Skip to main content

เมื่อมีรัฐบาลใหม่สิ่งทีตามมาด้วยเสมอ คือ นโยบายด้านเกษตรกรรม   ในอดีตเกษตรกร หรือที่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็น “ชาวนา” คือ กลุ่มเป้าหมายหลักในการหยิบมาเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับนโยบายอุดหนุน   ตามสโลแกน “ชาวนา คือ กระดูกสันหลังของชาติ”  ที่แม้แต่คนรุ่นหลังๆ ก็ยังได้ฟังคำขวัญเหล่านี้อยู่เนืองๆ
                แต่ถ้าลองไปทบทวนตัวเลขสถิติทั้งหลายจะพบความเปลี่ยนแปลงในภาคเกษตรไทยมานับสิบปีแล้ว   กล่าวคือ   ชาวนา ไม่ใช่เกษตรกรส่วนใหญ่   และเกษตรกรมิใช่คนส่วนใหญ่ของคนในประเทศ    ที่พูดเช่นนี้ มิได้หมายความว่า เกษตรกร หรือชาวนาไม่สำคัญ   แต่ต้องการย้ำว่า หากจะสร้างนโยบายที่เหมาะสมกับเกษตรกรจะต้องเข้าใจ ภาคเกษตร เสียใหม่ให้ตรงกับความเป็นไปในปัจจุบัน

                ปัจจุบัน รสนิยมในการกินข้าวหรือแป้ง ลดลงตามกระแสการรักษาสุขภาพ เช่นเดียวกับ คนที่ทำอาชีพใช้แรงงานที่ต้องบริโภคแป้งจำนวนมากในแต่ละวันก็ลดลง    สิ่งที่เพิ่มมากขึ้น คือ การบริโภคเนื้อสัตว์และอาหารแปรรูป    หากไปดูจำนวนสัดส่วนเกษตรกรจะพบว่า เกษตรกรในพืชหรือปศุสัตว์เชิงพาณิชย์มีมากขึ้น   และชาวนารายย่อย/เพื่อยังชีพอย่างเดียว   น้อยลงไปมาก   ชาวนาที่มีลักษณะเป็นผู้จัดการนา เจ้าของที่นา หรือคนเช่านา หรือแรงงานเกษตรรับจ้าง มีมากขึ้น

                ยิ่งในช่วงนอกหน้าเกษตรกรรม เกษตรกรที่อยู่นอกพื้นที่ชลประทานหรือทำการเพาะปลูกไม่ได้ จึงมักออกไปทำงานรับจ้างในเมืองใหญ่เสมอ ทำให้ตัวเลขแรงงานภาคเกษตรกับบริการในประเทศไทยเหวี่ยงไปมา   

                ทั้งที่ นักคิดนโยบายทั้งหลาย ก็รู้ว่า ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจยืนอยู่บนภาคบริการ หรือการประกอบการรายย่อยไปตั้งนานแล้ว    การทำเกษตรก็อยู่ในลักษณะเกษตรเชิงพาณิชย์ หรืออุตสาหกรรมการเกษตร

                หากจะทบทวนสถานการณ์ด้านการเกษตร จึงหนีไม่พ้นที่ต้องตอบเรื่องดังต่อไปนี้

  1. หากมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรในสินค้าหนึ่ง แล้วจะทำให้เกษตรกรในสินค้าอื่นๆ สงบได้อย่างไร   เช่น   การมีนโยบายเน้นช่วยเหลือชาวนา  จะทำให้ชาวสวนยาง ผู้ปลูกพืชไร่มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอื่นๆ อีกมากมายที่จ้องตาไม่กระพริบรู้สึกอย่างไร   เกษตรกรคงมีคำถามว่าทำไมตนไม่ได้รับความช่วยเหลือ  ตนไม่ใช่ประชาชน ไม่มีคะแนนเสียงหรืออยางไร   ก็เป็นปัญหาการจัดการมวลชนที่อาจเดินทางเข้ามาอีกในอนาคต
  2. หากมีการอุดหนุนสินค้าเกษตรหนึ่ง  เช่น   ข้าว และยางพารา   ก็กลายเป็น “สัญญาณ” ทำให้เกษตรกรเห็นว่า นี่คือ สินค้าที่ควรผลิต   การปลูกข้าวจะไม่ลดลง การปลูกยางพารา อาจจะมากขึ้น   ซึ่งไปถมทับปัญหาเดิมที่คนแก้ไขปัญหาต้องเจออยู่แล้ว คือ สินค้าที่รัฐเข้ามาอุ้มมีการผลิต “มากกว่าความต้องการของตลาด” นั่นเอง
  3. การลดต้นทุนการผลิต เป็นสิ่งที่เกษตรกรปรารถนาเสมอ เมื่อลงพื้นที่ไปทำวิจัย หรือแม้แต่ในการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อ   เช่น   อยากให้ลดค่าปุ๋ย ค่ายา หรือว่าค่าเช่าที่ดิน ไปจนถึงดอกเบี้ยเงินกู้   ซึ่งทุกรัฐบาลก็รู้และได้เรียกเจ้าของกิจการต่างๆ เข้ามาหารือ แต่ยังการบังคับใช้กฎหมายด้านการเกษตรอย่างเข้มข้น   ซึ่งอาจจะไม่ใช่ทางเลือกของรัฐบาล หากมุ่งหวังจะเพิ่มตัวเลขทางเศรษฐกิจโดยการเอาใจนักลงทุน
  4. การช่วยเหลือด้านที่ดินทำกิน และชลประทาน อาจไม่พออีกต่อไป เมื่อ สิ่งสำคัญยังไม่ถูกแก้ไขนั่น คือ กรรมสิทธิ์ในพันธุกรรมพืช และสัตว์   การแก้ปัญหาเรื่องเมล็ดพันธุ์พืช หรือตัวอ่อนสัตว์   กลายเป็นเรื่องสำคัญในโลกที่มีเทคโนโลยีพันธุกรรม เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ไปแล้ว    ความหวังยังมีในชุมชนที่รักษาพันธุ์และนักพัฒนาสายพันธุ์ของรัฐที่ยังมีอุดมการณ์
  5. หากนโยบายเกษตรกรรมมีเป้าหมายในเชิงการเมือง หวังเพิ่มความนิยมในรัฐบาล ก็ต้องตั้งคำถามว่า มีคนที่ได้รับประโยชน์ที่ปลายทางของนโยบายมากขนาดไหน   โครงการที่มีเงินอัดฉีดเข้ามา อาจไปไม่ถึงมือชาวนาและเกษตรกรที่รออย่างมีความหวังก็ได้   คนที่ฝันแล้วผิดหวัง ก็มักมีความเดือดดาลอยู่ในใจ ทำให้นโยบายได้ผลมุมกลับ
  6. การเพิ่มความสามารถทางการธุรกิจให้เกษตรกร หรือกลุ่มเกษตรกร   การผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเรื่องการผลิตเพื่อขาย มิใช่เพื่อการบริโภคภายในครัวเรือน(แบบสังคมชาวนาดั้งเดิม)   ดังนั้นทางรอดจริงๆ แบบที่รัฐไม่ต้องเข้าไปอุ้มตลอด คือ การพัฒนาสหกรณ์หรือยกระดับเป็นการตั้ง “บริษัทอุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแห่งประเทศไทย”   เพื่อสร้างทางเลือกใหม่ๆให้เกษตรกร และถ่วงดุลผูกขาดที่เป็นปัญหาบ่อนเซาะ “ประสิทธิภาพ” ในตลาดสินค้าเกษตรไทย มาอย่างยาวนาน
  7. การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาการกระจายสินค้า ตั้งแต่ ระบบราง ระบบเชื่อมท้องถิ่นเข้ากับราง ไปจนถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้กลุ่มเกษตรกรติดต่อโดยตรงกับกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น   และเป็นโอกาสที่จะสร้างงานให้คนจบใหม่ด้านเทคโนโลยีได้มีงานทำ ผ่านโครงการพัฒนาระบบในชุมชนท้องถิ่นต่างๆไปด้วย
  8. การคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของกลุ่มเกษตรกรที่มีปัญหาการคุกคามจากผู้มีอิทธิพลทั้งหลาย   เพื่อให้เสียงของเกษตรกรในท้องถิ่นดังมาถึงผู้สร้างนโยบายสาธารณะในส่วนกลางให้ได้
  9. การทำโครงการส่งเสริมการเข้าครัวปรุงอาหารของร้านตามสั่ง หรือในครัวเรือน ให้นำสินค้าเกษตรทั้งหลายมาปรุงเพื่อทำให้เกิด รสนิยมในการใช้สินค้าไทย   มิใช่เพียงแต่ทำแคมเปญให้กินของไทย  แต่ไม่บอกว่าทำยังไง   รายการทำอาหารต่างๆ เป็นช่องทางในการริเริ่มโครงการเอาสินค้าเกษตรไทยมาปรุง กระตุ้นยอดซื้อ

สิ่งที่นำเสนอไปอาจไม่ใหม่ แต่ถ้ารัฐบาลไหนทำได้ คงกำชัยชนะเหนือใจเกษตรกรเป็นแน่

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องล่าสุดที่ใครอาจคิดว่าไกลตัว แต่มันเข้ามาใกล้ตัวเรากว่าที่หลายคนคิด ใช่แล้วครับ แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย และจะมีจำนวนมากขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคตตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย และความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจกับประเทศรอบด้าน   บางคนอาจคิดไปว่าคนต่างด้าวเข้ามาแย่งงานคนไทย แต่คน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การบังคับใช้กฎหมายของรัฐเหนือดินแดนหลังหมดยุคอาณานิคมนั้น ก็มีความชัดเจนว่าบังคับกับทุกคนที่อยู่ในดินแดนนั้น  ไม่ว่าคนไทย จีน อาหรับ ฝรั่ง ขแมร์ พม่า เวียต หากเข้ามาอยู่ในดินแดนไทยแล้วก็ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไทย ดุจเดียวกับ “คนชาติ” ไทย   แต่ความยากลำบากเกิดขึ้นเมื่อปัจจุบันการข้ามพรมแดนย
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้จะทำให้ทุกท่านเข้าใจแจ่มแจ้งเลยนะครับว่า “เงินทองมันไม่เข้าใครออกใคร” จริงๆ ให้รักกันแทบตาย ไว้ใจเชื่อใจกันแค่ไหนก็หักหลังกันได้ และบางทีก็ต้องคิดให้หนักว่าที่เขามาสร้างความสัมพันธ์กับเรานั้น เขารักสมัครสัมพันธ์ฉันคู่รัก มิตรสหาย หรืออยากได้ทรัพย์สินเงินผลประโยชน์จากเรากันแน่  
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจาก คสช. ได้เรียกคนไทยในต่างแดนมารายงานตัว และมีความพยายามนำคนเหล่านั้นกลับมาดำเนินคดีในประเทศทำให้เกิดคำถามว่า กฎหมายใช้ไปได้ถึงที่ไหนบ้าง?  ขอบเขตของกฎหมายก็เชื่อมโยงกับองค์ประกอบของ รัฐยังจำกันได้ไหมครับ ว่า รัฐประกอบไปด้วยอะไรบ้าง?
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องต่อมาคงเคยผ่านหูผ่านตาหลายท่านกันมามากแล้วนะครับ นั่นคือ การออกโปรโมชั่นต่างๆของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือสองสามเจ้าที่แข่งกันออกมายั่วยวนพวกเราให้หลงตามอยู่เรื่อยๆ   ผมเองก็เกือบหลงกลไปกับภาษากำกวมชวนให้เข้าใจผิดของบริษัทเหล่านี้อยู่หลายครั้งเหมือนกันนะครับ ต้องยอมรับเลยว่าคนที่
ทศพล ทรรศนพรรณ
หลังจากที่เครือข่ายเฟซบุคล่มในประเทศไทยเป็นเวลาเกือบชั่วโมงจนเพื่อนพ้องน้องพี่เดือดดาลกัน    ตามมาด้วยข่าวลือว่า "คสช. จะตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ต และไล่ปิดโซเชียลเน็ตเวิร์ค" นั้น  สามารถอธิบายได้ 2 แนว คือ1. เป็นวิธีการที่จะเอาชนะทางการเมืองหรือไม่ และ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เวลาคนทะเลาะกัน จะหาทางออกอย่างไร ? 
ทศพล ทรรศนพรรณ
กฎหมายมีผลตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ กฎหมายที่มีผลร้ายห้ามมีผลย้อนหลัง  การออกกฎหมายมาลงโทษการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตจะทำไม่ได้ กฎหมายสิ้นผลเมื่อประกาศยกเลิก 
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรามักได้ยินคนพูดว่า ดูละครแล้วย้อนมองตน เพราะชีวิตของคนในละครมักสะท้อนให้เห็นแง่มุมต่างๆในชีวิตได้ใช่ไหมครับ แต่มีคนจำนวนมากบอกว่าชีวิตใครมันจะโชคร้ายหรือลำบากยากเย็นซ้ำซ้อนแบบตัวเอกในละครชีวิตบ้างเล่า  แต่เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้ทำให้ผมมั่นใจว่าเรื่องราวในชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย หากมันจะทำให
ทศพล ทรรศนพรรณ
ภัยใกล้ตัวอีกเรื่องที่ไม่ว่าผู้หญิงคนไหนก็ไม่อยากเจอคงเป็นเรื่องลึกๆ ที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งเป็นความในไม่อยากให้ใครหยิบออกมาไขในที่แจ้ง แม้ความคิดของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์และความบริสุทธิ์จะเปลี่ยนไปแล้ว คือ เปิดกว้างยอมรับกับความหลังครั้งเก่าของกันและกันมากขึ้น &nbsp
ทศพล ทรรศนพรรณ
                ประเทศไทยประกาศต่อประชาชนในประเทศว่าจะรับประกันสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และประกาศต่อโลกว่าเป็น รัฐประชาธิปไตย มีกฎหมายใช้จัดการความขัดแย้งอย่างยุติธรรม รวมไปถึงป้องกันการใช้อำนาจตามอำเภอใจของรัฐ   แต่การประกาศใช้กฎอัยการศึกได้ทำลายสิทธ
ทศพล ทรรศนพรรณ
เรื่องนี้เป็นวิกฤตครั้งใหญ่ของน้องคนหนึ่ง ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตได้ทำให้ครอบครัวเค้าสูญเสียทุกอย่างไป   น้องได้ลำดับเรื่องราวให้ฟังว่า