Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Privacy Shield 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาในการให้หลักประกันแก่ผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลมั่นใจว่า ข้อมูลของตนจะได้รับการคุ้มครองในเขตอำนาจของทั้งสองฝ่าย และผู้ประกอบการที่มาลงทะเบียนภายใต้ระบบมาตรฐานนี้   โดยลงนามรับรองระหว่างกันตั้งแต่ 12 กรกฎาคม 2559

2.       สหรัฐเปิดให้ผู้ประกอบการมาลงทะเบียนได้ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2559 มีเวลาปรับตัวจนถึง 25 พฤษภาคม 2561 หาไม่แล้วจะเข้าสู่ตลาดของสหภาพยุโรปไม่ได้ เพราะขัดกับ EU General Data Protection Regulation

3.       ข้อตกลง EU-US Privacy Shield จึงเป็นผลลัพธ์โดยตรงของการประกาศใช้ EU General Data Protection Regulation  ข้อตกลงทั้งสองจึงมีภาวะนำในการกำหนดมาตรฐานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประชาคมโลก เพราะเป็นกฎหมายของตลาดดิจิตัลโลกเสรีที่กินพื้นที่กว้างครอบคลุมพลเมืองเน็ตเยอะ

4.       มีการเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะสิทธิในการได้รับข้อมูลและแจ้งข่าวสาร อาทิ ข้อมูลอะไรที่จะถูกเก็บ ถูกประมวลผล ส่งข้ามแดน ผู้ประกอบการได้ขึ้นทะเบียนรับรองแล้ว นโยบายของผู้ประกอบการ ช่องทางในการติดต่อผู้ประกอบการ วิธีการร้องเรียนหน่วยงานตรวจสอบเยียวยาสิทธิ

5.       กำหนดข้อจำกัดในการประมวลผลจากข้อมูลให้รัดกุมยิ่งขึ้น เช่น วัตถุประสงค์ ขอบเขต และเพิ่มสิทธิของผู้ทรงสิทธิในการปฏิเสธการส่งข้อมูลต่อไปยังองค์กรอื่น หรือส่งข้ามแดน หากไม่ตรงกับความยินยอมขั้นต้น   หากผู้ควบคุมประมวลผลข้อมูลฝ่าฝืนจะต้องรับผิดจากการละเมิดดังกล่าวด้วย

6.       การกำหนดขอบเขตในการประมวลผลให้ถูกต้อง เที่ยงตรง และทันสถานการณ์เสมอ  และตรงวัตถุประสงค์มากที่สุด การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นไปเท่าที่จำเป็น และต้องลบข้อมูลออกเมื่อเกินกว่าความจำเป็นแล้ว

7.       สร้างมาตรการป้องกันภัยพิบัติทั้งจากภัยในเชิงกายภาพ และการล่วงละเมิดบุกรุกคุกคามระบบทุกรูปแบบ และมีกระบวนการประเมินความเสี่ยงเพื่อระวังภัยล่วงหน้า

8.       ให้สิทธิแก่ผู้ทรงสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตน เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ทันสมัย และมีสิทธิในการร้องให้ผู้ประกอบการแก้ไข และผู้ประกอบการต้องแจ้งถึงความก้าวหน้าในการแก้ไขข้อมูลให้สอดคล้องกับความจริง หากปฏิเสธก็ต้องแจ้งเหตุผลให้ทราบด้วย

9.       การจัดตั้งกลไกให้หน้าที่การตรวจตราผู้ประกอบการทั้งหลายที่มาลงทะเบียนปฏิบัติตามข้อตกลง รวมถึงให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ (Data Protection Authority – DPA) ทั้งที่มีในแต่ละประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และที่มีในสหรัฐและมีคณะทำงานร่วมสองฝ่ายในการรับเรื่องเพื่อพิจารณา (Panel)

10.   การสร้างช่องทางเยียวยาให้กับผู้ทรงสิทธิที่ถูกละเมิดหรือไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิขึ้น โดยอาจร้องเรียนไปยังผู้ตรวจการสิทธิ (Data Protection Ombudsman) หากความเสียหายเกิดจากการละเมิดของหน่วยงานรัฐของสหรัฐ

11.   ออกแบบกระบวนการพิจารณาเพื่อวินิจฉัยข้อพิพาทและเยียวยาความเสียหายทางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR)

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา