Skip to main content

สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่อเหมือนเดิมล่ะ?

นักคิดนักกิจกรรมชื่อดัง สโลวอย ซีเซ็ก (Slovoj ZIzek) ได้ย่อยเอาปรัชญาผู้วิพากษ์ทุนนิยมลงเป็นประโยคสั้นๆ คือ คุณไม่ได้เกลียดวันจันทร์คุณแค่ชังการเริ่มสัปดาห์ทำงานในระบบทุนนิยม (You don’t hate Monday, You hate Capitalism!) อันมีที่มาจากเรื่อง ความรู้สึกแปลกแยกในใจของคนที่อยู่ในวัฏจักรการผลิตแบบทุนนิยมที่วนเวียนซ้ำซากเหมือนหนูติดจั่น

สำหรับคนที่รักงานที่ทำ ชอบทำสิ่งที่มีคนจ่ายเงินให้ทำ ก็คงไม่รู้สึกแปลกแยกต้อยต่ำ หรือตั้งคำถามว่า “ฉันมาทำอะไรที่นี่”  แต่หากคนต้องทำอะไรที่ขัดกับความปรารถนา ไม่ตรงกับความถนัด หรือมีความซ้ำซากจำเจ จนเบื่อหน่ายถึงขีดสุด ก็หนีไม่พ้นต้องถามใจตัวเองว่ายังอยากทำงานนี้อยู่หรือไม่ แล้วจะไปทำอย่างอื่นได้รึเปล่า?  

สำหรับหลายคนทางเลือกไม่ได้มีมากนัก!

ความทุกข์ที่เกิดขึ้นของคนในสังคมทุนนิยมจึงเกี่ยวข้องกับ “การทำงาน” โดยตรง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ผลตอบแทนต่ำ ความมั่นคงน้อย สภาพการทำงานแย่ ไปจนถึง ตกงาน                  สภาพในประเทศทุนนิยมเก่าแก่ที่อยู่ตัวแล้วมักจะมีสวัสดิการมารองรับคนที่ตกงาน แต่คนที่ว่างงานเรื้อรังย่อมหลีกไม่พ้นกับความรู้สึกจิตใจตกต่ำยาวนาน

ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา อย่างไทยที่สมาทานตัวเองเข้าไปในสายพานการผลิตของตลาดโลก และสังคมค่อยๆปรับเข้ามาในลักษณะเมืองทุนนิยม ก็ทำให้คนจำนวนมหาศาลตกอยู่ในภาวะ ไม่ชอบแต่ก็ต้องทำ มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะคนรุ่นที่ได้รับการศึกษาระดับสูงเป็นวงกว้างแต่กลับไม่ได้งานตามที่คาดหวัง ซ้ำยังไม่เห็นวี่แววของการก้าวหน้า ขยับเลื่อนสถานะทางสังคม

การหลุดลอยไปจากสังคม ความรู้สึกเคว้งคว้าง ว่างเปล่า ไร้คุณค่า ไม่มีตัวตนในสายตาของคนรอบข้าง เป็นภาระให้กับคนที่ตนรัก ย่อมบันดาลความทุกข์ให้เกิดขึ้นมหาศาล   แต่ต้องไม่ลืมว่า มันอาจจะไม่ใช่ความผิดส่วนบุคคลของเขา แต่เขาอาจเป็นผู้พ่ายแพ้ สูญเสียจากการปรับเปลี่ยนสังคมไปตามการกำหนดของตลาด   ทักษะหรือความเก่งกาจที่เขามีอาจไม่เป็นที่ต้องการ หรือได้ค่าตอบแทนไม่มาก จนกลายเป็นไร้ค่าเมื่อวัดด้วย “เงิน” ที่ใช้เป็นสื่อแลกเปลี่ยนในตลาด คนที่ไม่สามารถแปลงความถนัดของตนเป็นสินค้าหรือบริการเพื่ออยู่รอดจึงทุกข์

คำถาม คือ เราจะจัดการกับความทุกข์ของคนที่อยู่ในสังคมทุนนิยมนี้อย่างไร ?

บางกรณีเป็นความผิดปกติของสารเคมีในสมองจริง แต่กระแสปัจจุบันเหมือนจะผลักให้ทุกกรณีเป็นเรื่องสารเคมีไปหมดแล้วแก้ด้วยการจ่ายยา ซึ่ง "เหมารวม" เกินไป 

ในประเทศทุนนิยมเก่าจึงเริ่มมีการรณรงค์ให้ หยุดทำให้โรคซึมเศร้าเป็นเรื่องสารเคมี หยุดแก้ปัญหาด้วยยา 
วิพากษ์บรรษัทยาที่ค้ากำไรกับความเศร้าโดยทำปัญหาจิตเวชให้เป็นเงิน    โดยอยากให้แก้ปัญหาโดยรับฟังสาเหตุ และบริบททางเศรษฐกิจสังคม เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างมากขึ้น ไม่ใช่แก้ที่ปลายเหตุด้วยยาอย่างเดียว

อดีตผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่หายโดยไม่ต้องกินยาก็มีอยู่ครับ แต่อย่างที่บอก ปัญหาอยู่ที่ "การเหมารวม" ว่า "ต้องใช้ยา" มากกว่า เหมือนเมื่อก่อนบอกว่า เลิกยาเสพติด ต้องใช้สารเคมีช่วย เดี๋ยวนี้กระแสตีกลับกันอีกแล้วว่าต้องชนะใจตน และคนรอบข้างต้องช่วยเหลือด้วยความเข้าใจไม่ให้หวนกลับไปใช้อีก

แม้จะมีรายงานทางการแพทย์เสนอสถิติว่าการใช้ยา สารเคมีรักษาได้ผลมากขึ้น แต่ก็ยังไม่พ้นข้อวิพากษ์วิจารณ์ว่า อาจเป็นวิจัยที่สนับสนุนโดยบริษัทขายยา เมื่อเถียงกันไม่เสด็จน้ำ แต่เอาวิธีการจากผลข้างเดียวมาปฏิบัติกันเป็นวงกว้าง แบบ "เหมารวม" 

หมอไม่เคยมีการตรวจหาสารเคมีในร่างกายคนป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเลยครับ จึงย้อนแย้งกับความเป็นวิทยาศาสตร์มาก ณ จุดนี้   มีงานวิจัยสังคมวิทยาการแพทย์ด้านจิตเวช บอกว่าความคิดเรื่อง “สารเคมีก่อความเศร้า” มาพร้อมกับช่วงโหมการตลาดเรื่องยากรักษาซึมเศร้าของบรรษัทพอดี และมีเรื่องวิจัยผลข้างเคียง เรื่องยาแก้ซึมเศร้าทำให้ชายหลั่งช้าลง ด้วย ซึ่งมันคิดไปได้ว่า...โฆษณาแฝง

ที่สำคัญ มีปัจเจก จำนวนไม่น้อยหัวเสียกับการไปพบแพทย์แล้ว แต่บุคคลากรทางการแพทย์ไม่ให้คำปรึกษา หรือตั้งใจวินิจฉัยมากมาก ยิ่งมีการทำให้โรคซึมเศร้าเป็น “อาการ” ที่รักษาด้วยการจ่ายยาไปกิน โอกาสที่ผู้ป่วยจะได้พบกับที่ปรึกษาหรือใช้เวลาในการพูดคุยบำบัดก็ยิ่งน้อยลง เพราะรัฐหรือหน่วยงานต้นสังกัดอาจไม่อยากสูญเสียค่าใช้จ่ายในการจ้างจิตแพทย์ รึนักจิตวิทยาบำบัด และไม่ต้องพูดถึงการแก้ปัญหาต้นเหตุที่เกี่ยวเนื่องกับ “สภาพการทำงาน” หรือ “ความมั่นคงในหน้าที่การงาน”

ถ้าปัญหาเป็นเรื่องเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมือง ก็จะนำไปสู่การสร้างแนวร่วมผลักดันประเด็นปัญหาเพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม อย่างขบวนการมวลชนต่อต้านเสรีนิยมใหม่ โดยไม่คลั่งชาติ ไม่เหยียด ไม่กีดกัน แต่รวบรวมคนที่มีปัญหาเดียวกันเข้ามาร่วมเดิน

 

คุณไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้า คุณแค่ผิดหวังจากทุนนิยม!
You don't have depression, Capitalism fails you

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา