Skip to main content

 

เมื่อวันที่ 10-13 พฤศจิกายน สหประชาชาติได้ร่วมจัดงานประชุมการกำกับอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ หรือ Internet Governance Forum ครั้งที่ 10 (IGF 2015 Brazil) ณ เมือง Jao Pessoa ประเทศบราซิล ซึ่งน่าสนใจมากในแง่ของการเมืองระหว่างประเทศ เพราะเมื่อสองปีก่อนเกิด “รอยร้าว” ในความสัมพันธ์ระหว่าง บราซิลเจ้าภาพ กับ สหรัฐอเมริกาผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์และเทคโนโลยีสารสนเทศโลก เมื่อ เอ็ดเวิร์ด สโนเดน อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองสหรัฐ ได้เผยข้อมูลว่าหน่วยงานความมั่นคงได้ทำการดักฟังและล้วงข้อมูลจากเครื่องมือสื่อสารของประธานาธิบดีบราซิล

การจารกรรมไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าเป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ แต่เป็นที่รับรู้กันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นการทำลาย “ความไว้วางใจ” ระหว่างมิตรประเทศ และอาจนำไปสู่การดำเนินนโยบายตอบโต้ได้ตามสัดส่วนความเหมาะสม   ต่างจากระบบกฎหมายภายในหากตรวจพบจารชนที่ทำการจารกรรมข้อมูลของผู้นำรัฐ มักมีความผิดร้ายแรงฐาน “กบฏต่อความมั่นคง” มีโทษร้ายแรงสูงสุด

ดังนั้นเกมส์การเมืองระหว่างประเทศจึงต้องออกแบบให้สอดคล้องกับทุนของรัฐ และเลี้ยงตัวเองให้อยู่ในกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ และใช้เวทีระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์สูงสุดจากความเสียหายที่เกิดขึ้น  เข้าทำนอง “พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส”

โอกาสที่ว่ามาพร้อมกับมิตรสหายร่วมชะตากรรมเมื่อพบว่า ผู้นำอีกหลายประเทศก็ตกอยู่ภายใต้การจับจ้องด้วยเทคโนโลยีจารกรรมขั้นสูงไม่ต่างกัน   ดังนั้นนับแต่ปี 2013 เป็นต้นมา บราซิลและเยอรมนีที่มีศักยภาพในการเมืองระหว่างประเทศจึงกลายมาเป็นสองรัฐที่มีบทบาทนำในการผลักดันวาระต่างๆที่เกี่ยวกับการสื่อสารและความปลอดภัยในระบบโทรคมนาคมโลก   โดยมีการเสนอวาระเข้าสู่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจนมีรายงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของพลเมืองเน็ตแห่งยุคดิจิตอลออกมาอย่างต่อเนื่อง

การประชุม IGF ในปีนี้มีธีมที่สื่อเป็นนัยยะว่าวิวัฒนาการของอินเตอร์เน็ตจะต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือก็คือ การสร้างระบบกำกับดูแลอินเตอร์เน็ตจะต้องเกิดจาก การมีส่วนร่วมของทุกรัฐ ทุกฝ่ายที่มีประโยชน์ได้เสีย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้าง

·       ความมั่นคงในโลกไซเบอร์บนพื้นฐานของ “ความไว้วางใจ” (Trust)

·       การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล โดยเปิดให้ทุกกลุ่มเข้าไปมีส่วนกำหนดทิศทางอย่างหลากหลาย

·       สนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียมีปากมีเสียงในการออกแบบระบบมากขึ้น เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส

·       การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยงระบบ เช่น การส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสื่อสาร เช่น ประเทศที่การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตน้อย

·       การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในโลกออนไลน์ ต้านการเซ็นเซอร์ การจับกุม/ข่มขู่ การล้วงตับ การสอดส่อง

            อย่างที่บอกไปนี่คือ ผลพวงจากการเปิดเผยข้อมูลโดย สโนวเดน โดยมีอีกโครงการที่คน “ทั้งโลก” ต้องให้ความสนใจนั่นคือ ข้อตกลงระหว่างสภาความมั่นคงสหรัฐ  กับ หน่วยข่าวกรองดักสัญญาณสื่อสารสหราชอาณาจักร ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จารกรรมมาจากสายเคเบิ้ลสื่อสารใต้มหาสมุทร เรือดำน้ำสหราชอาณาจักรดักข้อมูลแล้วส่งต่อให้ระบบประมวลผลของสภาความมั่นคงสหรัฐ(NSA) ณ Fort Meade มลรัฐ Maryland เพื่อเก็บเป็นเหมืองไว้รอขุดคุ้นต่อไป ซึ่งกระทบกระเทือนต่อความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองเน็ตทั่วโลก

การดักฟังผู้นำของประเทศต่างๆ และกิจกรรมจารกรรมระหว่างประเทศนั้น สหภาพยุโรปและประเทศสำคัญ เช่น บราซิลโต้กลับด้วย มาตรการทางการทูต และกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างแยบคายต่อเนื่อง จนนำไปสู่การปฏิรูประบบการข่าวกรองภายในของสหรัฐผ่านคำประกาศของโอบาม่า   รวมไปถึงท่าทีและแนวปฏิบัติของบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐ

แรงบีบของสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่นำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้พลเมืองสหภาพยุโรป (มิใช่คนสัญชาติสหรัฐอเมริกา) สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องบรรษัทหรือหน่วยงานรัฐของอเมริกาได้ใน “ศาลสหรัฐอเมริกา” ภายในปี 2016    โดยสหรัฐยอมทำข้อตกลงระหว่างสองภูมิภาคที่เป็นพันธมิตรนาโต้ NATO Cross Atlantic Relationship ชื่อว่าข้อตกลง “EU-US Umbrella Agreement”

การบีบโดยอาศัยการออกกฎหมายภายในของตนมาให้รัฐอื่นยอมรับนี้ดูสุภาพนุ่มนวล เสมือนว่าการยอมอ่อนข้อให้ในระดับหนึ่ง เป็นกลวิธีในการเจรจาจนได้ผลลัพธ์ออกมา  

แต่หากมองในเชิงปฏิบัติกลับเป็นว่า ยุโรปยอมตกลงให้ พลเมืองต้องลงทุนไปฟ้องเองถึงศาลสหรัฐ   ทั้งที่ในข้อเสนอ ตอนแรกEU จะเอาช่องทางฟ้องร้องแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Unit) ในดินแดนสหภาพยุโรปให้ได้ ไม่ว่าผู้ละเมิดจะเป็นรัฐบาลสหรัฐหรือบรรษัทสัญชาติสหรัฐก็ตาม

ถ้าสหรัฐและสหภาพยุโรป เคาะเรื่องนี้ออกมา ก็คงออกมาพร้อมกับ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลแห่งสหภาพยุโรป (EU General Data Protection Regulation) ที่สหภาพยุโรปกำลังจะออกในปลายปี 2015 เลย เพราะนี่มันประเด็นสุดท้ายแล้วที่เถียงกันไม่จบ ...แต่ว่า มันจะมีผลในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปเทียบเท่ากฎหมายภายในรัฐในอีก 2 ปีถัดไปทันทีที่ประกาศ (ระบบสหภาพยุโรปจะให้เวลารัฐปรับตัว เช่น จัดงบประมาณ บุคลากร ความพร้อมต่างๆ)

ไทยไม่ควรดันกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ อินเตอร์เน็ต ในช่วงนี้ เพราะต้องแก้ใหม่แน่นอน แต่ควรพัฒนานวัตกรรมในการระงับข้อพิพาทออนไลน์ (Online Dispute Settlement Unit) หรือ หน้าเว็บรับเรื่องร้องเรียนออนไลน์ หรือกลไกรองรับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม Class Action มากกว่า   แม้จะยังไม่พบความคืบหน้าว่า สหภาพยุโรปจะผลักดันให้มีองค์กรหรือกลไกใดในการอำนวยความสะดวกให้กับพลเมืองผู้ตกเป็นเหยื่อของการจารกรรมของสหรัฐด้วยวิธีใดก็ตาม
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
สิ่งที่ขับเคลื่อนโลก คือ เทคโนโลยี การทหาร การค้า และการแพร่ความคิด ความเชื่อ ศาสนา
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากรัฐบาล คสช.
ทศพล ทรรศนพรรณ
รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ “ความมั่นคงไซเบอร์” ได้กล่าวอ้างว่า ในปัจจุบันมีภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ส่งผลกระทบหรืออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการให้บริการหรือการประยุกต์ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม และมีความรุนแรงก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของบุคคลและชาติ ซึ่งรวมถึงความมั่น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในอีก 10 หรือ 100 ปี โครงการร่วมของ Google และ Facebook ในการปล่อยโดรนส์และบอลลูน เพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในพื้นที่ห่างไกล อาจถูกนับเป็นจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์โลกเนื่องจากโครงการนี้สร้างผลกระทบมหาศาลไม่ว่าจะในแง่เทคโนโลยี เศรษฐกิจ หรือ "การข่าวกรอง" ในการเมืองระหว่างประเทศ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทีมรัฐมนตรีเศรษฐกิจจะใช้ เศรษฐกิจดิจิตอล เป็นตัวขับเคลื่อนประเทศ   วาระแบบนี้เคยเกิดขึ้นกับยุโรปที่เห็นสัญญาณการล่มของเศรษฐกิจมาตั้งแต่สองทศวรรษก่อนใน Banglemann Report on Digital Economy ซึ่งล้าสมัยไปเยอะแล้ว และนักยุทธศาสตร์รุ่นหลังก็ได้ก้าวข้ามวิธีคิดของเขาไปแล้ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำหรับคนที่ทำงานประจำต้องเริ่มต้นสัปดาห์ในวันจันทร์อย่างเบื่อหน่าย จนอยากจะหลีกลี้หนีหน้าไปจากสำนักงาน อาจจะเคยบ่นหรือฟังคำบ่นของเพื่อนร่วมชะตากรรมมาไม่น้อย จนถึงขั้นมีบริษัทรับสมัครงานนำมาเป็นคำโปรยว่า หากเบื่อวันจันทร์นักก็หางานใหม่ทำเถอะ   แต่ถ้าย้ายไปแล้วก็ไม่หาย ทำไปหลายปีก็ยังเบื่
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทำไม สิทธิการเลือกตั้งจึงเป็นเรื่องพื้นฐานของรัฐ?คงต้องตอบโดยใช้ความรู้อย่างน้อยสองชุด คือ1) กฎหมายเรื่องความเป็น "คน"2) เศรษฐศาสตร์การเมือง เรื่อง เลือกตั้ง
ทศพล ทรรศนพรรณ
จะคืนความสุขให้คนไทย ไม่ง่ายนะครับปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้ประชาชนรู้มากขึ้น เห็นข่าวการใช้เงินหรือยุทธศาสตร์ที่วางไว้ยาวนานโดยผู้สูงอายุก็พลอยทำให้คนรุ่นใหม่เครียดมาก  
ทศพล ทรรศนพรรณ
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับสารพัดโหรที่ออกมาทำนายการเมือง และชะตาประเทศกันอยู่เป็นประจำ แต่บทความนี้จะลองพาไปท่องสังคมไทยที่มีกลิ่นไอของไสยศาสตร์เจือปนอยู่แทบทุกหัวระแหง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ในปีที่ผ่านมา กระแสที่มาแรงในประเทศไทยและมีอิทธิพลมานานในประเทศพัฒนาแล้วก็คือ Slow Life วิถีการใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้า ละเมียดความสุขจากกิจกรรมการบริโภค และผ่อนคลาย แล้วขยายไปสู่กิจกรรมอื่นๆในชีวิตประจำวัน
ทศพล ทรรศนพรรณ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยแห่งชาติ (สกว.) กำหนดหัวข้อจับ “ตามหาอำนาจจีน รัสเซีย สหรัฐอเมริกา” โดยประเทศสหรัฐอเมริกา ให้มุ่งเน้นในประเด็นความมั่นคง/สิทธิมนุษยชนในสหรัฐอเมริกา/TPP/อุตสาหกรรมอาวุธ