Skip to main content

 

เมื่อวันที่ 10-13 พฤศจิกายน สหประชาชาติได้ร่วมจัดงานประชุมการกำกับอินเตอร์เน็ตระหว่างประเทศ หรือ Internet Governance Forum ครั้งที่ 10 (IGF 2015 Brazil) ณ เมือง Jao Pessoa ประเทศบราซิล ซึ่งน่าสนใจมากในแง่ของการเมืองระหว่างประเทศ เพราะเมื่อสองปีก่อนเกิด “รอยร้าว” ในความสัมพันธ์ระหว่าง บราซิลเจ้าภาพ กับ สหรัฐอเมริกาผู้ทรงอิทธิพลในโลกออนไลน์และเทคโนโลยีสารสนเทศโลก เมื่อ เอ็ดเวิร์ด สโนเดน อดีตเจ้าหน้าที่ข่าวกรองสหรัฐ ได้เผยข้อมูลว่าหน่วยงานความมั่นคงได้ทำการดักฟังและล้วงข้อมูลจากเครื่องมือสื่อสารของประธานาธิบดีบราซิล

การจารกรรมไม่มีกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าเป็นความผิดทางอาญาระหว่างประเทศ แต่เป็นที่รับรู้กันในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศว่าเป็นการทำลาย “ความไว้วางใจ” ระหว่างมิตรประเทศ และอาจนำไปสู่การดำเนินนโยบายตอบโต้ได้ตามสัดส่วนความเหมาะสม   ต่างจากระบบกฎหมายภายในหากตรวจพบจารชนที่ทำการจารกรรมข้อมูลของผู้นำรัฐ มักมีความผิดร้ายแรงฐาน “กบฏต่อความมั่นคง” มีโทษร้ายแรงสูงสุด

ดังนั้นเกมส์การเมืองระหว่างประเทศจึงต้องออกแบบให้สอดคล้องกับทุนของรัฐ และเลี้ยงตัวเองให้อยู่ในกรอบกฎหมายระหว่างประเทศ และใช้เวทีระหว่างประเทศให้เป็นประโยชน์สูงสุดจากความเสียหายที่เกิดขึ้น  เข้าทำนอง “พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส”

โอกาสที่ว่ามาพร้อมกับมิตรสหายร่วมชะตากรรมเมื่อพบว่า ผู้นำอีกหลายประเทศก็ตกอยู่ภายใต้การจับจ้องด้วยเทคโนโลยีจารกรรมขั้นสูงไม่ต่างกัน   ดังนั้นนับแต่ปี 2013 เป็นต้นมา บราซิลและเยอรมนีที่มีศักยภาพในการเมืองระหว่างประเทศจึงกลายมาเป็นสองรัฐที่มีบทบาทนำในการผลักดันวาระต่างๆที่เกี่ยวกับการสื่อสารและความปลอดภัยในระบบโทรคมนาคมโลก   โดยมีการเสนอวาระเข้าสู่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนจนมีรายงานเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของพลเมืองเน็ตแห่งยุคดิจิตอลออกมาอย่างต่อเนื่อง

การประชุม IGF ในปีนี้มีธีมที่สื่อเป็นนัยยะว่าวิวัฒนาการของอินเตอร์เน็ตจะต้องเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือก็คือ การสร้างระบบกำกับดูแลอินเตอร์เน็ตจะต้องเกิดจาก การมีส่วนร่วมของทุกรัฐ ทุกฝ่ายที่มีประโยชน์ได้เสีย โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การสร้าง

·       ความมั่นคงในโลกไซเบอร์บนพื้นฐานของ “ความไว้วางใจ” (Trust)

·       การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล โดยเปิดให้ทุกกลุ่มเข้าไปมีส่วนกำหนดทิศทางอย่างหลากหลาย

·       สนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียมีปากมีเสียงในการออกแบบระบบมากขึ้น เช่น กลุ่มผู้ด้อยโอกาส

·       การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเชื่อมโยงระบบ เช่น การส่งเสริมสิทธิในการเข้าถึงอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสื่อสาร เช่น ประเทศที่การเข้าถึงอินเตอร์เน็ตน้อย

·       การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในโลกออนไลน์ ต้านการเซ็นเซอร์ การจับกุม/ข่มขู่ การล้วงตับ การสอดส่อง

            อย่างที่บอกไปนี่คือ ผลพวงจากการเปิดเผยข้อมูลโดย สโนวเดน โดยมีอีกโครงการที่คน “ทั้งโลก” ต้องให้ความสนใจนั่นคือ ข้อตกลงระหว่างสภาความมั่นคงสหรัฐ  กับ หน่วยข่าวกรองดักสัญญาณสื่อสารสหราชอาณาจักร ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่จารกรรมมาจากสายเคเบิ้ลสื่อสารใต้มหาสมุทร เรือดำน้ำสหราชอาณาจักรดักข้อมูลแล้วส่งต่อให้ระบบประมวลผลของสภาความมั่นคงสหรัฐ(NSA) ณ Fort Meade มลรัฐ Maryland เพื่อเก็บเป็นเหมืองไว้รอขุดคุ้นต่อไป ซึ่งกระทบกระเทือนต่อความเป็นส่วนตัว และข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองเน็ตทั่วโลก

การดักฟังผู้นำของประเทศต่างๆ และกิจกรรมจารกรรมระหว่างประเทศนั้น สหภาพยุโรปและประเทศสำคัญ เช่น บราซิลโต้กลับด้วย มาตรการทางการทูต และกฎหมายระหว่างประเทศ อย่างแยบคายต่อเนื่อง จนนำไปสู่การปฏิรูประบบการข่าวกรองภายในของสหรัฐผ่านคำประกาศของโอบาม่า   รวมไปถึงท่าทีและแนวปฏิบัติของบรรษัทยักษ์ใหญ่ที่ปฏิเสธการมีส่วนร่วมกับหน่วยงานความมั่นคงสหรัฐ

แรงบีบของสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดใหญ่นำไปสู่การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมเพื่อเปิดโอกาสให้พลเมืองสหภาพยุโรป (มิใช่คนสัญชาติสหรัฐอเมริกา) สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องบรรษัทหรือหน่วยงานรัฐของอเมริกาได้ใน “ศาลสหรัฐอเมริกา” ภายในปี 2016    โดยสหรัฐยอมทำข้อตกลงระหว่างสองภูมิภาคที่เป็นพันธมิตรนาโต้ NATO Cross Atlantic Relationship ชื่อว่าข้อตกลง “EU-US Umbrella Agreement”

การบีบโดยอาศัยการออกกฎหมายภายในของตนมาให้รัฐอื่นยอมรับนี้ดูสุภาพนุ่มนวล เสมือนว่าการยอมอ่อนข้อให้ในระดับหนึ่ง เป็นกลวิธีในการเจรจาจนได้ผลลัพธ์ออกมา  

แต่หากมองในเชิงปฏิบัติกลับเป็นว่า ยุโรปยอมตกลงให้ พลเมืองต้องลงทุนไปฟ้องเองถึงศาลสหรัฐ   ทั้งที่ในข้อเสนอ ตอนแรกEU จะเอาช่องทางฟ้องร้องแบบเบ็ดเสร็จจุดเดียว (One-Stop Unit) ในดินแดนสหภาพยุโรปให้ได้ ไม่ว่าผู้ละเมิดจะเป็นรัฐบาลสหรัฐหรือบรรษัทสัญชาติสหรัฐก็ตาม

ถ้าสหรัฐและสหภาพยุโรป เคาะเรื่องนี้ออกมา ก็คงออกมาพร้อมกับ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลแห่งสหภาพยุโรป (EU General Data Protection Regulation) ที่สหภาพยุโรปกำลังจะออกในปลายปี 2015 เลย เพราะนี่มันประเด็นสุดท้ายแล้วที่เถียงกันไม่จบ ...แต่ว่า มันจะมีผลในรัฐสมาชิกสหภาพยุโรปเทียบเท่ากฎหมายภายในรัฐในอีก 2 ปีถัดไปทันทีที่ประกาศ (ระบบสหภาพยุโรปจะให้เวลารัฐปรับตัว เช่น จัดงบประมาณ บุคลากร ความพร้อมต่างๆ)

ไทยไม่ควรดันกฎหมายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจดิจิตอล หรือ อินเตอร์เน็ต ในช่วงนี้ เพราะต้องแก้ใหม่แน่นอน แต่ควรพัฒนานวัตกรรมในการระงับข้อพิพาทออนไลน์ (Online Dispute Settlement Unit) หรือ หน้าเว็บรับเรื่องร้องเรียนออนไลน์ หรือกลไกรองรับการดำเนินคดีแบบกลุ่ม Class Action มากกว่า   แม้จะยังไม่พบความคืบหน้าว่า สหภาพยุโรปจะผลักดันให้มีองค์กรหรือกลไกใดในการอำนวยความสะดวกให้กับพลเมืองผู้ตกเป็นเหยื่อของการจารกรรมของสหรัฐด้วยวิธีใดก็ตาม
 

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ก่อนหน้านี้สัก 4-5 ปี มีการพูดถึงการพัฒนาประเทศโดยใช้เรื่อง “ความสุขมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Happiness - GNH)  มาแทนเป้าหมายด้านการเพิ่ม “ผลผลิตมวลรวมประชาชาติ” (Gross National Product - GNP) โดยมีการหยิบยกกรณี ภูฐาน มาพูดกัน   แต่หลังจากที่มีรายงานข่าวสถานการณ์ความเปลี่ยนแ
ทศพล ทรรศนพรรณ
การท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ทุกประเทศสนใจและให้ความสำคัญมาก จนมีบรรษัทข้อมูลอย่าง Statista และองค์การท่องเที่ยวระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ออกรายงานสรุปข้อมูลเป็นประจำทุกปี โดยสามารถถ้าสรุปง่ายๆ คือ 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุวินาศกรรมในเมืองหลวงโดยเฉพาะย่านธุรกิจที่เป็นสัญลักษณ์สำคัญของระบบทุนนิยมถือเป็นสิ่งที่รัฐทั้งหลายไม่ปรารถนามากที่สุด เนื่องจากความเสียหายสูงเพราะมีร้านค้าและผู้คนแออัดหนาแน่น แต่ที่ร้ายแรงยิ่งกว่าคือ สภาพจิตใจของผู้คนที่จับจ่ายใช้สอยและมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างเคยชินในบริเวณนั้น
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตั้งแต่มาประกอบวิชาชีพนี้ สิ่งที่เห็น คือ ความเหนื่อยของคนรุ่นใหม่ต้องขยันตั้งใจเรียน ทำโน่นทำนี่ กระตือรือล้น ทะเยอทะยาน ให้ได้อย่างที่ คนรุ่นก่อนคาดหวังพอทำพังก็อยู่ในสภาพใกล้ตาย เพราะถูกเลี้ยงมาแบบ "พลาดไม่ได้"
ทศพล ทรรศนพรรณ
ประเด็นมาแรงของยุคนี้เห็นจะไม่พ้นสตาร์ทอัพนะครับ (Start-Up Business) เนื่องจากเป็นแนวทางที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมทุนนิยมที่รัฐต้องการจะผลักดันประเทศก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลาง หรือการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาการผลิตสินค้าที่ใช้แรงงานเข้มข้นเพื่อส่งออก มาเป็นการพัฒนาธุรกิจที่มีนวัตกร
ทศพล ทรรศนพรรณ
คนจบมหาวิทยาลัย ทำงานออฟฟิศ คือ กรรมกร?ไร้ตัวตน กว่า พวกเซเล็ปแถมรายได้ต่ำ กว่า คนหาเช้ากินค่ำ หาบเร่แผงลอย รับจ้างอิสระ วิเคราะห์ความคิด สศจ. บทสนทนากับ นิธิ เกษียร ชัดเจน
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชนผู้เสียภาษีไม่น้อย คือ ทำไมกองทัพไทยจึงต้องจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” ตอนนี้ และซื้อของ “จีน” ด้วยเหตุใด
ทศพล ทรรศนพรรณ
การศึกษาสายสังคมศาสตร์มนุษย์ศาสตร์ ณ ต่างประเทศของนักศึกษาไทยในปัจจุบัน เป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตั้งคำถามให้มากว่า เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วได้อะไร ความรู้หรือทักษะที่ได้จะเป็นประโยชน์อะไรกับสังคม หรือครอบครัว   เนื่องจากนักเรียนแทบทั้งหมดใช้เงินทุนจากภาษีของรัฐ หรือทุนของครอบครัว&nbs
ทศพล ทรรศนพรรณ
กระแสการนึกย้อนคืนวันแห่งความหลังเมื่อครั้งยังเยาว์วัยในช่วงปี ค.ศ.1990-1999 หรือ ปี พ.ศ.2533-2543 ของผู้คนร่วมสมัยในตอนนี้สะท้อนให้เห็นอะไรบ้าง
ทศพล ทรรศนพรรณ
รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ปีนี้มอบให้แด่ ศาสตราจารย์ชอง ติโรล (Jean Tirole) แห่งมหาวิทยาลัยตูลูส ประเทศฝรั่งเศส    องค์กรให้เหตุผลอย่างชัดเจว่าเป็นผลจาก การวิเคราะห์อำนาจเหนือตลาดของผู้เล่นน้อยรายที่มักจะมีอำนาจเหนือตลาด ประสิทธิภาพของกลไกตลาดจึงเสียหาย และมีข้อเสนอในงานวิจัยของเขา