Skip to main content

นอกจากประเด็นที่สื่อมวลชนกำลังตื่นตัวว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมตีตราสื่อให้อยู่ภายใต้การควบคุมขององค์กรในลักษณะที่ผู้มีอำนาจอาจเข้ามาแทรกแซงแล้ว  อีกประเด็นที่เชื่อมโยงกันและกระเทือนไปสู่วงกว้างมาก คือ การขยายขอบเขตการควบคุมไปยัง สื่อใหม่  

                กระแสของการควบคุมสื่อใหม่โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต ได้มีมาก่อนหน้านี้แล้วผ่านการผลักดันชุดกฎหมายเกี่ยวกับดิจิทัล และล่าสุดก็มาถึงการเตรียมประกาศกฎของ กสทช. ในการควบคุมการนำเสนอข้อมูลผ่านช่องทางต่างๆในอินเตอร์เน็ต

                ทำไมรัฐต้องขยับมาคุมอินเตอร์เน็ตอย่างเข้มงวด ถึงขั้นต้องควบคุมการสตรีมมิ่ง ไลฟ์ จัดรายการผ่านเน็ต และบังคับจดทะเบียนตรีตราเพื่อควบคุม  จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาก่อนเพื่อให้เห็ตเจตนารมณ์ที่แท้ของ ยุทธศาสตร์ยึดพื้นที่สื่อของรัฐบาล

                ก่อนยุคนักข่าวพลเมืองอินเตอร์เน็ตหรือนักสืบไซเบอร์นั้น พื้นที่สื่อสารการเมืองหลักๆ ก็จะยึดโยงอยู่กับสื่อหลัก อาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์  ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า วิทยุ โทรทัศน์นั้นถูกควบคุมอย่างเข้มงวดโดยระบบใบอนุญาต และการผูกขาดการจัดสรรคลื่นความถี่มาแต่ไหนแต่ไร แม้รัฐธรรมนูญพยายามแก้ไข ให้มี กสช. ขึ้นมากระจายความถี่ไปให้ประชาสังคมเข้าถึง มีพื้นที่แสดงออกมากขึ้น แต่ก็จบลงด้วยการรัฐประหารกระชับอำนาจของฝ่ายความมั่นคงทั้งสองระลอกในปี 2549 และ 2557

                สื่อที่วิจารณ์รัฐอย่างหนักหน่วงมาเสมอ จึงอยู่ในรูปของสื่อสิ่งพิมพ์มากกว่า ซึ่งก็เป็นที่รับรู้ว่าว่าสื่อกระดาษก็เริ่มปรับไปสู่สื่อออนไลน์มากขึ้น   เช่นเดียวกับผู้จัดรายการเสียง ภาพเคลื่อนไหว ก็กระโดดไปสู่สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียมากขึ้น เพราะต้นทุนถูกกว่ามาก สะดวก และยังมีการแทรกแซงควบคุมจากรัฐน้อยกว่า

                แต่สาเหตุที่รัฐวิตกมากและเป็นจุดเปลี่ยนที่รัฐต้องมาคุมโลกไซเบอร์มากขึ้น ผมว่ามี 2 ประเด็น

                1) สื่อแบบเดิม มักอยู่ด้วยงบโฆษณาและใบอนุญาต ถ้ามีปัญหากับรัฐ วิจารณ์มากๆ รัฐสั่งปิดยึดใบอนุญาต หรือถอนโฆษณาภาครัฐ ก็สะเทือนเลื่อนลั่นถึงขั้นต้องปรับตัว เขาเลยวิจารณ์กันพอประมาณหรือเลี่ยงประเด็นไป ต่างจากสื่อออนไลน์ หรือนักรบไซเบอร์ ล้วงละเลงกันบนเน็ต ไม่ต้องเกรงใจใคร ยิ่งแรงยิ่งหนัก คนยิ่งอ่านยิ่งแชร์ ยอดไลค์กระฉูด รัฐเลยต้องเชือดไก่ให้ลิงดู สอยด้วยกฎหมาย

                2) เดิมถ้ารัฐจะฟ้องนักข่าวอาชีพ ก็จะมีสำนักข่าวตัวเองปกป้อง หรือจ้างทนายสู้คดี ไหนจะสมาคมนักข่าวอีก หากรัฐจะเล่นงานก็ฟ้องยาก ต่างจากฟ้อง นักข่าวพลเมืองเน็ต เมื่อโดนฟ้องทีก็รู้สึกได้ถึงอันตราย และไม่ใช่แค่คนโดนฟ้อง ชาวเน็ตที่อ่านข่าวพลอยสะดุ้งไปด้วยเพราะรัฐก็ออกมาขู่ว่า “แค่กดไลค์” ก็เป็นความผิดอาญา  ซึ่งบิดเบือนหลักกฎหมายมาก

                ผลกระทบ 3 ส่วนหลักๆ
                1) พลเมืองผู้ตื่นตัวทางการเมืองและต้องการมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศหายไป เพราะต้องระมัดระวังตัวกลายเป็นเซ็นเซอร์ตัวเองไป ดีกว่าต้องเสี่ยงกับคุกตะราง    ยุทธศาสตร์เงียบทั้งแผ่นดิน (พูดได้ฝ่ายเดียว)

                2) เกิดกลุ่มลับ ขบวนการเฉพาะกิจ รวมกลุ่มกระจายข้อมูลกันในวงแคบๆ ไม่เกิดการกระจายข้อมูลสู่วงกว้าง ไม่เกิดการขยายตัวเป็นประชาสังคมที่ขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะใหญ่ๆ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างยาก

                3) หน่วยงานและบรรษัทเกิดลัทธิเอาอย่าง เลียนแบบวิธีการสะกดเสียงวิพากษ์วิจารณ์กิจกรรมของตนที่มีลักษณะสร้างความเดือดร้อนเสียหายให้คนอื่น โดยการใช้กฎหมายสารพัดหมิ่นมาประเคนใส่นักปกป้องสิทธิมนุษยชน

 

                ล่าสุด ทำไมรัฐโหมข่าวไวรัส wannacry หนักหน่วง ทั้งที่วิธีป้องกันนั้นง่ายมาก และจริงๆแล้วมันไม่กระทบคนทั่วไปเท่าระบบขององค์กรและหน่วยงานที่เป็นเป้าหมายหลัก

                ครับ ก็เขากำลังจะผลักดัน พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ ผ่าน สนช. แล้วไง
ซึ่งเนื้อหาหนักกว่า พรบ.ความผิดคอมพ์ฯ ด้วย ซึ่ง พรบ.นี้แหละครับ ที่จะให้อำนาจรัฐบังคับผู้ดูแลระบบ และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั้งหลายส่องข้อมูลเรา และหนักสุดคือ สร้างซิงเกิ้ลเกตเวย์ขึ้นมา

                คำถามที่สำคัญกว่า คือ เมื่อรัฐสอดส่องข้อมูลการใช้งานอินเตอร์เน็ตของประชาชนเข้าไปถึงเนื้อในการสื่อสารแล้ว (Content)  ข้อมูลที่รัฐได้เห็น จะถูกนำมาใช้ต่อหรือไม่ ซึ่งถ้าเป็นมาตรฐานสากล ข้อมูลเหล่านี้ห้ามใช้ห้ามอ่านเด็ดขาด รวมถึงห้ามนำมาเป็นหลักฐานปรักปรำในคดีอาญาอยู่แล้ว

                ข้อมูลที่รัฐจะใช้ประโยชน์ได้ต้องจำกัดอยู่ที่เพียงข้อมูลเกี่ยวกับการสื่อสาร หรือ Big Data เท่านั้น ซึ่งเป็นข้อมูลทั่วไปที่ผู้ประกอบการทั่วไปมีการเก็บบันทึกไว้อยู่แล้ว เช่น ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต/ใช้บริการเมื่อไหร่ นานแค่ไหน ผ่านอุปกรณ์ใด จากที่ใด ถี่แค่ไหน   ซึ่งถ้าขยายไปถึงการใช้สมาร์ทโฟน ก็อาจทราบไปถึงว่าใช้ติดต่อสื่อสารกับใคร

                ส่วนประเด็นที่มีเหล่าคนฉลาดพูดว่า “จะตื่นเต้นอะไร เขาล้วงตับเรามานานแล้ว”  นั้นก็สะท้อนถึงความอ่อนด้อยประสบการณ์ทางกฎหมายและการเมืองอยู่มาก  เนื่องจากแต่เดิมข้อมูลที่ดักฟัง ดักเก็บมาโดยมิชอบด้วยกฎหมายนั้น ถือเป็นการได้ข้อมูลมาไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นความผิดอาญาที่มีโทษถึงจำคุก 

                เนื้อหาที่ได้มาไม่ถูกต้อง จึงไม่อาจนำมาปรักปรำใครให้รับผิดในชั้นศาล  กลับกันผู้ที่มีข้อมูลเหล่านี้อยู่จะต้องรับผิดหากมีผู้เสียหายฟ้องร้องดำเนินคดี   เช่นเดียวกับผู้ให้บริการที่ดูแลระบบหากปล่อยให้ข้อมูลหลุดรั่วออกไปก็ต้องรับโทษทางอาญาเช่นเดียวกันด้วย หากมิเชื่อลองเปิดประมวลกฎหมายอาญา ม.322-325 ดูกันเองเถิด

                แต่คราวนี้ล้วงตับแล้วเอามาปรักปรำในชั้นศาลได้โดยออกกฎหมายมารองรับ เมื่อบวกกับการเร่งแก้ ป.วิ.อ. ดักข้อมูลฯ ก็...

 

 

ผู้เขียน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์

บล็อกของ ทศพล ทรรศนพรรณ

ทศพล ทรรศนพรรณ
หากสังคมไทยมีแนวโน้มจะเป็น สังคมทุนนิยม องค์กร สถาบัน จารีต ต่างๆ เสื่อมลง คนสัมพันธ์ผ่านระบบตลาด แคร์คนอื่นน้อยลง ขาดสำนึกร่วมในความอยุติธรรมทางสังคม หรือ มีสำนึกเชิง “ปัจเจก” มากขึ้นเรื่อยๆ
ทศพล ทรรศนพรรณ
อาจจะดูแปลกประหลาดไปสักหน่อยสำหรับบางท่านเมื่อพูดว่ากฎหมายได้รับรอง “สิทธิที่จะพักผ่อน” ไว้เป็นสิทธิมนุษยชนประการหนึ่ง เพราะคนไทยถือว่าการขยันตั้งใจทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำเป็นศีลธรรมอันดีงามประเภทหนึ่งที่ต้องยึดถือปฏิบัติ หรือต้องแสดงออกให้สังคมเห็นเป็นประจักษ์ และสังคมก็ยกย่องบุคคลสำคัญโดยพิจารณา
ทศพล ทรรศนพรรณ
การลดช่องว่าง ด้วยการใช้อำนาจทางการเมืองมาจัดการเศรษฐกิจรัฐสวัสดิการ สร้างความมั่นคงขจัดความขัดแย้งด้วยแนวทางเจือจานบนพื้นฐานของภราดรภาพป้องกันการลุกฮือของมวลชน 
ทศพล ทรรศนพรรณ
มหกรรมฟุตบอลโลกจบลงไปแล้วด้วยชัยชนะของกองเชียร์ฝ่ายสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกลุ่มสนับสนุนสิทธิของผู้อพยพ เนื่องทีมแชมป์โลกเป็นการรวมตัวของนักฟุตบอลที่มิได้มีพื้นเพเป็นคนฝรั่งเศส (พูดอย่างถึงที่สุด คือ มิได้มีบุพการีที่เกิดในดินแดนฝรั่งเศส)
ทศพล ทรรศนพรรณ
พอมาอยู่ที่ยุโรป ถึงได้รู้ว่า อิตาลี กับ สเปน มันไม่แคร์เรื่อง ขาดดุลตัวเลขเลย เพราะมันเอาไปลงทุนไว้กับคน รอถอนทุนคืน
ทศพล ทรรศนพรรณ
การเลือกตั้งท้องถิ่นในแคว้นคาตาลุนญ่า ราชอาณาจักรสเปน จะเกิดขึ้นในวันที่ 27 กันยายน 2015 ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศสเปนประมาณ 2 เดือน ความตื่นตัวของประชาชนสูงเพราะอยู่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่ประชาชนได้รับผลกระทบกันไปทั่ว
ทศพล ทรรศนพรรณ
เกษตรพันธสัญญาที่ดี มีการสร้างความร่ำรวยให้กับเกษตรกรจำนวนมาก ลดความไม่แน่นอนในการผลิตและประกันว่ามีตลาดขายสินค้าแน่นอน หากมีปัญหาระหว่างการเพาะปลูก/เลี้ยงสัตว์จะมีการแบ่งรับความเสียหายกับบรรษัท นั้นมีจริง
ทศพล ทรรศนพรรณ
ผลิตบนหลักการอย่างหนึ่ง เช่น ทำกำไรจากกิจการอะไรที่ให้เงินเยอะ ไม่คำนึงถึงชีวิตเพื่อนมนุษย์หรือสิ่งแวดล้อมบริโภคบนหลักการอีกอย่างหนึ่ง เช่น การอุดหนุนสินค้าที่โฆษณาว่าห่วงใยสังคม หรือแสดงออกว่าเสพกิจกรรมการกุศลอาการ พร่องความดี
ทศพล ทรรศนพรรณ
การพัฒนาชนบทถือเป็นภารกิจของรัฐบาลทุกยุคทุกสมัย ตั้งแต่ยุคต้านภัยคอมมิวนิสต์ที่ต้องการขจัดภัยคุกคาม ด้วยการเปลี่ยนพื้นที่กันดารให้มี น้ำไหล ไฟสว่าง ทางสะดวก เพื่อขับไล่พวกที่ปลุกระดมโดยอาศัยความแร้นแค้นเป็นข้ออ้างให้ฝ่อไปเพราะเชื่อว่าเมื่อ “การพัฒนา” มาถึง คอมมิวนิสต์ก็จะแทรกซึมไม่ได้
ทศพล ทรรศนพรรณ
กาลครั้งหนึ่งไม่นานมานี้ ผมได้ตกเป็นเหยื่อ "ความมักง่าย" เข้าแล้วครับท่านผู้อ่าน
ทศพล ทรรศนพรรณ
            ความสัตย์ซื่อและยึดถือกฎหมายด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้า            มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสำนักกฎหมายบ้านเมือง ว่า คำสั่งทั้งหลายของรัฐาธิปัตย์ถือเป็นกฎหมายอย่างเด็ดขาด