Skip to main content

เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเหล่านี้อยู่เนืองๆ
                แต่ถ้าลองไปทบทวนตัวเลขสถิติทั้งหลายจะพบความเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรไทยมานับสิบปีแล้ว   กล่าวคือ   ชาวนา ไม่ใช่เกษตรกรส่วนใหญ่   และเกษตรกรมิใช่คนส่วนใหญ่ของคนในประเทศ    ที่พูดเช่นนี้ มิได้หมายความว่า เกษตรกร หรือชาวนาไม่สำคัญ   แต่ต้องการย้ำว่า หากจะสร้างนโยบายที่เหมาะสมกับเกษตรกรจะต้องเข้าใจ ภาคเกษตร เสียใหม่ให้ตรงกับความเป็นไปในปัจจุบัน

                ปัจจุบัน รสนิยมในการกินข้าวหรือแป้ง ลดลงตามกระแสการรักษาสุขภาพ เช่นเดียวกับ คนที่ทำอาชีพใช้แรงงานที่ต้องบริโภคแป้งจำนวนมากในแต่ละวันก็ลดลง    สิ่งที่เพิ่มมากขึ้น คือ การบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป    หากไปดูจำนวนสัดส่วนเกษตรกรจะพบว่า เกษตรกรในพืชหรือปศุสัตว์เชิงพาณิชย์มีมากขึ้น   และชาวนารายย่อย/เพื่อยังชีพอย่างเดียว   น้อยลงไปมาก   ชาวนาที่มีลักษณะเป็นผู้จัดการนา เจ้าของที่นา หรือคนเช่านา หรือแรงงานเกษตรรับจ้าง มีมากขึ้น

                ยิ่งในช่วงนอกหน้าเกษตรกรรม เกษตรกรที่อยู่นอกพื้นที่ชลประทานหรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ จึงมักออกไปทำงานรับจ้างในเมืองใหญ่เสมอ ทำให้ตัวเลขแรงงานภาคเกษตรกับบริการในประเทศไทยเหวี่ยงไปมา   

                ทั้งที่ นักคิดนโยบายทั้งหลาย ก็รู้ว่า ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจยืนอยู่บนภาคบริการ หรือการประกอบการรายย่อยไปตั้งนานแล้ว    การทำเกษตรก็อยู่ในลักษณะเกษตรเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรมการเกษตร

                หากจะทบทวนสถานการณ์ด้านการเกษตร จึงหนีไม่พ้นที่ต้องตอบเรื่องดังต่อไปนี้

  1. หากมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรในสินค้าหนึ่ง แล้วจะทำให้เกษตรกรในสินค้าอื่นๆ สงบได้อย่างไร   เช่น   การมีนโยบายเน้นช่วยเหลือชาวนา  จะทำให้ชาวสวนยาง ผู้ปลูกพืชไร่มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอื่นๆ อีกมากมายที่จ้องตาไม่กระพริบรู้สึกอย่างไร   เกษตรกรคงมีคำถามว่าทำไมตนไม่ได้รับความช่วยเหลือ  ตนไม่ใช่ประชาชน ไม่มีคะแนนเสียงหรืออยางไร   ก็เป็นปัญหาการจัดการมวลชนที่อาจเดินทางเข้ามาอีกในอนาคต
  2. หากมีการอุดหนุนสินค้าเกษตรหนึ่ง  เช่น   ข้าว และยางพารา   ก็กลายเป็น “สัญญาณ” ทำให้เกษตรกรเห็นว่า นี่คือ สินค้าที่ควรผลิต   การปลูกข้าวจะไม่ลดลง การปลูกยางพารา อาจจะมากขึ้น   ซึ่งไปถมทับปัญหาเดิมที่คนแก้ไขปัญหาต้องเจออยู่แล้ว คือ สินค้าที่รัฐเข้ามาอุ้มมีการผลิต “มากกว่าความต้องการของตลาด” นั่นเอง
  3. การลดต้นทุนการผลิต เป็นสิ่งที่เกษตรกรปรารถนาเสมอ เมื่อลงพื้นที่ไปทำวิจัย หรือแม้แต่ในการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ   เช่น   อยากให้ลดค่าปุ๋ย ค่ายา หรือว่าค่าเช่าที่ดิน ไปจนถึงดอกเบี้ยเงินกู้   ซึ่งทุกรัฐบาลก็รู้และได้เรียกเจ้าของกิจการต่างๆ เข้ามาหารือ แต่ยังการบังคับใช้กฎหมายด้านการเกษตรอย่างเข้มข้น   ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทางเลือกของรัฐบาล หากมุ่งหวังจะเพิ่มตัวเลขทางเศรษฐกิจโดยการเอาใจนักลงทุน
  4. การช่วยเหลือด้านที่ดินทำกิน และชลประทาน อาจไม่พออีกต่อไป เมื่อ สิ่งสำคัญยังไม่ถูกแก้ไขนั่น คือ กรรมสิทธิ์ในพันธุกรรมพืช และสัตว์   การแก้ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์พืช หรือตัวอ่อนสัตว์   กลายเป็นเรื่องสำคัญในโลกที่มีเทคโนโลยีพันธุกรรม เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ไปแล้ว    ความหวังยังมีในชุมชนที่รักษาพันธุ์และนักพัฒนาสายพันธุ์ของรัฐที่ยังมีอุดมการณ์
  5. หากนโยบายเกษตรกรรมมีเป้าหมายในเชิงการเมือง หวังเพิ่มความนิยมในรัฐบาล ก็ต้องตั้งคำถามว่า มีคนที่ได้รับประโยชน์ที่ปลายทางของนโยบายมากขนาดไหน   โครงการที่มีเงินอัดฉีดเข้ามา อาจไปไม่ถึงมือชาวนาและเกษตรกรที่รออย่างมีความหวังก็ได้   คนที่ฝันแล้วผิดหวัง ก็มักมีความเดือดดาลอยู่ในใจ ทำให้นโยบายได้ผลมุมกลับ
  6. การเพิ่มความสามารถทางการธุรกิจให้เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร   การผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเรื่องการผลิตเพื่อขาย มิใช่เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน(แบบสังคมชาวนาดั้งเดิม)   ดังนั้นทางรอดจริงๆ แบบที่รัฐไม่ต้องเข้าไปอุ้มตลอด คือ การพัฒนาสหกรณ์หรือยกระดับเป็นการตั้ง “บริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแห่งประเทศไทย”   เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆให้เกษตรกร และถ่วงดุลผูกขาดที่เป็นปัญหาบ่อนเซาะ “ประสิทธิภาพ” ในตลาดสินค้าเกษตรไทย มาอย่างยาวนาน
  7. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาการกระจายสินค้า ตั้งแต่ ระบบราง ระบบเชื่อมท้องถิ่นเข้ากับราง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้กลุ่มเกษตรกรติดต่อโดยตรงกับกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น   และเป็นโอกาสที่จะสร้างงานให้คนจบใหม่ด้านเทคโนโลยีได้มีงานทำ ผ่านโครงการพัฒนาระบบในชุมชนท้องถิ่นต่างๆไปด้วย
  8. การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของกลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาการคุกคามจากผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย   เพื่อให้เสียงของเกษตรกรในท้องถิ่นดังมาถึงผู้สร้างนโยบายสาธารณะในส่วนกลางให้ได้
  9. การทำโครงการส่งเสริมการเข้าครัวปรุงอาหารของร้านตามสั่ง หรือในครัวเรือน ให้นำสินค้าเกษตรทั้งหลายมาปรุงเพื่อทำให้เกิด รสนิยมในการใช้สินค้าไทย   มิใช่เพียงแต่ทำแคมเปญให้กินของไทย  แต่ไม่บอกว่าทำยังไง   รายการทำอาหารต่างๆ เป็นช่องทางในการริเริ่มโครงการเอาสินค้าเกษตรไทยมาปรุง กระตุ้นยอดซื้อ

สิ่งที่นำเสนอไปอาจไม่ใหม่ แต่ถ้ารัฐบาลไหนทำได้ คงกำชัยชนะเหนือใจเกษตรกรเป็นแน่

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
ตลอดระยะเวลาแห่งความขัดแย้งทางการเมือง ได้มีกลุ่มต่างๆ เสนอทางออกของปัญหาด้วยการใช้กฎหมายมากมายหลายมาตรา   แต่มาตราหนึ่งซึ่งเป็นข้อถกเถียงมาก คือ การใช้รัฐธรรมนูญ ม.7 ตั้งแต่เมื่อคราวที่ยังใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 เรื่อยมาจนถึง ฉบับปี 2550   คนจำนวนไม่น้อยคงสงสัยมากว่า มาตรา 7
ทศพล ทรรศนพรรณ
เอาล่ะครับ พ่อแม่พี่น้อง เรื่องถัดไปนี่คงเป็นความสนใจของเพื่อนพ้องหลายๆพื้นที่นะครับ ผมได้รับแจ้งเข้ามาว่า  เจ้าพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่หนึ่งมีการเพิกเฉย ละเลย ดูแลปัญหาความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ แถมยังมีเรื่องราวกินสินบาทคาดสินบนทำให้ชาวบ้านจนปัญญาจะหาทางแก้ไขเข้าไปอีก&n
ทศพล ทรรศนพรรณ
พลังเหนือมนุษย์ ที่จะพูดถึงในครั้งนี้ประกอบไปด้วยสองส่วน คือ พลังธรรมชาติ และพลังลี้ลับ   ซึ่งกฎหมายก็ได้พูดถึงสองสิ่งนี้อยู่ไม่น้อยทีเดียว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นสารพัดปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้แรงงานในยามที่เจอกับภาวะเศรษฐกิจตกสะเก็ด เราคงได้ยินเสียงผู้ประกอบการบ่นให้ฟังว่า ยอดสั่งซื้อตก กำไรหด ต้องลดกำลังการผลิตเพื่อให้บริษัทอยู่รอดกันใช่ไหมครับ  แต่ทราบไหมครับว่า ทุกครั้งที่บอกว่าขาดทุนและต้องลดต้นทุนหรือกำลังการผลิตนั้น มันหมายถึงการป
ทศพล ทรรศนพรรณ
             กฎหมายสมัยใหม่ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีสิ่งที่ต้องเข้าใจร่วมกันว่า ได้ให้อำนาจเด็ดขาดแก่รัฐในการบีบบังคับประชาชนในรัฐ และลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายโดยการใช้ความรุนแรงนับตั้งแต่ การประหารชีวิต การจำคุก การควบคุมตัว ริบทรัพย์ ในระบบกฎหมายอาญา  ไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
ทุกท่านคงทราบกันแล้วนะครับว่าปัจจุบันกฎหมายไทยเกี่ยวกับเรื่องข่มขืนได้มีการปรับปรุงแก้ไขไปให้ทันกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เพราะมิใช่เพียง
ทศพล ทรรศนพรรณ
คงมีหลายคนสงสัยว่าทำไมนักกฎหมายมักย้ำเสมอว่าปัญหาทางกฎหมายต้องตอบในลักษณะ “หนึ่งคำถาม หนึ่งคำตอบ”    กล่าวคือ ในปัญหาเรื่องนั้นจะต้องมีคำชี้ขาดขององค์กรตุลาการหรือองค์กรวินิจฉัยชี้ขาดที่ชัดเจนแน่นอนเพียงหนึ่งเดียว   ห้ามมีคำตอบแตกต่างหลากหลาย   เช่น  
ทศพล ทรรศนพรรณ
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับผู้ใช้รถใช้ถนนทั้งในเมืองและต่างจังหวัด เนื่องจากในบางเส้นทางจะมีด่านตรวจของเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเมื่อถูกกักตัวหรือขอตัวค้นรถตอนถึงด่าน   ทั้งยังสงสัยกับพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ตรงด่านว่าใช่ตำรวจหรือไม่ มีอำนาจหน้าที่อะไ
ทศพล ทรรศนพรรณ
       หลายครั้งที่เราสงสัยกันว่าทำไมเรื่องที่เค้าเถียงกันแทบเป็นแทบตายไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสักที ตำรวจก็บอกว่าต้องทำตามกฎหมายข้อนี้ นักกฎหมายก็อ้างว่าไม่ได้ต้องดูกฎหมายอีกฉบับด้วย แล้วพอไปออกรายการทีวีเถียงกันก็ยังไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เพราะปัญหาเดียวกันไหงมีกฎหมายมาเกี่ยวข้องต้อง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ปัจจุบันมีคนจำนวนมากเข้าไปทำงานตามร้านอาหารหรือสถานบริการต่างๆมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ตามจำนวนร้านรวงที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ด จุดไหนมีคนทำงานหรือเรียนหนังสือเยอะๆก็จะมีร้านตั้งมาดักไว้เต็มไปหมด ก็มีคนพูดไว้เยอะว่าร้านอาหารที่ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นแหล่งมั่วสุมของนักศึกษาหรือว่าคนทำงานในวัยหนุ่มสาว&
ทศพล ทรรศนพรรณ
ตอนนี้เราจะมาดูกันนะครับว่า ทำไมเมื่อเกิดความขัดแย้งขึ้นมาในสังคม เราจึงต้องใช้กฎหมายมายุติความขัดแย้ง   เหตุผลของเรื่องนี้ก็ต่อมาจากตอนที่แล้วซึ่งเราบอกว่า กฎหมาย คือ กติกา ที่สังคมกำหนดขึ้นมาร่วมกัน เพื่อชี้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ต่างๆขึ้น แล้วตกลงกันไม่ได้ จะ “ยุติ” ความขัดแย้งอย่างไรใ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องที่ผมจะเอามาเล่าสู่กันฟังเป็นความเดือดร้อนแสนสาหัสของน้องสองคนซึ่งได้รับผลกระทบจากการประกาศภาวะฉุกเฉิน เคอร์ฟิว ในช่วงที่มีการปราบปรามและสลายการชุมนุม   ซึ่งมันเกี่ยวพันกับชีวิตคนธรรมดาอย่างเราๆท่านๆมากขึ้น เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2