื่อวันที่  6  พฤษภาคม  พ.ศ.2537  มีพี่น้องทั้งหมด  5  คนครับ  บัติเป็นคนสุดท้อง  ภูมิลำเนาเป็นคนสงขลาตั้งแต่กำเนิดครับ  เกิดที่จังหวัดสงข
Storytellers
ขอกล่าวสวัสดีอาจจะไม่เป็นทางการซักเท่าไหร่นะครับ ผมชื่อ ศุภศิษฏ์ สิทธิสิงห์ ชื่อเล่นชื่อ เอิร์ธ
Storytellers
สวัสดีครับ ผมชื่อ ศิริศักดิ์ นิยมเดชา ชื่อเล่น ลิฟ อายุ 24 ปี ศึกษาอยู่ชั้นปีที่3 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อก่อนผมไม่เคยเชื่อเรื่องการผันเปลี่ยนของชีวิตเลย ไม่เชื่อว่าชีวิตของผมนั้นจะเปลี่ยนไปถึงขั้นที่ตกต่ำในชีวิต ขณะที่ตัวเองกำลังเดินอยู่บนเส้นทางของความฝัน คือการเรียนหนังสื
Storytellers
สวัสดีครับ ผม ศราวุฒิ เหตุเกตุ นิสิตชั้นปีที่2 มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร เป็นคนที่ชอบเรียนรู้อะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ เคยได้ทำละครเวทีมาแล้ว 2 เรื่อง เวลาว่างจากการเรียนก็จะออกไปช่วยพ่อแม่ขายของตามงานวัดทั่วไป มีหลากหลายเหตุการณ์และเรื่องราวเกิดขึ้น หนึ่งเรื่องที่เลือก
Storytellers
สวัสดีพี่ๆทุกคนค่ะหนูเป็นเด็ก 3 จังหวัด ชายแดนใต้ หนูเป็นคนหนึ่งที่สนใจอยากเข้าร่วมกิจกรรม "นักเล่าเรื่องในที่อื่น"เป็นอย่างมาก หนูรู้ข่าวสารกิจกรรมนี้ ตอนที่กำลังจะสอบ อยู่ๆเฟสบุคก็แจ้งเตือนมาว่ามีบางคนโพสต์อะไรบางอย่างในกลุ่ม หนูกดเข้าไปดูพร้อมอ่านรายละเอียด ณ.ตอนนั้นหนูบอกกับตัวเองว่า" สอบเสร็จฉั
Storytellers
สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวปราดา เชียงกา อายุ 23ปี เพิ่งจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะสังคมศาสตร์ ภาควิชาบริหารธุรกิจ เอกการท่องเที่ยวและการโรงแรม วันนี้อยากมาเล่าเรื่องประสบการณ์ของตัวเองที่ได้ไปฝึกงานที่บริษัทดำน้ำ ที่เกาะช้างเป็นเวลา 4 เดือน คือ 1 เทอมสุดท้ายก่อนเรียนจบจากมหาวิทยาลัย&nbs
Storytellers
 สวัสดีค่ะดิฉันชื่อ นางสาวดาราวดี พานิช อายุ18ปี อาชีพ นักศึกษาเรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ คือเรื่อง ดาวดวงสุดท้าย