Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559

2.       ผลลัพธ์จากการปฏิรูประบบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และการวางแนวทางใหม่ของสหภาพยุโรปในประเด็นนี้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลผู้ต้องสงสัย ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา อาชญากร รวมถึงผู้ก่อการร้าย นักรบต่างชาติ ข้ามพรมแดนระหว่างสหรัฐกับสหภาพยุโรป 

3.       เนื่องจากกฎหมายเรื่องนี้ของยุโรปเป็นระดับ Directive ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังต้องไปออกกฎหมายภายใน และสหรัฐก็ปรับกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง รวมสร้างกลไกตรวจตรา ตรวจสอบ และเยียวยา ระหว่างกันเพิ่มเติม

4.       สร้างขอบเขตการประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่าจะเก็บข้อมูลประมวลข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง

5.       การส่งข้อมูลข้ามพรมแดนทั้งหลายจะต้องได้รับการยินยอมจากหน่วยงานที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลต้นทางเสียก่อน

6.       กำหนดระยะเวลาในการเก็บกักข้อมูลให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็น โดยประกาศเป็นการทั่วไปว่าข้อมูลที่จัดเก็บในกรณีต่างๆว่าอยู่ในระยะเวลาเท่าใด ประชาชนค้นหาประกาศและเข้าถึงข้อมูลเงื่อนไขเหล่านั้นได้

7.       ให้สิทธิผู้ทรงสิทธิเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับกับตนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และสามารถร้องขอให้หน่วยงานที่เก็บข้อมูลปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง

8.       หน่วยงานที่ควบคุมข้อมูลจะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย และจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบหากข้อมูลรั่วไหล หรือมีความเสียหายเกิดขึ้น

9.       พลเมืองสหภาพยุโรปมีสิทธิในการฟ้องร้องต่อศาลสหรัฐหาก หน่วยงานรัฐปฏิเสธการเข้าถึงหรือขอแก้ไขข้อมูล หรือเมื่อข้อมูลถูกเปิดเผยรั่วไหล  รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิในการได้รับเยียวยาตามกฎหมาย US Judicial Redress Bill ที่สภาคองเกรสประกาศตั้งแต่ 18 มีนาคม 2559  เสมือนพลเมืองสหภาพยุโรปได้รับการปกป้องสิทธิเท่าพลเมืองสหรัฐตาม US Privacy Act of 1974

10.   จัดตั้งหน่วยงานในการควบคุมตรวจตรา (Oversight) การประมวลข้อมูล ส่งต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เป็นไปตามหลักประกันที่กำหนดไว้ในข้อตกลง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกเนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ