Skip to main content

จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  

ยิ่งประชาชนรู้แล้วไม่มีส่วนร่วม เข้าไปมีความเห็นหรือแก้ไขอะไรก็ทำไม่ได้ ยิ่งจิตตก สิ้นหวัง   นานไปก็เข้าทำนองถ้าไม่รู้เสียเลยคงสบายใจ หรือไม่วิตกกังวล กลายเป็นภาวะ “เฉื่อยงาน” เลิกคิด เลิกวิจารณ์ เลิกสร้างสรรค์ก็จะกระทบการพัฒนาในระยะยาว

การควบคุมทิศทางข่าวและล้างสมองในอดีตเป็นไปได้ เพราะประชาชนเข้าถึงข่าวสารช้า และรัฐสามารถควบคุมการไหลเวียนข่าวสาร/ทำการโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย และสื่อบางช่องทางก็เกินอำนาจรัฐบาลเพราะอยู่ “นอกเขตอำนาจ” รัฐ

ความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มิได้อยู่ในภาครัฐ ดังสื่อยุครัฐสมัยใหม่ที่รัฐกุมอำนาจในการให้ใบอนุญาต หรือเป็นเจ้าของคลื่นและช่องทางสื่อสารเสียเอง  กรณีเรียกผู้ประกอบการไอทีระดับโลกมาเจรจาก็เห็นแล้วว่า จุดยืนของเหล่าบรรษัทระดับโลกเป็นอย่างไร ส่งเสริมการลงทุนดีไหมล่ะ

ประชาชนเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้ง่ายแทบทุกที่ตลอดเวลา “เครือข่ายทางสังคม” ก็เอื้อให้คนผลิตข้อมูลเข้าสู่อินเตอร์เน็ต รอคนจำนวนมากสืบค้นได้อย่างง่ายดาย
และเหนืออื่นใด คือ รัฐบาลไทยไม่ได้เตรียมตัวรับสถานการณ์เหล่านี้ตั้งแต่แรก จะมาทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ตอนนี้ไม่ทันแล้ว ถ้าทำจริงก็กระทบไปทุกภาคส่วน

หากต้องการพึ่งความสามารถรัฐพันธมิตร อย่างจีน ก็ต้องซื้อยุทโธปกรณ์ทั้งเรือดำน้ำเพื่อดักดูดข้อมูลจากเคเบิ้ลแล้วส่งไปประมวลผลที่ฐานปฏิบัติการของจีน ก็เสมือนสูญเสียเอกราชในการจัดการตนเองไปด้วย   หลังสุดมีข่าวซื้อเทคโนโลยีไอทีเกี่ยวกับการสร้างเสิร์ชเอ็นจิ้น หวังว่าคนไทยจะมาใช้ รัฐจะได้สอดส่อง  ก็ไม่ง่ายนะครับ เพราะเจ้าเดิมก็ยังอยู่ แถมประชาชนระแวงรัฐ

ขอยกตัวอย่าง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตร 4.0 ก็ต้องมุ้งเป้าไปที่ คนรุ่นใหม่ ลูกหลานเกษตรกรโดยเฉพาะเด็ก หรือสตรี   เพราะแนวทางการพัฒนาชนบทหรือภาคการเกษตรในโลกยุคนี้ หากต้องการหนีจากการผลิตเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ที่ใช้สารเคมีมากสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสูง   ก็ต้องปรับเป็นการเกษตรเชิงผสมผสาน หรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาร่วมทำกิจกรรมหรือพักผ่อนท่องเที่ยวไปในตัว

คงไม่มีนักท่องเที่ยวที่ไหน อยากตื่นเช้ามาสูดไอหมอก “ยาฆ่าแมลง” หรอกครับ

 

สำคัญที่สุด คือ การจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ตลาดในการแลกเปลี่ยนสินค้าไปยังผู้บริโภค หรือการหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพราคาเหมาะสม
นอกจากนี้การกระจายสินค้าและข้อมูลสินน้าไปยัง ผู้บริโภคในครัวเรือน หรือบริษัทห้างร้านที่เป็น ร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ ร้านอาหารปรุงสำเร็จ อาหารตามสั่ง ก็จำเป็นต้องพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีความซับซ้อนแม่นยำ
สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องการความละเอียดอ่อนและอดทนสูง

การบริการหลังการขาย การรับคำติชมต่างๆ จากคู่ค้า ลูกค้า ก็ต้องอาศัยความอดกลั้น และพิจารณาปัญหาอย่างเยือกเย็น ซึ่งต้องได้รับการอบรม และพร้อมจำปรับปรุงวิถีการทำงาน

คนเจเนอเรชั่นเก่า บุรุษ จึงกลายเป็นกลุ่มที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวัฒนธรรมเศรษฐกิจแบบใหม่ได้ยากขึ้น ดังปรากฏการณ์ว่างงานของชายในประเทศพัฒนาแล้ว และการเติบโตของแรงงานสตรีในหลายประเทศแบบก้าวกระโดด

บทบาทในการทำงานนอกบ้านหรือทำงานอยู่กับบ้านมาอยู่ที่สตรีมากขึ้น ส่วนบทบาทชายอาจต้องปรับไปในทิศทางดูแลบ้านและเอาใจคนในพื้นที่ในอาณาบริเวณครอบครัวมากกว่าเดิม
วิกฤตการเมืองแบบตัวแทน คือ วิกฤตพรรค มิใช่วิกฤตประชาธิปไตย

แล้วเราจะใช้การเมืองและยุทธศาสตร์แบบไหนพาประเทศชาติก้าวอุปสรรคไป?
ในยุโรปและอเมริกา หมายถึง พรรคการเมืองแทบทุกพรรคมีนโยบายไม่ต่างกัน ทั้งซ้าย ขวา โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และความมั่นคง
การถูกชี้นำโดย เทคโนแครต การประนีประนอมกับระบบราชการ กระบวนการทางการเมืองที่ซับซ้อน ขั้นตอนเชิงเทคนิค กีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วม
เสียงประชาชนเลือนหายไปจากสภา เพราะประชาชนอยู่ห่างจากสภามากไป และตัวแทนของตนก็ถูกกลืนหายไปในกระพรรค

ส่วนพรรคก็ทำตามนายทุน ลอบบี้ยิสต์ มากเกินไป ไม่รับฟังเสียงประชาชน  การเมืองมวลชนนอกสภาจึงมาเต็มท้องถนน

ปัญหาจึงอยู่ที่พรรคไม่เป็นตัวแทนของประชาชน
แต่การเอาทหารเข้ามายิ่งไม่รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เพราะลอบบี้ยิสต์กลุ่มทุนทำงานง่ายกว่าเดิม เพราะเคลียร์กับคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ต้องเชื่อมโยงกับประชาชน

ประชาธิปไตยจึงต้องยิ่งขยายพื้นที่ต่อรอง ให้เส้นมีหลายสาย  มิใช่การขยุ้มมาอยู่ที่สายเขียว สายเดียว

แนวทางพรรคมวลชนแบบใหม่ในหลายประเทศจึงมา คือ ผู้นำมวลชน นำความคิดผ่านสื่อใหม่ และสามารถรวมกลุ่มย่อยให้เข้ามาอยู่ในขบวนการได้   โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางที่กระจัดกระจาย

การยอมรับข้อจำกัดของตนเอง และเข้าใจทิศทางพัฒนาการของเทคโนโลยี ปล่อยให้คนรุ่นใหม่ที่เข้าใจ และมีความสามารถ ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้ เหล่าผู้อาวุโสได้มีความสุขในบั้นปลายชีวิตไปกับ การท่องเที่ยว บริโภค และเลี้ยงดูลูกหลาน  ดีกว่าต้องมาบั่นทอนร่างกายและจิตใจที่เสื่อมไปตามอายุขัยที่มากขึ้น
การมอบความสุขที่ยิ่งใหญ่ให้คนรุ่นถัดไป ย่อมอยู่ที่ การเปิดให้คนรุ่นใหม่ได้กำหนดอนาคตของตนเอง หลังจากคนยุคก่อนหน้าได้ทำพังเพราะไม่เข้าใจเทคโนโลยีมามากแล้ว
จึงอยู่ที่ท่านผู้ใหญ่แล้วว่าจะมอบความสุขให้คนรุ่นใหม่ และจะเกษียณตนไปเสพสุขเงียบๆได้หรือยัง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกเนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ