Skip to main content

ประเด็นสำคัญของ EU-US Umbrella Agreement 2016

1.       ข้อตกลงระหว่างสหภาพยุโรปกับสหรัฐเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในการควบคุมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาตั้งแต่ ตำรวจไปจนถึงศาล ลงนามเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559

2.       ผลลัพธ์จากการปฏิรูประบบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และการวางแนวทางใหม่ของสหภาพยุโรปในประเด็นนี้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูลผู้ต้องสงสัย ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา อาชญากร รวมถึงผู้ก่อการร้าย นักรบต่างชาติ ข้ามพรมแดนระหว่างสหรัฐกับสหภาพยุโรป 

3.       เนื่องจากกฎหมายเรื่องนี้ของยุโรปเป็นระดับ Directive ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปยังต้องไปออกกฎหมายภายใน และสหรัฐก็ปรับกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง รวมสร้างกลไกตรวจตรา ตรวจสอบ และเยียวยา ระหว่างกันเพิ่มเติม

4.       สร้างขอบเขตการประมวลผลและแลกเปลี่ยนข้อมูลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ว่าจะเก็บข้อมูลประมวลข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ใดบ้าง

5.       การส่งข้อมูลข้ามพรมแดนทั้งหลายจะต้องได้รับการยินยอมจากหน่วยงานที่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลต้นทางเสียก่อน

6.       กำหนดระยะเวลาในการเก็บกักข้อมูลให้เหมาะสมเท่าที่จำเป็น โดยประกาศเป็นการทั่วไปว่าข้อมูลที่จัดเก็บในกรณีต่างๆว่าอยู่ในระยะเวลาเท่าใด ประชาชนค้นหาประกาศและเข้าถึงข้อมูลเงื่อนไขเหล่านั้นได้

7.       ให้สิทธิผู้ทรงสิทธิเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับกับตนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และสามารถร้องขอให้หน่วยงานที่เก็บข้อมูลปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง

8.       หน่วยงานที่ควบคุมข้อมูลจะต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัย และจะต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบหากข้อมูลรั่วไหล หรือมีความเสียหายเกิดขึ้น

9.       พลเมืองสหภาพยุโรปมีสิทธิในการฟ้องร้องต่อศาลสหรัฐหาก หน่วยงานรัฐปฏิเสธการเข้าถึงหรือขอแก้ไขข้อมูล หรือเมื่อข้อมูลถูกเปิดเผยรั่วไหล  รวมไปถึงการเรียกร้องสิทธิในการได้รับเยียวยาตามกฎหมาย US Judicial Redress Bill ที่สภาคองเกรสประกาศตั้งแต่ 18 มีนาคม 2559  เสมือนพลเมืองสหภาพยุโรปได้รับการปกป้องสิทธิเท่าพลเมืองสหรัฐตาม US Privacy Act of 1974

10.   จัดตั้งหน่วยงานในการควบคุมตรวจตรา (Oversight) การประมวลข้อมูล ส่งต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อให้เป็นไปตามหลักประกันที่กำหนดไว้ในข้อตกลง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา