Skip to main content

นับแต่รัฐประหาร 2557 คณะผู้กุมอำนาจได้รุกไล่และปราบปรามการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดอนาคตประเทศเป็นอย่างมาก  ยุทธวิธีที่สำคัญ คือ การสอดส่องผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ที่มีส่วนสนับสนุนประชาชนและองค์กรต่างๆให้มีความหาญกล้าท้าทายอำนาจรัฐ  ยิ่งไปกว่านั้นยังใช้มาตรการทางกฎหมายในการกดดันอย่างต่อเนื่อง

การต่อสู้ต่อรองเพื่อคืน "สิทธิในการกำหนดอนาคต" คืนอำนาจให้กับประชาชนเจ้าของประเทศ จึงจำเป็นต้องคิดค้นหลักสูตรวิชาใหม่ให้เข้ากับสถานการณ์ที่กองทัพ บรรษัทร่วมกันยึดครองประเทส และสอดรับกับยุทธศาสตร์ในการทวงคืนประเทศไทยใน 20 ปีให้กับปวงชนชาวไทย 


"กฎหมายกับการมีส่วนร่วมของประชาชน"

หลักสูตรนี้จะช่วยให้เห็นถึงสภาพปัญหาในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมของประชาชนที่อาจมีอุปสรรคจากการละเมิดโดยภาครัฐ หรือการเพิกเฉย ละเลยไม่ใส่ใจของรัฐต่อการละเมิดสิทธิโดยเอกชน


การมีส่วนร่วมของประชาชนตั้งอยู่บนสิทธิพลเมืองและการเมืองที่มีกฎหมายรับรองในประเด็นหลัก 5 ประการ คือ 
1) สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารสาธารณะ 
2) เสรีภาพในการแสดงออก 
3) สิทธิในการรวมกลุ่มหรือชุมนุมเพื่อเรียกร้องสิทธิ 
4) สิทธิในความเป็นส่วนตัวปลอดจากการคุกคามแทรกแซงหรือทำลายเกียรติยศชื่อเสียง 
5) สิทธิในชีวิตเนื้อตัวร่างการปราศจากการถูกทรมานหรืออุ้มหาย ทำให้ตาย


ทั้งนี้ประเด็นเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและการเมืองทั้ง 5 มีส่วนส่งเสริมการพัฒนาสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จึงควรสร้างหลักประกันในรูปแบบกฎหมายและกลไกให้ครอบคลุมลักษณะเฉพาะทั้ง 5 ประเด็น คือ
1) กฎหมายการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารราชการ (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลข่าวสารราชการ)
2) กฎหมายคุ้มครองความเป็นอิสระในการเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชน หรือปกป้องการแสดงออกทางวิชาการ หรือรักษาเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนทั่วไป (ICCPR, รธน., พรบ.สื่อ, ปอ., Anti-SLAPP Law)
3) กฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมหรือการรวมกลุ่มเป็นสมาคม สหภาพ (ICCPR, รธน., พรบ.การชุมนุม, พรบ.แรงงานสัมพันธ์, พรบ.พรรคการเมือง, พรบ.จัดตั้งสมาคมและมูลนิธิ, ปพพ.)
4) กฎหมายปกป้องความเป็นส่วนตัวและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคล (ICCPR, รธน., พรบ.ข้อมูลส่วนบุคคล, ชุดกฎหมายความมั่นคง, พรบ.ดักข้อมูล, ปอ., ปพพ.)
5) กฎหมายต่อต้านการทรมานและขจัดการบังคับให้บุคคลสูญหาย ((ICCPR, CAT, CED, รธน., พรบ.เยียวยาผู้เสียหายในคดีอาญา, ปอ.แก้ไขเพิ่มเติมทรมาน/บังคับสูญหาย, ปพพ.)


โดยกลุ่มเป้าหมายของวิชานี้คือผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (Human Rights Defender) ที่มีบทบาทปกป้องสิทธิของกลุ่มเสี่ยงอื่นๆ หากผู้พิทักษ์ตกอยู่ในภาวะเสี่ยงเสียเองก็ย่อมปกป้องผู้อื่นได้ยากขึ้น


*ไม่สงวนสิทธิคณะวิชาหรือสถาบันใดๆ จะนำไปเปิดเป็นวิชาหรือหลักสูตรอบรมใดใดทั้งสิ้น

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า