Skip to main content

ยุทธศาสตร์ของชนชั้นนำไทยที่ลักลั่นระหว่าง การผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัล หรือไทยแลนด์ 4.0 กับ การมุ่งรักษาความมั่นคงของรัฐ(บาล) โดยการปราบปรามผู้วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล และมุ่งเสาะแสวงหาผู้ที่คิดต่างกับรัฐเพื่อปราบปรามโดยใช้มาตรการทางกฎหมายที่รุนแรง  แสดงให้เห็นถึงความขาดแคลนองค์ความรู้อย่างรอบด้านในการธำรงความมั่นคงและสงบเรียบร้อยในโลกไซเบอร์ โดยส่งเสริมความก้าวหน้าของตลาดเศรษฐกิจดิจิทัลไปในคราวเดียวกัน  

จึงมีความจำเป็นต้องส่งเสริม "ความรู้" ที่มุ่งสู่การส่งเสริมความเบ่งบานของโครงการไทยแลนด์ 4.0 บนพื้นฐานของการสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์จากผู้คนหลากหลายในสังคม   การรักษาความปลอดภัยและมั่นคงเป็นสิ่งสำคัญ แต่พึงระลึกเสมอว่า เป้าหมายของมันคือ การรักษาสิทธิของพลเมืองเน็ตทั้งหลายให้มีโอกาสแสดงออกซึ่งความเจริญงอกงามทางความคิดจินตนาการ  มิใช่ควบคุมให้อยู่ในกระถางบอนไซเล็กๆที่ล้อมกรอบไว้   เพราะการแข่งขันในตลาดโลกสูง ความคิดที่สดใหม่ ไร้กรอบเท่านั้นที่จะทะลุปล้องไปแข่งขันได้

กฎหมายอาชญากรรม สงคราม และความมั่นคงไซเบอร์ 
Law on Cybercrime, Cyber warfare and Cybersecurity

วิชานี้จะมุ่งเน้นไปที่การรักษาระบบปฏิบัติการและโครงสร้างการสื่อสารด้านโทรคมนาคมที่มีลักษณะเชื่อมโยงผ่านโครงข่ายคลื่นและสร้างพื้นที่ชนิดใหม่ที่เรียกว่า “พื้นที่ไซเบอร์” (Cyberspace)

โดยในปัจจุบันมีกรณีศึกษาทั้งระดับรัฐและระดับโลกที่สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการสร้างระบอบการกำกับดูแลโลกไซเบอร์ รวมทั้งการกำหนดความผิดและโทษต่อการโจมตีหรือก่ออาชญากรรมต่อระบบ อันได้แก่
1) การก่ออาชญากรรมต่อเครือข่ายการสื่อสารทางอินเตอร์ หรือการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์
2) การทำสงครามระหว่างประเทศ หรือการโจมตีระบบโดยองค์กรอาชญากรรม หรืออาชญากรข้ามชาติ
3) การแทรกซึม บ่อนทำลายหรือแพร่ข้อมูลที่ทำอันตรายระบบปฏิบัติและเครือข่ายการสื่อสารและความมั่นคง


เวทีประชาคมโลกที่เจรจาหาระบอบในการควบคุมการกระทำความผิดและปกป้องสิทธิของพลเมืองผู้ใช้อินเตอร์เน็ตและผลักดันให้รัฐสมาชิกตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมโยงกันสถาปนากฎหมายและกลไกมาบังคับใช้มาตรการร่วมกันใน 3 ประเด็น คือ
1) กฎหมายอาชญากรรมไซเบอร์ ทั้งในระดับสนธิสัญญาระหว่างประเทศ และรัฐบัญญัติของแต่ละประเทศ
2) สนธิสัญญาระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการโจมตีระบบปฏิบัติการระหว่างประเทศ และกลไกระหว่างรัฐ
3) การสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ร่วม และการผลักดันกลไกภายในรัฐ


กลุ่มเป้าหมายหลัก คือ องค์กร หน่วยงาน และผู้ปฏิบัติการทั้งในหน่วยงานรัฐและเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจทั้ง 3 ด้านดังกล่าวไปแล้ว อาทิ กระทรวงเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กองทัพ สภาความมั่นคงแห่งชาติ บริษัทที่ปรึกษาด้านความมั่นคงไซเบอร์ และผู้ควบคุมระบบปฏิบัติการในหน่วยงานรัฐ และเอกชน ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการขยายตัวของเศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมไทยตามแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

*หวังว่าจะไม่มีอาจารย์ผู้สอนวิชาเหล่านี้ให้ความเห็นว่า Like สเตตัสเป็นความผิดอาญาอีกนะครั่บ

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า