Skip to main content

สังคมที่ขับเคลื่อนโดยระบบตลาดทุนนิยมเสรีนั้น ฝากความหวังไว้กับผู้บริโภคในการคัดเลือกสิ่งที่ดีให้คงอยู่ในตลาด  ผ่านการจ่ายเงินซื้อและสนับสนุนสินค้าและบริการที่ผลิตอย่างมีคุณภาพ ราคาเหมาะสม หรือที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหวังว่า จะมีเพียง “ผู้ใช้ทรัพยากรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด” เท่านั้นที่จะคงเหลืออยู่ในตลาด ทำให้ผู้ผลิตเหล่านั้นรอดอยู่ในตลาดและได้โอกาสจัดการทรัพยากรต่อไป   แต่ผู้อยู่รอดในตลาด คือ ผู้ที่จัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือ ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าที่เกิดจากการผลิตที่ดีหรือไม่? คือ สิ่งที่ต้องค้นหาคำตอบ

ปัจจุบันเจ้าของสินค้า พยายามสร้าง “แบรนด์” ของตนให้มีลักษณะน่าเชื่อถือ เป็นที่ไว้วางใจต่อผู้บริโภคจนผู้บริโภคอาจจะมองข้ามรายละเอียดปลีกย่อย แล้วเลือกซื้อหาสินค้าที่มีปัญหาการขูดรีดแรงงาน ทำลายสภาพแวดล้อม หรือละเมิดสิทธิมนุษยชน พูดง่ายๆ คนไม่ได้ซื้อสินค้าด้วย “ราคา” อย่างเดียว แต่เลือกเพราะความรู้สึกดีๆต่อ “แบรนด์” เหล่านั้นด้วย

            สิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้าง “แบรนด์” คือ ความเป็นธรรมในระบบการผลิต การแลกเปลี่ยน สินค้า เพราะมีผู้ผลิตจำนวนมากสามารถสินค้าและให้บริการได้เหนือจากผู้ผลิตรายอื่น เนื่องจากได้ปิดบัง ซ่อนความฉ้อฉลไว้ใต้หน้ากากของผู้ผลิตที่ห่วงใยสังคม และรักษ์สิ่งแวดล้อม   ปัญหาการขูดรีดผู้ผลิตรายย่อย การใช้แรงงานทาส และทำลายสภาพแวดล้อม เรื่อยไปจนถึงการผลิตที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคจึงเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บงำไว้   เพราะมีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค

            การควบคุมทิศทางข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับ “แบรนด์” ของบรรษัทจึงมีความสำคัญยิ่งยวดจนต้องมีการลงทุนในการทำโฆษณาประชาสัมพันธ์มหาศาล   จนเป็นที่ทราบกันว่าการสร้างเครือข่ายระหว่างบรรษัทกับสื่อมวลชนกระแสหลัก นักวิชาการ และนักคิดนักเขียน เรื่อยไปจนถึงควบคุมทิศทางความเห็นของประชาชนในวงกว้างจึงกลายเป็นภารกิจสำคัญของบรรษัท  

อุปสรรคในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชน คือ   เมื่อมีผู้ให้ข้อมูลด้านลบเกี่ยวกับบรรษัท หรือการแสดงความรู้สึกไม่พอใจต่อแบรนด์ ทีมงานประชาสัมพันธ์จะพยายามติดต่อ กดดันเพื่อให้มีการลบความเห็นเหล่านั้น ในลักษณะคุกคามความเป็นส่วนตัวของบุคคลเพื่อให้มีการเซ็นเซอร์ตัวเองหรือลบความเห็น   ไปจนถึงการกดดันเจ้าของพื้นที่สื่อ ให้ควบคุมเนื้อหา และรับข้อมูลของฝ่ายบรรษัทไปเผยแพร่กลบข้อมูลด้านลบของบรรษัท   ซึ่งนี่คือ ปัญหาใหญ่ของสังคมที่ไร้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และจำกัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชน  โดยความสัมพันธ์ “หลังฉาก”

กลยุทธ์ที่บรรษัทใช้มีหลากหลาย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การใช้มาตรการทางกฎหมายในการกดดันบุคคลที่นำเสนอข้อมูลด้านลบต่อบรรษัท   การฟ้องร้องในข้อหาหมิ่นประมาทถูกหยิบมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศ จนบรรษัทต่างๆทั่วโลกหยิบมาใช้ตามๆกัน   เพราะการฟ้องร้องคดีเหล่านี้เป็นวิธีปิดปากที่ได้ผลเร็ว เนื่องจากเมื่อมีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือฟ้องต่อศาลแล้ว   ผู้ที่ตกเป็นผู้ต้องหามักจะยุติการเผยแพร่ข้อมูล ทั้งที่ยังไม่มีคำพิพากษาของศาล  และบรรษัทก็นำการยุติบทบาทผู้เผยแพร่ข้อมูลนี้ไปขยายผลว่า ข้อมูลที่เผยแพร่เป็นเท็จ จึงได้มีการระงับเผยแพร่

การฟ้องคดีหมิ่นประมาทในประเทศไทยมีอยู่สองลักษณะใหญ่ๆ คือ การเรียกค่าเสียหายในทางแพ่งฯ และความรับผิดทางอาญา   ซึ่งมีขั้นตอนต่างกัน และผลสุดท้ายของคดีก็ไม่เหมือนกัน   แต่ในบางกรณีอาจมีการฟ้องเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา   คือ การฟ้องว่าบุคคลนั้นให้ข้อมูลที่ละเมิดเกียรติยศชื่อเสียงตนเป็นความผิดทางอาญา และต้องชดเชยค่าสินไหมทดแทนในทางแพ่งด้วย    ในหลายกรณีมีการเรียกค่าเสียหายนับพันล้าน เพื่อข่มขู่สื่อมวลชน หรือนักวิชาการ   จนทำให้ผู้ที่พูดความจริงเครียดและยุติการเผยแพร่ข้อมูล   จนผู้บริโภคสูญเสียโอกาสในการรับรู้ “ความจริง”

ในกรณีเหล่านี้ สิ่งที่ปกป้องผู้เสนอความจริงก็คือ สิทธิในการแสดงความคิดเห็นตามกติกาสากลสิทธิพลเมืองและการเมือง รวมไปถึงข้อยกเว้นความผิดทางอาญาและแพ่งฯ  กล่าวคือ หากสิ่งที่นำเสนอนั้นเป็น “ความจริง” และเป็น “ประโยชน์ต่อสาธารณะ” ก็จะได้รับการคุ้มครองเพื่อประโยชน์ของสังคมในการได้รับข้อมูลประกอบการตัดสินใจ       ตราบใดที่เรื่องนั้นมิใช่ข้อมูลส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่นโดยแท้ หรือไม่ใช่ข้อมูลที่มีกฎหมายห้ามเผยแพร่   “ความจริงที่พูดไม่ทำให้ผู้พูดผิด”

เช่นเดียวกับ การเปิดเผยข้อมูล หากมีการถกเถียงว่า “ข้อมูล” นั้นเป็นความลับที่ต้องได้รับการคุ้มครองหรือไม่ กฎหมายก็ให้การคุ้มครองการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของรัฐหรือเอกชน หากเป็นประโยชน์กับประชาชนในวงกว้าง  

พรบ.ข้อมูลข่าวสารของราชการฯ ได้ให้สิทธิประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลที่อยู่ในการดูแลของรัฐไว้อย่างกว้างขวาง   แต่ก็ยังมีกลุ่มข้อมูลที่เผยแพร่ไม่ได้  ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

1)      ข้อมูลสาธารณะที่ห้ามเปิดเผย เช่น ความลับของชาติที่กระทบต่อความมั่นคงฯทางราชการ การทหาร หรือเศรษฐกิจ ซึ่งก็มีข้อถกเถียงอยู่เสมอว่า คลุมเครือ และรัฐอาจตีความเป็นเรื่องความมั่นคงไปเสียหมดเพื่อปิดโอกาสประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล และ

2)      ข้อมูลส่วนบุคคลที่ห้ามเปิดเผย เนื่องจากหน่วยงานรัฐได้จัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของปัจเจกชนโดยแท้ เช่น ประวัติสุขภาพ ที่อยู่ หากเปิดเผยจะสร้างความเสียหายและกระทบต่อการใช้ชีวิตส่วนตัว ข้อมูลกลุ่มนี้จึงเปิดเผยไม่ได้   

 

บรรษัทที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชน นักกิจกรรม สื่อมวลชน และนักวิชาการ ทั้งเรื่อง ที่อยู่ การเดินทาง สถานที่ทำงาน และข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิตส่วนตัว จึงเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลเป็นอันมาก และสุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดกฎหมาย เพราะคุกคามชีวิตของบุคคลชัดเจนแต่เรากลับพบว่า หน่วยงานเอกชนได้ใช้ความพยายามในการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของ นักกิจกรรมทางสังคม สื่อมวลชน นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่รัฐ จึงเป็นที่น่ากังวลว่าบรรษัทได้ข้อมูลมาอย่างไร   หากเป็นการลักลอบขโมยข้อมูล หรือตามสืบ ย่อมเป็นการคุกคามสิทธิของบุคคลเหล่านั้น   ยิ่งไปกว่านั้นถ้าบรรษัทร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รัฐบางคนในการแสวงหาข้อมูลเหล่านั้น ก็เป็นความผิดของบรรษัท และเจ้าพนักงานอย่างชัดเจน

แม้ประเทศไทยจะยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการเฉพาะ แต่ก็มีกฎหมายอาญากำหนดความรับผิดต่อผู้ที่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านั้นไว้อย่างชัดเจน   ซึ่งผู้ที่ต้องรับผิดก็มีทั้งผู้ที่มีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูล เช่นหน่วยงานรัฐเจ้าของฐานข้อมูลต่างๆ รวมไปถึงผู้ให้บริการเอกชนที่มีข้อมูลเหล่านั้นอยู่ในระบบข้อมูลสารสนเทศของตน   เช่นเดียวกับผู้ที่นำข้อมูลส่วนตัวเหล่านั้นไปโดยไม่มีอำนาจ และการนำข้อมูลเหล่านั้นไปเผยแพร่

ในทางกลับกัน การเปิดเผยข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนและทำลายสิ่งแวดล้อมของบรรษัทจึงเผยแพร่ได้เพราะเกี่ยวข้องกับประโยชน์ของสาธารณะอย่างชัดเจน และมิได้เป็นความลับของชาติ หรือข้อมูลส่วนตัวโดยแท้ของบุคคลใด    เนื่องจากการกระทำของบรรษัทกระทบต่อชีวิตของคนในสังคมเป็นจำนวนมาก

แต่อีกสิ่งที่หลบซ่อนอยู่ คือ การร่วมมือกันระหว่างบรรษัทผู้ผลิตสินค้า กับ บรรษัทผู้เป็นเจ้าของพื้นที่สื่อ  โดยสื่อที่มาแรงมาก คือ สื่อใหม่อย่างอินเตอร์เน็ต อันได้แก่ เว็บบอร์ด โซเชียลเน็ตเวิร์ค และเสิร์ชเอ็นจิ้น ที่เป็นเหมือนหน้าด่านแรงในการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนทั่วไป   การร่วมมือกันของบรรษัทเหล่านี้ ในการลบ ระงับ การเผยแพร่ข้อมูล หรือคอยสอดส่องข้อมูลแล้วแจ้งให้บรรษัทรับทราบ จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคในสังคมเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารต้องตื่นตัว   เพราะผู้บริโภคจะไม่มีวันรับรู้ “ความจริง” เลย  หากผู้ให้บริการทั้งหลายคัดกรองข้อมูลออกไปแล้ว ดังปรากฏการลบข้อความของเจ้าของเว็บบอร์ดดัง หรือการลบลิ้งค์เชื่อมไปยังข้อมูลด้านลบ อย่างต่อเนื่อง

ในสังคมแบบตลาดเสรี พลังของผู้บริโภคคือสิ่งสำคัญ   การตัดสินใจของผู้บริโภคบนพื้นฐานของความจริง สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้   เพราะผู้บริโภคคือกำลังซื้อ หากเลิกอุดหนุนสินค้าแบรนด์หนึ่ง แล้วเลือกสนับสนุนบรรษัทที่รักษ์สิ่งแวดล้อม ดูแลแรงงาน ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนแทน

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา