Skip to main content

จากเหตุวินาศกรรมในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 2001 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับพันคนในทันที และมีผู้บาดเจ็บและตกอยู่ในภาวะพิการ เจ็บป่วยทางจิตอีกจำนวนมาก รวมถึงการสูญเสียของญาติพี่น้องในเหตุการณ์ดังกล่าวยังความเสียใจอย่างรุนแรงให้เกิดขึ้นทั่วโลกมิใช่ในสหรัฐอเมริกา

              แต่สิ่งน่าสังเกต คือ เหตุใด ฝ่ายความมั่นคงของสหรัฐอเมริกาที่รู้ล่วงหน้าว่า จะมีแผนก่อวินาศกรรมขึ้น กลับไม่สามารถป้องกันเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที หรืออย่างน้อยๆ ก็ไม่มีแผนปฏิบัติการใดๆในการควบคุมสถานการณ์   หลักฐานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่า   นี่เป็นจุดเริ่มต้น ของการหวนคืนสู่อำนาจของฝ่ายความมั่นคงทั่วโลก    หลังจากหมดความสำคัญลงไปเมื่อสงครามเย็นและกำแพงแห่งความหวาดกลัวสิ้นสุดลงในต้นทศวรรษ 1990

                จุดเริ่มต้นแห่งการสูญเสีย เกิดขึ้นนับแต่ การประกาศทำสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเต็มรูปแบบของมหาอำนาจสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรทั้งในและนอกนาโต้   การทำสงครามระหว่างประเทศรุกรานโดยไม่ขอมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ทำให้ประชาชนชาวอัฟกานิสถาน อิรัก ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจะเป็นการเสียชีวิตจากการโจมตีไม่จำกัดขอบเขต การทำลายบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน   แล้วส่งโครงการฟื้นฟูเข้าไปโดยแลกกลับการใช้น้ำมันของสองประเทศเป็นค่าใช้จ่าย 

                แต่ความสูญเสียที่กระทบกับพวกเราทุกคนทั่วโลก คือ การสร้างระบอบอำนาจทหารให้เข้มแข็งขึ้นมาอีกครั้งหลังการพัฒนาความแข็งแกร่งให้หน่วยงานด้านความมั่นคงทั่วโลก   กองทัพและฝ่ายความมั่นคงทั่วโลกฉวยใช้ ความหวาดกลัวต่อภัยก่อการร้ายมาเป็น “ข้ออ้าง” ในการจัดซื้อจัดจ้างเทคโนโลยี อาวุธ และที่ปรึกษาด้านความมั่นคงเป็นมูลค่ามหาศาล

                ยิ่งไปกว่านั้นกฎหมายที่ให้อำนาจรัฐแก่ฝ่ายบริหาร เพื่ออ้างความมั่นคงเข้าไปตรวจตรา ตรวจสอบ เฝ้าระวัง หรือติดตามสืบสวนบุคคล โดยไม่ต้องขออำนาจศาลก็เพิ่มขึ้น  ดังปรากฏกฎหมายความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และกฎหมายข่าวกรองระหว่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกาเป็นแม่แบบ  

                ประเทศไทยในสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก็ได้ใช้ข้ออ้างในการจัดการภัยก่อการร้ายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อออก พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ พ.ศ.2548   ต่อมารัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ก็ผลักดันให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติออกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ตามการร้องขอและผลักดันของกองทัพในช่วงที่เป็นรัฐบาลหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 นั่นเอง 

                การใช้กฎหมายทั้งสองฉบับ รวมไปถึง กฎอัยการศึก พ.ศ.2457 ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลทหารและพลเรือนในการใช้ควบคุมประชาชนที่เห็นต่าง คัดค้านรัฐบาลเสมอ   ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การชุมนุม รวมไปถึงให้อำนาจ “สืบในทางลับ” และนำไปสู่การจับกุม และดำเนินคดีโดยอาศัยบทบัญญัติกฎหมายเหล่านี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าเนื้อหาในกฎหมายทั้งสามฉบับนี้ ละเมิดสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี และมี พระราชบัญญัติอนุวัติการให้มีผลบังคับใช้ในศาลไทยอยู่   แต่แนวทางการปฏิบัติของฝ่ายต่างๆ ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า ยอมตามอำนาจรัฐและฝ่ายความมั่นคง  มากกว่า การประกันสิทธิของประชาชน

                คนจำนวนมากไม่สนใจ ไม่เข้าใจ และไม่คิดว่าเป็นปัญหา ตราบเท่าที่ “คุณไม่ได้ทำผิดกฎหมาย จะกลัวอะไร”   แต่คนหลายกลุ่มก็เริ่มเข้าใจแล้วว่า   แม้ไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมาย แต่ถ้าทำอะไรไม่เป็นที่สบายใจของผู้มีอำนาจก็อาจต้องโทษทัณฑ์ขั้นร้ายแรงได้ เช่น ไม่ไปรายงานตัวเมื่อโดนเรียก   หรือ การกินอาหารฟาสต์ฟู้ด   หรือ ยืนชูสามนิ้วในที่สาธารณะ  เรื่อยไปจนถึงการตั้งรางวัลนำจับให้ พลเมืองดีจับตาดูผู้ที่เป็นภัยต่อชาติในอินเตอร์เน็ต

                หากท่านยังคิดว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเรื่อง “ปกติ” และ “ยอมรับได้”   นั่นหมายความว่า ท่านได้เอาตัวเองเข้าไปเสี่ยงเช่นกัน   เพราะวันหนึ่งท่านอาจเป็นฝ่ายตรงข้ามผู้มีอำนาจได้เช่นกัน   เมื่อวันเวลาของขั้วอำนาจเปลี่ยนไป

                ในฐานะประชาชนทั่วไปในหลายประเทศทั่วโลก   ภัยที่ชัดเจนและมาพร้อมยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร ก็คือ การคุกคามความเป็นส่วนตัว ด้วยเทคโนโลยีติดตาม ตรวจดักข้อมูล และการเฝ้าระวัง (Surveillance Technology) โดยเฉพาะเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลจากอดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองของหน่วยงานความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐ NSA – Eric Snowdens ให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องว่า ข้อมูลที่เราคิดว่าไม่มีใครรู้ เป็นความลับของเรา การใช้อินเตอร์เน็ตนั้นปลอดภัย อยู่ในการดูแลของบริษัทผู้บริการ นั้นไม่เป็นความจริงเสมอไป   ทำให้เกิดความตื่นตระหนกทั่วโลก แต่อาจไม่ใช่ประเทศไทย

                หากเพราะเราอาจคุ้นชินกันไปแล้วกับการถูกรุกรานเข้ามาในชีวิตส่วนตัว รวมถึงการฝังหัวว่าสิ่งสำคัญสูงสุดมิใช่ ความเป็นมนุษย์ที่เสมอภาค มีเสรีภาพในคิดเห็น และแสดงออกตามความคิดความเชื่อของตน   โดยที่ไม่ถูก “จับตา” ควบคุมสอดส่องให้แสดงความเห็นอยู่ในร่องที่รัฐเผด็จการขีดวางไว้

                การควบคุมไปจนถึงการกำหนดว่า “ความสุข” แบบใดที่รัฐมอบให้และประชาชนต้องอภิรมย์ แทนที่ความสุขทั่วไปที่ประชาชนเลือกชมได้ ถือเป็นการพยายามกลืนกลายประชาชนให้กลายเป็นก้อนกลมเดียวกัน   ไม่เหลือความคิดสร้างสรรค์อื่นใดให้พัฒนาตนเอง และสังคมไปในทิศทางที่ รัฐไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย และหวาดระแวง

                ความเป็นส่วนตัว ในการคิดและการแสดงออกโดยปราศจากการจับจ้อง จึงเป็น “รากฐาน” ขั้นต่ำสุดของสังคมที่ต้องการความก้าวหน้าแบบไม่ต้องมีใครมาชักนำพาจูงจมูก

                หากมองย้อนกลับไปคงได้เห็นแล้วว่า เหตุการณ์ 9/11 ที่เกิดขึ้นในปี 2001 ได้ทำให้เกิดปัญหาอะไร และสังคมต้นทางอย่างสหรัฐได้ตื่นรู้ และประชาชนอเมริกันได้ลุกขึ้นสู้เพื่อต่อต้านการครอบงำของฝ่ายความมั่นคงอย่างไรบ้าง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา