Skip to main content

ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Citizen Four ที่สร้างโดยนักทำหนังต่อต้านสงครามและนโยบายลิดรอนสิทธิมนุษยชนชื่อดัง ได้เปิดโปงให้เห็นภัยของเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผู้ใช้ไม่รู้เท่าทัน จนมิอาจปกป้องตนเองให้พ้นจากการสอดส่องของเจ้าของเทคโนโลยี และฝ่ายความมั่นคงของรัฐ   โดยเฉพาะกลุ่มพันธมิตร Five Eyes อันได้แก่ สหรัฐ สหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์

สิ่งที่รัฐบาลสหรัฐและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกต้องการคือ การพยายามหยุดยั้งกิจกรรมต่างๆไม่ให้เกิดขึ้น ก่อนที่มันจะเกิดด้วยซ้ำ   เทคโนโลยีสารสนเทศปัจจุบันได้เปิดให้รัฐเข้าไปสืบข้อมูลการเคลื่อนไหวของบุคคลทั้งหลาย เพื่อมองหาความเป็นไปได้จากพฤติกรรมต่างๆ เพื่อสืบให้รู้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร มีลักษณะสุ่มเสี่ยงต่อการก่อการกระทบ “ความมั่นคงของรัฐ” หรือไม่ เพื่อบุกเข้าไปควบคุมก่อนที่คนเหล่านั้นจะได้กระทำการ       

เช่นเดียวกับรัฐบรรษัทและกลุ่มทุนทั้งหลายที่ต้องการรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคล่วงหน้าเพื่อจะจัดหา “สินค้า/บริการ” ที่ตรงกับความประสงค์ของลูกค้าเหล่านั้น   และบางกรณีที่บรรษัทมีกิจกรรมทางธุรกิจกระทบกระทั่งกับประชาชน เช่น โรงงานก่อมลพิษ แย่งชิงทรัพยากร ขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้บริโภคที่อยู่ในฐานไปใช้   แล้วเกรงว่าประชาชนจะลุกฮือขึ้นประท้วงจนเสียภาพลักษณ์  บรรษัทก็จะนำยุทธวิธีข่าวกรองเหล่านี้มาวางแผนเพื่อหาทางสะกดกั้นและตอบโต้ประชาชนล่วงหน้า เช่นกัน

อำนาจในการเข้าถึงข้อมูลล่วงหน้า จึงเป็นอำนาจในการรู้ “เขา” ก่อนจะทำสงครามทุกรูปแบบ  

อย่างไรก็ดีหากไม่มีมาตรการตรวจสอบกระบวนการสอดส่องพฤติกรรมของคนทั้งหลายโดยสังคม ประชาชนจะแน่ใจได้อย่างไรว่า อำนาจมากล้นที่รัฐและบรรษัทมีอยู่จะไม่ถูกนำมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนของเจ้าหน้าที่บางคน หรือมีไว้เพื่อใช้ประหัตประหารประชาชนที่คิดต่าง คัดค้านโครงการของรัฐ ต่อต้านกิจกรรมของบรรษัท    กล่าวคือ หากผู้มีอำนาจใช้เทคโนโลยีสอดส่องไม่ได้เป็น “คนดี” มี “จิตสำนึก” ตลอดเวลา ใครจะรู้ว่าเขาจะเอาพฤติกรรมทางเพศ ข้อมูลทางการเงิน ความลับทางการค้า หรือ ความสัมพันธ์ลับๆของประชาชน มาใช้เป็นเครื่องมือ “แบล็คเมล์” บีบคั้นให้ประชาชนทำอะไรตามที่บงการ หรือไม่

แล้วสังคมอุดมคติที่ต้องการให้ประชาชนตื่นตัวลุกขึ้นมามีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยการแสดงออกอย่างเสรี หรือเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงทางสังคมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร   หากประชาชนถูกสกัดกั้นไล่ล่าหลังฉากตั้งแต่ยังไม่ได้แสดงออกมาสู่สาธารณะ   หรือ   ถ้าเกิดคนกล้า ก็จะถูกจับเข้าสู่รายชื่อสอดส่องและสืบข้อมูลทั้งหลายย้อนหลัง เพื่อนำข้อมูลที่เป็นจุดอ่อนมาโจมตี หรือมีการเฝ้าระวังบุคคลเหล่านั้นตลอดเวลาทุกมิติ  ว่าจะทำอะไรต่อไปในอนาคต   จนบุคคลเหล่านี้ไม่กล้าแสดงออกหรือทำกิจกรรมต่างๆอีกต่อไปเพราะตระหนักอยู่เสมอว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบรรษัทที่ตนเองต่อต้านได้จับตาความประพฤติของตนอยู่  
                การชักกะเย่อทางอำนาจ ระหว่าง รัฐ/บรรษัท กับ ประชาชน จึงเกิดขึ้นตลอดเวลา อยู่ที่ใครจะดึงมาให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายตน   หลังการแฉความลับว่ารัฐล้ำเส้นประชาชนในประวัติศาสตร์หลายครั้ง ประชาชนจะลุกฮือขึ้นปกป้องสิทธิและเรียกร้องให้มีการยุติการละเมิดสิทธิโดยรัฐและกลุ่มทุนทั้งหลาย   แต่เมื่อนานไปจนประชาชนนอนใจรัฐและบรรษัทก็จะค่อยรุกคืบขยายอำนาจของตนเงียบๆด้วยเทคโนโลยีและสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ และหาโอกาสที่จะเพิ่มอำนาจของรัฐด้วยการออกกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐในการควบคุมประชาชนอีก  

โอกาสที่รัฐมองหา ก็คือ การเกิดความรุนแรงครั้งใหญ่ที่ประชาชนทั้งหลายรับรู้และเกิดความสะพรึงกลัว จนยอมมอบอำนาจให้รัฐเพื่อหวังจะได้รับการปกป้องตอบแทน   เช่น การก่อการร้ายโจมตีผู้บริสุทธิ์ หรืออาชญากรรมร้ายแรง จนประชาชนที่ดูเหตุการณ์ผ่านสื่อก็จะโกรธเกรี้ยว หรือเกรงอันตรายจะมาถึงตัว   เมื่อรัฐยื่นข้อเสนอว่าจะใช้อำนาจจัดการกับ “คนเลว” อย่างเด็ดขาด แต่ขออำนาจกฎหมายใช้เทคโนโลยีในการสอดส่อง หาข้อมูล   ประชาชนก็อาจโผเข้ารับข้อเสนออย่างไม่ทันยั้งคิด เนื่องจากโดนความรู้สึกหวาดกลัว โกรธแค้นเข้าครอบงำ 

จนเวลาผ่านไปเมื่อรัฐและบรรษัทเจ้าของเทคโนโลยีได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอำนาจที่ได้มาถูกใช้ไปตามอำเภอใจและละเมิดสิทธิประชาชนผู้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเป็นผู้ทรงสิทธิต้องได้รับการปกป้องตามกฎหมาย    ก็กลายเป็นว่าประชาชนต้องลุกขึ้นมาสู้และล้มล้างกฎหมายที่ตนเคยให้ความเห็นชอบไปก่อนหน้านี้   การเล่นกับอารมณ์ความรู้สึกและการสร้างสติยั้งคิดในการร่างกฎหมายทุกฉบับ จึงเป็น “สงคราม” ที่สำคัญในนิติรัฐที่ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะสันติ

สหรัฐอเมริกาหลังการสังหาร บินลาเด็น ด้วยยุทธศาสตร์ข่าวกรอง แทน การรีดเค้าข้อมูลด้วยการทรมาน ฝ่ายความมั่นคงของรัฐและบรรษัท ได้หยิบมาโฆษณาชวนเชื่อให้ประชาชนคล้อยตามว่าการสอดส่องการเคลื่อนไหวโดยละเมิดความเป็นส่วนตัว เป็นสิ่งจำเป็นแทนการใช้กำลังปราบปรามหรือทรมานในคุกลับ (เปลี่ยนบทบาทจาก Big Brother เป็น Big Mama แทน) แล้วผลักดันกฎหมายออกมาเอื้อฝ่ายความมั่นคงของรัฐและอำนวยความสะดวกให้กับบรรษัทที่ให้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีข่าวกรองกับรัฐ  

การกลับมาของฝ่ายความมั่นคงจึงต้องติดตามมิให้คลาดสายตา
                ความสมดุลระหว่างการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วยการปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัว กับ การให้อำนาจรัฐในการสอดส่องเพื่อป้องกันภัยผ่านเทคโนโลยีของบรรษัท จึงเป็นวาระสำคัญทุกยุคทุกสมัย และสังคมต้อง “จับตามอง” มิให้ดุลย์แห่งอำนาจเคลื่อนย้ายไปจนไม่อาจปกป้องตัวเองให้รอดพ้นภัยจากการคุกคามทั้งใน “ที่ลับ” และ “ที่แจ้ง” 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกเนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ