Skip to main content

อย่างที่เราเคยได้ยินกันว่า “คนที่ตายแล้วก็สบายไป ที่เหลือไว้คือลูกหลานที่แย่งชิงมรดก” หากไม่มีการวางแผนและจัดการปัญหาไว้ล่วงหน้า ก็อาจมีปัญหาในครอบครัวตามมาหากว่าความรักไม่อาจเอาชนะความโลภได้ แต่ในบางครั้งก็มิใช่เพียงกิเลสเท่านั้นที่ทำให้เกิดเรื่องเนื่องจากยังมีความยุ่งยากภายในครอบครัวตามมาอีกมากมาย เพราะความสัมพันธ์ของคนในช่วงชีวิตหนึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำอะไรให้ชัดเจนและง่ายดายเหมือนอย่างที่คนอื่นคาดหวัง   เราไปฟังเรื่องต่อไปนี้เพื่อวางแผนให้ดีก่อนจะถึงวันที่สายไปกันครับ  

ผมเป็นลูกของภรรยานอกสมรส เนื่องจากพ่อของผมพาเราสองคนแม่ลูกเข้ามาอยู่กับครอบครัวใหญ่ หลังจากได้ร้างรากับภรรยาเก่าที่อยู่อีกจังหวัดหนึ่ง เนื่องจากมีปัญหากันและห่างไกลกันหลังจากพ่อต้องย้ายกลับมาทำมาหากินที่บ้านเกิด  พ่อกับภรรยาเก่านั้นได้สมรสกันตั้งแต่ตอนที่พ่อยังหนุ่มๆและเข้าไปทำงานในกรุงเทพฯ ก่อนจะมีปัญหากับครอบครัวนั้นรวมถึงปัญหาธุรกิจ ทำให้พ่อย้ายกลับมาทำธุรกิจที่บ้านเกิดแล้วเจอกับแม่และมีผมออกมา โดยเป็นที่รับรู้กันในหมู่ญาติพี่น้องข้างพ่อ และบ้านโน้นก็รู้ดีแต่ไม่ได้มีปัญหาอะไรในช่วงที่พ่อยังมีชีวิตอยู่ เพราะพ่อก็ยังส่งเงินไปช่วยเหลือทางครอบครัวนู้นอยู่เป็นประจำ

เมื่อพ่อของผมเสียชีวิตลง ทางภรรยาหลวงของพ่อได้มาบอกว่าจะไม่ให้ทรัพย์สินใดกับทางผมและแม่เลย นับเป็นการเอาเปรียบในสิทธิผมมาก เพราะพ่อและแม่ผม อยู่ด้วยกันตลอดในช่วงหลายปีหลัง ทำมาหากินร่วมกันมารวมถึงเงินที่ส่งไปให้ทางบ้านนู้นใช้และทรัพย์สินทั้งหลายที่หามาได้ในช่วงหลังก็เป็นน้ำพักน้ำแรงที่แม่ผมมีส่วนหามาด้วย   แต่ว่าพ่อผมไม่ได้ทำเรื่องหย่าขาดจากบ้านนั้นทำให้เขาอ้างว่าทรัพย์สินที่ได้มาเป็นของเขาแน่ๆ เนื่องจากยังมีทะเบียนสมรสกันจนวันสิ้นชีวิตของพ่อ   ทั้งที่ก่อนพ่อผมเสียได้มีการแบ่งมรดกทรัพย์สินกับทางผมมากกว่า  ทำให้เราคิดว่านี่อาจเป็นชนวนเหตุให้อีกฝ่ายไม่พอใจและทำเรื่องตั้งผู้จัดการมรดกขึ้นมาและบอกว่าผมไม่มีสิทธิรับมรดก เพราะพ่อผมไม่ได้เขียนพินัยกรรมไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

                แม่ผมได้ปรึกษาทนายความและตกลงกับทางญาติข้างพ่อซึ่งรับรู้เรื่องราวต่างๆ ก่อนพ่อเสียโดยขอให้กลุ่มคนที่ได้ยินพ่อผมพูดมาช่วยให้การต่อศาลว่าผมมีสิทธิที่จะได้ทรัพย์สินของพ่อที่ได้บอกก่อนเสียชีวิต กระทั่งทนายความได้ดำเนินการจนสำเร็จและผมได้รับส่วนแบ่งมรดก และได้เสียเงินค่าว่าจ้างทนายที่คิดว่ามากเกินความจำเป็น แต่แม่ผมคิดว่าสมเหตุสมผล เนื่องจากดีกว่าไม่เหลืออะไรเลย

หลังจากนั้นแม่ผมได้ย้ายออกจากครอบครัวเดิม และแม่ก็ไม่มีสิทธิ์ในมรดกของตระกูลใหญ่ของพ่อ  เนื่องจากได้แต่งงานใหม่และใช้นามสกุลของคู่สมรสใหม่แล้ว   แต่เมื่อปู่ของผมเสียชีวิต แม่จึงได้เข้ามาเป็นตัวแทนผม เพื่อแบ่งมรดกกับลุงตามที่ปู่เคยบอกกล่าวไว้   เนื่องจากพ่อพาแม่และผมเข้ามาอยู่กับครอบครัวตั้งแต่ผมเด็กและปู่ก็ดูแลผมมาตั้งแต่ยังแบเบาะ เอ็นดูผมมาก เนื่องจากเป็นหลานเล็กคนเดียวที่อยู่กับปู่ในช่วงบั้นปลายชีวิต   หลังจากปู่เสียชีวิตแม่จึงเข้ามาเรียกร้องสิทธิให้ผมโดยให้เหตุผลว่าผมผู้เป็นหลานแท้ๆของปู่มีสิทธิ์ในมรดกดังกล่าว โดยปู่ได้บอกว่าบ้านและที่ดินที่อาศัยอยู่ในปัจจุบันจะยกให้กับผมผู้เป็นหลาน แต่ตอนนี้ตกเป็นของคุณลุงซึ่งเข้ามาอยู่อาศัยอยู่ โดยลุงได้กลายเป็นเป็นผู้จัดการมรดกไปแล้วหลังจากปู่เสีย เพราะได้ให้ทนายไปทำเรื่องตั้งผู้จัดการมรดกให้ตั้งแต่ปู่เสียชีวิตใหม่ๆ

หลังจากนั้นแม่ได้นัดเข้าพูดคุยกับคุณลุงเพื่อตกลงเรื่องการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามความตั้งใจของคุณปู่   เมื่อพูดคุยเจรจาแล้วผลปรากฏว่าคุณลุงบอกจะโอนมรดกให้แก่ผม   แต่อ้างว่ากฎหมายจะให้คนรับมรดกก็ต่อเมื่ออายุครบ 20 ปีที่ถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้วเท่านั้น แต่ขณะนั้นผมอายุ 18 ปี ยังไม่บรรลุนิติภาวะ จึงยังรับมรดกไม่ได้   ผมก็แม่ก็รู้สึกว่ามันแปลกมากที่ต้องรอให้บรรลุนิติภาวะก่อนจึงจะรับมรดกได้ เลยเข้ามาสอบถามว่าจะต้องรออย่างที่ลุงบอกหรือไม่ เพราะตอนที่พ่อเสียก่อนหน้านั้น ผมและแม่ก็ยังได้แบ่งมรดกได้เลย และทำอย่างไรจึงจะได้มรดกมาตามที่คุณปู่เคยกล่าวไว้”

เหตุการณ์ของน้องคนนี้มีสองช่วงแต่มีประเด็นปัญหาร่วมกันอยู่ คือ มิได้มีการทำสัญญาลายลักษณ์อักษรของเจ้ามรดก ทำให้มีความยุ่งยากในการวิเคราะห์ปัญหาและการแบ่งมรดกให้เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกก่อนเสียชีวิต ดังนั้นจึงวิเคราะห์ประเด็นผลบังคับของมรดกรวบไปในคราวเดียวกัน แต่ในประเด็นปลีกย่อยจะได้แยกวิเคราะห์ให้เข้าใจถึงรายละเอียดของแต่ละประเด็น

วิเคราะห์ปัญหา

1.             หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมลายลักษณ์อักษรไว้ก่อนเสียชีวิต จะต้องแบ่งมรดกกันอย่างไร สามารถนำคำบอกกล่าวหรือการพูดปากเปล่ามาเป็นพินัยกรรมในการแบ่งมรดกได้หรือไม่

2.             ลูกนอกสมรสถือเป็นบุตรของบิดาหรือไม่ มีสิทธิได้รับมรดกของบิดาหรือไม่

3.             ลูกนอกสมรสถือเป็นหลานของปู่หรือไม่ มีสิทธิได้รับมรดกของปู่รึเปล่า

4.             การรับมรดกจะต้องมีอายุครบ 20 ปี เพื่อบรรลุภาวะก่อนจะรับมรดกได้หรือไม่

5.             การจัดการมรดกนั้นเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกหรือไม่ แล้วจะต้องจัดการอย่างไร

การนำกฎหมายมาแก้ไข

1.             หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก่อนเสียชีวิต จะต้องแบ่งมรดกกันตามกฎหมายซึ่งกำหนดสัดส่วนไว้   แต่ในกรณีทั้งสองสามารถนำคำบอกกล่าวหรือการพูดปากเปล่ามาเป็นพินัยกรรมปากเปล่าในการแบ่งทรัพย์สินได้ โดยมีการนำสืบพยานที่รับรู้การแสดงเจตนาของเจ้ามรดกได้

2.             ลูกนอกสมรสถือเป็นบุตรของบิดาได้จากการรับรองบุตรของบิดาไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส แม้ไม่เคยรับรองบุตรก็อาจใช้วิธีทางนิติวิทยาศาสตร์ได้  บุตรนอกสมรสมีสิทธิได้รับมรดกของพ่อ  และในกรณีนี้อาจอ้างพยานในพินัยกรรมปากเปล่าได้เพิ่มเติมอีกด้วย

3.             ลูกนอกสมรสถือเป็นหลานของปู่ได้จากการรับรองบุตรของบิดาไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรส แม้ไม่เคยรับรองบุตรก็อาจใช้วิธีทางนิติวิทยาศาสตร์ได้ หลานมีสิทธิได้รับมรดกของปู่ และในกรณีนี้อาจอ้างพยานในพินัยกรรมปากเปล่าได้เพิ่มเติมอีกด้วย

4.             การรับมรดกสามารถทำได้ตั้งแต่มีสภาพบุคคล คือ ตั้งแต่เกิด ไม่ต้องรอให้บรรลุภาวะก่อนจะรับมรดก การรับสิทธิสามารถกระทำได้ทันที

5.             การจัดการมรดกนั้นเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล แล้วผู้จัดการจะต้องจัดการมรดกตามพินัยกรรมอย่างเคร่งครัด เพราะหากฝ่าฝืนจะมีความผิดทางกฎหมายและเสียสิทธิในมรดกด้วย ส่วนการจ้างและตกลงว่าจ้างทนายเป็นเรื่องความสมัครใจแต่อยู่ในกรอบมารยาททนายความ

ช่องทางเรียกร้องสิทธิ

1.             โดยทั่วไปคดีมรดกสามารถตั้งทนายหรือติดต่อด้วยตัวเองในการฟ้องเรียกร้องสิทธิในศาลแพ่งฯ

2.             ปัจจุบันสำนักงานอัยการได้เข้ามารับดูแลคดีมรดก จึงอาจเข้าขอความช่วยเหลือในการจัดการจากสำนักงานอัยการประจำพื้นที่ของเจ้ามรดกได้

3.             หาไม่แล้วก็ติดต่อทนายความเพื่อจัดการกระบวนการทั้งหลายเพราะจะมีธุรกรรมต่างๆ ตามมาอีกจำนวนหนึ่ง เช่น การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานที่ดินฯ เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายอยู่ที่ตกลงกัน

สรุปแนวทางแก้ไข

ส่วนแรกใช้หลักการแบ่งมรดกด้วยพินัยกรรมปากเปล่า การนำสืบพยาน และนิติกรรมสัญญากับทนาย   ซึ่งกรณีนี้เป็นพินัยกรรมปากเปล่าจึงสามารถนำญาติซึ่งไม่มีส่วนได้เสียกับมรดกส่วนของตนมานำสืบได้ เพื่อให้มีการแบ่งทรัพย์มรดกตามเจตจำนงของเจ้ามรดก   ส่วนเรื่องค่าทนายเป็นความสมัครใจระหว่างลูกความกับทนายตกลงกัน

ส่วนหลังใช้หลักการแบ่งมรดกด้วยพินัยกรรมปากเปล่า และการจัดการมรดกตามเจตนาของเจ้ามรดก และคุณสมบัติของผู้รับมรดก ซึ่งมรดกนี้ต้องแบ่งตามที่ปู่ผู้เป็นเจ้ามรดกแสดงเจตนาไว้ แม้ลุงจะเป็นผู้จัดการมรดกก็ต้องจัดการไปตามพินัยกรรม และต้องจัดการให้ทันทีเนื่องจากบุคคลสามารถรับมรดกได้ตั้งแต่เกิดไม่ต้องรออายุ หากไม่จัดการตามพินัยกรรมอาจฟ้องเพิกถอนลุงออกจากการเป็นผู้จัดการมรดก

 

 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกเนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ