Skip to main content

จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับ

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  

ยิ่งประชาชนรู้แล้วไม่มีส่วนร่วม เข้าไปมีความเห็นหรือแก้ไขอะไรก็ทำไม่ได้ ยิ่งจิตตก สิ้นหวัง   นานไปก็เข้าทำนองถ้าไม่รู้เสียเลยคงสบายใจ หรือไม่วิตกกังวล กลายเป็นภาวะ “เฉื่อยงาน” เลิกคิด เลิกวิจารณ์ เลิกสร้างสรรค์ก็จะกระทบการพัฒนาในระยะยาว

การควบคุมทิศทางข่าวและล้างสมองในอดีตเป็นไปได้ เพราะประชาชนเข้าถึงข่าวสารช้า และรัฐสามารถควบคุมการไหลเวียนข่าวสาร/ทำการโฆษณาชวนเชื่อได้ง่าย และสื่อบางช่องทางก็เกินอำนาจรัฐบาลเพราะอยู่ “นอกเขตอำนาจ” รัฐ

ความสามารถในการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ มิได้อยู่ในภาครัฐ ดังสื่อยุครัฐสมัยใหม่ที่รัฐกุมอำนาจในการให้ใบอนุญาต หรือเป็นเจ้าของคลื่นและช่องทางสื่อสารเสียเอง  กรณีเรียกผู้ประกอบการไอทีระดับโลกมาเจรจาก็เห็นแล้วว่า จุดยืนของเหล่าบรรษัทระดับโลกเป็นอย่างไร ส่งเสริมการลงทุนดีไหมล่ะ

ประชาชนเข้าถึงสมาร์ทโฟนได้ง่ายแทบทุกที่ตลอดเวลา “เครือข่ายทางสังคม” ก็เอื้อให้คนผลิตข้อมูลเข้าสู่อินเตอร์เน็ต รอคนจำนวนมากสืบค้นได้อย่างง่ายดาย
และเหนืออื่นใด คือ รัฐบาลไทยไม่ได้เตรียมตัวรับสถานการณ์เหล่านี้ตั้งแต่แรก จะมาทำซิงเกิ้ลเกตเวย์ตอนนี้ไม่ทันแล้ว ถ้าทำจริงก็กระทบไปทุกภาคส่วน

หากต้องการพึ่งความสามารถรัฐพันธมิตร อย่างจีน ก็ต้องซื้อยุทโธปกรณ์ทั้งเรือดำน้ำเพื่อดักดูดข้อมูลจากเคเบิ้ลแล้วส่งไปประมวลผลที่ฐานปฏิบัติการของจีน ก็เสมือนสูญเสียเอกราชในการจัดการตนเองไปด้วย   หลังสุดมีข่าวซื้อเทคโนโลยีไอทีเกี่ยวกับการสร้างเสิร์ชเอ็นจิ้น หวังว่าคนไทยจะมาใช้ รัฐจะได้สอดส่อง  ก็ไม่ง่ายนะครับ เพราะเจ้าเดิมก็ยังอยู่ แถมประชาชนระแวงรัฐ

ขอยกตัวอย่าง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเกษตร 4.0 ก็ต้องมุ้งเป้าไปที่ คนรุ่นใหม่ ลูกหลานเกษตรกรโดยเฉพาะเด็ก หรือสตรี   เพราะแนวทางการพัฒนาชนบทหรือภาคการเกษตรในโลกยุคนี้ หากต้องการหนีจากการผลิตเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ที่ใช้สารเคมีมากสร้างผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพสูง   ก็ต้องปรับเป็นการเกษตรเชิงผสมผสาน หรือเกษตรอินทรีย์ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาร่วมทำกิจกรรมหรือพักผ่อนท่องเที่ยวไปในตัว

คงไม่มีนักท่องเที่ยวที่ไหน อยากตื่นเช้ามาสูดไอหมอก “ยาฆ่าแมลง” หรอกครับ

 

สำคัญที่สุด คือ การจัดการข้อมูล ไม่ว่าจะเป็น ตลาดในการแลกเปลี่ยนสินค้าไปยังผู้บริโภค หรือการหาวัตถุดิบที่มีคุณภาพราคาเหมาะสม
นอกจากนี้การกระจายสินค้าและข้อมูลสินน้าไปยัง ผู้บริโภคในครัวเรือน หรือบริษัทห้างร้านที่เป็น ร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือ ร้านอาหารปรุงสำเร็จ อาหารตามสั่ง ก็จำเป็นต้องพัฒนาระบบโลจิสติกส์ที่มีความซับซ้อนแม่นยำ
สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องการความละเอียดอ่อนและอดทนสูง

การบริการหลังการขาย การรับคำติชมต่างๆ จากคู่ค้า ลูกค้า ก็ต้องอาศัยความอดกลั้น และพิจารณาปัญหาอย่างเยือกเย็น ซึ่งต้องได้รับการอบรม และพร้อมจำปรับปรุงวิถีการทำงาน

คนเจเนอเรชั่นเก่า บุรุษ จึงกลายเป็นกลุ่มที่ปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและวัฒนธรรมเศรษฐกิจแบบใหม่ได้ยากขึ้น ดังปรากฏการณ์ว่างงานของชายในประเทศพัฒนาแล้ว และการเติบโตของแรงงานสตรีในหลายประเทศแบบก้าวกระโดด

บทบาทในการทำงานนอกบ้านหรือทำงานอยู่กับบ้านมาอยู่ที่สตรีมากขึ้น ส่วนบทบาทชายอาจต้องปรับไปในทิศทางดูแลบ้านและเอาใจคนในพื้นที่ในอาณาบริเวณครอบครัวมากกว่าเดิม
วิกฤตการเมืองแบบตัวแทน คือ วิกฤตพรรค มิใช่วิกฤตประชาธิปไตย

แล้วเราจะใช้การเมืองและยุทธศาสตร์แบบไหนพาประเทศชาติก้าวอุปสรรคไป?
ในยุโรปและอเมริกา หมายถึง พรรคการเมืองแทบทุกพรรคมีนโยบายไม่ต่างกัน ทั้งซ้าย ขวา โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ และความมั่นคง
การถูกชี้นำโดย เทคโนแครต การประนีประนอมกับระบบราชการ กระบวนการทางการเมืองที่ซับซ้อน ขั้นตอนเชิงเทคนิค กีดกันประชาชนออกจากการมีส่วนร่วม
เสียงประชาชนเลือนหายไปจากสภา เพราะประชาชนอยู่ห่างจากสภามากไป และตัวแทนของตนก็ถูกกลืนหายไปในกระพรรค

ส่วนพรรคก็ทำตามนายทุน ลอบบี้ยิสต์ มากเกินไป ไม่รับฟังเสียงประชาชน  การเมืองมวลชนนอกสภาจึงมาเต็มท้องถนน

ปัญหาจึงอยู่ที่พรรคไม่เป็นตัวแทนของประชาชน
แต่การเอาทหารเข้ามายิ่งไม่รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย เพราะลอบบี้ยิสต์กลุ่มทุนทำงานง่ายกว่าเดิม เพราะเคลียร์กับคนกลุ่มเล็กๆ ที่ไม่ต้องเชื่อมโยงกับประชาชน

ประชาธิปไตยจึงต้องยิ่งขยายพื้นที่ต่อรอง ให้เส้นมีหลายสาย  มิใช่การขยุ้มมาอยู่ที่สายเขียว สายเดียว

แนวทางพรรคมวลชนแบบใหม่ในหลายประเทศจึงมา คือ ผู้นำมวลชน นำความคิดผ่านสื่อใหม่ และสามารถรวมกลุ่มย่อยให้เข้ามาอยู่ในขบวนการได้   โดยเฉพาะกลุ่มชนชั้นกลางที่กระจัดกระจาย

การยอมรับข้อจำกัดของตนเอง และเข้าใจทิศทางพัฒนาการของเทคโนโลยี ปล่อยให้คนรุ่นใหม่ที่เข้าใจ และมีความสามารถ ย่อมเป็นการเปิดโอกาสให้ เหล่าผู้อาวุโสได้มีความสุขในบั้นปลายชีวิตไปกับ การท่องเที่ยว บริโภค และเลี้ยงดูลูกหลาน  ดีกว่าต้องมาบั่นทอนร่างกายและจิตใจที่เสื่อมไปตามอายุขัยที่มากขึ้น
การมอบความสุขที่ยิ่งใหญ่ให้คนรุ่นถัดไป ย่อมอยู่ที่ การเปิดให้คนรุ่นใหม่ได้กำหนดอนาคตของตนเอง หลังจากคนยุคก่อนหน้าได้ทำพังเพราะไม่เข้าใจเทคโนโลยีมามากแล้ว
จึงอยู่ที่ท่านผู้ใหญ่แล้วว่าจะมอบความสุขให้คนรุ่นใหม่ และจะเกษียณตนไปเสพสุขเงียบๆได้หรือยัง

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา